เอ็งเงิลแบร์ท ด็อลฟูส

เอ็งเงิลแบร์ท ด็อลฟูส (เยอรมัน: Engelbert Dollfuß; 4 ตุลาคม ค.ศ. 1892 – 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1934) เป็นนักการเมืองฝ่ายขวาชาวออสเตรีย ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีออสเตรียในระหว่าง ค.ศ. 1932–1934 อันเป็นช่วงสมัยแห่งความวุ่นวายจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองและสงครามกลางเมืองภายในประเทศ ทั้งยังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรในหลายรัฐบาลตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1930 ในช่วงที่เขาสู่อำนาจ ด็อลฟูสได้กระทำการยุบรัฐสภาประชาธิปไตยและปกครองประเทศภายใต้อำนาจเผด็จการ เขาถึงแก่อสัญกรรมจากการลอบสังหารโดยนักการเมืองนาซีออสเตรียในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1934

เอ็งเงิลแบร์ท ด็อลฟูส
Engelbert Dollfuß
ด็อลฟูสในเครื่องแบบทหาร
นายกรัฐมนตรีออสเตรีย
ดำรงตำแหน่ง
20 พฤษภาคม ค.ศ. 1932 – 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1934
ประธานาธิบดีวิลเฮ็ล์ม มิคลัส
รองนายกรัฐมนตรีฟรันทซ์ วิงค์เลอร์
เอมีล ไฟ
แอ็นสท์ รือดีเกอร์ ชตาเริมแบร์ค
ก่อนหน้าคาร์ล บูเร็ช
ถัดไปควร์ท ชุชนิค
ผู้นำแนวร่วมปิตุภูมิ
ดำรงตำแหน่ง
20 พฤษภาคม ค.ศ. 1933 – 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1934
ก่อนหน้าก่อตั้งพรรค
ถัดไปแอ็นสท์ รือดีเกอร์ ชตาเริมแบร์ค
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
20 พฤษภาคม ค.ศ. 1932 – 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1934
ก่อนหน้าคาร์ล บูเร็ช
ถัดไปชเต็ฟฟัน เทาชิทซ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและการป่าไม้
ดำรงตำแหน่ง
18 มีนาคม ค.ศ. 1931 – 25 มิถุนายน ค.ศ. 1934
ก่อนหน้าอันเดรอัส ทาเลอร์
ถัดไปแอ็นสท์ รือดีเกอร์ ชตาเริมแบร์ค
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด04 ตุลาคม ค.ศ. 1892(1892-10-04)
เท็คซิง นีเดอร์เอิสเตอร์ไรช์ จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
เสียชีวิต25 กรกฎาคม ค.ศ. 1934(1934-07-25) (41 ปี)
เวียนนา สหพันธรัฐออสเตรีย
ลักษณะการเสียชีวิตถูกลอบสังหารด้วยปืน
ที่ไว้ศพสุสานไฮท์ซิงเงอร์ เวียนนา ประเทศออสเตรีย
พรรคการเมืองแนวร่วมปิตุภูมิ (ค.ศ. 1933–1934)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พรรคสังคมคริสตชน (จนถึง ค.ศ. 1933)
คู่สมรสอัลวีเนอ กลีนเกอ
บุตรฮันเนอร์ล
เอวา
รูดอล์ฟ
บุพการี
  • โยเซ็ฟ เว็นนิงเงอร์ (บิดา)
  • โยเซ็ฟฟา ด็อลฟูส (มารดา)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเวียนนา
รัฐบาลรัฐบาลด็อลฟูสชุด 1-2
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
สังกัดกองทัพออสเตรีย-ฮังการี
ประจำการค.ศ. 1914–1918
ยศโอเบอร์ล็อยท์นันท์ (Oberleutnant)
หน่วยไคเซอร์ชึทเซิน (Kaiserschützen)
สงคราม/การสู้รบ
รางวัลกางเขนคุณธรรมทหารชั้นที่ 3
เหรียญคุณธรรมทหาร (2 ครั้ง)
เหรียญกล้าหาญ
กางเขนคาร์ลทรุพเพิน (2 ครั้ง)
เหรียญผู้บาดเจ็บ

ด็อลฟูสเกิดเมื่อ ค.ศ. 1892 เป็นบุตรชายของกรรมกรรายวัน[1] เขาเติบโตในครอบครัวชาวนาคาทอลิกที่ใช้ชีวิตตามวิถีดั้งเดิม และได้รับการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสอนศาสนา ซึ่งส่งเสริมความศรัทธาต่อนิกายโรมันคาทอลิกของด็อลฟูสอย่างลึกซึ้ง[2] ในระดับอุดมศึกษา เขาเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเวียนนา ซึ่งทำให้ด็อลฟูสมีส่วนร่วมในองค์กรคาทอลิก[2] ใน ค.ศ. 1914 เขาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในแนวรบอิตาลี และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นจำนวนมาก[2] ในสมัยระหว่างสงคราม ด็อลฟูสเริ่มได้รับอิทธิพลทางความคิดแบบอนุรักษนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ[1] และเมื่อเขาสำเร็จการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย เขาจึงเดินทางไปที่เยอรมนีเพื่อศึกษาการดําเนินงานของสหกรณ์การเกษตร และเข้าปฏิบัติงานในสหภาพชาวนาแห่งนีเดอร์เอิสเตอร์ไรช์ตั้งแต่ ค.ศ. 1922[1] จากนั้นด็อลฟูสจึงเข้าทำงานเป็นประธานสหพันธ์การรถไฟของรัฐ ซึ่งนับเป็นตำแหน่งระดับชาติครั้งแรกของเขา[3]

ด็อลฟูสมีความสัมพันธ์กับพรรคสังคมคริสตชนเพียงเล็กน้อย จากการที่เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญประเด็นด้านการเกษตร มีความอุตสาหะ และด้วยทัศนคติที่เปิดกว้างของด็อลฟูส ทำให้เขาสามารถเข้าหานักการเมืองหลายฝ่ายได้อย่างสะดวก[4] และการขาดประสบการณ์ในตำแหน่งหัวหน้าบริษัทการรถไฟก่อนหน้านี้ ถือเป็นข้อได้เปรียบสำหรับเขาอย่างยิ่ง เนื่องจากทำให้เขาสามารถสร้างพันธมิตรของฝ่ายต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างการสนับสนุนของรัฐบาลได้[5]

ด็อลฟูสเข้ารับตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1932 ท่ามกลางความไม่มั่นคงของพันธมิตรสังคมคริสตชน สันนิบาตกสิกรรม และกองกำลังฟาสซิสต์ไฮม์แวร์ ด้วยรัฐบาลของเขามีคะแนนเสียงนำหน้าฝ่ายค้านในรัฐสภาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น[6] ในช่วงก่อน ค.ศ. 1933 ด็อลฟูสถูกมองว่าเป็นหนึ่งในผู้นำที่มีความสายกลางที่สุด และการที่เขายินยอมเจรจากับฝ่ายค้านสังคมนิยมนั้นนำไปสู่การยุติระบบรัฐสภาประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นหลังสงครามยุติ[7] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1933 ด็อลฟูสกระทำการยุบสภาล่างและเริ่มการปกครองประเทศโดยคำสั่ง[8] ด็อลฟูสกลายเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในหมู่นักวิชาการ จากเหตุที่เขาขึ้นเป็นประธานพันธมิตรที่ไม่มั่นคงระหว่างฟาสซิสต์ เผด็จการ และประชาธิปไตย[9] เขามีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการบรรลุข้อตกลงกับขบวนการชาติสังคมนิยม แต่ไม่ประสบความสําเร็จ[10]

รัฐบาลของเขาต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ออสเตรีย แต่ด็อสฟูสก็สามารถแก้ไขสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศให้กลับมาฟื้นตัวได้อย่างดี[10]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1934 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของระบอบเผด็จการที่เรียกขานกันว่า "ลัทธิฟาสซิสต์ออสเตรีย"[8] ด็อลฟูสถึงแก่อสัญกรรมจากการลอบสังหารเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 ในระหว่างความพยายามรัฐประหารที่ล้มเหลวของขบวนการชาติสังคมนิยม ซึ่งทำให้ในภายหลัง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงตกมาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมควร์ท ชุชนิค[11]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Miller 1985, p. 18.
  2. 2.0 2.1 2.2 Miller 1985, p. 17.
  3. Edmondson 1978, p. 161.
  4. Rath 1998, p. 162.
  5. Rath 1998, p. 162-163.
  6. Bischof, Pelinka & Lassner 2003, p. 86.
  7. Bischof, Pelinka & Lassner 2003, p. 123.
  8. 8.0 8.1 Thorpe 2010, p. 320.
  9. Miller 1988, p. 405.
  10. 10.0 10.1 Edmondson 1978, p. 160.
  11. Bischof, Pelinka & Lassner 2003, p. 89.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • Messner, Johannes (2004). Dollfuss: An Austrian Patriot. Norfolk, VA: Gates of Vienna Books. ISBN 9781932528367.
ก่อนหน้า เอ็งเงิลแบร์ท ด็อลฟูส ถัดไป
คาร์ล บูเร็ช    
นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย
(20 พฤษภาคม ค.ศ. 1932 – 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1934)
  ตัวเอง
(ในฐานะนายกรัฐมนตรีแห่งสหพันธรัฐออสเตรีย)
ตัวเอง
(ในฐานะนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย)
   
นายกรัฐมนตรีแห่งสหพันธรัฐออสเตรีย
(1 พฤษภาคม ค.ศ. 1934 – 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1934)
  ควร์ท ชุชนิค
สถาปนาตำแหน่ง    
ผู้นำแนวร่วมปิตุภูมิ
(20 พฤษภาคม ค.ศ. 1933 – 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1934)
  แอ็นสท์ รือดีเกอร์ ชตาเริมแบร์ค