วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส

วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส (เยอรมัน: Waffen-SS) หรือ เอ็สเอ็สสรรพาวุธ เป็นกองกำลังทหารติดอาวุธของพรรคนาซี ถือเป็นหนึ่งในสองสาขาของชุทซ์ชตัฟเฟิล (เอ็สเอ็ส) ก่อตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของชาวเยอรมัน พร้อมกับอาสาสมัครและทหารเกณฑ์จากในยึดครองและดินแดนนอกยึดครอง[1] หน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สเปรียบเสมือนเป็นเหล่าทัพที่สี่ของเยอรมนีนอกจากกองทัพบก, กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ

วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส
Waffen-SS
ประจำการ1933–45
ประเทศ ไรช์เยอรมัน
ขึ้นต่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์
เหล่า Schutzstaffel
รูปแบบ
กำลังรบ900,000 นายใน 38 กองพล
ขึ้นกับSS; under operational control of the OKW
กองบัญชาการเอ็สเอ็สฟือรุงส์เฮาพท์อัมท์ กรุงเบอร์ลิน
คำขวัญ"เกียรติของข้าคือความภักดี"
(Meine Ehre heißt Treue)
ปฏิบัติการสำคัญสงครามโลกครั้งที่สอง
ผู้บังคับบัญชา
ผบ. สำคัญไฮน์ริช ฮิมเลอร์

หน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สเดิมมีเพียงสามกรม ต่อมาได้ขยายจำนวนมากถึง 38 กองพลเอ็สเอ็สในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และทำหน้าที่ควบคู่กับกองทัพบก, ตำรวจรักษาความสงบ และหน่วยรักษาความปลอดภัยอื่นๆ แต่เดิมทีหน่วยนี้ขึ้นต่อสำนักอำนวยการเอ็สเอ็ส (SS Führungshauptamt) ในบัญชาของไรชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็ส ไฮน์ริช ฮิมเลอร์ ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองปะทุขึ้น จึงมีการแบ่งสายบัญชาการเป็นสองสาย สายแรกรับคำสั่งทางยุทธวิธีจากกองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ (OKW)[2] และสายที่สองขึ้นตรงต่อกองบัญชาเจ้าหน้าที่ไรชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็ส (Kommandostab Reichsführer-SS) ในบัญชาของฮิมเลอร์โดยตรง[3]

ในช่วงต้น เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายเชื้อชาติของพรรคนาซี การเข้าเป็นสมาชิกจึงเปิดรับสมัครให้กับเพียงผู้มีเชื้อชาติเยอรมันเท่านั้น (ที่ถูกเรียกว่า เชื้อชาติอารยัน)[4] ข้อบังคับนี้มีการผ่อนปรณลงบางส่วนในปี ค.ศ. 1940[5][6] ต่อมามีการอนุมัติให้จัดตั้งหน่วยเฉพาะขึ้นมา ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมดหรือส่วนใหญ่เป็นอาสาสมัครหรือผู้ถูกเกณฑ์ที่เป็นชาวต่างชาติ หน่วยเอ็สเอ็สเหล่านี้จะประกอบไปด้วยชายส่วนใหญ่ที่มาจากกลุ่มเชื้อชาติของยุโรปที่ถูกเยอรมนียึดครอง แต่ถึงแม้จะมีการผ่อนปรณข้อบังคับลง แต่หน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สก็ยังถืออุดมคติทางเชื้อของนาซี และห้ามผู้มีเชื้อชาติโปแลนด์(ที่ถูกมองว่าเป็นพวกต่ำกว่ามนุษย์)เข้ามาอยู่ในองค์กร[7][8][9]

สมาชิกหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สมีส่วนเกี่ยวข้องกับความโหดร้ายทารุณมากมายในช่วงสงคราม[10] การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คในช่วงหลังสงคราม หน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สถูกตัดสินว่าเป็นองค์กรอาชญากรรม เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคนาซีและเกี่ยวข้องโดยตรงกับอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติจำนวนมากมาย อดีตสมาชิกหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สถูกระงับสิทธิหลายประการที่ทหารผ่านศึกควรได้รับ ข้อยกเว้นที่ทำให้ไว้กับทหารเกณฑ์จากหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส ที่ได้รับการยกเว้นนั้นเพราะพวกเขาไม่ได้อาสาสมัครเลย[11][12] มีจำนวนประมาณหนึ่งในสามของสมาชิกทั้งหมดล้วนถูกเกณฑ์[13]

จุดถือกำเนิด(ค.ศ. 1929-39) แก้

 
การสวนสนามจากวันครบรอบปีที่สามของ กองพลยานเกราะเอ็สเอ็สที่ 1 ค.ศ. 1935

จุดถือกำเนิดของหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สได้สืบย้อนไปถึงการคัดเลือกกลุ่มของคนหน่วยเอ็สเอ็ส 120 คน เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1933 โดยเซ็พ ดีทริช เพื่อก่อตั้ง Sonderkommando เบอร์ลิน[14] ช่วงเดือนพฤศจิยน ค.ศ. 1933 การก่อตั้งขึ้นได้มีจำนวน 800 คน และที่พิธีฉลองในมิวนิกสำหรับวันครบรอบสิบปีจากความล้มเหลวของกบฏโรงเบียร์ในมิวนิก กรมทหารเหล่านี้ได้กล่าวคำสัตย์สาบานว่าจะจงรักภักดีต่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์ คำสัตย์สาบานคือ"ปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อเขาแต่เพียงผู้เดียว"และ"จะเชื่อฟังแม้กระทั่งความตาย"[14] การก่อตั้งหน่วยทหารนี้ได้ถูกแต่งตั้งชื่อเป็นไลบ์ชตันดาร์เทอ (กรมทหารคุ้มกัน) อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (LAH)[15] เมื่อวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1934 โดยคำสั่งของฮิมเลอร์ กรมทหารนี้ได้กลายเป็นที่รู้จักกันคือ ไลบ์ชตันดาร์เทอเอ็สเอ็ส อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (LSSAH)[15]

ไลบ์ชตันดาร์เทอได้แสดงความจงรักภักดีต่อฮิตเลอร์ในปี ค.ศ. 1934 ในช่วง"คืนมีดยาว" เมื่อระบอบนาซีได้ดำเนินการชุดการสังหารทางการเมืองและกวาดล้างหน่วยชตูร์มับไทลุง (SA)[14] นำโดยหนึ่งในสหายที่เก่าแก่ที่สุดของฮิตเลอร์ แอนสท์ เริม หน่วยเอ็สเอได้ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามโดยฮิตเลอร์ต่ออำนาจทางการเมืองที่เพิ่งได้รับมา ฮิตเลอร์ยังคงต้องการที่จะผูกมิตรกับผู้นำของไรชส์แวร์ (กองทัพแห่งสาธารณรัฐ) และฝ่ายอนุรักษ์นิยมของประเทศ, ประชาชนที่ให้การสนับสนุน ฮิตเลอร์มีความจำเป็นเพื่อความมั่งคงต่อตำแหน่งของเขา เมื่อฮิตเลอร์ได้ตัดสินใจที่จะเป็นฝ่ายปรปักษ์ต่อหน่วยเอ็สเอ หน่วยเอ็สเอ็สได้รับหน้าที่ในการกำจัดเริมและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยเอ็สเอคนอื่นๆ[16] คืนมีดยาวได้อุบัติขึ้นระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน ถึง 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 และแสดงให้เห็นว่ามีการสังหารผู้คนไปถึงกว่า 200 คน นี้ยังรวมไปถึงผู้นำของหน่วยเอ็สเอเกือบทั้งหมด, ได้สิ้นอำนาจอย่างสมบูรณ์ การปฏิบัติการนี้ส่วนใหญ่ได้ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่หน่วยเอ็สเอ็ส (รวมทั้งไลบ์ชตันดาร์เทอ) และเกสตาโพ[17]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1934 ฮิตเลอร์ได้อนุมัติให้ก่อตั้งกองกำลังปีกของพรรคนาซีและอนุมัติให้ก่อตั้งหน่วยเอ็สเอ็ส-เวอร์ฟือกุนจ์สทรูปเปอร์ (SS-VT) ทหารที่ทำหน้าที่พิเศษภายใต้บัญชาการโดยรวมของฮิตเลอร์[14] หน่วยเอ็สเอ็ส-วีทีได้ขึ้นต่อกองทัพเยอรมันสำหรับการจัดหาอาวุธและการฝึกซ้อมทหาร และพวกเขาได้ควบคุมระบบการสรรหาผ่านคณะกรรมการท้องถิ่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดเกณฑ์ทหารไปยังสาขาต่างๆของกองทัพแวร์มัคท์เพื่อให้ได้เป้าโควต้าที่ถูกกำหนดไว้โดยกองบัญชาการใหญ่แห่งกองทัพเยอรมัน (Oberkommando der Wehrmacht หรือ OKW ในเยอรมนี) หน่วยเอ็สเอ็สได้รับความสำคัญน้อยมากสำหรับการรับสมัคร[18]

แม้ว่าจะมีปัญหาที่นำเสนอโดยระบบโควต้า ไฮน์ริช ฮิมเลอร์ได้ก่อตั้งกรมทหารเอ็สเอ็สสองหน่วยขึ้นมาใหม่คือ "เอ็สเอ็ส เจอร์มาเนีย"และ"เอ็สเอ็ส ด็อยท์ลันด์" ซึ่งร่วมกับไลบ์ชตันดาร์เทอและการสื่อสารหน่วยที่ทำขึ้นในหน่วยเอ็สเอ็ส-วีที[18] ในขณะเดียวกัน ฮิมเลอร์ได้สร้าง SS-Junkerschule Bad Tölz และ SS-Junkerschule เบราน์ชไวค์สำหรับการฝึกทหารของเจ้าหน้าที่เอ็สเอ็ส[18] โรงเรียนทั้งสองได้ใช้วิธีการฝึกจากการประจำกองทัพและส่วนใหญ่ได้ใช้อดีตเจ้าหน้าที่นายทหารในกองทัพเป็นผู้ฝึก[18]

ในปี ค.ศ. 1934 ฮิมเลอร์ได้กำหนดความต้องการที่เข้มงวดสำหรับการรับสมัคร พวกเขาจะต้องเป็นชาวเยอรมันที่สามารถพิสูจน์สายเลือดอารยันของพวกเขาที่ย้อนกลับไปถึงปี ค.ศ. 1800 ไม่ได้สมรสแต่งงานและไม่มีประวัติอาชญากรรม การรับการพิจารณาเป็นเวลาสี่ปีสำหรับหน่วยเอ็สเอ็ส-วีทีและ LSSAH การรับสมัครนั้นจะต้องมีอายุระหว่าง 17 และ 23 ปี สูงอย่างน้อย 1.74 เมตร (5 ฟุต 9 นิ้ว) (1.78 เมตร (5 ฟุต 10 นิ้ว)สำหรับ LSSAH) การ์ดค่ายกักกันจะต้องทำให้ได้รับการพิจารณาเป็นเวลาหนึ่งปี จะต้องมีอายุระหว่าง 16 และ 23 ปี และสูงอย่างน้อย 1.72 เมตร (5 ฟุต 8 นิ้ว) การรับสมัครทั้งหมดจะต้องมีระดับสายตา 20/20 ฟุต ไม่มีการอุดฟัน และเพื่อให้ได้ใบรับรองการแพทย์ ในปี ค.ศ. 1938 ข้อจำกัดของความสูงได้รับการผ่อนผัน ได้อนุญาตให้อุดฟันได้ถึง 6 ซี่และอนุญาตให้สวมแว่นตาสำหรับสายตาเอียงและปรับวิสัยทัศน์เล็กน้อย เมื่อสงครามเริ่มต้นขึ้น ความต้องการทางกายภาพไม่ได้บังคับอย่างเคร่งครัดอีกต่อไปและเป็นหลักสูตรการรับสมัครคนใดที่ผ่านการตรวจสอบทางการแพทย์ขั้นพื้นฐานได้จะถูกพิจารณาเพื่อให้เข้าประจำการ สมาชิกของหน่วยเอ็สเอ็สจะนับถือศาสนาใดๆก็ได้ยกเว้นเพียงศาสนายูดาห์ (ยิว) แต่ผู้ที่เป็นอเทวนิยมจะไม่ได้รับอนุญาตตามคำสั่งของฮิมเลอร์ในปี ค.ศ. 1937

นักประวัติศาสตร์ที่ชื่อว่า Bernd Wegner ได้พบว่าในการศึกษาของเขาว่าเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ของคณะเหล่าอาวุโสของหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สมาจากเบื้องหลังระดับชนชั้นกลางและจะได้รับการพิจารณาสำหรับการว่าจ้างตามมาตรฐานเดิม ต่อมาในบรรดานายพลหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส มีประมาณหกในสิบที่มี"วุฒิการเข้ามหาวิทยาลัย"(Abitur) และไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าระดับมหาวิทยาลัย

ในปี ค.ศ. 1936 ฮิมเลอร์ได้เลือกอดีตพลโท เพาล์ เฮาส์เซอร์ เป็นผู้ตรวจการณ์ของหน่วยเอ็สเอ็ส-วีที เฮาส์เซอร์ได้ทำงานเพื่อเปลี่ยนหน่วยเอ็สเอ็ส-วีทีให้กลายเป็นกองกำลังทหารที่น่าเชื่อถือนั่นคือการแข่งขันสำหรับการเข้าประจำการในกองทัพ

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1938 ฮิตเลอร์ได้ประกาศว่าหน่วยเอ็สเอ็ส-วีทีจะมีบทบาททั้งภายในประเทศและนอกต่างประเทศ ซึ่งเปลี่ยนให้เป็นกองกำลังทหารที่กำลังเติบโตนี้ให้กลายเป็นคู่แข่งที่กองทัพหวั่นเกรง เขาได้สั่งว่าการเข้าประจำการในหน่วยเอ็สเอ็ส-วีที มีคุณสมบัติที่เพียงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่ในการประจำการกองทัพ แม้ว่าการปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยเอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอ (SS-TV) นั้นจะยังไม่ บางหน่วยของหน่วยเอ็สเอ็ส-ทีวีอาจจะ ในกรณีของสงคราม ได้ถูกใช้เป็นกองกำลังสำรองของหน่วยเอ็สเอ็ส-วีทีซึ่งไม่มีกำลังสำรองเป็นของตนเอง จากทั้งหมดของการฝึก หน่วยเอ็สเอ็ส-วีทีได้ถูกทดสอบในการรบ ในปี ค.ศ. 1938 กองพันทหารของไลบ์ชตันดาร์เทอได้ถูกเลือกให้ไปพร้อมกับทหารกองทัพในการยึดครองออสเตรียในช่วงอันชลุสส์ และสามกรมทหารของหน่วยเอ็สเอ็ส-วีทีได้ร่วมมือในการยึดครองซูเดเทินลันด์ เมื่อเดือนตุลาคม ในการกระทำทั้งสองนั้นไม่พบการต่อต้านใดๆ

การคัดเลือกเชื้อชาติเยอรมันจากประเทศอื่นๆได้เริ่มต้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 1940 และหน่วยทหารที่ประกอบด้วยกลุ่มคนที่รับสมัครที่ไม่ใช่เยอรมันได้ถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1942 หน่วยทหารที่ไม่ใช่เยอรมันไม่ได้รับการพิจารณาให้เป็นส่วนหนึ่งของเอ็สเอ็ส ซึ่งยังคงรักษาบรรทันฐานเชื้อชาติ แต่ได้รับการพิจารณาให้เป็นชาวต่างชาติที่ทำหน้าที่ภายใต้การบังคับบัญชาของเอ็สเอ็ส ตามปกครองทั่วไป, ฐานะที่เป็น"กองพลเอ็สเอ็ส" ถูกสร้างขึ้นจากชาวเยอรมันหรือชนเชื้อชาติเจอร์แมนิก ในขณะที่"กองพลของเอ็สเอ็ส"ถูกสร้างขึ้นจากอาสาสมัครและทหารเกณฑ์ที่ไม่ใช่เยอรมัน

สงครามโลกครั้งที่สอง แก้

ค.ศ. 1939 แก้

การบุกครองโปแลนด์ แก้

 
เจ้าหน้าที่ เอ็สเอ็ส-ไอน์ซัทซ์กรุพเพิน กำลังสังหารหมู่พลเรือนชาวโปแลนด์ ไม่นานหลังจากการปะทุของสงครามโลกครั้งที่สอง

กองกำลังทหารของฮิมเลอร์ได้ก่อตั้งขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของสงครามจะประกอบไปด้วยกลุ่มย่อยหลายกลุ่มที่จะกลายเป็นพื้นฐานของหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส

  • ไลบ์ชตันดาร์เทอเอ็สเอ็ส อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ภายใต้การบังคับบัญชาของโอเบอร์กรุพเพินฟือเรอร์ โยเซฟ "เซพพ์" ดีทริซ
  • กองตรวจการณ์แห่งเอ็สเอ็ส-เวอร์ฟือกุนจ์สทรูปเปอร์ ภายใต้การบังคับบัญชาของกรุพเพินฟือเรอร์ เพาล์ เฮาส์เซอร์ ซึ่งบัญชาการกรมทหารด็อยท์ลันด์ เจอร์มาเนีย และเดอ ฟือเรอร์ ต่อมาได้ประกาศรับสมัครในออสเตรียมภายหลังจากอันชลุสส์และยังไม่พร้อมที่จะเข้าร่วมการรบ
  • กองตรวจการณ์แห่งค่ายกักกัน ภายใต้การบังคับบัญชาของกรุพเพินฟือเรอร์ ธีโอดอร์ ไอค์เคอ ซึ่งเป็นสี่ทหารราบและหนึ่งทหารม้าแห่งกองกำลังทหารหน่วยหัวกะโหลก(Death's-Head Standarten,) ประกอบไปด้วยทหารการ์ดค่ายของหน่วยเอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอ (SS-TV) ทหารเหล่านี้จะติดสัญลักษณ์ด้วยหัวกะโหลกไขว้มากกว่าที่จะเป็นอักษรรูนที่เขียนแทนคำว่า เอ็สเอ็ส (เยอรมัน: Schutzstaffel  )
  • หน่วยตำรวจของโอเบอร์กรุพเพินฟือเรอร์ อุนด์ เกเนรัล แดร์ โพลีไซ เคิรท์ ดาลูเกอของหน่วยออร์ดนุงโพลีไซ ซึ่งจะรายงานต่อฮิมเลอร์ในฐานะของเขาที่เป็นหัวหน้าตำรวจเยอรมัน ทหารเหล่านี้จะใช้ยศตำแหน่งและตราประจำยศมากกว่าที่จะเป็นเอ็สเอ็ส

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1939 ฮิตเลอรืได้วางไลบ์ชตันดาร์เทอและเอ็สเอ็ส-วีที ภายใต้การควบคุมปฏิบัติการของกองบัญชาการใหญ่แห่งกองทัพ(OKW) ฮิมเลอร์ยังคงบัญชาการทหารหน่วยหัวกะโหลก จากการว่าจ้างที่อยู่เบื้องหลังของการก้าวหน้าหน่วยรบในสิ่งที่เรียกได้อย่างสวยงามว่า "ภารกิจพิเศษของตำรวจธรรมชาติ"

แม้ว่าจะมีชัยชนะทางทหารเหนือโปแลนด์ได้อย่างรวดเร็วในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 กองทัพประจำรู้สึกว่าการดำเนินงานของเอ็สเอ็ส-วีทีเป็นที่ต้องการมากมาย หน่วยนั้นจะมีความเสี่ยงที่ไม่จำเป็นและมีอัตราสูญเสียที่สูงกว่ากองทัพ พวกเขายังถูกระบุว่าหน่วยเอ็สเอ็ส-วีทียังฝึกซ้อมไม่ดีพอและเจ้าหน้าที่ยังไม่เหมาะสำหรับสั่งการรบ


อ้างอิง แก้

  1. Stein 2002, pp. xxiv, xxv, 150, 153.
  2. Stein 2002, p. 23.
  3. The Nazi Holocaust. Part 3: The "Final Solution": The Implementation of Mass Murder. Volume 2, p. 459, De Gruyter, 1989
  4. Stackelberg 2002, p. 116.
  5. Langer & Rudowski 2008, p. 263.
  6. Król 2006, pp. 452, 545.
  7. W. Borodziej, Ruch oporu w Polsce w świetle tajnych akt niemieckich, Część IX, Kierunki 1985, nr 16.
  8. Polska i Polacy w propagandzie narodowego socjalizmu w Niemczech 1919-1945 Eugeniusz Cezary Król Instytut Studiów Politycznych Polskiej Akademii Nauk, 2006, page 452
  9. Terror i polityka: policja niemiecka a polski ruch oporu w GG 1939-1944 Włodzimierz Borodziej Instytut Wydawniczy Pax, 1985, p. 86.
  10. "Waffen-SS: Mračne sile zločinačke politike - Vojnici nacionalsocijalizma 1933.-45." ("Waffen-SS: The Dark Forces Of Villain Politics - The Soldiers Of Nationalsocialism 1933-45"), p 9, Hrvoje Spajić, 2010.
  11. "Two Hundred And Seventeenth Day", Nuremberg Trial Proceedings, vol. 22, September 1946 – โดยทาง Avalon Project
  12. Laar, Mart (2005). "Battles in Estonia in 1944". Estonia in World War II. Tallinn: Grenamder. pp. 32–59.
  13. McDonald, Gabrielle Kirk; Swaak-Goldman, Olivia (2000). Substantive and Procedural Aspects of International Criminal Law: The Experience of International and National Courts: Materials. BRILL. p. 695.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 Flaherty 2004, p. 144.
  15. 15.0 15.1 Cook & Bender 1994, pp. 17, 19.
  16. Kershaw 2008, pp. 306–313.
  17. Kershaw 2008, pp. 309–313.
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 Flaherty 2004, p. 145.