สงครามโลกครั้งที่สองในยูโกสลาเวีย

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สองในยูโกสลาเวียได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1940 เมื่อราชอาณาจักรยูโกสลาเวียได้ถูกยึดครองอย่างรวดเร็วโดยกองทัพฝ่ายอักษะและได้ถูกแบ่งแยกออกจากกันระหว่างเยอรมนี อิตาลี ฮังการี บัลแกเรีย และเครือข่ายการปกครอง ต่อมาภายหลัง สงครามการปลดปล่อยแบบกองโจรเป็นการสู้รบเพื่อต่อกรกับกองกำลังการยึดครองของฝ่ายอักษะและรัฐบาลหุ่นเชิดที่พวกเขาได้ก่อตั้งขึ้น รวมทั้งรัฐเอกราชโครเอเชียและรัฐผู้พิทักษ์แห่งเซอร์เบีย โดยสันนิบาติแห่งคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย(KPJ)-ได้นำเหล่าผู้นิยมระบอบสาธารณรัฐ พลพรรคยูโกสลาเวีย ในเวลาเดียวกัน สงครามกลางเมืองหลายฝ่ายได้เกิดขึ้นระหว่างพลพรรคของพรรคคอมมิวนิสต์ยูโกสลาเวีย, ชาวเซิร์บผู้นิยมกษัตริย์ เชทนิกส์ (Chetniks), ชาวโครเอเชียผู้นิยมฟาสซิสต์ อูสตาซี (Ustaše) และผู้พิทักษ์บ้านเกิด (Home Guard) เช่นเดียวกันกับทหารผู้พิทักษ์บ้านเกิดสโลวีน

สงครามโลกครั้งที่สองในยูโกสลาเวีย
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง

หมุนตามนาฬิกาจากบนซ้าย: อานเต ปาเวลิช ได้เข้าพบอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ที่แบร์กฮอฟ, สเตจปาน ฟิลิโพวิก ถูกแขวนคอโดยกองกำลังยึดครอง, เดรซา มิเฮลโรวิก ได้ให้ขวัญกำลังใจแก่ทหารของเขา, กลุ่มของเชทนิกส์ กับทหารเยอรมันในหมู่บ้านเซอร์เบีย, ยอซีป บรอซ ตีโต กับสมาชิกของภารกิจอังกฤษ
วันที่6 เมษายน ค.ศ. 1941 – 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
(4 ปี 1 เดือน 1 สัปดาห์ 2 วัน)
สถานที่
ผล

ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ

คู่สงคราม
เมษายน 1941:
 เยอรมนี
 อิตาลี
 ราชอาณาจักรฮังการี
เมษายน 1941:
 ยูโกสลาเวีย
 
1941–43:
 Germany
 อิตาลี
NDHa
VNSa
CGa
 ราชอาณาจักรฮังการี
 บัลแกเรีย
แอลเบเนีย
Pećanac Chetniks
1941–43:
เชทนิกส์b
Supported by:
 สหราชอาณาจักร
 สหรัฐ
1941–43:
พลพรรค
Supported by:
 สหภาพโซเวียต

1943–45:
 เยอรมนี
NDH
VNS (until 1944)
CG (until 1944)
 ราชอาณาจักรฮังการี
 บัลแกเรีย (until 1944)
แอลเบเนีย (until 1944)
ผู้พิทักษ์บ้านเกิดสโลวีน


เชทนิกส์
1943–45:
พลพรรค
 สหราชอาณาจักร
 สหภาพโซเวียต
(1944–45)
Bulgaria
(1944–45)
Albania (1944–45)
 สหรัฐ (limited involvement)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

นาซีเยอรมนี มักซีมีเลียน ฟอน ไวชส์
นาซีเยอรมนี Alexander Löhr
 (เชลย)
นาซีเยอรมนี Edmund Glaise von Horstenau
ราชอาณาจักรอิตาลี Mario Roatta
มิกโลช โฮร์ตี
อานเต ปาเวลิช
Slavko Kvaternik
Milan Nedić
Sekula Drljević
Kosta Pećanac  
Leon Rupnik
ราชอาณาจักรบัลแกเรีย Bogdan Filov

แอลเบเนีย Xhemo Hasa 

ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย Dušan Simović
ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย Danilo Kalafatović


เดรซา มิเฮลโรวิก
Ilija Trifunović-Birčanin
Dobroslav Jevđević
Pavle Đurišić โทษประหารชีวิต
Momčilo Đujić
Zaharije Ostojić โทษประหารชีวิต
Petar Baćović โทษประหารชีวิต
Vojislav Lukačević

Jezdimir Dangić

ยอซีป บรอซ ตีโต
Mihajlo Apostolski
Milovan Đilas
Aleksandar Ranković
Kosta Nađ
Peko Dapčević
Koča Popović
Petar Drapšin
Svetozar Vukmanović Tempo
Arso Jovanović
Sava Kovačević 
Ivan Gošnjak
Boris Kidrič
Franc Rozman Stane 
สหภาพโซเวียต ฟิโอดอร์ ตอลบูคิน

Vladimir Stoychev
กำลัง

นาซีเยอรมนี 300,000 (1944)[1]
ราชอาณาจักรอิตาลี 321,000 (1943)[2]
170,000 (1943)[3]
130,000 (1945)[4]
40,000 (1943)[5]
ราชอาณาจักรบัลแกเรีย 70,000 (1943)[6][7]

12,000 (1944)[8]
93,000 (1943)[9][10]

100,000 (1943)[11]
800,000 (1945)[12]

สหภาพโซเวียต 580,000 (1944)
ความสูญเสีย

นาซีเยอรมนี Germany:[13]c
19,235 killed
14,805 missing;
ราชอาณาจักรอิตาลี Italy:d
9,065 killed
15,160 wounded
6,306 missing;

NDH:[14]
99,000 killed
Partisans:[15] 245,549 killed
399,880 wounded
31,200 died from wounds
28,925 missing
Civilians killed: ~514,000[16]–581,000[17]
Total Yugoslav casualties: ~850,000[18]–1,200,000

a ^ Axis puppet regime established on occupied Yugoslav territory
b ^ Resistance movement. Engaged in collaboration with Axis forces from mid-1942 onward, lost official Allied support in 1943.[19][20][21] Full names: initially "Chetnik Detachments of the Yugoslav Army", then "Yugoslav Army in the Fatherland".
c ^ Casualties in the Balkan area, including Greece, from April 1941 to January 1945

d ^ Including casualties in the April invasion of Yugoslavia

ทั้งพลพรรคยูโกสลาเวียและกลุ่มเคลื่อนไหวเชทนิกส์ในช่วงแรกนั้นได้ต่อต้านการยึดครอง อย่างไรก็ตาม ภายหลังในปี ค.ศ. 1941 เชทนิกส์ได้ขยายตัวอย่างกว้างขวางและร่วมมืออย่างเป็นระบบกับกองกำลังการยึดครองของอิตาลีจนกระทั่งอิตาลียอมจำนน และยังมีกองกำลังเยอรมันและอูสตาซี ฝ่ายอักษะได้วางแผนในการโจมตีที่หมายจะทำลายพลพรรค การจะทำเช่นนั้นได้ใกล้เข้ามาในช่วงฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิในปี ค.ศ. 1943

แม้ว่าจะต้องประสบความปราชัย พลพรรคยังคงเป็นกองกำลังที่ได้รับความน่าเชื่อถือ ได้รับการยอมรับจากฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกและได้วางรากฐานสำหรับรัฐยูโกสลาเวียหลังสงคราม ด้วยการสนับสนุนทางด้านยุทธภัณฑ์ทางทหารและอำนาจเหนือน่านฟ้าของฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก และกลุ่มทหารโซเวียตในการรุกเบลเกรด ในที่สุด พลพรรคก็ได้รับชัยชนะและควบคุมทั้งประเทศและบริเวณชายแดนของอิตาลีและออสเตรีย

ด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตในสงครามนั้นมีมากมายมหาศาล จำนวนเหยื่อสงครามยังคงมีการถกเถียงกัน แต่โดยทั่วไปแล้วได้มีการเห็นพ้องกันว่า มีจำนวนอย่างน้อยหนึ่งล้านคน เหยื่อที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสู้รบรวมทั้งประชากรชาวยิวส่วนใหญ่ของประเทศ,มีจำนวนหลายคนล้วนเสียชีวิตในค่ายกักกันและค่ายมรณะ (เช่น Jasenovac, Banjica) ได้ดำเนินโดยเครือข่ายการปกครอง

ระบอบการปกครองโครเอเชียอูสตาซีนั้นได้ก่อให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวเซิร์บ, ชาวโรมานี และชาวโครแอต ส่วนเชทนิกส์ของชาวเซิร์บนั้นได้กระทำการไล่ล่าในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวมุสลิมและชาวโครเอเชียและชาวเซิร์บผู้นิยมพลพรรค และเจ้าหน้าที่ชาวอิตาลีผู้ยึดครองก็ได้กระทำการไล่ล่าทำลายล้างต่อชาวสโลวีนและชาวโครแอต ส่วนกองทัพเวร์มัคท์ได้ดำเนินการสังหารหมู่ต่อพลเรือนจำนวนมากเพื่อแก้แค้นจากการเคลื่อนไหวต่อต้าน เช่น การสังหารหมู่ Kragujevac ทหารฮังการีที่ยึดครองได้ทำการสังหารหมู่พลเรือน (ส่วนใหญ่เป็นชาวเซิร์บและชาวยิว) ในช่วงการโจมตีที่สำคัญทางตอนใต้ของ Bačka, ภายใต้ข้ออ้างสำหรับการเคลื่อนไหวต่อต้าน

ในที่สุด ในช่วงระหว่างนั้นและภายหลังขั้นตอนสุดท้ายของสงคราม เจ้าหน้าที่ยูโกสลาเวียและทหารพลพรรคก็ได้ดำเนินการตอบโต้รวมทั้งการขับไล่เนรเทศประชากรชาว Danube Swabian บังคับให้เดินขบวนเป็นแถวและประหารชีวิตนับพันของทหารเชลยศึกและพลเรือนก็หลบหนีจากการโจมตีของพวกเขา (การส่งกลับคืน Bleiburg) การกระทำโหดร้ายกับชาวอิตาลีในอิสเตรียและกวาดล้างชาวเซิร์บ ชาวฮังการีและชาวเยอรมันที่มีความเกี่ยวข้องกับกองกำลังฟาสซิสต์

อ้างอิง แก้

  1. Mitrovski 1971, p. 211.
  2. Tomasevich 2001, p. 255.
  3. Jelić Butić 1977, p. 270.
  4. Colić 1977, pp. 61–79.
  5. Tomasevich 2001, p. 183.
  6. Mitrovski, 1971 & 49.
  7. Tomasevich 2001, p. 167.
  8. Tomasevich 2001, p. 771.
  9. Microcopy No. T314, roll 566, frames 778 – 785
  10. Borković, p. 9.
  11. Zbornik dokumenata Vojnoistorijskog instituta: tom XII – Dokumenti jedinica, komandi i ustanova nemačkog Rajha – knjiga 3, p.619
  12. Perica 2004, p. 96.
  13. Martin K. Sorge (1986). The Other Price of Hitler's War: German Military and Civilian Losses Resulting from World War II. Greenwood Publishing Group. pp. 62–63. ISBN 978-0-313-25293-8.
  14. Geiger 2011, pp. 743–744.
  15. Geiger 2011, pp. 701.
  16. A'Barrow 2016.
  17. Žerjavić 1993.
  18. Mestrovic 2013, p. 129.
  19. Tomasevich 2001, p. 226.
  20. Ramet 2006, p. 147.
  21. Tomasevich 2011, p. 308.