ยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เต

(เปลี่ยนทางจาก ยุทธนาวีอ่าวเลย์เต)

ยุทธนาวีอ่าวเลย์เต (ฟิลิปปินส์: Labanan sa Look ng Leyte; ญี่ปุ่น: レイテ沖海戦, อักษรโรมัน: Reite oki Kaisen) หรือในอดีตรู้จักกันในชื่อ ยุทธนาวีทะเลฟิลิปปินครั้งที่สอง เป็นยุทธนาวีครั้งใหญ่ที่สุดในสงครามโลกครั้งที่สองและในบางกรณีถือเป็นยุทธนาวีใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีทหารเรือที่เกี่ยวข้องมากกว่า 200,000 นาย[5][ต้องการเลขหน้า][6]

ยุทธนาวีอ่าวเลย์เต
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง

เรือบรรทุกอากาศยานเบา พรินซ์ตัน กำลังเกิดเพลิงไหม้ ทางตะวันออกของเกาะลูซอนในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1944
วันที่23–26 ตุลาคม ค.ศ. 1944
สถานที่
อ่าวเลย์เต ประเทศฟิลิปปินส์
10°22′16″N 125°21′22″E / 10.371°N 125.356°E / 10.371; 125.356
ผล ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ
คู่สงคราม
 ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

สหรัฐอเมริกา กองเรือที่ 3

สหรัฐอเมริกา กองเรือที่ 7

จักรวรรดิญี่ปุ่น กองเรือผสม

จักรวรรดิญี่ปุ่น กองกำลังพิเศษทางอากาศกองทัพเรือ

กำลัง
  • เรือรวมมากกว่า 67 ลำ
  • เรือบรรทุกอากาศยาน 1 ลำ
  • เรือบรรทุกอากาศเบา 3 ลำ
  • เรือผสมประจัญบาน/บรรทุกอากาศยาน 2 ลำ
  • เรือประจัญบาน 7 ลำ
  • เรือลาดตระเวนหนัก 13 ลำ
  • เรือลาดตระเวนเบา 6 ลำ
  • เรือพิฆาตมากกว่า 35 ลำ
  • อากาศยานมากกว่า 300 ลำ (รวมอากาศยานภาคพื้นดิน)[2]
ความสูญเสีย
  • บาดเจ็บและเสียชีวิตประมาณ 3,000 นาย;
  • เรือบรรทุกอากาศยานเบา 1 ลำ,
  • เรือบรรทุกอากาศยานคุ้มกัน 2 ลำ,
  • เรือพิฆาต 2,
  • เรือพิฆาตคุ้มกันจมน้ำ 1 ลำ
  • อากาศยาน 255 ลำ[3]
  • บาดเจ็บและเสียชีวิตประมาณ 12,500 นาย;
  • เรือบรรทุกอากาศยานเคลื่อนที่เร็ว 1 ลำ,
  • เรือบรรทุกอากาศยานเบา 3 ลำ,
  • เรือประจัญบาน 3 ลำ,
  • เรือลาดตระเวน 10 ลำ,
  • เรือพิฆาตจมน้ำ 11 ลำ
  • อากาศยานประมาณ 300 ลำ[4]

สมรภูมิอยู่ในทะเลบริเวณใกล้กับเกาะเลย์เต ซามาร์ และลูซอนของประเทศฟิลิปปินส์ ในวันที่ 23-26 ตุลาคม ค.ศ. 1944 ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งประกอบไปด้วยสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียกับจักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม กองกำลังสหรัฐอเมริกาได้เข้าบุกจู่โจมเกาะเลย์เตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะโดดเดี่ยวญี่ปุ่นออกจากบรรดาประเทศที่ญี่ปุ่นทำการยึดครองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยึดครองแหล่งน้ำมันซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในกองทัพและอุตสาหกรรม กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น (IJN) ได้ระดมเรือรบที่เหลือทั้งหมดในบริเวณนั้นเข้าต่อสู้เพื่อยับยั้งการบุกของฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ถูกขับให้ล่าถอยโดยกองเรือที่ 3 และกองเรือที่ 7 ของกองทัพเรือสหรัฐ กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นประสบความล้มเหลวและสูญเสียอย่างใหญ่หลวงจนไม่สามารถฟื้นตัวได้อีกในภายหลัง เรือรบขนาดใหญ่ที่เหลือรอดก็ปราศจากน้ำมันเชื้อเพลิงต้องจอดทิ้งอยู่ในฐานทัพจนสงครามมหาสมุทรแปซิฟิกสงบลง[7][8]

นี่เป็นยุทธการแรกที่อากาศญี่ปุ่นใช้วิธีโจมตีแบบคามิกาเซะ และเป็นยุทธนาวีระหว่างเรือประจัญบานครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์[9][10][ต้องการเลขหน้า] กองทัพเรือญี่ปุ่นประสบความสูญเสียอย่างหนักและไม่แล่นเรือในกำลังที่เทียบเคียงได้นับตั้งแต่นั้นมา[11][12] เนื่องจากขาดเชื้อเพลิงในฐานทัพในช่วงที่เหลือของสงคราม

รายละเอียด

แก้

ยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เตประกอบไปด้วยยุทธนาวีหลัก ๆ 4 ยุทธนาวี: ยุทธนาวีที่ทะเลซิบูยัน, ยุทธนาวีที่ช่องแคบซูริกาโอ, ยุทธนาวีแหลมเอ็นกาโน และยุทธนาวีที่ซามาร์ นอกจากนี้ยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เตยังถือว่าเป็นการรบครั้งแรกที่เรือบรรทุกเครื่องบินของญี่ปุ่นจัดให้มีการใช้การโจมตีแบบคะมิกะเซะ[7][8]


ดูเพิ่ม

แก้
ยุทธนาวีที่อ่าวอื่น ๆ

อ้างอิง

แก้
  1. Morison 1958, pp. 415–429.
  2. Thomas 2006, pp. 209–210.
  3. Tillman, Barrett (October 2019). "The Navy's Aerial Arsenal at Leyte Gulf". Naval History Magazine. Vol. 33 no. 5. United States Naval Institute. สืบค้นเมื่อ 1 January 2022.
  4. Thomas 2006, p. 322.
  5. Woodward 2007.
  6. "The Largest Naval Battles in Military History: A Closer Look at the Largest and Most Influential Naval Battles in World History". Military History. Norwich University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 7 March 2015.
  7. 7.0 7.1 Fuller, John F. C. (1956). The Decisive Battles of the Western World. Vol. III. London: Eyre & Spottiswoode.
  8. 8.0 8.1 Morison, Samuel E. (1956). "Leyte, June 1944 – January 1945". History of United States Naval Operations in World War II. Vol. XII. Boston: Little & Brown.
  9. Morison 1958, pp. 101, 240–241, 300–303.
  10. Fuller 1956a.
  11. Fuller 1956b, p. 600.
  12. Morison 1958, pp. 360, 397.

บรรณานุกรม

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้