ยุทธการที่มอสโก
ยุทธการมอสโก เป็นชื่อที่นักประวัติศาสตร์โซเวียตตั้งโดยหมายถึงการสู้รบที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สองช่วงบนพื้นที่ 600 กิโลเมตรบนแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างเดือนตุลาคม ค.ศ. 1941 ถึงมกราคม ค.ศ. 1942 ความพยายามตั้งรับของโซเวียตทำให้การโจมตีของฮิตเลอร์ต่อมอสโก เมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของสหภาพโซเวียต ไร้ผล มอสโกเป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์ทางทหารและการเมืองหลักของกำลังฝ่ายอักษะในการรุกรานสหภาพโซเวียต
ยุทธการมอสโก | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
![]() ทหารโซเวียตกำลังใช้ปืนต่อสู้อากาศยานหาเครืองบินของลุฟท์วัฟเฟอใกล้จัตุรัสแดง | |||||||
| |||||||
คู่ขัดแย้ง | |||||||
![]() |
![]() | ||||||
ผู้บัญชาการหรือผู้นำ | |||||||
![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() | ||||||
กำลัง | |||||||
ถึง 1 ตุลาคม 1941: ทหาร 1,000,000 นาย รถถัง 1,700 คัน ปืนใหญ่ 14,000 กระบอก อากาศยานขั้นต้น: ใช้การได้ 549 ลำ[1][2][3] เมื่อโซเวียตตีโต้ตอบ: 599 ลำ[4] |
ถึง 1 ตุลาคม 1941: ทหาร 1,250,000 นาย รถถัง 1,000 คัน ปืนใหญ่ 7,600 กระบอก อากาศยานขั้นต้น: 936 ลำ (ใช้การได้ 545 ลำ)[1] เมื่อโซเวียตตีโต้ตอบ: 1,376 ลำ[4] | ||||||
กำลังพลสูญเสีย | |||||||
581,900 | 650,000–1,280,000 |
การรุกทางยุทธศาสตร์ของเยอรมนีชื่อว่า ปฏิบัติการไต้ฝุ่น มีการวางแผนให้ดำเนินการรุกสองง่าม ด้านหนึ่งไปทางเหนือของมอสโกต่อแนวรบคาลีนิน โดยกลุ่มแพนเซอร์ที่ 3 และที่ 4 พร้อม ๆ กับการตัดขาดทางรถไฟสายมอสโก-เลนินกราด และอีกด้านหนึ่งไปทางใต้ของมณฑลมอสโกต่อแนวรบตะวันตก ทางใต้ของตูลา โดยกองทัพแพนเซอร์ที่ 2 ขณะที่กองทัพที่ 4 บุกไปยังมอสโกโดยตรงจากทางตะวันตก แผนปฏิบัติการเยอรมนีต่างหาก ชื่อ ปฏิบัติการโวทัน ถูกรวมอยู่ในการรุกระยะสุดท้ายของเยอรมนีด้วย
ขั้นต้น กำลังโซเวียตดำเนินการป้องกันทางยุทธศาสตร์ต่อมณฑลมอสโกโดยสร้างแนวป้องกันทางลึกขึ้นสามแนว และจัดวางกองทัพหนุนซึ่งเพิ่งรวบรวมขึ้นใหม่ เช่นเดียวกับนำกำลังพลจากจังหวัดทหารบกไซบีเรียและตะวันออกไกล ต่อมา เมื่อการรุกของเยอรมนีหยุดชะงัก ฝ่ายโซเวียตดำเนินการตีโต้ตอบทางยุทธศาสตร์และปฏิบัติการรุกในระดับเล็กกว่าเพื่อบีบให้กองทัพเยอรมันล่าถอยกลับไปยังตำแหน่งรอบนครออร์ยอล เวียซมาและวีเตบสก์ เกือบล้อมกองทัพเยอรมันได้ถึงสามกองทัพไปพร้อมกันนั้นด้วย
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 Bergström 2007 p.90.
- ↑ Williamson 1983, p.132.
- ↑ แหล่งข้อมูลทั้งสองใช้บันทึกลุฟท์วัฟเฟอ ตัวเลข 900-1,300 ลำที่มักอ้างไม่สอดคล้องกับรายงานผลกำลังของลุฟท์วัฟเฟอ แหล่งข้อมูล: Prien, J./Stremmer, G./Rodeike, P./ Bock, W. Die Jagdfliegerverbande der Deutschen Luftwaffe 1934 bis 1945, Teil 6/I and II; U.S National Archives, German Orders of Battle, Statistics of Quarter Years.
- ↑ 4.0 4.1 Bergström 2007, p. 111.