สนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน

สนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน (อังกฤษ: Washington Naval Treaty) หรือ สนธิสัญญาห้ามหาอำนาจ (อังกฤษ: Five-Power Treaty) เป็นสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธภัณฑ์ทางนาวีของประเทศที่ร่วมลงนาม 5 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา, จักรวรรดิบริติช, จักรวรรดิญี่ปุ่น, สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3, และราชอาณาจักรอิตาลี โดยเป็นผลพวงจากการประชุมนาวิกวอชิงตันที่วอชิงตัน ดี.ซี. ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1921 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1922 และผู้แทนได้ลงนามในสนธิสัญญาในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1922 นับเป็นความพยายามที่จะป้องกันไม่ให้เกิดแข่งขันทางอาวุธของกองทัพเรือที่เริ่มขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

สนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน
สนธิสัญญาห้ามหาอำนาจ
ประเภทสนธิสัญญาจำกัดอาวุธ
วันร่าง6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1922
วันลงนาม17 สิงหาคม ค.ศ. 1923
ที่ลงนามวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
ภาคีสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
สหรัฐ สหรัฐอเมริกา
จักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิญี่ปุ่น
ฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศส
ราชอาณาจักรอิตาลี
ภาษาอังกฤษ, ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส, อิตาลี

เงื่อนไขของสนธิสัญญาปรับปรุงมาจากสัญญานาวิกลอนดอนในปี ค.ศ. 1930 และ สัญญานาวิกลอนดอน 2 ในปี ค.ศ. 1936 ภายหลังญี่ปุ่นได้ประกาศว่าจะไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสนธิสัญญา และอิตาลีได้แอบละเมิดสัญญา เยอรมนีไม่ได้รับผลกระทบจากสนธิสัญญานาวิกวอชิงตันและสนธิสัญญานาวิกลอนดอน การสร้างเรือของเยอรมนีถูกจำกัดอยู่ภายใต้สนธิสัญญาแวร์ซายส์ ซึ่งเป็นสนธิสัญญาสันติภาพหลังจบสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

เบื้องหลัง แก้

ผลพวงจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จักรวรรดิบริติชมีกองทัพเรือที่ใหญ่ที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก ตามติดมาด้วยสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นซึ่งทิ้งห่างพอสมควร ทั้งสามชาติได้เริ่มดำเนินโครงการขนาดใหญ่ที่จะสร้างเรือหลวงลำใหม่ (เรือประจัญบานและเรือลาดตระเวนประจัญบาน) ในปี ค.ศ. 1920 สหรัฐอเมริกาได้ประกาศจุดมุ่งหมายที่จะสร้างกองทัพเรือไม่เป็น"สองรองใคร"และได้วางกระดูกงูเรือประจัญบาน 5 ลำและเรือลาดตระเวนประจัญบาน 4 ลำ ญี่ปุ่นเองก็ได้เริ่มโครงการกองเรือที่ 88 (เรือประจัญบาน 8 ลำและเรือลาดตระเวนประจัญบาน 8 ลำ) ในตอนต้นของปี ค.ศ. 1921 อังกฤษได้สรุปการออกแบบและสั่งสร้างเรือประจัญบานขนาดใหญ่ 4 ลำ (เรือลาดตระเวนประจัญบาน จี3) และแผนสำหรับเรือประจัญบาน 4 ลำ (เรือประจัญบาน เอ็น3) ซึ่งจะตามมา การสร้างเรือหลวงจำนวนมากนี้ได้ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเป็นการแข่งขันทางนาวิกานุภาพครั้งใหม่คล้ายกับการแข่งขันระหว่างอังกฤษ-เยอรมนี เดรดนอต ซึ่งนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ข้อตกลง แก้

ข้อจำกัดระวางขับน้ำ
ประเทศ เรือหลวง เรือบรรทุกอากาศยาน
จักรวรรดิอังกฤษ 525,000 ตัน 135,000 ตัน
สหรัฐ 525,000 ตัน 135,000 ตัน
ญี่ปุ่น 315,000 ตัน 81,000 ตัน
ฝรั่งเศส 175,000 ตัน 60,000 ตัน
อิตาลี 175,000 ตัน 60,000 ตัน

ข้อกำหนดต่างๆได้ยกเว้นเรือที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและที่กำลังก่อสร้าง สนธิสัญญาจำกัดระวางขับน้ำรวมของเรือหลวงของแต่ละประเทศที่ลงนามตามตารางด้านขวามือ ข้อเพิ่มเติมคือเรือหนึ่งลำต้องมีระวางขับน้ำไม่เกิน 35,000 ตัน[1] และบรรทุกปืนใหญ่ลำกล้องไม่เกิน 16 นิ้ว (406 มม.)

"ระวางขับน้ำมาตรฐาน" ที่ถูกกำหนดไว้ในสนธิสัญญาจะไม่รวมน้ำมันเชื้อเพลิง (และน้ำสำหรับหม้อน้ำ) เพราะอังกฤษอ้างให้เหตุผลว่ากิจการของอังกฤษที่มีอยู่ทั่วโลกในขณะนั้นทำให้ต้องการน้ำหนักบรรทุกสำหรับเชื้อเพลิงสูงกว่าชาติอื่นและเขาไม่ควรจะถูกเอาเปรียบ[2]

 
ปืนจากเรือประจัญบานกำลังถูกแยกชิ้นส่วนในอู่ทหารเรือฟิลาเดลเฟียในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1923 เรือ ยูเอสเอส เซาท์ คาโรไรนา (USS South Carolina) กำลังถูกแยกสิ้นส่วนในภาพพื้นหลัง

ลักษณะของเรือบรรทุกอากาศยานก็บรรจุอยู่ในสนธิสัญญา มีการกำหนดระวางขับน้ำรวมและกำหนดขนาดสูงสุดของเรือ ให้มีเรือบรรทุกอากาศยาน 2 ลำต่อชาติที่สามารถมีระวางขับน้ำเกิน 27,000 ตันแต่ไม่เกิน 33,000 ตัน ข้อกำหนดนี้สามารถหลบเลี่ยงให้สามารถสร้างเรือลาดตระเวนประจัญบานภายใต้การสร้างที่นำเรือบรรทุกอากาศยานกลับมาใช้ซ้ำและทำให้เกิดเรือ ยูเอสเอส เลกซิงตัน (USS Lexington) และ อะคะกิ (Akagi) ขึ้นมา จำนวนปืนใหญ่ที่บรรทุกในเรือบรรทุกอากาศยานถูกจำกัดอย่างมาก มันจะเป็นการละเมิดสนธิสัญญาถ้านำฝูงบินขนาดเล็กบรรจุในเรือประจัญบานและเรือมันว่าเรือบรรทุกอากาศยาน

สำหรับป้อมปราการและฐานทัพเรือ สหรัฐอเมริกา, จักรวรรดิบริติช และ จักรวรรดิญี่ปุ่น ตกลงจะรักษาสถานะที่เป็นอยู่ของป้อมปราการและฐานทัพเรือคงไว้ ณ เวลาที่ทำการลงนาม การสร้างป้อมปราการและฐานทัพไม่สามารถสร้างเพิ่มเติมได้ และห้ามเสริมสร้างที่มั่นและฐานทัพให้ดีขึ้นไม่ว่าจะในดินแดนหรือพื้นที่ครอบครองที่กำหนด โดยทั่วไปแล้วพื้นครอบครองที่กำหนดจะอนุญาตให้ก่อสร้างบนชายฝั่งทะเลที่สำคัญของประเทศ แต่ไม่ได้อยู่ในดินแดนหมู่เกาะขนาดเล็ก เช่น สหรัฐอเมริกาสามารถสร้างได้ที่รัฐฮาวาย และบนแผ่นดินรัฐอะแลสกา ไม่ใช่บนหมู่เกาะอะลูชัน (Aleutian islands) กองทัพเรือของจักรวรรดิบริติชถูกพิจารณาภายใต้สนธิสัญญาเป็นหนึ่งองค์กรการปกครองก็ปฏิบัติในทำนองเดียวกันและโรงงานของราชนาวีออสเตรเลีย (ซึ่งต้องยกเลิกการสร้างเรือลาดตระเวนประจัญบาน เอชเอ็มเอเอส ออสเตรเลีย) และหมวดกองทัพเรือนิวซีแลนด์สามารถสร้างขึ้นโดยรัฐบาลของตนตามลำดับ แต่ไม่ใช่ฐานทัพของฮ่องกง ญี่ปุ่นสามารถสร้างได้บนแผ่นดินแม่ ไม่ใช่ฟอร์โมซา (ไต้หวัน)

ประเทศสมาชิกที่ลงนามในสนธิสัญญาได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนหรือจัดสร้างเรือได้ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญา แต่สร้างหรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต้องมีการแจ้งให้ประทศผู้ลงนามอื่นๆทราบ

ในวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1934 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้แจ้งให้ทราบอย่างเป็นทางการว่ามีจุดประสงค์ที่จะยุติสนธิสัญญา บทบัญญัติของสนธิสัญญายังคงบังคับใช้จนถึงสิ้น ค.ศ. 1936 และก็ไม่ได้มีการต่ออายุสนธิสัญญา

อ้างอิง แก้

  1. คำว่า "ตัน" ใน . . . สนธิสัญญาไม่ใช่เมตริกตันแต่เป็นตันที่มีขนาดเท่ากับ 2,240 ปอนด์ (1016 กก.) สนธิสัญญา, หมวด 2, ส่วนที่ 4, คำนิยาม, ระวางขับน้ำมาตรฐาน
  2. "เรือจะประกอบไปด้วย ลูกเรือ เครื่องยนต์ และอุปกรณ์สำหรับเผชิญทะเล ประกอบด้วยอาวุธและกระสุน อุปกรณ์ เสื้อผ้า เสบียงและน้ำจืดสำหรับลูกเรือ ของเบ็ดเตล็ด และเครื่องมือที่จะทำไปใช้ในสงคราม แต่ไม่มีเชื้อเพลิงและน้ำสำหรับป้อนให้หม้อน้ำ" ในสนธิสัญญานาวิกวอชิงตันและสนธิสัญญานาวิกกรุงลอนดอน

แหล่งข้อมูลอื่น แก้