สงครามโปแลนด์–โซเวียต

สงครามโปแลนด์-โซเวียต[N 1] (ปลายฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1918 / 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919[1] – 18 มีนาคม ค.ศ. 1921) เป็นการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างรัสเซียโซเวียตและยูเครนโซเวียตฝ่ายหนึ่งกับสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 และสาธารณรัฐประชาชนยูเครนอีกฝ่ายหนึ่งเหนือการควบคุมดินแดนซึ่งเทียบเท่ากับประเทศยูเครนและบางส่วนของประเทศเบลารุสปัจจุบัน สุดท้ายฝ่ายโซเวียต หลังการรุกไปทางตะวันตก ค.ศ. 1918–1919 หวังยึดครองโปแลนด์อย่างสมบูรณ์ และในบางช่วงของสงครามก็ดูเป็นไปได้

สงครามโปแลนด์–โซเวียต
ส่วนหนึ่งของ การทัพในยุโรปตะวันออก ซึ่งรวมแนวรบด้านใต้ในสงครามกลางเมืองรัสเซีย, สงครามประกาศอิสรภาพยูเครน และสงครามประกาศอิสรภาพลิทัวเนีย

ทหารโปแลนด์กำลังยึดธงชัยของกองทัพแดงหลังยุทธการที่วอร์ซอ (ค.ศ. 1920)
วันที่ปลายฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1918 / 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919[1] – 18 มีนาคม ค.ศ. 1921
สถานที่
ผล

โปแลนด์ชนะ

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
  • โปแลนด์ยึดครองยูเครนตะวันตกและเบลารุสตะวันตก (เกรซือในโปแลนด์สมัยระหว่างสงคราม) ในปัจจุบัน
  • กองทัพโซเวียตยึดครองยูเครนตะวันออกและเบลารุสตะวันออกในปัจจุบัน
  • คู่สงคราม
     Russian SFSR
     สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน
     สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย
    โปลเรวกอม
    Logistical support:
     โปแลนด์
    สาธารณรัฐประชาชนยูเครน[a]
     ลัตเวีย[b]
    ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
    สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย วลาดีมีร์ เลนิน
    สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย เลออน ทรอตสกี
    สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย เซอร์เกย์ คาเมเนฟ
    สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย โจเซฟ สตาลิน
    สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย มีคาอิล ตูคาเชฟสกี
    สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย เซมิออน บูดิออนนืย
    สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย August Kork
    สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย Hayk Bzhishkyan
    สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย นิโคไล ซอลโลกุบ
    สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย อเล็กซานเดอร์ เยโกรอฟ
    สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย อาเล็กซันดร์ วาซิเลฟสกี
    สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 ยูแซฟ ปิวซุดสกี
    สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 Józef Haller
    สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 Franciszek Latinik
    สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 ตาเดอุช รอซวาดอฟสกี
    สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 ววาดือสวัฟ ซีกอร์สกี
    สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 Kazimierz Sosnkowski
    สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 Leonard Skierski
    สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 แอดวาร์ด รึดซ์-ชมิกวือ
    สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 Stanisław Szeptycki
    ซือมอน แปตลูรา
    กำลัง
    ต้น ค.ศ. 1919: ~50,000 นาย[2]
    ฤดูร้อน ค.ศ. 1920:
    800,000–950,000 นาย[3]
    ต้น ค.ศ. 1919: ~80,000 นาย[4]
    ฤดูร้อน ค.ศ. 1920:
    ประมาณ 1,000,000 นาย[5]
    ความสูญเสีย
    ถูกฆ่าประมาณ 60,000 นาย[6]
    ถูกจับกุมประมาณ 80,000–85,000 นาย[7]
    ถูกฆ่า 47,551 นาย[8][9][10]
    หายตัว 51,351 นาย[8]
    บาดเจ็บ 113,518 นาย[10]
    ถูกจับกุมประมาณ 51,000 นาย[7][10]

    ยูแซฟ ปิวซุดสกี (Józef Piłsudski) ประมุขแห่งรัฐโปแลนด์ รู้สึกว่าสบเวลาเหมาะในการขยายชายแดนโปแลนด์ไปทางตะวันออกให้ไกลที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ตามด้วยสหพันธรัฐอินเตอร์มาเรียม (Intermarium) รัฐยุโรปตะวันออก-กลางที่มีโปแลนด์เป็นผู้นำให้เป็นกำแพงต่อการกำเนิดใหม่ของจักรวรรดินิยมเยอรมันและรัสเซีย ขณะเดียวกัน เลนินซึ่งมองโปแลนด์ว่าเป็นสะพานที่กองทัพแดงต้องข้ามเพื่อสนับสนุนขบวนการคอมมิวนิสต์อื่นและนำการปฏิวัติยุโรปอื่นอีก ใน ค.ศ. 1919 กองทัพโปแลนด์ควบคุมเวสเทิร์นยูเครนเป็นบริเวณกว้าง หลังเป็นผู้ชนะจากสงครามโปแลนด์–ยูเครน สาธารณรัฐประชาชนเวสเทิร์นยูเครน ซึ่งมี Yevhen Petrushevych เป็นผู้นำ พยายามสร้างรัฐยูเครนบนดินแดนซึ่งทั้งฝ่ายโปแลนด์และยูเครนอ้างสิทธิ์ ขณะเดียวกัน ยูเครนส่วนของรัสเซีย ซีมอน เปตลูย์รา (Symon Petliura) พยายามป้องกันและเสริมสร้างสาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ แต่เมื่อบอลเชวิคเริ่มเป็นฝ่ายได้เปรียบในสงครามกลางเมืองรัสเซีย พวกเขาเริ่มรุกไปทางตะวันตกสู่ดินแดนยูเครนส่วนพิพาท ทำให้กำลังของ เปตลูย์รา ถอยไปโปโดเลีย เมื่อสิ้น ค.ศ. 1919 มีการตั้งแนวร่วมชดเจนเมื่อ เปตลูย์รา ตัดสินใจเป็นพันธมิตรกับปิลซุดสกี การปะทะชายแดนบานปลายระหว่างการรุกเคียฟของปิลซุดสกีในเดือนเมษายน ค.ศ. 1920 การรุกของโปแลนด์ถูกกองทัพแดงตีโต้ตอบสำเร็จในทีแรก ปฏิบัติการของโซเวียตขับกองทัพโปแลนด์ถอยไปทางตะวันตกถึงกรุงวอร์ซอ เมืองหลวงของโปแลนด์ ขณะที่หน่วยอำนวยการยูเครนหนีไปยุโรปตะวันตก ขณะเดียวกัน ตะวันตกกลัวว่ากองทัพโซเวียตที่เข้าใกล้ชายแดนเยอรมันเพิ่มความสนใจในสงครามของชาติตะวันตก กลางฤดูร้อน ดูเหมือนกรุงวอร์ซอจะเสียแน่นอน แต่ในกลางเดือนสิงหาคม กระแสก็พลิกอีกครั้ง เมื่อกองทัพโปแลนด์ได้ชัยอย่างคาดไม่ถึงและเด็ดขาดในยุทธการที่วอร์ซอ ในห้วงที่โปแลนด์รุกไปทางตะวันออก ฝ่ายโซเวียตขอเจรจาสันติภาพและสงครามยุติด้วยการหยุดยิงในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1920

    มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพริกา สนธิสัญญาสันติภาพอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1921 ซึ่งแบ่งดินแดนพิพาทระหว่างโปแลนด์และโซเวียตรัสเซีย สงครามนี้เป็นตัวตัดสินใหญ่ซึ่งชายแดนโซเวียต–โปแลนด์ระหว่างสงครามโลก ดินแดนกวางใหญ่ที่จัดสรรให้โปแลนด์ในสนธิสัญญาริกากลายเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อชายแดนตะวันออกของโปแลนด์ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรกำหนดใหม่ให้สอดคล้องใกล้เคียงกับแนวเคอร์ซอน (Curzon Line) ค.ศ. 1920

    ดูเพิ่ม แก้

    หมายเหตุ แก้

    1. ภาษาอื่น ๆ:
      • โปแลนด์: Wojna polsko-bolszewicka, wojna polsko-sowiecka, wojna polsko-rosyjska 1919–1921, wojna polsko-radziecka (สงครามโปแลนด์–บอลเชวิค, สงครามโปแลนด์–โซเวียต, สงครามโปแลนด์–รัสเซีย ค.ศ. 1919–1921)
      • รัสเซีย: Советско-польская война (Sovetsko-polskaya voyna, สงครามโซเวียต-โปแลนด์), Польский фронт (Polsky front, แนวรบโปแลนด์)

    อ้างอิง แก้

    1. 1.0 1.1 Andrzej Chwalba, Przegrane zwycięstwo. Wojna polsko-bolszewicka 1918–1920 [The Lost Victory: Polish–Bolshevik War 1918–1920], Wydawnictwo Czarne, Wołowiec 2020, ISBN 978-83-8191-059-0, p. 13.
    2. Davies 2003, p. 39.
    3. Davies 2003, p. 142.
    4. Davies 2003, p. 41.
    5. Antoni Czubiński, "Historia Polski XX wieku" [The history of 20th Century Poland], Wydawnictwo Nauka i Innowacje, Poznań 2012, ISBN 978-83-63795-01-6, pp. 115–118.
    6. Rudolph J. Rummel (1990). Lethal politics: Soviet genocide and mass murder since 1917. Transaction Publishers. p. 55. ISBN 978-1-56000-887-3. สืบค้นเมื่อ 5 March 2011.
    7. 7.0 7.1 Andrzej Chwalba, Przegrane zwycięstwo. Wojna polsko-bolszewicka 1918–1920 [The Lost Victory: Polish–Bolshevik War 1918–1920], pp. 306–307.
    8. 8.0 8.1 Andrzej Chwalba, Przegrane zwycięstwo. Wojna polsko-bolszewicka 1918–1920 [The Lost Victory: Polish–Bolshevik War 1918–1920], pp. 279–281.
    9. Norman Davies (1972). White eagle, red star: the Polish-Soviet war, 1919–20. Macdonald and Co. p. 247. ISBN 978-0356040134. สืบค้นเมื่อ 23 October 2011.
    10. 10.0 10.1 10.2 (ในภาษาโปแลนด์) Karpus, Zbigniew, Alexandrowicz Stanisław, Waldemar Rezmer, Zwycięzcy za drutami. Jeńcy polscy w niewoli (1919–1922). Dokumenty i materiały (Victors Behind Barbed Wire: Polish Prisoners of War, 1919–1922: Documents and materials), Toruń, Wydawnictwo Uniwersytetu Mikołaja Kopernika w Toruniu, 1995, ISBN 978-83-231-0627-2.

    อ่านเพิ่ม แก้

    ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ แก้

    โปแลนด์ แก้

    • Cisek, Janusz (1990). Sąsiedzi wobec wojny 1920 roku. Wybór dokumentów. (transl. Neighbors Attitude Towards the War of 1920. A collection of documents.). London: Polish Cultural Foundation Ltd. ISBN 978-0-85065-212-3.
    • Czubiński, Antoni, Walka o granice wschodnie Polski w latach 1918–1921 (Fighting for eastern borders of Poland in 1918–1921), Instytut Śląski w Opolu, Opole, 1993
    • Drozdzowski, Marian Marek (ed.), Międzynarodowe aspekty wojny polsko-bolszewickiej, 1919–1920. Antologia tekstów historycznych (International aspects of the Polish-Bolshevik War, 1919–1920. Anthology of historical texts.), Instytut Historii PAN, 1996, ISBN 978-83-86417-21-6
    • Golegiewski, Grzegorz, Obrona Płocka przed bolszewikami, 18–19 sierpnia 1920 r. (Defence of Płock from the Bolsheviks, 18–19 August 1920), NOVUM, 2004, ISBN 978-83-89416-43-8
    • Kawalec, Tadeusz. Historia IV-ej Dywizji Strzelców Generała Żeligowskiego w zarysie (History of 4th Rifleman Division of General Żeligowki in brief), Gryf, 1993, OCLC 32178695.
    • Konieczny, Bronisław. Moje życie w mundurze. Czasy narodzin i upadku II RP (My life in the uniform. Times of the birth and fall of the Second Polish Republic), Księgarnia Akademicka, 2005 ISBN 978-83-7188-693-5
    • Kopański, Tomasz Jan, 16 (39-a) Eskadra Wywiadowcza 1919–1920 (16th (39th) Scouting Escadrille 1919–1920), Wojskowy Instytut Historyczny, 1994, ISBN 978-83-901733-5-1
    • Kukiel, Marian, Moja wojaczka na Ukrainie. Wiosna 1920 (My fighting in Ukraine. Spring 1920), Wojskowy Instytut Historyczny, 1995, ISBN 978-83-85621-74-4
    • Łukowski, Grzegorz. Walka Rzeczpospolitej o kresy północno-wschodnie, 1918–1920. Polityka i dzialania militarne. (Rzeczpospolita's fight for the northeastern borderlands, 1918–1920. Politics and military actions.), Wydawnictwo Naukowe Universytetu Adama Mickiewicza, Poznań, 1994, ISBN 978-83-232-0614-9
    • Pruszyński, Mieczysław. Dramat Piłsudskiego: Wojna 1920 (The drama of Piłsudski: War of 1920), Polska Oficyna Wydawnicza BGW, 1995, ISBN 978-83-7066-560-9
    • Odziemkowski, Janusz. Leksykon Wojny Polsko-Rosyjskiej 1919–1920 (Lexicon of Polish-Russian War 1919–1920), Rytm, 2004, ISBN 978-83-7399-096-8
    • Rozstworowski, Stanisław (ed.), Listy z wojny polsko-bolszewickiej (Letters from the Polish-Bolshevik War), Adiutor, 1995, ISBN 978-83-86100-11-8
    • Sikorski, Władysław (1991) [1928]. Nad Wisłą i Wkrą. Studium do polsko–radzieckiej wojny 1920 roku (transl. At Vistula and Wkra: Study of the Polish-Soviet War of 1920) (latest ed.). Warsaw: Agencja Omnipress. ISBN 978-83-85028-15-4.
    • Szczepański, Janusz (1995). Wojna 1920 na Mazowszu i Podlasiu (transl. War of 1920 in Mazovia and Podolia). Wyższa Szkoła Humanistyczna / Gryf. ISBN 978-83-86643-30-1.

    รัสเซีย แก้

    แหล่งข้อมูลอื่น แก้