การล้อมเลนินกราด
การล้อมเลนินกราด (รัสเซีย: блокада Ленинграда blokada Leningrada) เป็นการปิดล้อมทางทหารที่ยืดเยื้อมาจากทางใต้โดยกลุ่มกองทัพเหนือของนาซีเยอรมนีต่อเมืองเลนินกราดของสหภาพโซเวียต (ปัจจุบันคือ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) บนแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพฟินแลนด์ได้เข้ารุกรานจากทางเหนือ ได้ร่วมมือกับเยอรมันจนกระทั่งฟินแลนด์ยึดดินแดนที่สูญเสียไปในสงครามฤดูหนาวที่ผ่านมา แต่ได้ปฏิเสธที่จะเข้าใกล้เมืองอื่นเพิ่มเติม ยังได้ร่วมมือกับเยอรมัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1942 ในเดือนสิงหาคม กองพลน้ำเงินของสเปนได้ถูกย้ายไปยังปีกด้านตะวันออกเฉียงใต้ของวงล้อมเลนินกราด ทางใต้ของเนวาใกล้กับเมืองพุชกิน Kolpino และการเข้าแทรกแซงหลักอยู่ใน Krasny Bor ในพื้นที่แม่น้ำ Izhora[10][11]
การล้อมเลนินกราด | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออก ในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
กองปืนต่อต้านอากาศยานของโซเวียตในเลนินกราด ใกล้กับอาสนวิหารนักบุญไอแซค ค.ศ. 1941 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ไรช์เยอรมัน | สหภาพโซเวียต | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
วิลเฮล์ม ริทเทอร์ ฟอน ลีบ เกออร์ก ฟอน คึชเลอร์ คาร์ล กุสตาฟ เอมิล มันเนอร์เฮม[4] |
มาร์เคียน โปปอฟ คลีเมนต์ โวโรชีลอฟ เกออร์กี จูคอฟ Ivan F. Fedyuninsky Mihail Khozin เลโอนิด โกโวลอฟ | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
กลุ่มกองทัพเหนือ: 1941: เสียชีวิตรวม 85,371 คน (KIA, WIA, MIA)[5] 1942:เสียชีวิตรวม 267,327 คน (KIA, WIA, MIA)[6] 1943:เสียชีวิตรวม 205,937 คน (KIA, WIA, MIA)[7] 1944: เสียชีวิตรวม 21,350 คน (KIA, WIA, MIA)[8] รวมทั้งหมด: 579,985 คน |
แนวรบเหนือ: ประชาชน:[9] 642,000 ระหว่างการล้อม, 400,000 ช่วงการอพยพ |
การล้อมเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1941 เมื่อแวร์มัคท์ได้ตัดขาดถนนเส้นทางสุดท้ายที่จะเข้าไปในเมือง แม้ว่ากองทัพโซเวียตจะสามารถเปิดเส้นทางที่มีขนาดแคบซึ่งสามารถเข้าไปในเมืองได้ในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1943 กองทัพแดงก็ยังไม่อาจที่จะคลายวงล้อมได้จนถึงวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1944 เป็นเวลาเพียง 872 วันนับจากจุดเริ่มต้น การปิดล้อมครั้งนี้กลายเป็นการปิดล้อมที่ยาวนานที่สุดและการทำลายล้างมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ และอาจเป็นไปได้ว่าเป็นการล้อมที่มีการสูญเสียมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เนื่องจากมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมากมายซึ่งได้ประสบพบเจอมาตลอดช่วงเวลานั้น ในศตวรรษที่ 21 นักประวัติศาสตร์บางคน ได้บรรจุเหตุการณ์ครั้งนี้ว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ เนื่องจากมีการทำให้เกิดความอดยากหิวโหยอย่างเป็นระบบและมีการทำลายล้างประชากรพลเรือนของเมืองโดยเจตนา[12][13][14][15][16]
เบื้องหลัง
แก้การเข้ายึดเลนินกราดเป็นหนึ่งในสามเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ในปฏิบัติการบาร์บารอสซาของเยอรมันและเป้าหมายหลักของกลุ่มกองทัพเหนือ กลยุทธ์นี้ได้รับแรงบันดาลใจจากสถานะทางการเมืองของเลนินกราดซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของรัสเซียและเป็นเมืองหลวงเชิงสัญลักษณ์ของการปฏิวัติรัสเซีย ความสำคัญทางการทหารซึ่งเป็นฐานทัพหลักของกองเรือบอลติกของโซเวียต เขตอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่ง และเป็นที่ตั้งของโรงงานอาวุธจำนวนมาก[17] ใน ค.ศ. 1939 เมืองแห่งนี้มีหน้าที่รับผิดชอบเพียง 11% ของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งหมดของโซเวียต[18]
มีการรายงานว่า อดอล์ฟ ฮิตเลอร์นั้นมีความมั่นใจอย่างมากในการเข้ายึดเลนินกราดจนถึงกับต้องสั่งพิมพ์บัตรเชิญไปให้แก่แขกจำนวนมากเพื่อเข้าร่วมงานฉลองชัยชนะที่จะถูกจัดขึ้นในโรงแรมประจำเมืองคือ โรงแรมอัสโทเรีย[19]
แม้ว่าจะมีการเสนอทฤษฏีต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับแผนการของเยอรมนีสำหรับเลนินกราด รวมทั้งการกำหนดให้กลายเป็นเมืองหลวงแห่งจังหวัดอินเกอมันลันด์ใหม่ของไรช์ในเกเนอราลพลานอ็อสท์ เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าฮิตเลอร์มีความตั้งใจที่จะทำลายล้างเมืองและประชากรให้หมดสิ้น ตามคำสั่งที่ถูกส่งโดยตรงไปยังกลุ่มกองทัพเหนือ เมื่อวันที่ 29 กันยายน:
ภายหลังจากความพ่ายแพ้ของโซเวียตรัสเซีย ก็จะไม่มีใครสนใจในการดำรงอยู่ต่อไปของศูนย์กลางเมืองขนาดใหญ่แห่งนี้. [...] หลังจากที่เมืองถูกโอบล้อม การร้องขอเจรจาเพื่อยอมจำนนจะต้องถูกปฏิเสธ เนื่องจากปัญหาการย้ายถิ่นและการให้อาหารแก่ประชากร ไม่สามารถทำได้และไม่ควรได้รับการแก้ไขจากเรา ในสงครามครั้งนี้เพื่อความอยู่รอดของเราเท่านั้น พวกเราไม่สนใจที่จะเลี้ยงดูแม้แต่กระทั่งส่วนหนึ่งของประชากรในเมืองขนาดใหญ่นี้เลยทีเดียว.[20]
เป้าหมายอันสูงสุดของฮิตเลอร์คือการเผาทำลายเลนินกราดให้ราบและมอบพื้นที่ทางเหนือของแม่น้ำเนวาแก่ฟินแลนด์[21][22]
การเตรียมความพร้อม
แก้แผนการของเยอรมัน
แก้กลุ่มกองทัพเหนือ ภายใต้การนำโดยจอมพล วิลเฮ็ล์ม ริทเทอร์ ฟ็อน เลพ ได้เข้ารุกสู่เลนินกราดซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลัก เมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคม กลุ่มกองทัพเหนือได้ขยายเกินกำลังอย่างสาหัส โดยเข้ารุกบนแนวรบที่กว้างขวางและกระจัดกระจายกองกำลังไปยังหลายส่วนของการรุก เลพได้ประเมินแล้วว่า เขามีความต้องการกำลังพลถึง 35 กองพลสำหรับภารกิจทั้งหมด ในขณะที่เขามีอยู่เพียงแค่ 26 กองพล[23] การโจมตีได้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 10 สิงหาคม แต่ต้องพบกับการต้านทานที่แข็งแกร่งบริเวณรอบลูกา ที่อื่น ๆ กองกำลังของเลพสามารถเข้ายึด Kingisepp และนาร์วา เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม กลุ่มกองทัพได้เคลื่อนทัพมาถึง Chudovo เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม โดยทำการตัดขาดเส้นทางรถไฟระหว่างเลนินกราดและมอสโก ทาลลินน์ก็ถูกยึด เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม[24]
กองทัพฟินแลนด์อยู่ทางเหนือของเลนิกราด ในขณะที่กองทัพเยอรมันยึดครองดินแดนทางใต้[25] ทั้งกองทัพเยอรมันและฟินแลนด์ล้วนมีเป้าหมายในการปิดล้อมเลนินกราดและดำรงไว้ซึ่งปริมณฑลของการปิดล้อม ดังนั้น ได้ทำการตัดขาดการสื่อสารทั้งหมดภายในเมืองและขัดขวางไม่ให้ฝ่ายป้องกันได้รับเสบียงแต่อย่างใด – แม้ว่าการมีส่วนร่วมของฟินแลนด์ในการปิดล้อมส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยการเข้ายึดดินแดนกลับคืนที่สูญเสียไปในสงครามฤดูหนาว เยอรมันได้วางแผนที่จะใช้การขาดแคลนอาหารเป็นอาวุธหลักกับพลเมือง นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันได้คำนวณว่า เมืองจะต้องประสบกับภาวะความอดอยากได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์[1][2][26][27]
เขตแนวปราการเลนินกราด
แก้วันศุกร์ ที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1941 สภาสามัญของฝ่ายปกครองเลนินกราดได้จัดตั้ง "กลุ่มตอบโต้แรก" ของพลเรือน ในวันต่อมา ประชากรพลเมืองของเลนินกราดได้รับแจ้งถึงอันตราย และประชากรจำนวนกว่าล้านคนถูกระดมเพื่อสร้างป้อมปราการ แนวป้องกันหลายแนวถูกสร้างขึ้นตามปริมณฑลของเมืองเพื่อขับไล่กองทัพข้าศึกที่เข้ามาใกล้จากทางเหนือและทางใต้ด้วยวิธีต่อต้านของพลเรือน[2][4]
ในทางใต้ แนวปราการได้ทอดยาวจากปากของแม่น้ำลูกา สู่ Chudovo Gatchina Pulkovo และผ่านทางแม่น้ำเนวา แนวป้องกันอื่นได้ทะลุผ่านทางปีเตอร์กอฟ สู่ Gatchina Pulkovo ในทางเหนือ แนวป้องกันต่อต้านฟินแลนด์ เขตแนวปราการคาเรเลียได้ถูกทะนุบำรุงไว้ในเขตชานเมืองทางเหนือของเลนินกราด ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 และตอนนี้ก็ได้กลับมาเข้าประจำการแล้ว สิ่งกีดขวางด้วยท่อนไม้ จากระยะทางทั้งหมด 306 กิโลเมตร (190 ไมล์) แนวกั้นลวดหนามด้วยระยะทาง 635 กิโลเมตร (395 ไมล์) คูน้ำต่อต้านรถถังด้วยระยะทาง 700 กิโลเมตร (430 ไมล์) ป้อมปืนที่ถูกสร้างขึ้นด้วยท่อนไม้และดินและป้อมปืนที่สร้างขึ้นด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน 5000 แห่ง และสนามเพลาะเปิดด้วยระยะทาง 25,000 กิโลเมตร (16,000 ไมล์)[28] ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยพลเรือน แม้แต่ปืนใหญ่จากเรือลาดตระเวนอย่างอโรราก็ถูกถอดออกจากเรือเพื่อใช้ในการป้องกันเลนินกราด[29]
การสถาปนา
แก้กลุ่มยานเกราะที่ 4 ซึ่งมาจากปรัสเซียตะวันออก ได้เข้ายึดปัสคอฟ ภายหลังจากการรุกอย่างรวดเร็วและเคลื่อนที่ไปถึงโนฟโกรอดในวันที่ 16 สิงหาคม ภายหลังจากการเข้ายึดโนฟโกรอด กลุ่มยานเกราะที่ 4 ของนายพลเฮิพเนอร์ยังคงมุ่งหน้าสู่เลนินกราด[30] อย่างไรก็ตาม กองทัพที่ 18 - แม้ว่าจะมีทหารบางส่วนจำนวน 350,000 นาย จะเชื่องช้าอยู่เบื้องหลังก็ตาม - ได้บังคับให้ไปทางสู่ออสตอฟและปัสคอฟ หลังกองกำลังทหารโซเวียตของแนวรบด้านตะวันตกเฉียงเหนือได้ล่าถอยไปยังเลนินกราด เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ทั้งออสตอฟและปัสคอฟได้ถูกยึดแล้วและกองทัพที่ 18 ได้เคลื่อนทัพมาถึงนาร์วาและ Kingisepp จากที่เข้ารุกสู่เลนินกราดก็ต่อเนื่องจากแนวแม่น้ำลูกา สิ่งนี้ส่งผลต่อการสร้างตำแหน่งการปิดล้อมจากอ่าวฟินแลนด์ถึงทะเลสาบลาโดกา ด้วยเป้าหมายขั้นตอนสุดท้ายเพื่อแบ่งแยกเลนินกราดออกจากกันจากทุกทิศทุกทาง มีการคาดการณ์ว่ากองทัพฟินแลนด์จะเข้ารุกสู่ตามแนวชายฝั่งของทะเลสาบลาโดกา[31]
ในต้นเดือนกันยายน เลพมีความมั่นใจว่าเลนินกราดจะต้องถูกยึด ภายหลังจากได้รับรายงานเกี่ยวกับการอพยพของพลเรือนและสินค้าภาคอุตสาหกรรม เลพและกองบัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมัน (OKH) มีความเชื่อว่า กองทัพแดงกำลังเตรียมความพร้อมที่จะละทิ้งเมือง ดังนั้น เมื่อวันที่ 5 กันยายน เขาได้รับคำสั่งใหม่ รวมทั้งการทำลายล้างกองทัพแดงบริเวณรอบเมือง ในวันที่ 15 กันยายน กลุ่มยานเกราะที่สี่ได้ถูกโยกย้ายไปยังกลุ่มกองทัพกลางเพื่อที่จะได้มีส่วนร่วมในการรุกครั้งใหม่สู่มอสโก การยอมจำนนที่ได้คาดการณ์เอาไว้ไม่ได้เกิดขึ้น แม้ว่าการรุกของเยอรมันครั้งใหม่จะทำการตัดขาดเมืองในวันที่ 8 กันยายน[32] การขาดแคลนกำลังที่เพียงพอสำหรับปฏิบัติการที่สำคัญ เลพยอมรับว่า กลุ่มกองทัพไม่สามารถเข้ายึดเมืองได้ ถึงแม้ว่าการต่อสู้รบอย่างหนักจะดำเนินต่อไปตามแนวรบของเขาตลอดเดือนตุลาคมและพฤศจิกานยน[33]
คำสั่งการรบ
แก้เยอรมนี
แก้- กลุ่มกองทัพเหนือ (จอมพลไรช์ วิลเฮ็ล์ม ริทเทอร์ ฟ็อน เลพ)[34]
- กองทัพที่ 18 (เกออร์ค ฟ็อน คึชเลอร์)
- กองทัพน้อยที่ 42 (2 กองพลทหารราบ)
- กองทัพน้อยที่ 26 (3 กองพลทหารราบ)
- กองทัพที่ 16 (แอ็นสท์ บุช)
- กองทัพน้อยที่ 28 (Mauritz von Wiktorin) (2 กองพลทหารราบ, 1 กองพลยานเกราะ)
- กองทัพน้อยที่ 1 (2 กองพลทหารราบ)
- กองทัพน้อยที่ 10 (3 กองพลทหารราบ)
- กองทัพน้อยที่ 2 (3 กองพลทหารราบ)
- (กองทัพน้อยที่ 50 – ซึ่งอยู่ภายใต้กองทัพที่ 9) (2 กองพลทหารราบ)
- กลุ่มยานเกราะที่ 4 (เอริช เฮิพเนอร์)
- กองทัพน้อยที่ 38 (Friedrich-Wilhelm von Chappuis) (1 กองพลทหารราบ)
- กองทัพน้อยยานยนต์ที่ 41 (Georg-Hans Reinhardt) (1 กองพลทหารราบ, 1 กองพลยานยนต์, 1 กองพลยานเกราะ)
- กองทัพน้อยยานยนต์ที่ 56 (เอริช ฟ็อน มันชไตน์) (1 กองพลทหารราบ, 1 กองพลยานยนต์, 1 กองพลยานเกราะ 1 กองพลทหารราบยานเกราะ)
- กองทัพที่ 18 (เกออร์ค ฟ็อน คึชเลอร์)
ฟินแลนด์
แก้- กองบัญชาการแห่งกองกำลังป้องกันฟินแลนด์ (จอมพลแห่งฟินแลนด์ มันเนอร์เฮม)[35]
- กองทัพน้อยที่ 1 (2 กองพลทหารราบ)
- กองทัพน้อยที่ 2 (2 กองพลทหารราบ)
- กองทัพน้อยที่ 4 (3 กองพลทหารราบ)
อิตาลี
แก้- XII Squadriglia MAS (Mezzi d'Assalto) (ภาษาอิตาลี แปลว่า "กองหมู่จู่โจมเรือที่ 12") (C.C. Giuseppe Bianchini) ของรีเจียมารีนา (ราชนาวีแห่งอิตาลี)
สเปน
แก้- กองพลน้ำเงิน, มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า กองพลทหารราบที่ 250 โดยกองทัพบกเยอรมัน และกองพลทหารอาสาสมัครสเปนโดยกองทัพสเปน; นายพล Esteban Infantes เป็นผู้บัญชาการของหน่วยรบของทหารอาสาสมัครชาวสเปนเหล่านี้บนแนวรบด้านตะวันออกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง.[36]
สหภาพโซเวียต
แก้- แนวรบเหนือ (พลโท Popov)[37]
- กองทัพที่ 7 (2 กองพลทหารไรเฟิล, 1 กองพลทหารอาสาสมัคร, 1 กองพลน้อยทหารราบเรือ, 3 กรมทหารปืนไรเฟิลยานยนต์และ 1 กรมทหารยานเกราะ)
- กองทัพที่ 8
- กองทัพน้อยไรเฟิลที่ 10 (2 กองพลปืนไรเฟิล)
- กองทัพน้อยไรเฟิลที่ 11 (3 กองพลปืนไรเฟิล)
- หน่วยรบอิสระ (3 กองพลปืนไรเฟิล)
- กองทัพที่ 14
- กองทัพน้อยไรเฟิลที่ 42 (2 กองพลปืนไรเฟิล)
- หน่วยรบอิสระ (2 กองพลปืนไรเฟิล, 1 กรมทหารยามรักษาการณ์ป้อมปราการ, 1 กรมทหารปืนไรเฟิลยานยนต์)
- กองทัพที่ 23
- กองทัพน้อยไรเฟิลที่ 19 (3 กองพลปืนไรเฟิล)
- หน่วยรบอิสระ (2 กองพลปืนไรเฟิล, 1 กองพลยานยนต์, 2 กรมทหารยามรักษาการณ์ป้อมปราการ, 1 กรมทหารปืนไรเฟิล)
- กลุ่มปฏิบัติการลูกา
- กองทัพน้อยไรเฟิลที่ 41 (3 กองพลปืนไรเฟิล)
- หน่วยรบอิสระ (1 กองพลน้อยยานเกราะ, 1 กรมทหารปืนไรเฟิล)
- กลุ่มปฏิบัติการ Kingisepp
- หน่วยรบอิสระ (2 กองพลปืนไรเฟิล, 2 กองพลทหารอาสาสมัคร, 1 กองพลยานเกราะ, 1 กรมทหารยามรักษาการณ์ป้อมปราการ)
- หน่วยรบอิสระ (3 กองพลปืนไรเฟิล, 4 กองพลทหารอาสาสมัครอารักขา, 3 กองพลน้อยยามรักษาการณ์ป้อมปราการ, 1 กองพลน้อยไรเฟิล)
กองทัพที่ 14 แห่งกองทัพแดงโซเวียตได้ป้องกัน Murmansk และกองทัพที่ 7 ได้ป้อนกันลาโดกา คาเรเลีย ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ได้มีส่วนร่วมในระยะแรกของการปิดล้อม กองทัพที่ 8 แต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของแนวรบตะวันตกเฉียงเหนือและล่าถอยผ่านทางทะเลบอลติก ได้ถูกโยกย้ายไปยังแนวรบเหนือ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม เมื่อโซเวียตได้ถอนทัพที่ทาลลินน์
เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม แนวรบเหนือได้ถูกแบ่งแยกออกเป็นแนวรบเลนินกราดและแนวรบคาเรเลีย เนื่องจากความเป็นไปได้ของกองบัญการใหญ่ของแนวรบจะควบคุมทุกอย่างระหว่าง Murmansk และเลนินกราด
จูคอฟได้กล่าวว่า "สิบกองพลอาสาสมัคร opolcheniye ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในเลนินกราดในช่วงสามเดือนแรกของสงคราม เช่นเดียวกับ 16 กองพัน opolcheniye ของหน่วยทหารปืนใหญ่และหน่วยทหารปืนกลอิสระ"
การตัดขาดการสื่อสาร
แก้เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ได้ย้ำคำสั่งของเขาว่า "เลนินกราดคือที่แรก ลุ่มน้ำโดเนตสค์ที่สอง และมอสโกคือที่สาม"[38] ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941 ถึง เดือนมกราคม ค.ศ. 1944 ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างมหาสมุทรอาร์ติกและทะเลสาบอิลเมนซึ่งเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการล้อมเลนินกราดของแวร์มัคท์[4] คอนวอยอาร์ติกซึ่งใช้เส้นทางทะเลเหนือเพื่อได้รับเสบียงและยุทธภัณฑ์สงครามที่ถูกส่งมาจากบริติชและอเมริกาตามนโยบายให้ยืม-เช่าไปยังหัวรถไฟ Murmansk (แม้ว่าเส้นทางรถไฟที่เชื่อมโยงไปยังเลนินกราดจะถูกตัดขาดโดยกองทัพฟินแลนด์จากทางเหนือของเมือง) รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ อีกหลายแห่งในแลปแลนด์[ต้องการอ้างอิง]
การโอบล้อมเลนินกราด
แก้หน่วยข่าวกรองลับของฟินแลนด์ได้ทำลายรหัสทางทหารของโซเวียตเพียงบางส่วนและการอ่านการสื่อสารสารระดับต่ำของพวกเขา สิ่งนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับฮิตเลอร์ ซึ่งได้ร้องขอข้อมูลข่าวกรองเกี่ยวกับเลนินกราดอย่างต่อเนื่อง[4][39] บทบาทของฟินแลนด์ในปฏิบัติการบาร์บาร็อสซาได้ถูกกำหนดไว้ในคำสั่งที่ 21 ของฮิตเลอร์ว่า "กองทัพฟินแลนด์จำนวนมากจะมีภารกิจหน้าที่ของตนเอง ตามมาด้วยการรุกปีกทางเหนือของกองทัพเยอรมัน เพื่อหยุดยั้งกองกำลังสูงสุดของรัสเซีย (โซเวียต) โดยการโจมตีไปทางตะวันตกหรือทั้งสองฝั่งของทะเลสาบลาโดกา"[40] เส้นทางรถไฟสายสุดท้ายที่เชื่อมต่อกับเลนินกราดได้ถูกตัดขาด เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม เมื่อเยอรมันเดินทางมาถึงแม่น้ำเนร์วา เมื่อวันที่ 8 กันยายน ถนนเข้าสู่เมืองที่ถูกปิดล้อมได้ถูกตัดขาด เมื่อเยอรมันเดินทางมาถึงทะเลสาบลาโดกาที่ Shlisselburg เหลือเพียงฉนวนทางบกระหว่างทะเลสาบลาโดกาและเลนินกราดซึ่งยังคงเว้นว่างจากการยึดครองของฝ่ายอักษะ การทิ้งระเบิด เมื่อวันที่ 8 กันยายน ก่อให้เกิดเพลิงไหมกว่า 178 แห่ง[41]
เมื่อวันที่ 21 กันยายน กองบัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมัน ได้พิจารณาถึงวิธีการทำลายเลนินกราด ส่วนการยึดครองจะถูกตัดออก "เพราะจะทำให้เรามีความรับผิดชอบในการจัดหาเสบียงอาหาร"[42] ข้อยุติคือ เมืองจะถูกโอบล้อมและทำลายล้างด้วยแรงระเบิด ประชากรจะอดอยากหิวโหย "ต้นปีถัดไป พวกเรา[จะ]เข้าไปในเมือง (ถ้าพวกฟินน์เริ่มก่อน เราก็ไม่ขัดข้อง) นำพวกที่ยังมีชีวิตอยู่ให้เข้าไปสู่ภายในรัสเซียหรือไม่ก็ตกเป็นเชลย การลบล้างเลนินกราดให้หายไปจากพื้นโลกด้วยการรื้อถอน และมอบพื้นที่ทางตอนเหนือของแม่น้ำเนร์วาให้แก่ฟินน์"[43] เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ฮิตเลอร์ส่งคำสั่งเพิ่มเติมซึ่งถูกลงนามโดย อัลเฟรท โยเดิล เพื่อเตือนแก่กลุ่มกองทัพเหนือไม่ยอมรับการยอมจำนน[44]
สิ้นสุดการเตรียมความพร้อม
แก้เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941 ฟินแลนด์ได้เข้ารุกคืบเข้าไปได้เพียง 20 กิโลเมตรจากชานเมืองทางเหนือของเลนินกราด ณ ชายแดนฟินแลนด์-โซเวียต ปี ค.ศ. 1939 ทำการคุกคามเมืองจากทางเหนือ พวกเขายังเข้ารุกสู่คาเรเลียตะวันออก ทางตะวันออกของทะเลสาบลาโดกา และคุกคามเมืองจากทางตะวันออก กองทัพฟินแลนด์ได้ข้ามชายแดนในช่วงก่อนสงครามฤดูหนาวบนคอคอดคาเรเลียโดยกำจัดแนวรบที่ล้ำเข้าไปของโซเวียตที่ Beloostrov และ Kirjasalo ทำให้แนวหน้าได้ยืดขยายออกไปตามแนวชายแดนเก่าใกล้ชายฝั่งอ่าวฟินแลนด์และทะเลสาบลาโดกา และตำแหน่งเหล่านี้อยู่ใกล้ชิดกับเลนินกราดที่ยังคงอยู่บนชายแดนในช่วงก่อนสงครามฤดูหนาว
ตามที่คำกล่าวอ้างของโซเวียต การรุกของฟินแลนด์ต้องหยุดชะงักลงในเดือนกันยายน เมื่อเผชิญหน้ากับการต้านทานโดยเขตแนวปราการคาเรเลีย[45] อย่างไรก็ตาม กองกำลังทหารฟินแลนด์ได้รับคำสั่งให้หยุดการรุกคืบภายหลังจากได้บรรลุเป้าหมายแล้วก่อนหน้านี้ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941 ซึ่งบางส่วนอยู่ห่างไกลจากชายแดนในช่วงก่อนสงครามฤดูหนาว ภายหลังจากที่พวกเขาได้บรรลุเป้าหมายแล้ว ฟินแลนด์ได้หยุดการรุกและเริ่มเคลือนทัพไปยังคาเรเลียตะวันออก[46][47]
ในอีกสามปีต่อมา ฟินแลนด์ไม่ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนแม้แต่เพียงเล็กน้อยในการสู้รบที่เลนินกราด พวกเขายังคงตั้งมั่นอยู่ในแนวรบต่อไป[48] กองบัญชาการใหญ่ของพวกเขาได้ปฏิเสธคำร้องขอของเยอรมันสำหรับการโจมตีทางอากาศยานต่อเลนินกราด[49] และจะไม่เข้ารุกคืบไปทางใต้ห่างไกลจากแม่น้ำสวีร์ในดินแดนคาเรเลียตะวันออกที่ถูกยึดครอง (160 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงเหนือของเลนินกราด) ซึ่งพวกเขาได้เดินทางมาถึง เมื่อวันที่ 7 กันยายน ในทางตะวันออกเฉียงใต้ เยอรมันได้เข้ายึด Tikhvin เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน แต่กลับล้มเหลวในการปิดล้อมเลนินกราดอย่างสมบูรณ์โดยรุกคืบขึ้นไปทางเหนือเพื่อสมทบกับฟินแลนด์ที่แม่น้ำสวีร์ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม การโจมตีตอบโต้กลับของแนวรบวอลฮอฟได้บีบบังคับให้แวร์มัคท์ล่าถอยออกจากตำแหน่ง Tikhvin ในแนวรบแม่น้ำวอลฮอฟ[2][4]
เมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1941 หัวหน้าคณะเสนาธิการของเยอรมัน อัลเฟรท โยเดิล ได้มาเยือนที่เฮลซิงกิ เป้าหมายหลักของเขาคือการเกลี้ยกล่อมให้มันเนอร์เฮมทำการรุกต่อไป ใน ค.ศ. 1941 ประธานาธิบดี ริสโต รุติ ได้ประกาศต่อรัฐสภาฟินแลนด์ว่าเป้าหมายของสงครามคือการกอบกู้ดินแดนที่สูญเสียไปในช่วงสงครามฤดูหนาว และได้รับดินแดนเพิ่มเติมในตะวันออกเพื่อก่อตั้งสถาปนา "มหาประเทศฟินแลนด์"[50][51][52] ภายหลังสงคราม รุติได้กล่าวว่า: "เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1941 ข้าพเจ้าได้ไปเยี่ยมชมที่กองบัญชาการใหญ่ของท่านจอมพลมันเนอร์เฮม เยอรมันได้หมายมั่นให้เราในการก้าวข้ามชายแดนเก่าและทำการรุกต่อเลนินกราดอย่างต่อเนื่อง ข้าพเจ้าได้กล่าวว่าการเข้ายึดเลนินกราดนั้นไม่ใช่เป้าหมายของเราและเราไม่ควรที่จะมีส่วนร่วมด้วย มันเนอร์เฮมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม วาลเดิน ต่างก็เห็นด้วยกับข้าพเจ้าและได้ปฏิเสธข้อเสนอของเยอรมัน ผลลัพธ์ด้วยสถานการณ์ที่ดูขัดแย้ง: เยอรมันไม่สามารถเข้าใกล้เลนินกราดจากทางเหนือ..." มีการพบปลอกกระสุนที่กระจัดกระจายเกลื่อนไปทั่วและการทิ้งระเบิดจากตำแหน่งของฟินแลนด์[25]
ความใกล้เคียงของชายแดนฟินแลนด์-33-35 กิโลเมตร (22 ไมล์) จากใจกลางเมืองเลนินกราด และคุกคามการโจมตีของฟินแลนด์ทำให้การป้องกันเมืองเกิดความซับซ้อน มีอยู่ช่วงนึง ผู้บัญชาการแนวป้องกันโปปอฟ ไม่สามารถปล่อยกำลังสำรองซึ่งต่อต้านกองทัพฟินแลนด์ เพื่อกรีฑาทัพปะทะกับกองทัพแวร์มัคท์เพราะพวกเขามีความจำเป็นต้องการเสริมกำลังให้กับการป้องกันของกองทัพที่ 23 บนคอคอดคาเรเลีย มันเนอร์เฮมได้ยุติการรุก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1941 เมื่อกองทัพได้เดินทางมาถึงชายแดน ค.ศ. 1939 โปปอฟรู้สึกโล่งอกและจัดวางกำลังด้วยสองกองพลไปยังเขตของเยอรมัน เมื่อวันที่ 5 กันยายน
ภายหลังจากนั้น กองทัพฟินแลนด์ได้ลดส่วนที่ยืดออกมาของ Beloostrov และ Kirjasalo ซึ่งได้คุกคามตำแหน่งของพวกเขาที่ชายฝั่งทะเลและทางใต้ของแม่น้ำ Vuoksi พลโท Paavo Talvela และพันเอก Järvinen ผู้บัญชาการกองพลน้อยชายฝั่งฟินแลนด์ที่มีหน้าที่รับผิดชอบบนทะเลสาบลาโดกา ได้เสนอให้กองบัญชาการใหญ่ของเยอรมันทำการปิดกั้นคอนวอยของโซเวียตบนทะเลสาบลาโดกา ความคิดนี้ได้นำเสนอให้กับเยอรมันในนามของพวกเขากองทัพฟินแลนด์เอง โดยผ่านทางทั้งกองบัญชาการใหญ่กองทัพเรือฟินแลนด์และกองบัญชาการนายพล เยอรมันได้ตอบรับข้อเสนอเชิงบวกถึงข้อเสนอและแจ้งแก่ฟินแลนด์ด้วยความประหลาดใจเล็กน้อย—นอกเหนือจาก Talvela และ Järvinen ที่มีความรู้เพียงเล็กน้อยมาก—ว่าการขนส่งเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับปฏิบัติการลาโดกาได้ถูกจัดเตรียมไว้แล้ว กองบัญชาการเยอรมันได้ก่อตั้งกองเรือ'ระหว่างประเทศ' (ซึ่งรวมทั้งหน่วย XII Squadriglia MAS ของอิตาลี) ภายใต้กองบัญชาการของฟินแลนด์และ Einsatzstab Fähre Ost ภายใต้กองบัญชาการของเยอรมัน หน่วยรบกองทัพเรือเหล่านี้ได้ออกปฏิบัติการต่อเส้นทางขนส่งเสบียงในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1942 ช่วงเวลาเดียวที่หน่วยรบนี้สามารถปฏิบัติการในน้ำที่มีสภาพเยือกแข็งได้ จากนั้นก็บังคับให้หน่วยรบติดตั้งอุปกรณ์ขนาดเบาซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายได้ และการเปลี่ยนแปลงในแนวหน้าทำให้ไม่สามารถจัดตั้งหน่วยรบขึ้นมาใหม่ได้ในภายหลังสงคราม
ปฏิบัติการการป้องกัน
แก้แนวรบเลนินกราด (แต่เดิมคือ มณฑลทหารบกแห่งเลนินกราด) ซึ่งอยู่ภายใต้บัญชาการของจอมพล คลีเมนต์ โวโรชีลอฟ รวมทั้งกองทัพที่ 23 ในภาคเหนือ ระหว่างอ่าวฟินแลนด์และทะเลสาบลาโดกา และกองทัพที่ 48 ในภาคตะวันตก ระหว่างอ่าวฟินแลนด์และตำแหน่ง Slutsk–Mga เขตแนวปราการเลนินกราด กองทหารรักษาการณ์เลนินกราด กองกำลังจากกองเรือทะเลบอลติก และกลุ่มปฏิบัติการจาก Koporye, Pulkovo และSlutsk–Kolpino ยังได้เข้าร่วมด้วย
การป้องกันการอพยพของพลเรือน
แก้ตามคำกล่าวของจูคอฟ "ช่วงก่อนสงคราม เลนินกราดมีประชากรทั้งสิ้น 3,103,000 คน และ 3,385,000 คนซึ่งนับจากเขตชานเมือง ในขณะที่ผู้คนกว่า 1,743,129 คน รวมทั้งเด็กจำนวนกว่า 414,148 คน ได้ถูกอพยพแล้ว" ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 1941 และ 31 มีนาคม ค.ศ. 1943 พวกเขาได้ไปยังพื้นที่วอลกา ยูรัล ไซบีเรีย และคาซัคสถาน[53]: 439
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1941 การสมทบกับแนวรบวอลฮอฟ (บัญชาการโดยคีริลล์ เมเรตสคอฟ) ซึ่งถูกตัดขาดและเขตการป้องกันซึ่งถูกยึดครองโดยสี่กองทัพ: กองทัพที่ 23 ในเขตภาคเหนือ กองทัพที่ 42 ในเขตภาคตะวันตก กองทัพที่ 55 ในเขตภาคใต้ และกองทัพที่ 67 ในเขตภาคตะวันออก กองทัพที่ 8 ของแนวรบวอลฮอฟมีหน้าที่ในการรักษาเส้นทางการขนส่งเสบียงไปยังเมืองโดยประสานงานกับกองเรือลาโดกา การคุ้มกันทางอากาศสำหรับเมืองนั้นได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยกองทัพน้อยกองกำลังป้องกันภัยทางอากาศจากมณฑลทหารบกแห่งเลนินกราดและหน่วยกองบินเรือจากกองเรือบอลติก[54][55]
ปฏิบัติการป้องกันเพื่อปกป้องพลเรือนผู้อพยพจำนวน 1,400,000 คน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการโต้ตอบการปิดล้อมเลนินกราดภายใต้บัญชาการโดยอันเดรย์ จดานอฟ คลีเมนต์ โวโรชีลอฟ และอะเลคเซย์ คุซเนซอฟ รวมทั้งปฏิบัติการทางทหารได้ถูกดำเนินร่วมกับกองเรือบอลติกแห่งกองทัพเรือภายใต้คำสั่งโดยทั่วไปของพลเรือเอก Vladimir Tributs กองเรือลาโดกาภายใต้บัญชาการของ V. Baranovsky, S.V. Zemlyanichenko, P.A. Traynin, และ B.V. Khoroshikhin ยังคงมีบทบาทที่สำคัญในการช่วยเหลือการอพยพของพลเรือน[56]
การระเบิดทำลายล้าง
แก้การป้องกันทางอากาศในเมืองเลนินกราดได้ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกซึ่งเกิดขึ้นในช่วงกลางคืนวันที่ 23 มิถุนายน เครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่น ยู-88อา จากกองทัพบินที่ 1 KGr.806 ได้รับความเสียหายโดยการยิงด้วยปืนต่อต้านอากาศยานของกองปืนใหญ่ที่ 15 ของกรมทหารปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานที่ 192 และทำการลงจอดฉุกเฉิน นักบินทั้งหมด รวมทั้งผู้บังคับการ ร้อยโท Hans Turmeyer ถูกจับกุมบนพื้นดิน ผู้บัญชาการแห่งกองปืนใหญ่ที่ 15 ร้อยโท Alexey Pimchenkov ได้รับปูนบำเหน็จด้วยเครื่องอิสริยาภรณ์ธงแดง[57]
ในวันจันทร์ ที่ 8 กันยายน กองทัพเยอรมันได้โอบล้อมเมืองขนาดใหญ่ โดยทำการตัดขาดเส้นทางขนส่งเสบียงสู่เลนินกราดและชานเมือง ไม่สามารถรุกเข้าบ้านอย่างอุกอาจได้ และเผชิญหน้าการป้องกันของเมืองที่ถูกจัดขึ้นโดยจอมพลจูคอฟ กองทัพฝ่ายอักษะได้ทำการปิดล้อมเมืองเป็นเวลาถึง "เก้าร้อยวันและคืน"[53]
การโจมตีทางอากาศของวันศุกร์ ที่ 19 กันยายน เป็นความโหดเหี้ยมป่าเถื่อน เป็นการโจมตีทางอากาศที่หนักที่สุดที่เลนินกราดได้เผชิญในช่วงสงคราม เนื่องจากเครื่องบินทิ้งระเบิดของเยอรมันจำนวน 276 ลำ โจมตีใส่เมืองซึ่งได้คร่าชีวิตพลเรือนจำนวน 1,000 คน ผู้เสียชีวิตจำนวนมากกำลังฟื้นคืนจากบาดแผลการสู้รบในโรงพยาบาลซึ่งถูกโจมตีโดยเครื่องบินทิ้งระเบิดของเยอรมัน การตีโฉบฉวยทางอากาศหกครั้งในวันนั้น โรงพยาบาลห้าแห่งได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิด เช่นเดียวกับตลาดช้อปปิ้งที่ใหญ่ที่สุดของเมือง ผู้คนนับร้อยต่างพากันวิ่งจากถนนเข้าไปในร้านค้าเพื่อหลบภัยจากการโจมตีทางอากาศ[58]
การระดมยิงปืนใหญ่ไปยังเมืองเลนินกราด เริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ซึ่งได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1942 พร้อมกับการมาถึงของอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ มันได้เพิ่มสูงขึ้นอีกในช่วงปี ค.ศ. 1943 เมื่อมีการใช้กระสุนปืนใหญ่และการทิ้งระเบิดจำนวนมากหลายครั้งมากกว่าเมื่อปีก่อน ในการต้านทานครั้งนี้ กองบินของกองเรือบอลติกจากกองทัพเรือได้ทำภารกิจการบินกว่า 100,000 ครั้งเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการทางทหารของพวกเขาในช่วงการปิดล้อม[59] กระสุนปืนใหญ่และการทิ้งระเบิดของเยอรมันทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 5,723 คน และผู้บาดเจ็บ 20,507 คน ซึ่งเป็นพลเรือนในเลนินกราดในช่วงการปิดล้อม[60]
การจัดส่งเสบียงแก่ฝ่ายป้องกัน
แก้เพื่อรักษาการป้องกันเมืองเอาไว้ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับกองทัพแดงที่จะสถาปนาเส้นทางเพื่อคอยลำเลียงเสบียงไปยังเลนินกราดได้อย่างต่อเนื่อง เส้นทางนี้ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักกันคือ ถนนแห่งชีวิต (รัสเซีย: Дорога жизни) เป็นผลกระทบทางภาคใต้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลสาบลาโดกาและฉนวนทางบกซึ่งยังคงปราศจากการยึดครองของกองทัพฝ่ายอักษะระหว่างทะเลสาบลาโดกาและเลนินกราด การขนส่งข้ามทะเลสาบลาโดกาสามารถทำได้โดยวิธีของพาหนะทางน้ำในช่วงเดือนที่มีสภาพอากาศอบอุ่นและยานพาหนะทางบกซึ่งแล่นเคลื่อนที่บนน้ำแข็งหนาทึบในฤดูหนาว (ด้วยเหตุนี้ เส้นทางจึงกลายเป็นที่รู้จักกันคือ "ถนนน้ำแข็ง") การรักษาความปลอดภัยต่อเส้นทางการขนส่งเสบียงได้รับการคุ้มกันโดยกองเรือลาโดกา กองทัพน้อยกองกำลังป้องกันภัยทางอากาศของเลนินกราด และกองกำลังทหารรักษาความปลอดภัยประจำเส้นทาง ดังนั้นเสบียงอาหารที่สำคัญจึงถูกขนส่งไปยังหมู่บ้าน Osinovets จากที่ซึ่งพวกเขาได้ถูกเคลื่อนย้ายและขนส่งไปได้ไกลถึง 45 กิโลเมตร ด้วยทางรถไฟชานเมืองขนาดเล็กสู่เลนินกราด[61] เส้นทางนี้ยังถูกนำมาใช้ในการอพยพพลเรือนอีกด้วย เนื่องจากแผนการอพยพไม่ได้ถูกดำเนินในท่ามกลางความโกลาหลของฤดูหนาวครั้งแรกของสงคราม และเมืองถูกตัดขาดอย่างสมบูรณ์จนถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน เมื่อถนนน้ำแข็งบนทะเลสาบลาโดกาได้เริ่มใช้งานได้ ความเสี่ยงของยานพาหนะที่จะเกิดขึ้นจากการติดหล่มหิมะหรือถูกจมลงโดยพื้นน้ำแข็งแตกที่เกิดจากการทิ้งระเบิดอย่างต่อเนื่องของเยอรมัน แต่ถนนเส้นทางนี้ได้นำพาเสบียงสำหรับยุทธภัณฑ์และอาหารที่มีความจำเป็นเข้ามา และนำพลเรือนและทหารที่ได้รับบาดเจ็บออกไป ทำให้เมืองสามารถต้านทานข้าศึกต่อไปได้[62][63][64]
ผลกระทบภายในเมือง
แก้การปิดล้อมถึงสองปีครึ่งทำให้เกิดการทำลายล้างครั้งใหญ่ที่สุดและสูญเสียชีวิตครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในเมืองยุคสมัยใหม่[25][65] ตามคำสั่งโดยตรงของฮิตเลอร์ แวร์มัคท์ได้ปล้นของและทำลายพระราชวังจักรวรรดิเป็นส่วนใหญ่ เช่น พระราชวังแคเธอริน พระราชวังเปเตียร์กอฟ Ropsha, Strelna, Gatchina และสถานที่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ที่ตั้งอยู่นอกเขตการป้องกันของเมือง โดยมีผลงานทางศิลปะจำนวนมากมายถูกส่งไปยังเยอรมนี[66] โรงงาน โรงเรียน โรงพยาบาล และโครงสร้างพื้นฐานของพลเรือนอื่น ๆ จำนวนมากได้ถูกทำลายโดยการตีโฉบฉวยทางอากาศและการระดมยิงปืนใหญ่ระยะไกล[67]
การปิดล้อมเป็นเวลา 872 วันทำให้เกิดทุพภิกขภัยอย่างรุนแรงในภูมิภาคเลนินกราดโดยผ่านการทำลายล้างสิ่งอำนวยประโยชน์ น้ำ พลังงาน และเสบียงอาหาร ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 1,500,000 คน[69] ทหารและพลเรือนและผู้อพยพจำนวนกว่า 1,400,000 คน (ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก) มีจำนวนหลายคนต่างเสียชีวิตระหว่างการอพยพ เนื่องจากสภาพความอดอยากและการทิ้งระเบิด[1][2][4] สุสานอนุสรณ์ Piskaryovskoye ในเลนินกราดได้ถือว่ามีจำนวนเหยื่อพลเรือนกว่าครึ่งล้านคนจากการล้อมเพียงลำพัง การทำลายทางเศรษฐกิจและความสูญเสียมนุษย์ในเลนินกราดของทั้งสองฝ่ายมีมากเกินกว่ายุทธการที่สตาลินกราด ยุทธการที่มอสโก หรือการทิ้งระเบิดที่โตเกียว การปิดล้อมเลนินกราดได้ถูกจัดว่าเป็นการปิดล้อมที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์โลก และนักประวัติศาสตร์บางคนต่างพูดถึงปฏิบัติการปิดล้อมในแง่ของการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ว่าเป็น "นโบายความอดอยากที่มีแรงจูงใจทางเชื้อชาติ" ซึ่งกลายเป็นส่วนสำคัญของสงครามการทำลายล้างของเยอรมันที่มีต่อประชากรชาวโซเวียตส่วนมากอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน[70][71]
พลเรือนในเมืองต่างประสบความอดอยากอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1941-42 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1941 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 มีเพียงอาหารอย่างเดียวที่สามารถให้แก่พลเมืองได้คือ ก้อนขนมปัง 125 กรัมต่อวัน โดยประมาณ 50–60% ซึ่งประกอบไปด้วยขี้เลื่อยและส่วนผสมอื่น ๆ ที่กินไม่ได้ ในสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำสุด (ลดลงถึง −30 องศาเซลเซียล (−22 องศาฟาเรนไฮต์)) และพร้อมด้วยบริการขนส่งในเมืองได้ปิดตัวลง แม้แต่ระยะทางไม่กี่กิโลเมตรไปยังตู้จำหน่ายอาหาร ก็ต้องพบเจอกับสิ่งกีดขวางที่ผ่านไปไม่ได้สำหรับประชากรจำนวนมาก จำนวนผู้เสียชีวิตสูงสุดในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 อยู่ที่ 100,000 คนต่อเดือน ส่วนมากจากความอดอยาก[72] ผู้คนมักจะเสียชีวิตล้มลงตามท้องถนน และในไม่ช้าประชาชนก็คุ้นเคยชินกับการเห็นถึงความตาย[73]
การกินเนื้อมนุษย์
แก้ในขณะที่รายงานถึงการกินเนื้อมนุษย์ได้ปรากฏขึ้นในฤดูหนาว ค.ศ. 1941-42 บันทึกรายงานของหน่วยเอ็นเควีดีเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่ได้ถูกตีพิมพ์จนถึง ค.ศ. 2004 หลักฐานส่วนใหญ่เกี่ยวกับการกินเนื้อมนุษย์ที่ปรากฏให้เห็นก่อนหน้านี้ถือว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย Anna Reid ได้ชี้ให้เห็นว่า "สำหรับคนส่วนใหญ่ในช่วงเวลานั้น การกินเนื้อมนุษย์เป็นเรื่องราวนิยายสยองขวัญมือสองมากกว่าประสบการณ์ส่วนบุคคลโดยตรง" การบอกเล่าถึงความน่ากลัวของเลนินกราดในช่วงเวลานั้น ตำรวจมักจะข่มขู่ผู้ต้องสงสัยที่ไม่ให้ความร่วมมือด้วยการจับขังในคุกที่มีมนุษย์กินคนอยู่ด้วย Dimitri Lazarev ผู้บันทึกอนุทินในช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดในการล้อมเลนินกราด ได้บอกเล่าว่า ลูกสาวและหลานสาวของเขาได้ท่องเพลงกล่อมเด็กที่ชวนขนลุกซึ่งถูกดัดแปลงมาจากเพลงช่วงก่อนสงคราม โดยมีเนื้อหาว่า:
เจ้าโรคร้ายมันเดินไปเดินมา ด้วยหน้าตาที่หมองเศร้า ในตระกร้าของเขาเต็มไปด้วยก้นของศพ ฉันมีเนื้อมนุษย์สำหรับมื้อกลางวัน, ชี้นนี้ฉันจะทำ! อึ๋ย, หิวจัง เสียดายจัง! และสำหรับมื้อเย็นนี้, แน่ล่ะ ฉันต้องการเจ้าเด็กน้อย ฉันจะพาเพื่อนบ้านไป', ขโมยเขาออกมาจากเปลนอน[74]
เอกสารของหน่วยเอ็นเควีดีได้รายงานถึงการใช้เนื้อมนุษย์มาเป็นอาหารเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1941[75] รายงานได้สรุปถึงสิบสามคดี ซึ่งมีตั้งแต่มารดาได้ดับลมหายใจของลูกสาววัยสิบแปดเดือนเพื่อทำเป็นอาหารให้แก่บุตรที่โตกว่าสามคนของเธอ ไปจนถึงช่างประปาได้สังหารภรรยาของตนเพื่อมาทำเป็นอาหารให้แก่ลูกชายและหลานสาวของเขา[75]
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1942 หน่วยเอ็นเควีดีได้เข้าจับกุมพวกกินเนื้อมนุษย์จำนวน 2,105 คน โดยมีการแบ่งแยกออกเป็นสองประเภทตามกฎหมายคือ พวกที่กินศพ (trupoyedstvo) และพวกที่กินคนแบบเป็น ๆ (lyudoyedstvo) ต่อมาภายหลังมักจะถูกส่งไปยิงเป้าทิ้ง ในขณะที่เมื่อก่อนก็จะถูกส่งตัวเข้าคุก ประมวลกฎหมายทางอาญาของสหภาพโซเวียตนั้นไม่ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกินเนื้อมนุษย์ ดังนั้นบทลงโทษทั้งหมดจึงถูกดำเนินภายใต้ประมวยกฎหมายมาตรา 59-3 "หมวดหมู่การโจรกรรมแบบพิเศษ"[76] กรณีตัวอย่างของพวกที่กินคนแบบเป็น ๆ นั้นต่ำกว่าพวกที่กินศพอย่างเห็นเด่นชัดเจน จากจำนวน 300 คน ถูกจับกุมในเดือนเมษายน ค.ศ. 1942 ในข้อหากินเนื้อมนุษย์ มีเพียง 44 คนเท่านั้นที่เป็นฆาตกร[77] พวกกินเนื้อมนุษย์มีเพียง 64% เป็นผู้หญิง 44% เป็นพวกที่ตกงาน 90% เป็นพวกที่ไม่รู้หนังสือหรือมีเพียงแค่การศึกษาแบบขั้นพื้นฐาน 15% เป็นประชาชนผู้อยู่อาศัย, และเพียงแค่ 2% เป็นพวกที่มีประวัติการก่ออาชญากรรม คดีส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมักเกิดในเขตชานเมืองมากกว่าภายในเมืองเอง พวกกินเนื้อมนุษย์มักจะเป็นสตรีที่ไม่ได้รับการสนับสนุนพร้อมกับบุตรที่ต้องพึ่งพาอาศัยด้วยและไม่เคยถูกตัดสินว่ามีความผิดใด ๆ มาก่อน ซึ่งได้มีการผ่อนผันระดับหนึ่งในกระบวนการทางกฎหมาย[78]
ด้วยโอกาศของความอดอยากหมู่ การกินเนื้อมนุษย์จึงค่อนข้างหายาก[79] สิ่งพบเห็นได้บ่อยนั้นคือการฆาตกรรมเพื่อแลกบัตรอาหารปันส่วน ในช่วงหกเดือนของปี ค.ศ. 1942 เลนินกราดได้พบเจอการฆาตกรรมดังกล่าวจำนวน 1,216 ครั้ง ในเวลาเดียวกัน เลนินกราดมีอัตราการตายสูงสุดถึง 100,000 คนต่อเดือน Lisa Kirschenbaum ได้ตั้งข้อสังเกตว่า อัตราของ "การกินเนื้อมนุษย์เป็นการให้โอกาศในการเน้นย้ำถึงคนส่วนมากในเลนินกราดสามารถรักษาบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมของพวกเขาในสถานการณ์ที่คาดคิดไม่ถึงมากที่สุด"[79]
การคลายวงล้อมของโซเวียต
แก้วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1942 ซิมโฟนี หมายเลข 7 "เลนินกราด" โดยดมีตรี ชอสตโกวิช ได้ถูกนำมาบรรเลงเพลงโดยวงออร์เคสตราวิทยุเลนินกราด คอนเสิร์ตนี้ได้กระจายเสียงทางลำโพงที่ถูกติดตั้งไว้ทั่วเมืองและมุ่งเป้าไปยังแนวรบข้าศึก ในวันเดียวกันซึ่งฮิตเลอร์ได้กำหนดก่อนหน้านี้เพื่อเฉลิมฉลองการยึดเมืองด้วยงานเลี้ยงสุดหรูที่โรงแรมอัสโทเรียของเลนินกราด และไม่กี่วันก่อนการรุกชีนยาวินสโคเย
การรุกชีนยาวินสโคเย
แก้การรุกชีนยาวินสโคเย เป็นความพยายามของโซเวียตที่จะทำลายการปิดล้อมเมืองในช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1942 กองทัพภาคสนามที่สองและกองทัพที่แปดจะต้องเข้าสมทบกับกองกำลังของแนวรบเลนินกราด ในขณะเดียวกัน ฝ่ายเยอรมันก็เตรียมความพร้อมในการเข้ารุกเพื่อยึดเมือง ปฏิบัติการนอร์ดลิช (แสงทางเหนือ) โดยใช้กองกำลังทหารที่มีอยู่ในการเข้ายึดครองเซวัสโตปอล ต่างฝ่ายต่างไม่รู้ถึงเจตจำนงของอีกฝ่าย จนกระทั่งการสู้รบได้เริ่มต้นขึ้น
การรุกได้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1942 ด้วยการโจมตีขนาดเล็กน้อยบางส่วนของแนวรบเลนินกราด ทำการชิงโจมตีก่อนแผนการ"นอร์ดลิช" ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ การเริ่มต้นของปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จได้บีบบังคับให้เยอรมันต้องนำกองกำลังทหารจากแผน"นอร์ดลิช" ที่ได้วางเอาไว้เพื่อโจมตีตอบโต้กลับต่อกองทัพโซเวียต การโจมตีตอบโต้กลับครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นถึงการนำรถถังทีเกอร์มาใช้เป็นครั้งแรก แม้ว่าจะประสบความสำเร็จที่จำกัด ภายหลังบางส่วนของกองทัพภาคสนามที่สองถูกโอบล้อมและทำลาย การรุกของโซเวียตก็หยุดชะงักลง อย่างไรก็ตาม กองทัพเยอรมันยังต้องละทิ้งการรุกของพวกเขาเองด้วย
ปฏิบัติการอิสกรา
แก้การปิดล้อมได้ถูกทำลายลงในการกระตุ้นของปฏิบัติการอิสกรา (สปาร์ค) ซึ่งเป็นการรุกแบบเต็มรูปแบบที่ถูกดำเนินโดยแนวรบเลนินกราดและแนวรบวอลฮอฟ การรุกครั้งนี้ได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงเช้าของวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1943 ภายหลังจากการสู้รบอันดุเดือด หน่วยรบของกองทัพแดงได้เอาชนะป้อมปราการของเยอรมันอันทรงพลังทางตอนใต้ของทะเลสาบลาโดกา และเมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1943 กองพลปืนไรเฟิลที่ 372 ของแนวรบวอลฮอฟได้เข้าสมทบกับกองพลน้อยปืนไรเฟิลที่ 123 ของแนวรบเลนินกราด เปิดฉนวนทางบกได้กว้างถึง 10-12 กิโลเมตร (6.2-7.5 ไมล์) ซึ่งสามารถบรรเทาทุกข์บางส่วนให้แก่ประชาชนที่ถูกปิดล้อมของเลนินกราด
กองพลน้ำเงินสเปนได้เผชิญหน้ากับความพยายามครั้งใหญ่ของโซเวียตที่จะทำลายการปิดล้อมเลนินกราดในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 เมื่อกองทัพที่ 55 ของโซเวียต ได้ฟื้นตัวหลังชัยชนะที่สตาลินกราด เข้าโจมตีตำแหน่งของสเปนในยุทธการที่ Krasny Bor ใกล้กับถนนสายหลักระหว่างมอสโก-เลนินกราด แม้ว่าจะได้รับความสูญเสียที่หนักมาก สเปนก็สามารถยืนหยัดต้านทานกับกองกำลังโซเวียตที่มีขนาดใหญ่กว่าเจ็ดเท่าและได้รับการสนับสนุนโดยรถถัง การจู่โจมของโซเวียตถูกยับยั้งโดยกองพลน้ำเงินและการล้อมเลนินกราดยังคงดำเนินต่อไปอีกหนึ่งปี
การคลายวงล้อม
แก้การปิดล้อมยังคงดำเนินต่อไปจนถึง วันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1944 เมื่อการรุกเลนินกราด–นอฟโกรอดของโซเวียตได้ขับไล่กองทัพเยอรมันออกไปจากเขตชานเมืองทางใต้ของเมือง ครั้งนี้เป็นความพยายามร่วมกันของแนวรบเลนินกราดและแนวรบวอลฮอฟ พร้อมกับแนวรบบอลติกที่ 1 และที่ 2 กองเรือบอลติกได้ให้อำนาจการบินเพียง 30% สำหรับการโจมตีครั้งสุดท้ายกับแวร์มัคท์[59] ในฤดูร้อน ค.ศ. 1944 กองกำลังป้องกันฟินแลนด์ได้ถูกผลักดันกลับไปยังอีกฟากหนึ่งของอ่าว Vyborg และแม่น้ำ Vuoksi[80]
การปิดล้อมยังเป็นที่รู้จักกันคือ การปิดกั้นเลนินกราดและการปิดล้อมเก้าร้อยวัน
เส้นเวลา
แก้เส้นเวลาซึ่งถูกอ้างอิงจากแหล่งข้อมมูลต่าง ๆ เช่น งานเขียนที่ถูกทำขึ้นโดย David Glantz[81]
1941
แก้- เมษายน: ฮิตเลอร์ตั้งใจที่จะเข้ายึดครองและจากนั้นก็ทำลายล้างเลนินกราด ตามแผนการบาร์บาร์บาร็อสซาและเกเนอราลพลานอ็อสท์
- 22 มิถุนายน: การรุกรานสหภาพโซเวียตของฝ่ายอักษะได้เริ่มต้นขึ้นด้วยปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา
- 23 มิถุนายน: ผู้บัญชาการเลนิกราดมาร์เคียน โปปอฟ ได้ส่งรองผู้บัญชาการของเขาไปตรวจตราตำแหน่งการป้องกันทางใต้ของเลนินกราด
- 29 มิถุนายน: การก่อสร้างป้อมปราการลูกา (รัสเซีย: Лужский оборонительный рубеж) ได้เริ่มต้นขึ้นพร้อมการอพยพเด็กและผู้หญิง
- มิถุนายน–กรกฎาคม: พลเรือนผู้ลี้ภัยกว่า 300,000 คน จาก ปัสคอฟและนอฟโกรอดได้หลบหนีจากการรุกของเยอรมันเข้ามายังเลนินกราดเพื่อที่หลบภัย กองทัพของแนวรบตะวันออกเฉียงเหนือได้เข้าร่วมกับแนวรบที่เลนินกราด กำลังทางทหารทั้งหมดด้วยกำลังสำรองและทหารอาสาสมัครถึง 2 ล้านคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกด้านของการสู้รบที่กำลังจะอุบัติขึ้น
- 19–23 กรกฎาคม: การโจมตีครั้งแรกต่อเลนินกราดโดยกลุ่มกองทัพเหนือได้หยุดชะงักลงในระยะทาง 100 กิโลเมตร (62 ไมล์) ทางตอนใต้ของเมือง
- 27 กรกฎาคม: ฮิตเลอร์ได้แวะเยี่ยมกลุ่มกองทัพเหนือ รู้สึกโกรธที่การรบล่าช้า เขาจึงออกคำสั่งให้วิลเฮ็ล์ม ริทเทอร์ ฟ็อน เลพให้เข้ายึดเลนินกราดภายในเดือนธันวาคม
- 31 กรกฎาคม: ฟินแลนด์ได้เข้าโจมตีกองทัพที่ 23 ของโซเวียตที่คอคอดคาเรเลีย จนในที่สุดก็เดินทางมาถึงชายแดนฟินแลนด์-โซเวียตทางตอนเหนือในช่วงก่อนสงครามฤดูหนาว
- 20 สิงหาคม – 8 กันยายน: การระดมยิงด้วยปืนใหญ่ต่อเลนินกราดโดนโรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน โรงพยาบาล และบ้านที่พักอาศัยของพลเรือน
- 21 สิงหาคม: คำสั่งโดยตรงของฮิตเลอร์ คำสั่งที่ 34 "การปิดล้อมรอบเลนินกราดในความร่วมมือกันกับฟินแลนด์"
- 20–27 สิงหาคม: การอพยพพลเรือนถูกขัดขวางโดยการโจมตีต่อทางรถไฟและทางออกอื่น ๆ จากเลนินกราด
- 31 สิงหาคม:กองทัพฟินแลนด์ได้เข้าสู่การตั้งรับและประจำอยู่ในแนวรบของพวกเขา[47] สิ่งนี้มีความเกี่ยวข้องกับการก้าวข้ามชายแดนในช่วงก่อนสงครามฤดูหนาว ค.ศ. 1939 และการเข้ายึดครองเขตเทศบาลเมืองของ Kirjasalo และ Beloostrov[47]
- 6 กันยายน: อัลเฟรท โยเดิลจากกองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ได้ล้มเหลวในการชักชวนฟินแลนด์ในการเข้ารุกต่อเนื่องกับเลนินกราด
- 2–9 กันยายน: ฟินแลนด์เข้ายึดครองส่วนที่ยืดออกมาของ Beloostrov และ Kirjasalo และดำเนินเตรียมความพร้อมในการป้องกัน
- 8 กันยายน: การปิดล้อมทางพื้นดินต่อเลนินกราดได้เสร็จสมบูรณ์ เมื่อกองทัพเยอรมันได้เดินทางมาถึงชายฝั่งของทะเลสาบลาโดกา
- 10 กันยายน: โจเซฟ สตาลินได้แต่งตั้งให้นายพลจูคอฟเป็นผู้บัญชาการแห่งแนวรบเลนินกราดและกองเรือบอลติก เข้ามาแทนที่จอมพลโวโรชีลอฟ
- 12 กันยายน: คลังเสบียงอาหารที่ใหญ่ที่สุดในเลนินกราด, ร้านค้าทั่วไปบาดาเจฟสกีได้ถูกทำลายลงโดยการทิ้งระเบิดของเยอรมัน
- 15 กันยายน: วิลเฮ็ล์ม ริทเทอร์ ฟ็อน เลพได้ถอดกลุ่มยานเกราะที่ 4 ออกจากแนวรบและย้ายไปยังกลุ่มกองทัพกลางเพื่อการรุกมอสโก
- 19 กันยายน: กองกำลังทหารเยอรมันได้หยุดนิ่งในระยะทาง 10 กิโลเมตร (62 ไมล์) จากเลนินกราด พลเรือนต่างพากันเข้าร่วมต่อสู้รบที่แนวป้องกัน
- 22 กันยายน: ฮิตเลอร์ได้ชี้นำว่า "เซนต์ปีเตอส์เบิร์กจะต้องถูกลบออกจากพื้นดินของโลก"
- 22 กันยายน: ฮิตเลอร์ได้ประกาศว่า "....เราไม่ได้ประโยชน์ในการรักษาชีวิตของประชากรพลเรือน"
- 8 กันยายน: ฮิตเลอร์ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่มิวนิคว่า: "เลนินกราดจะต้องตายด้วยความอดอยาก"
- 10 พฤศจิกายน: การโจมตีตอบโต้กลับของโซเวียตได้เริ่มต้นขึ้น และจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม
- ธันวาคม: วินสตัน เชอร์ชิลได้เขียนบันทึกในอนุทินของเขาว่า "เลนินกราดถูกโอบล้อม, แต่ไม่ได้ถูกยึด"
- 6 ธันวาคม: สหราชอาณาจักรได้ประกาศสงครามต่อฟินแลนด์ ตามมาด้วย แคนาดา ออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์
- 30 ธันวาคม: การโจมตีตอบโต้กลับของโซเวียตซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 10 พฤศจิกายน ได้บีบบังคับให้เยอรมันล่าถอยออกจาก Tikhvin กลับไปยังแม่น้ำวอลฮอฟ ขัดขวางไม่ให้พวกเขาจากการเข้าสมทบกับกองทัพฟินแลนด์ซึ่งประจำการอยู่ที่แม่น้ำสวีร์ บนชายฝั่งตะวันออกของทะเลสาบลาโดกา
1942
แก้- 7 มกราคม: ปฏิบัติการรุกลูย์บันของโซเวียตได้เปิดฉากขึ้น; กินเวลา 16 สัปดาห์ ส่งผลทำให้กองทัพสนามที่ 2 พ่ายแพ้
- มกราคม: โซเวียตได้เปิดฉากการรบที่หัวสะพาน Nevsky Pyatachok ในความพยายามที่จะทำลายวงล้อม การรบครั้งนี้ได้กินเวลาไปจนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1943 แต่ก็ประสบความสำเร็จได้แค่เพียงบางส่วน ทั้งสองฝ่ายต่างได้รับความสูญเสียอย่างหนักมาก
- 4–30 เมษายน: ปฏิบัติการ Eis Stoß (น้ำแข็งปะทะกัน) ของลุฟท์วัฟเฟอประสบความล้มเหลวในการจมเรือน้ำแข็งของกองเรือบอลติกในเลนินกราด
- มิถุนายน–กันยายน: ปืนใหญ่ติดตั้งบนรถไฟของเยอรมันได้ระดมยิงใส่เลนินกราดด้วยกระสุนปืนใหญ่น้ำหนัก 800 กิโลกรัม (1,800 ปอนด์)
- สิงหาคม: กองพลน้ำเงิน (División Azul) ของสเปนได้ถูกย้ายมายังเลนินกราด
- 9 สิงหาคม ค.ศ. 1942: ซิมโฟนี หมายเลข 7 "เลนินกราด" โดยดมีตรี ชอสตโกวิช ได้ถูกนำมาบรรเลงเพลงในเมือง
- 14 สิงหาคม – 27 ตุลาคม: กองเรือเคได้เข้าปะทะกับเส้นทางการขนส่งเสบียงสู่เลนินกราดบนทะเลสาบลาโดกา
- 19 สิงหาคม: โซเวียตได้เริ่มต้นด้วยการรุกชีนยาวินสโคเยเป็นเวลายาวนานถึงแปดสัปดาห์ แต่ได้ขัดขวางแผนการรุกของเยอรมัน (นอร์ดลีช)
1943
แก้- มกราคม–ธันวาคม: การระดมยิงปืนใหญ่ใส่เลนินกราดมากขึ้นเรื่อย ๆ
- 12–30 มกราคม: ปฏิบัติการอิสกราสามารถเจาะทะลุวงล้อมไว้ได้โดยการเปิดฉนวนทางบกบริเวณริมชายฝั่งทะเลสาบลาโดกาจนเข้าสู่เมืองมาได้. การปิดล้อมได้ถูกทำลายลง
- 10 กุมภาพันธ์ – 1 เมษายน: ปฏิบัติการ Polyarnaya Zvezdaประสบความล้มเหลวในความพยายามที่จะคลายวงล้อม
1944
แก้- 14 มกราคม – 1 มีนาคม: ปฏิบัติการรุกของโซเวียตหลายปฏิบัติการได้เริ่มต้นขึ้น เป้าหมายคือการยุติการล้อม
- 27 มกราคม: การล้อมเลนินกราดได้จบลง กองทัพเยอรมันได้ถูกผลักดันออกจากเมืองในระยะทาง 60-100 กิโลเมตร
- มกราคม: ก่อนที่จะล่าถอยออกไป, กองทัพเยอรมันได้ทำการปล้นของและทำลายพระราชวังพระเจ้าซาร์ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น พระราชวังแคเธอริน, พระราชวังเปเตียร์กอฟ, พระราชวัง Gatchina และพระราชวัง Strelna สถานที่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และบ้านเรือนอื่น ๆ อีกมากมายในเขตชานเมืองของเซนต์ปีเตอส์เบิร์กถูกปล้นสะดมและทำลาย และผลงานทางศิลปะอันล้ำค่าจำนวนมากมายถูกย้ายไปยังนาซีเยอรมนี
ในช่วงการปิดล้อม อาคารที่พักอาศัย 3,200 หลัง บ้านไม้ 9,000 หลัง ถูกเผาไหม้ และโรงงาน 840 แห่งถูกทำลายในเลนินกราดและชานเมือง[82]
การประเมินในภายหลัง
แก้การประเมินของอเมริกัน
แก้ไมเคิล วอลเซอร์ นักประวัติศาสตร์สรุปว่า "การล้อมเลนินกราดทำให้มีพลเมืองถูกฆ่ามากกว่าการวางระเบิดที่ฮัมบวร์ค, เดรสเดิน, ฮิโรชิมะ และนางาซากิรวมกัน"[83] โรงเรียนทหารสหรัฐประเมินว่าผู้ประสบภัยจากการล้อมเมืองของรัสเซียมีมากกว่าผู้ประสบภัยของอเมริกันและอังกฤษในทุกสงครามรวมกัน[84][85][83]
พันธุฆาต
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ปัญหาโต้แย้ง
แก้ข้อโต้แย้งต่อการมีส่วนร่วมของฟินแลนด์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การเนรเทศพลเมืองที่มีต้นกำเนิดจากชาติศัตรูของโซเวียต – เยอรมันและฟินแลนด์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
มรดกตกทอด
แก้พิธีฉลองรำลึก, อนุเสาวรีย์
แก้พิพิธภัณฑ์การปิดล้อมและป้องกันเลนินกราด
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อนุเสาวรีย์: เข็มขัดสีเขียวแห่งความรุ่งโรจน์และสุสานอนุสรณ์สถาน
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สุสานอนุสรณ์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การเดินสวนสนามที่จัตุรัสพระราชวัง
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Brinkley & Haskey 2004, p. 210
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Wykes 1972, pp. 9–21
- ↑ Baryshnikov 2003; Juutilainen 2005, p. 670; Ekman, P-O: Tysk-italiensk gästspel på Ladoga 1942, Tidskrift i Sjöväsendet 1973 Jan.–Feb., pp. 5–46.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Carell 1966, pp. 205–210
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-06-23.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-28. สืบค้นเมื่อ 2015-06-23.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-25. สืบค้นเมื่อ 2015-06-23.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-29. สืบค้นเมื่อ 2015-06-23.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Glantz 2001, pp. 179
- ↑ Gavrilov, B.I., Tragedy and Feat of the 2nd Shock Army, defunct site paper
- ↑ Carlos Caballero Jurado; Ramiro Bujeiro (2009). Blue Division Soldier 1941–45: Spanish Volunteer on the Eastern Front. Osprey Publishing. p. 34. ISBN 978-1-84603-412-1.
- ↑ Bidlack, Richard; Lomagin, Nikita (2012). The Leningrad Blockade, 1941–1944: A New Documentary History from the Soviet Archives. แปลโดย Schwartz, Marian. Yale University Press. pp. 1, 36. ISBN 9780300110296. JSTOR j.ctt5vm646.
Next to the Holocaust, the Leningrad siege was the greatest act of genocide in Europe during the Second World War, as Germany, and to a lesser extent Finland, tried to bombard and starve Leningrad into submission. [...] The number of civilians who died from hunger, cold, and enemy bombardment within the blockaded territory or during and immediately following evacuation from it is reasonably esti-mated to be around 900,000.
- ↑ Ganzenmüller 2005 page 334
- ↑ Hund, Wulf Dietmar; Koller, Christian; Zimmermann, Moshe (2011). Racisms Made in Germany. Münster: LIT Verlag. p. 25. ISBN 978-3-643-90125-5.
- ↑ Vihavainen, Timo; Schrey-Vasara, Gabriele (2011). "Opfer, Täter, Betrachter: Finnland und die Leningrader Blockade". Osteuropa. 61 (8/9): 48–63. JSTOR 44936431.
- ↑ Siegl, Elfie (2011). "Die doppelte Tragödie: Anna Reid über die Leningrader Blockade". Osteuropa. 61 (8/9): 358–363. JSTOR 44936455.
- ↑ Carell 1963[ต้องการเลขหน้า]
- ↑ Saint Petersburg-The Soviet Period,"Saint Petersburg." Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica, 2011. Web. 19 July 2011.
- ↑ Orchestral manoeuvres (part one), The Guardian; 25 November 2001.
- ↑ Reid 2011, pp. 134–35
- ↑ In a conversation held on 27 November 1941, with the Finnish Foreign Minister Rolf Witting, Hitler stated that Leningrad was to be razed to the ground and then given to the Finns, with the River Neva forming the new post-war border between the German Reich and Finland. However, there was a command of Mannerheim in Finland for the country not to participate in the siege of Leningrad.
- ↑ Hannikainen, Olli; Vehviläinen (2002). Finland in the Second World War: between Germany and Russia. Palgrave Macmillan. p. 104. ISBN 978-0-333-80149-9.
- ↑ Klink 1998, pp. 631–634.
- ↑ Klink 1998, pp. 635–637.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 Baryshnikov 2003[ต้องการเลขหน้า]
- ↑ Higgins 1966[ต้องการเลขหน้า]
- ↑ Willmott, Cross & Messenger 2004
- ↑ Bidlack, Richard (2013). The Leningrad Blockade. New Haven: Yale University press. p. 41. ISBN 978-0300198164.
- ↑ Ermengem, Kristiaan Van. "Aurora, St. Petersburg". A View on Cities (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2 March 2020.
- ↑ Carruthers, Bob (2011). Panzers at War 1939–1942. Warwickshire: Coda books. ISBN 978-1781591307.
- ↑ Хомяков, И (2006). История 24-й танковой дивизии ркка (ภาษารัสเซีย). Санкт-Петербург: BODlib. pp. 232 с.
- ↑ Klink 1998, pp. 637–642.
- ↑ Klink 1998, pp. 646–649.
- ↑ Glantz 2001, p. 367
- ↑ National Defence College 1994, pp. 2:194, 256
- ↑ Carlos Caballero Jurado; Ramiro Bujeiro (2009). Blue Division Soldier 1941–45: Spanish Volunteer on the Eastern Front. Osprey Publishing. p. 34. ISBN 978-1-84603-412-1.
- ↑ Glantz 2001, p. 351
- ↑ Higgins 1966, pp. 151
- ↑ Juutilainen & Leskinen 2005, pp. 187–9
- ↑ Führer Directive 21. Operation Barbarossa
- ↑ "St Petersburg – Leningrad in the Second World War เก็บถาวร 16 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" 9 May 2000. Exhibition. The Russian Embassy. London
- ↑ Reid 2011, p. 132
- ↑ Reid 2011, p. 133
- ↑ ""Nuremberg Trial Proceedings Vol. 8", from The Avalon Project at Yale Law School". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2008.
- ↑ Карта обстановки на фронте 23 Армии к исходу 11 September 1941 (ภาษารัสเซีย). Архив Министерства обороны РФ. фонд 217 опись 1221 дело 33. 1941. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2012.
- ↑ Raunio, Ari; Kilin, Juri (2007). Jatkosodan hyökkäystaisteluja 1941. Keuruu: Otavan kirjapaino Oy. pp. 153–159. ISBN 978-951-593-069-9.
- ↑ 47.0 47.1 47.2 National Defence College 1994, p. 2:261
- ↑ Glantz 2001, pp. 166
- ↑ National Defence College 1994, p. 2:260
- ↑ Vehviläinen & McAlister 2002
- ↑ Пыхалов, И. (2005). Великая Оболганная война (ภาษารัสเซีย). ISBN 5-699-10913-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-29. สืบค้นเมื่อ 25 September 2007.
Со сслылкой на Барышников В. Н. "Вступление Финляндии во Вторую мировую войну. 1940–1941 гг." СПб, 2003, с. 28
- ↑ "И вновь продолжается бой..." Андрей Сомов. Центр Политических и Социальных Исследований Республики Карелия. (ภาษารัสเซีย). Politika-Karelia. 28 January 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2007. สืบค้นเมื่อ 25 September 2007.
- ↑ 53.0 53.1 Zhukov, Georgy (1974). Marshal of Victory, Volume I. Pen and Sword Books Ltd. p. 399,415,425. ISBN 9781781592915.
- ↑ Greenwood, John (11 June 2014). Greenwood, John; Hardesty, Von; Higham, Robin (บ.ก.). Russian Aviation and Air Power in the Twentieth Century. p. 117. doi:10.4324/9781315037868. ISBN 9781315037868.
- ↑ Glantz, David M. (2004). The battle for Leningrad 1941–1944 : 900 days of terror. Cassell. pp. 14. ISBN 0-304-36672-2. OCLC 224098878.
- ↑ Achkasov Bronislavovich Pavlovich", V. I. Nikolaĭ (1981). Soviet naval operations in the Great Patriotic War 1941–1945. Naval Institute Press. p. 324.
- ↑ "Пимченков Алексей Титович – Муниципальное образование Литейный округ (№79)". liteiny79.spb.ru. สืบค้นเมื่อ 2 March 2020.
- ↑ [1]
- ↑ 59.0 59.1 Гречанюк, Дмитриев & Корниенко 1990
- ↑ Glantz 2001, p. 130
- ↑ Reid 2011, p. 201
- ↑ правды", Андрей МОИСЕЕНКО | Сайт "Комсомольской (2006-06-23). "Тайна "Дороги жизни"". KP.RU – сайт "Комсомольской правды" (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 8 April 2019.
- ↑ "Д-2 "Народоволец"". 22 May 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2008. สืบค้นเมื่อ 8 April 2019.
- ↑ Salisbury 1969, pp. 407–412
- ↑ Spencer C. Tucker (23 December 2009). A Global Chronology of Conflict: From the Ancient World to the Modern Middle East: From the Ancient World to the Modern Middle East. ABC-CLIO. p. 1929. ISBN 978-1-85109-672-5.
- ↑ Nicholas, Lynn H. (1995). The Rape of Europa: the Fate of Europe's Treasures in the Third Reich and the Second World War. Vintage Books
- ↑ "Saint Petersburg encyclopaedia". encspb.ru. สืบค้นเมื่อ 2 March 2020.
- ↑ "Memorial plaque in memory of Tanya Savicheva". www.visit-petersburg.ru. สืบค้นเมื่อ 2020-12-12.
- ↑ Salisbury 1969, p. 590f
- ↑ Ganzenmüller 2005, pp. 17, 20
- ↑ Barber & Dzeniskevich 2005
- ↑ Reid 2011, p. 284
- ↑ Anderson, M. T., author. (7 February 2017). Symphony for the city of the dead : Dmitri Shostakovich and the siege of Leningrad. p. 284. ISBN 978-0-7636-9100-4. OCLC 975000281.
{{cite book}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Reid 2011, p. 354
- ↑ 75.0 75.1 Reid 2011, p. 287
- ↑ Reid 2011, p. 291
- ↑ Reid 2011, p. 288
- ↑ Reid 2011, p. 292
- ↑ 79.0 79.1 Lisa A. Kirschenbaum (4 September 2006). The Legacy of the Siege of Leningrad, 1941–1995: Myth, Memories, and Monuments. Cambridge University Press. p. 239. ISBN 978-1-139-46065-1.
- ↑ David T. Zabecki (2015). World War II in Europe: An Encyclopedia. Taylor & Francis. p. 1556. ISBN 9781135812492.
- ↑ Timeline references:
- Baryshnikov 2003[ต้องการเลขหน้า]
- Zhukov, Georgy (1974). Marshal of Victory, Volume I. Pen and Sword Books Ltd. p. 399,415,425. ISBN 9781781592915.
- Juutilainen & Leskinen 2005, pp. 187–9
- National Defence College 1994, p. 2:260
- National Defence College 1994, pp. 2:262–267
- Cartier 1977[ต้องการเลขหน้า]
- Glantz, David M. (2011). Operation Barbarossa : Hitler's invasion of Russia, 1941. History Press. p. 37. ISBN 978-0-7524-6070-3. OCLC 813666134.
- Glantz 2001, p. 31
- Glantz 2001, p. 42
- Higgins 1966, pp. 156
- The World War II. Desk Reference. Eisenhower Center director Douglas Brinkley. Editor Mickael E. Haskey. Grand Central Press, 2004. Page 8.
- "Approaching Leningrad from the North. Finland in WWII (На северных подступах к Ленинграду)" (ภาษารัสเซีย).
- Glantz 2001, p. 64
- Glantz 2001, p. 114
- Glantz 2001, p. 71
- Hitler, Adolf (22 September 1941). "Directive No. 1601" (ภาษารัสเซีย).
- Churchill, Winston (2000) [1950]. The Grand Alliance. The Second World War. Vol. 3 (The Folio Society ed.). London: Cassel & Co.
- pp. 98–105, Finland in the Second World War, Bergharhn Books, 2006
- Bernstein, AI; Бернштейн, АИ (1983). "Notes of aviation engineer (Аэростаты над Ленинградом. Записки инженера – воздухоплавателя. Химия и Жизнь №5)" (ภาษารัสเซีย). pp. с. 8–16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2008.
- Vulliamy, Ed (25 November 2001). "Orchestral maneouvres (part two)". The Observer (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0029-7712. สืบค้นเมื่อ 2 March 2020.
- Glantz 2001, pp. 167–173
- Ekman, P-O: Tysk-italiensk gästspel på Ladoga 1942, Tidskrift i Sjöväsendet 1973 Jan.–Feb., pp. 5–46.
- "A Brief History of the Amber Room". Smithsonian Magazine (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2 March 2020.
- "Saint Petersburg encyclopaedia". encspb.ru.
- ↑ Сведения городской комиссии по установлению и расследованию злодеяний немецко-фашистских захватчиков и их сообщников о числе погибшего в Ленинграде населения ЦГА СПб, Ф.8357. Оп.6. Д. 1108 Л. 46–47.
- ↑ 83.0 83.1
Walzer, Michael (1977). Just and Unjust Wars. pp. 160. ISBN 978-0465037070.
More civilians died in the siege of Leningrad than in the modernist infernos of Hamburg, Dresden, Tokyo, Hiroshima, and Nagasaki, taken together.
- ↑ Atlas of the Second World War. West Point, USA, 1995
- ↑ "The Siege of Leningrad, 1941–1944". สืบค้นเมื่อ 10 June 2018 – โดยทาง EyeWitnessToHistory.com.
บรรณานุกรม
แก้- Barber, John; Dzeniskevich, Andrei (2005), Life and Death in Besieged Leningrad, 1941–44, Palgrave Macmillan, New York, ISBN 1-4039-0142-2
- Baryshnikov, N. I. (2003), Блокада Ленинграда и Финляндия 1941–44 (Finland and the Siege of Leningrad), Институт Йохана Бекмана
- Glantz, David (2001), The Siege of Leningrad 1941–44: 900 Days of Terror, Zenith Press, Osceola, WI, ISBN 0-7603-0941-8
- Goure, Leon (1981), The Siege of Leningrad, Stanford University Press, Palo Alto, CA, ISBN 0-8047-0115-6
- Granin, Daniil Alexandrovich (2007), Leningrad Under Siege, Pen and Sword Books Ltd, ISBN 978-1-84415-458-6, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2007
- Kirschenbaum, Lisa (2006), The Legacy of the Siege of Leningrad, 1941–1995: Myth, Memories, and Monuments, Cambridge University Press, New York, ISBN 0-521-86326-0
- Klaas, Eva (2010), Küüditatu kirjutas oma mälestused raamatuks (in Estonian: A Deportee Published His Memories in Book) (ภาษาเอสโตเนีย), Virumaa Teataja
- Boog, Horst; Förster, Jürgen; Hoffmann, Joachim; Klink, Ernst; Müller, Rolf-Dieter; Ueberschär, Gerd R., บ.ก. (1998). "The Army and the Navy". Germany and the Second World War: Attack on the Soviet Union. Vol. IV. Oxford and New York: Clarendon Press. ISBN 978-0-19-822886-8.
- Lubbeck, William; Hurt, David B. (2010), At Leningrad's Gates: The Story of a Soldier with Army Group North, Casemate, ISBN 978-1-935149-37-8
- Platonov, S. P. (ed.) (1964), Bitva za Leningrad, Voenizdat Ministerstva oborony SSSR, Moscow
{{citation}}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - Reid, Anna (2011), Leningrad: The Epic Siege of World War II, 1941–1944, Bloomsbury Publishing, ISBN 978-0-8027-7882-6
- Salisbury, Harrison Evans (1969), The 900 Days: The Siege of Leningrad, Da Capo Press, ISBN 0-306-81298-3
- Simmons, Cynthia; Perlina, Nina (2005), Writing the Siege of Leningrad. Women's diaries, Memories, and Documentary Prose, University of Pittsburgh Press, ISBN 978-0-8229-5869-7
- Willmott, H. P.; Cross, Robin; Messenger, Charles (2004), The Siege of Leningrad in World War II, Dorling Kindersley, ISBN 978-0-7566-2968-7
- Wykes, Alan (1972), The Siege of Leningrad, Ballantines Illustrated History of WWII
ดูเพิ่ม
แก้- Backlund, L. S. (1983), Nazi Germany and Finland, University of Pennsylvania. University Microfilms International A. Bell & Howell Information Company, Ann Arbor, Michigan
- Barskova, Polina. "The Spectacle of the Besieged City: Repurposing Cultural Memory in Leningrad, 1941–1944." Slavic Review (2010) : 327–355. online
- Bethel, Nicholas; Alexandria, Virginia (1981), Russia Besieged, Time-Life Books, 4th Printing, Revised
- Brinkley, Douglas; Haskey, Mickael E. (2004), The World War II. Desk Reference, Grand Central Press
- Clapperton, James. "The siege of Leningrad as sacred narrative: conversations with survivors." Oral History (2007) : 49–60. online, primary sources
- Clark, Alan (1965), Barbarossa. The Russian-German Conflict 1941–1945, Perennial, ISBN 0-688-04268-6
- Fugate, Bryan I. (1984), Operation Barbarossa. Strategy and Tactics on the Eastern Front, 1941, Presidio Press, ISBN 978-0-89141-197-0
- Higgins, Trumbull (1966), Hitler and Russia, The Macmillan Company
- Jones, Michael. Leningrad: State of siege (Basic Books, 2008).
- Kay, Alex J. (2006), Exploitation, Resettlement, Mass Murder. Political and Economic Planning for German Occupation Policy in the Soviet Union, 1940–1941, Berghahn Books, New York, Oxford
- Maddox, Steven. "Healing the Wounds: Commemorations, Myths, and the Restoration of Leningrad's Imperial Heritage, 1941–1950" (PhD dissertation, University of Toronto, 2008) [http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?
- Suvorov, Victor (2005), I Take My Words Back, Poznań, ISBN 9666968746
- Vehviläinen, Olli; McAlister, Gerard (2002), Finland in the Second World War: Between Germany and Russia, Palgrave
ในภาษารัสเซียและเยอรมัน
แก้- Baryshnikov, N. I.; Baryshnikov, V. N. (1997), Terijoen hallitus, TPH
- Baryshnikov, N. I.; Baryshnikov, V. N.; Fedorov, V. G. (1989), Finlandia vo vtoroi mirivoi voine (Finland in the Second World War), Lenizdat, Leningrad
- Baryshnikov, N. I.; Manninen, Ohto (1997), Sodan aattona, TPH
- Baryshnikov, V. N. (1997), Neuvostoliiton Suomen suhteiden kehitys sotaa edeltaneella kaudella, TPH
- Carell, Paul (1963), Unternehmen Barbarossa – Der Marsch nach Russland
- Carell, Paul (1966), Verbrannte Erde: Schlacht zwischen Wolga und Weichsel (Scorched Earth: The Russian-German War 1943–1944), Verlag Ullstein GmbH, (Schiffer Publishing), ISBN 0-88740-598-3
- Cartier, Raymond (1977), Der Zweite Weltkrieg (The Second World War), R. Piper & CO. Verlag, München, Zürich
- Ganzenmüller, Jörg (2005), Das belagerte Leningrad 1941–1944, Ferdinand Schöningh Verlag, Paderborn, ISBN 3-506-72889-X
- Гречанюк, Н. М.; Дмитриев, В. И.; Корниенко, А. И. (1990), Дважды, Краснознаменный Балтийский Флот (Baltic Fleet), Воениздат
- Jokipii, Mauno (1987), Jatkosodan synty (Birth of the Continuation War), ISBN 951-1-08799-1
- Juutilainen, Antti; Leskinen, Jari (2005), Jatkosodan pikkujättiläinen, Helsinki
- National Defence College (1994), Jatkosodan historia 1–6, Porvoo, ISBN 951-0-15332-X
- Seppinen, Ilkka (1983), Suomen ulkomaankaupan ehdot 1939–1940 (Conditions of Finnish foreign trade 1939–1940), ISBN 951-9254-48-X
- Симонов, Константин (1979), Записи бесед с Г. К. Жуковым 1965–1966, Hrono
นิยายที่เกี่ยวข้องกับการล้อมเลนินกราด
แก้- Benioff, David (2008). City of Thieves. Viking Penguin. ISBN 978-0-670-01870-3.
- Dean, Debra (2006). The Madonnas of Leningrad. HarperCollins. ISBN 978-0060825317.
- Dunmore, Helen (2001). The Siege. Viking. 2002, Penguin. ISBN 0-141-00073-2.
- Hannah, Kristin (2010). Winter Garden. St. Martin's Griffin, New York.
- Simons, Paullina (2001). The Bronze Horseman. Harper Torch, New York. ISBN 978-0061-031-120.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ภาพหลายรูปจากแหล่งข้อมูลภายนอก | |
---|---|
การล้อมเลนินกราด | |
Russian map of the operations around Leningrad in 1943 The German and allied Finnish troops are in blue. The Soviet troops are in red.[a 1] | |
Russian map of the lifting of the siege on Leningrad The German and allied Finnish troops are in blue. The Soviet troops are in red.[a 2] |
- Блокада / Siege of Leningrad (2006) ที่ยูทูบ
- Leningrad blockade part1 ที่ยูทูบ (Retrieved on 29 June 2008)
- 900days เก็บถาวร 2011-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. A documentary about the Siege of Leningrad by Jessica Gorter.
- "In the vortex of congealed time", by Oleg Yuriev. An overview of the literature of the Siege of Leningrad.
- The Siege of Leningrad. A collection of documents, articles, excerpts from books about the siege and links to photographs and footage.
- ↑ ОТЕЧЕСТВЕННАЯ ИСТОРИЯ. Тема 8 (ภาษารัสเซีย). Ido.edu.ru. สืบค้นเมื่อ 26 October 2008.
- ↑ Фотогалерея: "От Волги До Берлина. Основные операции советской армии, завершившие разгром врага." (ภาษารัสเซีย). victory.tass-online.ru (ИТАР-ТАСС). สืบค้นเมื่อ 26 October 2008.