ข้อ 231 ของสนธิสัญญาแวร์ซาย
ข้อ 231 ของสนธิสัญญาแวร์ซาย (อังกฤษ: Article 231 of the Treaty of Versailles) หรือมักเรียกกันว่า ข้อกำหนดความรับผิดในอาชญากรรมสงคราม (อังกฤษ: War Guilt Clause) เป็นข้อแรกในภาค 8 ค่าปฏิกรรมสงคราม (Part VIII: Reparations) แห่งสนธิสัญญาแวร์ซาย ซึ่งข้อ 231 นี้มิได้ตั้งหัวเรื่องไว้ แต่มักเรียกกันอย่างนั้นตามกระแสวิพากษ์วิจารณ์ที่มีในภายหลัง
ข้อบท
แก้“ | รัฐบาลฝ่ายพันธมิตรและชาติสมทบยืนยันว่า และเยอรมนียอมรับว่า เยอรมนีและพันธมิตรของเยอรมนีต้องรับผิดชอบในอันที่ได้ก่อความสูญเสียและความเสียหายแก่รัฐบาลฝ่ายพันธมิตรและชาติสมทบตลอดจนชนชาติของฝ่ายเหล่านั้น เนื่องจากเยอรมนีและพันธมิตรของเยอรมนีได้กระทำสงครามแก่ฝ่ายเหล่านั้นด้วยการรุกราน[1] | ” |
ความสำคัญ
แก้ข้อ 231 ซึ่งกำหนดให้เยอรมันต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายทั้งหลายอันเกิดขึ้นเพราะสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้น เป็นเครื่องนำพาให้ข้ออื่น ๆ ที่เหลือในภาค 8 (ข้อ 223 ถึง 247) ซึ่งกำหนดให้เยอรมนีมีพันธกรณีต่าง ๆ ว่าด้วยค่าปฏิกรรมสงคราม กลายเป็นชอบด้วยเหตุผลไป ข้อ 223 ถึง 247
สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสมีบทบาทสำคัญในการรวบรวมและเขียนข้อบทดังกล่าวขึ้น ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีบทบาทน้อยกว่า ส่วนใหญ่เนื่องจากหลักการ "สันติภาพโดยปราศจากชัยชนะ" ของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน[2]
เพราะข้อ 231 โทษเยอรมนีอย่างหนักว่าเป็นต้นเหตุแห่งสงคราม ข้อนี้จึงชื่อว่าเป็นปัจจัยอันนำพาให้ลัทธิสังคมชาตินิยม หรือลัทธินาซี ในเยอรมนี ได้เถลิงอำนาจ[3] แต่อย่างน้อยนักประวัติศาสตร์คนหนึ่ง คือ มาร์กาเร็ต แม็กมิลแลน (Margaret MacMillan) วิพากษ์ว่า ความคิดความจดจำที่มีกันมายาวนานข้อนี้นั้นเลื่อนลอยอย่างแท้จริง[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ "The Allied and Associated Governments affirm and Germany accepts the responsibility of Germany and her allies for causing all the loss and damage to which the Allied and Associated Governments and their nationals have been subjected as a consequence of the war imposed upon them by the aggression of Germany and her allies."
- ↑ "Wilson: "Peace Without Victory"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-31. สืบค้นเมื่อ 2010-07-23.
- ↑ Coffin, Judith G. and Robert C. Stacey. "The Second World War." Western Civilizations: From the Age of Exploration to the Present 15th ed. Vol. 2, 930-967
- ↑ Margaret MacMillan. Paris 1919: Six Months That Changed the World.