ยุทธเวหาที่บริเตน

ยุทธเวหาที่บริเตน (อังกฤษ: Battle of Britain) คือการรบทางอากาศที่กองทัพอากาศเยอรมันหรือลุฟท์วัฟเฟอ (Luftwaffe) เปิดการโจมตีทางอากาศเพื่อชิงความได้เปรียบกับกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร ก่อนที่จะดำเนินการบุกทางทะเลและการทิ้งทหารพลร่มจากอากาศในปฏิบัติการสิงโตทะเล (Unternehmen Seelöwe) ที่ทางเยอรมันได้วางแผนไว้ก่อนหน้า ต้นเหตุของการรบครั้งนี้มาจากความคิดของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และนายทหารในกองทัพบกเยอรมันที่เชื่อว่าการบุกหมู่เกาะบริเตนข้ามทะเลจะไม่สามารถทำได้โดยง่ายถ้ากองทัพอากาศหลวงไม่ถูกทำลายเสียก่อน เป้าหมายหลักของลุฟวาฟเฟิลในการเปิดศึกทางอากาศคือเพื่อบั่นทอนหรือทำลายกองกำลังทางอากาศของอังกฤษจนอ่อนแอกว่าที่จะยับยั้งการบุกได้ ส่วนเป้าหมายรองก็คือทำลายโรงงานผลิตเครื่องบินและสาธารณูปโภคต่างๆ รวมทั้งทิ้งระเบิดใส่พื้นที่ที่มีความสำคัญทางการเมือง เพื่อข่มขู่ชาวบริเตนให้ยอมแพ้หรือยอมสงบศึกด้วย กระนั้น แม้เยอรมนีจะมีเครื่องบินรบที่ดีกว่าและนักบินที่มีประสบการณ์มากกว่า (สืบเนื่องจากการบุกครองโปแลนด์ก่อนหน้านี้) แต่ความเด็ดขาดของกองทัพอากาศหลวงและจำนวนเครื่องบินที่มากกว่า ทำให้ฝ่ายเยอรมันประสบกับความล้มเหลวในการทำลาย หรือแม้แต่จะบั่นทอนกำลังของกองทัพอากาศหลวงของอังกฤษ (หรือแม้แต่จะทำลายขวัญกำลังใจของชาวบริเตน)และพ่ายแพ้ไปในที่สุดซึ่งความพ่ายแพ้ครั้งนี้ของเยอรมันถือเป็นหนึ่งในความพ่ายแพ่ครั้งสำคัญของเยอรมันที่จะนำไปสู่ชัยชนะเหนือฝ่ายอักษะของฝ่ายสัมพันธมิตรในที่สุดเพราะเวลาต่อมานาซีเยอรมันได้หันเหไปโจมตีสหภาพโซเวียตแทนทำให้อังกฤษสามารถตั้งตัวได้และได้พันธมิตรใหม่เข้าร่วมต่อสู้กับนาซีเยอรมันคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต

ยุทธเวหาบริเตน
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง
Battle of britain air observer.jpg

พนักงานสำรวจน่านฟ้าลอนดอน
วันที่10 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 - พฤษภาคม พ.ศ. 2484
สถานที่น่านฟ้าของสหราชอาณาจักร
ทางตอนใต้ของอังกฤษเสียเป็นส่วนใหญ่
ผล สหราชอาณาจักรชนะศึก
คู่สงคราม
 สหราชอาณาจักร
แคนาดา แคนาดา
 จักรวรรดิบริติช
(กองทัพอากาศทัพนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยชาติพันธมิตร)
Flag of Germany (1935–1945).svg เยอรมนี
อิตาลี อิตาลี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
จักรวรรดิบริติช ฮิวจ์ ดาวดิงก์
จักรวรรดิบริติช คีท พาร์ก
จักรวรรดิบริติช แทรฟเฟิร์ด ลี-แมลเลอรี
จักรวรรดิบริติช ควินติน แบรนด์
จักรวรรดิบริติช ริชาร์ด ซอล
แคนาดา ลอยด์ ซามูเอล บรีดเนอร์
Flag of Germany (1935–1945).svg เฮอร์มัน เกอริง
Flag of Germany (1935–1945).svg อัลแบร์ท เค็สเซิลริง
Flag of Germany (1935–1945).svg ฮูโก ชแปร์เลอ
Flag of Germany (1935–1945).svg ฮันส์-เยือร์เกิน ชตุมพฟ์
Flag of Germany (1935–1945).svg โรแบร์ท ริทเทอร์ ฟ็อน ไกรม์
อิตาลี Rino Corso Fougier[1]
ความสูญเสีย
เครื่องบินขับไล่ 1,023 ลำ
เครื่องบินทิ้งระเบิด 524 ลำ
เครื่องบินขับไล่ 873 ลำ
เครื่องบินทิ้งระเบิด 1,014 ลำ
เสียเครื่องบินไปทั้งหมด 1,887 ลำ

ยุทธเวหาบริเตนถือเป็นการรบครั้งแรกที่สู้กันทางอากาศตลอดทั้งศึก รวมถึงเป็นศึกที่มีปฏิบัติการณ์ทิ้งระเบิดที่ยาวนานและสูญเสียมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นศึกที่มีการทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ (ที่มีจุดประสงค์เพื่อทำลายเศรษฐกิจ หรือการผลิตของศัตรู ไม่ใช่การทำลายข้าศึกโดยตรง) ที่ถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้จริง

อ้างอิงแก้ไข

  1. Haining 2005, p. 68