รัฐบาลพลัดถิ่นโปแลนด์

รัฐบาลพลัดถิ่นโปแลนด์ เป็นที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการว่า รัฐบาลพลัดถิ่นแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์ (โปแลนด์: Rząd Rzeczypospolitej Polskiej na uchodźstwie) เป็นรัฐบาลพลัดถิ่นของโปแลนด์ ถูกก่อตั้งขึ้นในภายหลังจากการบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 และต่อมาโปแลนด์ถูกยึดครองโดยเยอรมนีและสหภาพโซเวียต ซึ่งทำให้สาธารณรัฐโปแลนด์ที่สองต้องยุติลง

รัฐบาลพลัดถิ่นแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์

Rząd Rzeczypospolitej Polskiej na uchodźstwie
1939–1990
เพลงชาติมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ
(แปลว่า "โปแลนด์ยังไม่สูญสิ้น")
สถานะรัฐบาลพลัดถิ่น
เมืองหลวงวอร์ซอ (โดยนิตินัย)
เมืองหลวงขณะพลัดถิ่น Exile
ปารีส
(ค.ศ. 1939–1940)
อ็องเฌ
(ค.ศ. 1940)
ลอนดอน
(ค.ศ. 1940–1990)
ภาษาทั่วไปโปแลนด์
การปกครองรัฐบาลพลัดถิ่น
ประธานาธิบดี 
• 1939–1947
ววาดือสวัฟ ราตช์กีแยวิตช์ (คนแรก)
• 1989–1990
รือชาร์ด กาตส์ซอรอฟสกี (คนสุดท้าย)
นายกรัฐมนตรี 
• 1939–1943
ววาดือสวัฟ ชีคอร์สกี (คนแรก)
• 1986–1990
แอดวาร์ด เชเบนิกช์ (คนสุดท้าย)
ยุคประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเย็น
23 เมษายน ค.ศ. 1935
17 กันยายน 1939
5 กรกฎาคม ค.ศ. 1945
• ลัทธิคอมมิวนิสต์สิ้นสุดลง
22 ธันวาคม 1990
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2
รัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์
สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 3

แม้ว่าโปแลนด์จะถูกยึดครองโดยอำนาจฝ่ายศัตรู รัฐบาลพลัดถิ่นก็ยังได้ใช้อิทธิพลมากมายในโปแลนด์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผ่านทางโครงสร้างของรัฐใต้ดินโปแลนด์และกองกำลังติดอาวุธ ขบวนการต่อต้านอาร์เมีย คราโยวา(กองทัพบ้านเกิด) ในต่างประเทศ ภายใต้อำนาจของรัฐบาลพลัดถิ่น หน่วยทหารโปแลนด์ที่หลบหนีจากการถูกยึดครองได้ต่อสู้รบภายใต้ผู้บัญชาการของตนเองในฐานะส่วนหนึ่งของกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง

ภายหลังสงคราม เมื่อดินแดนโปแลนด์ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของสาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ ซึ่งเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต รัฐบาลพลัดถิ่นก็ยังคงดำรงอยู่ แม้ว่าส่วนใหญ่จะไม่เป็นที่ยอมรับและไม่มีอำนาจที่มีประสิทธิภาพ เพียงหลังจากการปกครองของคอมมิวนิสต์ในโปแลนด์ได้ยุติลง รัฐบาลพลัดถิ่นได้ส่งต่อความรับผิดชอบอย่างเป็นทางการไปยังรัฐบาลใหม่ของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 3 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1990

รัฐบาลพลัดถิ่นได้ตั้งอยู่ในฝรั่งเศส ระหว่างปี ค.ศ. 1939 ถึง 1940 ครั้งแรกในกรุงปารีส และต่อจากนั้นในอ็องเฌ ตั้งแต่ ค.ศ. 1940 ภายหลังจากฝรั่งเศสถูกยึดครอง รัฐบาลได้ย้ายไปยังกรุงลอนดอน และยังคงอยู่ในสหราชอาณาจักรจนกระทั่งได้ถูกยุบลงใน ค.ศ. 1990

อ้างอิง แก้

บรรณานุกรม แก้

  • Engel, David (2014). In the Shadow of Auschwitz: The Polish Government-in-exile and the Jews, 1939–1942 (ภาษาอังกฤษ). UNC Press Books. ISBN 9781469619576.
  • Cienciala, Anna M. "The Foreign Policy of the Polish Government-in-Exile, 1939–1945: Political and Military Realities versus Polish Psychological Reality" in: John S. Micgiel and Piotr S. Wandycz eds., Reflections on Polish Foreign Policy, New York: 2005. online
  • Davies, Norman. God's Playground: A History of Poland, Vol. 2: 1795 to the Present (2005)
  • Kochanski, Halik. The Eagle Unbowed: Poland and the Poles in the Second World War (2012) excerpt and text search

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

สื่อ แก้

Republic in Exile tells the story of the Polish government-in-exile in the form of five short episodes available on the YouTube channel: Polish Embassy UK

52°13′N 21°02′E / 52.217°N 21.033°E / 52.217; 21.033