ยุทธการที่สตาลินกราด
ในยุทธการที่สตาลินกราด (23 สิงหาคม ค.ศ. 1943-2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943) เยอรมนีและประเทศพันธมิตรได้ต่อสู้รบกับสหภาพโซเวียตในการเข้าควบคุมเมืองสตาลินกราด(ปัจจุบันคือ วอลโกกราด) ในทางตอนใต้ของประเทศรัสเซีย การสู้รบครั้งได้เกิดขึ้นด้วยการต่อสู้ในระยะประชิดที่รุนแรงและการโจมตีโดยตรงต่อพลเรือนในการตีโฉบฉวยทางอากาศ ยุทธการที่สตาลินกราดเป็นการสู้รบที่ร้ายแรงมากที่สุดที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[5] และเป็นหนึ่งในการรบที่นองเลือดมากที่สุดในประวัติศาสตร์สงคราม โดยมีการประเมินความสูญเสียทั้งหมด 2 ล้านคน[6] การสู้รบครั้งนี้ได้กลายเป็นจุดพลิกผันในสงคราม เนื่องจากได้บีบบังคับให้กองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์(OKW) ถอนกองกำลังทหารจำนวนมากมายออกจากเขตสงครามอื่น ๆ เพื่อทดแทนความสูญเสียของพวกเขาบนแนวรบด้านตะวันออก[7] ชัยชนะที่สตาลินกราดได้ปลุกใจให้แก่กองทัพแดงและเปลี่ยนสมดุลแห่งอำนาจในการสนับสนุนของโซเวียต
ยุทธการสตาลินกราด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||||
![]() น้ำพุบาร์มาเลย์ (Barmaley) หนึ่งในสัญลักษณ์ของสตาลินกราดใน ค.ศ. 1943 หลังยุทธการจบลง | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
![]() | |||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
กำลัง | |||||||||
|
| ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
|
|
ความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของสตาลินกราดนั้นยากที่จะพูดเกินความเป็นจริง สตาลินกราดเป็นที่ตั้งของเขตอุตสาหกรรมและศูนย์รวมการขนส่งที่สำคัญบนแม่น้ำวอลกา ที่สำคัญกว่านั้น ผู้ใดก็ตามที่เข้าควบคุมสตาลินกราดมาได้ ก็จะสามารถเข้าถึงแหล่งบ่อน้ำมันบนเทือกเขาคอเคซัส เยอรมนีได้ใช้เชื้อเพลิงจำนวนที่มีอยู่ลดน้อยลงจึงได้ตระหนักถึงสิ่งนี้อย่างรวดเร็วและฮิตเลอร์ได้อนุมัติในการบุกครองสตาลินกราดโดยทันที เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม เยอรมันได้เปิดฉากการรุกโดยใช้กองทัพที่ 6 และส่วนหนึ่งของกองทัพยานเกราะที่ 4 การโจมตีครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนโดยการทิ้งระเบิดอย่างเข้มข้นของลุฟท์วัฟเฟอซึ่งทำให้เมืองส่วนใหญ่กลายเป็นซากปรักหักพัง การสู้รบที่เลวร้ายก็ได้กลายเป็นการสู้รบบนอาคารต่ออาคาร เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างเสริมกองกำลังเข้ามาในเมือง ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน เยอรมันได้ผลักดันฝ่ายป้องกันของโซเวียตให้กลับเข้าไปในพื้นที่แคบ ๆ ตามริมชายฝั่งตะวันตกของแม่น้ำด้วยความสูญเสียอย่างหนัก
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน กองทัพแดงได้เปิดฉากปฏิบัติการยูเรนัส การโจมตีสองง่ามหรือเรียกว่าคีมหนีบโดยมีเป้าหมายต่อกำลังพลโรมาเนียที่อ่อนแอ ซึ่งกำลังคอยป้องกันปีกของกองทัพที่ 6[8][./ยุทธการที่สตาลินกราด#cite_note-FOOTNOTEBeevor1998239-8 [8]] ปีกของฝ่ายอักษะถูกโจมตีและกองทัพที่ 6 ถูกตัดขาดและโอบล้อมในพื้นที่สตาลินกราด อดอล์ฟ ฮิตเลอร์มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่แล้วว่าจะรักษาเมืองเอาไว้ด้วยทุกวิถีทางและสั่งห้ามไม่ให้กองทัพที่ 6 ในความพยายามตีฝ่าวงล้อมออกไป แทนที่ด้วย ความพยายามในการส่งซัพพลายโดยทางอากาศและฝ่าทะลวงวงโอบล้อมจากภายนอก การสู้รบอย่างหนักยังคงดำเนินต่อไปอีกสองเดือน ในช่วงต้นของเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 กองทัพเยอรมันในสตาลินกราด พวกเขาแทบจะไม่มีกระสุนและเสบียงอาหารเหลืออยู่เลยจึงตัดสินใจทำการยอมจำนนในที่สุด ทำให้กองทัพภาคสนามกลุ่มแรกของฮิตเลอร์ได้ยอมจำนนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[9] ภายหลังจากห้าเดือน หนึ่งสัปดาห์ และสามวันของการสู้รบ
เบื้องหลังแก้ไข
ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1942 แม้ว่าปฏิบัติการบาร์บาร็อสซาได้ล้มเหลวในการเอาชนะอย่างเด็ดขาดกับสหภาพโซเวียตในการทัพเพียงครั้งเดียว แวร์มัคท์สามารถยึดครองดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลมาได้ รวมทั้งยูเครน เบลาลุส และสาธารณรัฐบอลติก ในที่อื่น ๆ สงครามกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี: การรุกของเรืออูในมหาสมุทรแอตแลนติกได้ประสบความสำเร็จอย่างมากและแอร์วีน ร็อมเมิลเพิ่งจะเข้ายึดครองทูบลักมาได้[10]:522 ในตะวันออก เยอรมันได้รักษาแนวหน้าเอาไว้อย่างมั่นคงซึ่งดำเนินจากทางตอนใต้ของเลนินกราดไปยังรอสตอฟ ด้วยกองกำลังจำนวนหนึ่งในส่วนที่ยื่นออกมาเพียงเล็กน้อย ฮิตเลอร์มั่นใจแล้วว่าเขาสามารถทำลายล้างกองทัพแดงได้ แม้ว่าเยอรมันจะสูญเสียอย่างหนักก็ตามในทางตะวันตกของมอสโกในช่วงฤดหนาว ค.ศ. 1941-42 เพราะกลุ่มกองทัพกลาง (Heeresgruppe Mitte) ซึ่งไม่สามารถสู้รบได้ด้วยเพียง 65% ของทหารราบ ซึ่งในขณะเดียวกันได้รับการพักผ่อนและเตรียมอุปกรณ์ใหม่ กลุ่มกองทัพเหนือไม่ก็กลุ่มกองทัพใต้ได้ถูกกดดันอย่างหนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาว สตาลินได้คาดการณ์ว่า การโจมตีสวนกลับหลักของเยอรมันในช่วงฤดูร้อนจะมุ่งตรงมายังกรุงมอสโกอีกครั้ง[11]:498
ด้วยปฏิบัติการช่วงแรกได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก เยอรมันได้ตัดสินใจว่า การทัพช่วงฤดูร้อนใน ค.ศ. 1942 จะมุ่งไปทางใต้ของสหภาพโซเวียต วัตถุประสงค์เบื้องต้นในภูมิภาคโดยรอบสตาลินกราดคือการทำลายขีดความสามารถทางอุตสาหกรรมของเมืองและปิดกั้นเส้นทางจราจรบนแม่น้ำวอลกาที่เชื่อมต่อกับเทือกเขาคอเคซัสและทะเลแคสเปียนไปยังภาคกลางของรัสเซีย เนื่องจากเมืองแห่งนี้ตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญใกล้กับทางน้ำโค้งขนาดใหญ่ของแม่น้ำวอลกา เยอรมันจะทำการตัดท่อส่งน้ำมันออกจากแหล่งบ่อน้ำมันเมื่อพวกเขาเข้ายึดครองรอสตอฟ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม การเข้ายึดครองสตาลินกราดจะทำให้การส่งมอบกำลังบำรุงภายใต้นโยบายให้ยืม-เช่าผ่านทางฉนวนเปอร์เซียได้ยากลำบากมากขึ้น[12][13][14]
เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 ฮิตเลอร์ได้เขียนเป็นการส่วนตัวถึงวัตถุประสงค์ปฏิบัติการสำหรับการทัพ ค.ศ. 1942 ซึ่งได้ขยายขอบเขตให้ครอบคลุมถึงการเข้ายึดครองเมืองสตาลินกราด ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มให้ความสำคัญต่อโฆษณาชวนเชื่อต่อเมือง ซึ่งเป็นของผู้นำโซเวียตที่น่าเบื่อ ฮิตเลอร์ได้ประกาศไว้ว่าภายหลังจากสตาลินกราดถูกยึดครองไว้แล้ว พลเมืองชายจะถูกสังหารและผู้หญิงและเด็กทั้งหมดจะถูกขับไล่เนรเทศเพราะประชากรล้วนเป็น "พวกคอมมิวนิสต์โดยสิ้นเชิง" และ "อันตรายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง"[15] มันเป็นข้อสันนิษฐานว่าการเข้ายึดครองเมืองจะยังคงรักษาอย่างหนักแน่นที่ปีกด้านเหนือและตะวันตกของกองทัพเยอรมัน ในขณะที่พวกเขาได้รุกเข้าสู่บากู โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาแหล่งทรัพยากรปิโตรเลียมที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สำหรับเยอรมนี[16]:528 การขยายวัตถุประสงค์เป็นปัจจัยสำคัญในความล้มเหลวของเยอรมนีที่สตาลินกราด เนื่องจากความมั่นใจที่มากเกินไปของเยอรมัน และการประเมินที่ต่ำเกินไปต่อกองกำลังสำรองของโซเวียต[17]
โซเวียตได้ตระหนักถึงสถานการณ์ที่วิกฤตของพวกเขา โดยการออกคำสั่งให้ทุกคนที่ถืออาวุธปืนไรเฟิลในการเข้าสู้รบ[18]:94
บทนำแก้ไข
"ถ้าข้าพเจ้าไม่ได้น้ำมันจากไมคอฟและกรอซนีล่ะก็ ข้าพเจ้าต้องทำมันให้หมดสิ้น(กำจัด)ในสงครามครั้งนี้"
— อดอล์ฟ ฮิตเลอร์[10]:514
กลุ่มกองทัพใต้ได้ถูกเลือกในการเคลื่อนทัพอย่างรวดเร็วไปข้างหน้าผ่านทางทุ่งหญ้าสเตปป์ทางตอนใต้ของรัสเซียเข้าไปยังเทือกเขาคอเคซัสเพื่อเข้ายึดแหล่งน้ำมันที่สำคัญของโซเวียตจากที่นั่น แผนการรุกช่วงฤดูร้อนที่มีรหัสนามว่า ฟัลเบาว์ (กรณีสีน้ำเงิน) ซึ่งได้รวมถึงกองทัพที่ 6 กองทัพที่ 17 กองทัพยานเกราะที่ 4 และกองทัพยานเกราะที่ 1 ของเยอรมัน กลุ่มกองทัพใต้ได้บุกรุกสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนใน ค.ศ. 1941 จุดพุ่งเป้าไปที่ยูเครนตะวันออก เพื่อเป็นหัวหอกในการรุก
แต่อย่างไรก็ตาม ฮิตเลอร์ได้เข้ามาแทรกแซง ด้วยการออกคำสั่งให้แบ่งแยกกลุ่มกองทัพออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มกองทัพใต้ (เอ) ภายใต้บัญชาการของวิลเฮล์ม ลิสต์ จะเข้ารุกไปยังทางใต้เข้าสู่เทือกเขาคอเคซัสตามแผนการที่ได้วางเอาไว้กับกองทัพที่ 17 และกองทัพยานเกราะที่หนึ่ง กลุ่มกองทัพใต้ (บี) รวมทั้งกองทัพที่ 6 ของจอมพลไรช์ ฟรีดริช เพาลุส และกองทัพยานเกราะที่ 4 ของนายพล แฮร์มันน์ โฮท จะเคลื่อนทัพไปทางตะวันออกเข้าสู่แม่น้ำวอลกาและสตาลินกราด กลุ่มกองทัพบีภายใต้บัญชาการโดยนายพล มัคซีมีลีอาน ฟ็อน ไวชส์
การเริ่มต้นของกรณีสีน้ำเงินได้ถูกวางแผนเอาไว้ในปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942 อย่างไรก็ตาม หน่วยทหารของเยอรมันและโรมาเนียจำนวนหนึ่งที่ได้เข้าร่วมในเบาว์ซึ่งกำลังปิดล้อมเซวัสโตปอลบนคาบสมุทรไครเมีย ความล่าช้าในการยุติการล้อมได้ผลักดันให้เลื่อนวันที่ของการเริ่มต้นของเบาว์ไปหลายครั้ง และเมืองก็ยังไม่ถูกยึดจนถึงเดือนกรกฏาคม
ปฏิบัติการฟรีเดริคัส 1 โดยเยอรมันจะเข้าปะทะกับ "ตอกลิ่มอิเซียม" หมายจะปิดล้อมส่วนที่ยื่นออกมาของโซเวียตในยุทธการที่ฮาร์คอฟครั้งที่ 2 และส่งผลทำให้กองกำลังโซเวียตขนาดใหญ่ถูกโอบล้อม ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม และ 29 พฤษภาคม ในขณะเดียวกัน ปฏิบัติการวิลเฮล์มได้เข้าโจมตี Voltshansk เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน และปฏิบัติการฟรีเดริคัสเข้าโจมตี Kupiansk เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน
ในที่สุด เบาว์ได้ถูกเปิดฉากขึ้น เมื่อกองทัพกลุ่มใต้ได้เริ่มโจมตีรัสเซียทางตอนใต้ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1942 การรุกของเยอรมันได้เริ่มต้นไปได้ด้วยดี กองกำลังโซเวียตได้เสนอให้ทำการต่อต้านเพียงเล็กน้อยในที่ราบอันกว้างใหญ่ที่ว่างเปล่า และเริ่มหลั่งไหลไปทางตะวันออก ความพยายามหลายครั้งที่จะสร้างแนวป้องกันขึ้นมาใหม่อีกครั้งต้องพบกับความล้มเหลวเมื่อเยอรมันได้เข้าโจมตีขนาบข้างพวกเขา การปิดล้อมสองครั้งที่สำคัญได้ถูกก่อตัวขึ้นและถูกทำลาย: ครั้งแรก ทางตอนเหนือของฮาร์คอฟ เมื่อวันที่ 2 กรกฏาคม และครั้งที่สอง บริเวณรอบ Millerovo แคว้นรอสตอฟ หนึ่งสัปดาห์ต่อมา ในขณะเดียวกัน กองทัพฮังการีที่สองและกองทัพยานเกราะเยอรมันที่ 4 ได้เปิดฉากโจมตีโวโรเนจ เข้ายึดครองเมือง เมื่อวันที่ 5 กรกฏาคม
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การจัดขบวนรบแก้ไข
กองทัพแดงแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ฝ่ายอักษะแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การโจมตีสตาลินกราดแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในวัฒนธรรมร่วมสมัยแก้ไข
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่สตาลินกราดได้รับการกล่าวถึงเป็นจำนวนมากโดยสื่อของรัสเซีย เยอรมัน อเมริกัน และอังกฤษ เนื่องจากความสำคัญที่เป็นจุดเปลี่ยนของสงครามในทวีปยุโรป และการสูญเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องในการสู้รบ คำว่า "สตาลินกราด" กลายเป็นความหมายเหมือนกับการสู้รบขนาดใหญ่ในเมือง ที่มีการสูญเสียอย่างมากทั้ง 2 ฝ่าย
ภาพยนตร์
- สตาลินกราดสกายาบีตวา (Сталинградская битва) ค.ศ. 1949 (สหภาพโซเวียต)
- ซอลดาตืย (Солдаты) ค.ศ. 1958 (สหภาพโซเวียต)
- Stalingrad: Dogs, Do You Want to Live Forever? (Hunde, wollt ihr ewig leben?) ค.ศ. 1958 (เยอรมนีตะวันตก)
- สตาลินกราด ค.ศ. 1990 (สหภาพโซเวียต, เยอรมนีตะวันออก, เชโกสโลวาเกีย, สหรัฐ)
- สตาลินกราด ค.ศ. 1993 (เยอรมนี)
- กระสุนสังหารพลิกโลก ค.ศ. 2001 (สหรัฐ)
- มหาสงครามวินาศสตาลินกราด ค.ศ. 2013 (รัสเซีย)
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Bergström (2007)
- ↑ 2.0 2.1 Hayward, (1998)
- ↑ Bergstrom (2005)
- ↑ Glantz (1995), p. 295
- ↑ Deadliest Battle in History: Stalingrad | Animated History (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2022-01-26
- ↑ Luhn, Alec (8 June 2014). "Stalingrad name may return to city in wave of second world war patriotism". The Guardian.
- ↑ Bellamy 2007
- ↑ Beevor 1998, p. 239.
- ↑ Shirer 1990, p. 932.
- ↑ 10.0 10.1 Kershaw 2000
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อBellamy2007
- ↑ Shirer 1990, p. 909.
- ↑ Bell 2011, p. 96.
- ↑ Zhukov 1974, p. 88.
- ↑ Michael Burleigh (2001). The Third Reich: A New History. Pan. p. 503. ISBN 978-0-330-48757-3.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อKershaw20002
- ↑ Walsh 2000[ต้องการเลขหน้า]
- ↑ MacDonald 1986
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ยุทธการที่สตาลินกราด |
- Stalingrad Original reports from The Times
- Detailed summary of campaign
- Stalingrad-info.com, Russian archival docs translated into English, original battle maps, aerial photos, pictures taken at the battlefields, relics collection
บทความเกี่ยวกับทหาร การทหาร หรืออาวุธนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:การทหาร |