การสังหารหมู่กาตึญ

การสังหารหมู่

การสังหารหมู่กาตึญ (โปแลนด์: zbrodnia katyńska, mord katyński, "Katyń crime",) เป็นการประหารชีวิตหมู่เจ้าหน้าที่ทหาร เชลยศึก และปัญญาชนชาวโปแลนด์เกือบ 22,000 คน ดำเนินการโดยสหภาพโซเวียต โดยเฉพาะเอนคาเวเด ("กรมการราษฎรฝ่ายกิจการภายใน" หรือตำรวจลับโซเวียต) ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ค.ศ. 1940 แม้ว่าการสังหารจะเกิดขึ้นในเรือนจำที่เมืองคาลีนีนและคาร์กิว และที่อื่น ๆ การสังหารหมู่นี้ตั้งชื่อตามป่ากาตึญซึ่งหลุมศพจำนวนมากถูกค้นพบครั้งแรกโดยกองทัพนาซีเยอรมนี

การสังหารหมู่กาตึญ
เป็นส่วนหนึ่งของ ผลพวงของการบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต (ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง) และการปราบปรามพลเมืองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1939-1946)
หลุมฝังศพหมู่ของเจ้าหน้าที่โปแลนด์ในป่ากาตึญซึ่งถูกขุดโดยเยอรมนีใน ค.ศ. 1943
การสังหารหมู่กาตึญตั้งอยู่ในthe Soviet Union
การสังหารหมู่กาตึญ
สถานที่ป่ากาตึญ, คาลีนีน และเรือนจำคาร์กิวในสหภาพโซเวียต
วันที่เมษายน–พฤษภาคม ค.ศ. 1940
เป้าหมายสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 เจ้าหน้าที่ทหาร เชลยศึก และปัญญาชนชาวโปแลนด์
ประเภทอาชญากรรมสงคราม, การเด็ดหัว, การสังหารหมู่
ตาย22,000
ผู้ก่อเหตุสหภาพโซเวียต เอนคาเวเด

คำสั่งให้ประหารชีวิตสมาชิกของเจ้าหน้าที่โปแลนด์ที่เป็นเชลยนั้นออกอย่างลับ ๆ โดยโปลิตบูโรของโซเวียตที่นำโดยโจเซฟ สตาลิน[1] จากจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด ประมาณ 8,000 คนเป็นเจ้าหน้าที่ที่ถูกคุมขังระหว่างการบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1939 อีก 6,000 คนเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ และอีก 8,000 คนที่เหลือเป็นปัญญาชนชาวโปแลนด์ที่โซเวียตถือว่าเป็น "สายลับและตำรวจกึ่งทหาร สายลับและผู้ก่อวินาศกรรม อดีตเจ้าของที่ดินเจ้าของโรงงานและเจ้าหน้าที่"[2] ชั้นเจ้าหน้าที่ของกองทัพโปแลนด์เป็นตัวแทนของรัฐโปแลนด์ที่มีเชื้อชาติหลากหลาย ผู้ถูกสังหารประกอบด้วยชาวโปแลนด์เชื้อสายยูเครน ชาวเบลารุส และชาวยิวในโปแลนด์ 700–900 คน รวมทั้งบารุค สไตน์เบิร์ก หัวหน้ารับบีในกองทัพโปแลนด์[3]

รัฐบาลนาซีเยอรมนีประกาศการค้นพบหลุมฝังศพจำนวนมากในป่ากาตึญในเดือนเมษายน ค.ศ. 1943[4] สตาลินตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลนด์ในลอนดอน เมื่อมีการร้องขอให้มีการสอบสวนโดยคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หลังจากการรุกวิสตูลา–โอเดอร์[5] ซึ่งหลุมฝังศพจำนวนมากตกอยู่ในการควบคุมของโซเวียต สหภาพโซเวียตอ้างว่าพวกนาซีได้สังหารเหยื่อ และยังคงปฏิเสธความรับผิดชอบต่อการสังหารหมู่จนถึง ค.ศ. 1990 เมื่อมีการยอมรับและประณามการสังหารโดยเอนคาเวเดอย่างเป็นทางการ ตลอดจนการปกปิดโดยรัฐบาลโซเวียตในเวลาต่อมา

การสืบสวนที่ดำเนินการโดยอัยการสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1990-1991) และสหพันธรัฐรัสเซีย (ค.ศ. 1991-2004) ยืนยันความรับผิดชอบของโซเวียตต่อการสังหารหมู่ แต่ปฏิเสธที่จะจัดประเภทการกระทำนี้เป็นอาชญากรรมสงครามหรือเป็นการกระทำของการฆาตกรรมหมู่ การสืบสวนปิดลงเนื่องจากผู้กระทำความผิดเสียชีวิตแล้ว และเนื่องจากรัฐบาลรัสเซียจะไม่จัดประเภทผู้เสียชีวิตว่าเป็นเหยื่อของการกวาดล้างใหญ่ การกู้ชื่อเสียงหลังมรณกรรมอย่างเป็นทางการจึงถือว่าใช้ไม่ได้ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010 สภาดูมาของรัสเซียได้อนุมัติคำประกาศประณามสตาลินและเจ้าหน้าที่โซเวียตคนอื่น ๆ ที่สั่งสังหารหมู่ โดยความหวังว่าจะปรับปรุงความสัมพันธ์กับโปแลนด์ อย่างไรก็ตาม ด้วยสงครามรัสเซีย–ยูเครน ความสัมพันธ์เริ่มตึงเครียด ใน พ.ศ. 2564 กระทรวงวัฒนธรรมรัสเซียได้ลดระดับอนุสรณ์สถานที่กาตึญในการลงทะเบียนสถานที่มรดกทางวัฒนธรรมจากสถานที่ของรัฐบาลกลางให้เหลือเพียงที่ที่มีความสำคัญในระดับภูมิภาค[6]

อ้างอิง

แก้
  1. Brown, Archie (2009). The Rise and Fall of Communism. HarperCollins. p. 140. ISBN 978-0061138799. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2013. สืบค้นเมื่อ 7 May 2011.
  2. Kużniar-Plota, Małgorzata (30 November 2004). "Decision to commence investigation into Katyn Massacre". Departmental Commission for the Prosecution of Crimes against the Polish Nation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2012. สืบค้นเมื่อ 4 August 2011.
  3. Zofia Waszkiewicz, "Baruch Steinberg", in: Polski Słownik Biograficzny, t. XLIII, 2004–2005, pp. 305–306
  4. Engel, David (1993). Facing a holocaust: the Polish government-in-exile and the Jews, 1943–1945. UNC Press Books. p. 71. ISBN 978-0807820698. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2013. สืบค้นเมื่อ 16 June 2011.
  5. Leslie, Roy Francis (1983). The History of Poland since 1863. Cambridge University Press. p. 244. ISBN 978-0521275019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2016. สืบค้นเมื่อ 29 October 2015.
  6. "The Katyn memorial complex", Russia's Necropolis of Terror and the Gulag เก็บถาวร 22 พฤศจิกายน 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.

ดูเพิ่ม

แก้

หนังสือเพิ่มเติม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้