สนธิสัญญาสันติภาพออสเตรเลีย–ไทย

สนธิสัญญาสันติภาพออสเตรเลีย–ไทย หรือชื่อเต็มว่า ความตกลงสันติภาพฉบับที่สุดระหว่างรัฐบาลแห่งสยามกับรัฐบาลแห่งออสเตรเลีย ลงนามในจังหวัดพระนครเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างทั้งสองประเทศ และนับเป็นเอกสารที่แสดงออกถึงอำนาจอธิปไตยและเอกราชในกิจการต่างประเทศของออสเตรเลียหลังบทกฎหมายแห่งเวสต์มินสเตอร์มีผลใช้บังคับในปี 2485[1]

สนธิสัญญาสันติภาพออสเตรเลีย–ไทย
ประเภทสนธิสัญญาสันติภาพ
วันลงนาม3 เมษายน พ.ศ. 2489
ที่ลงนามจังหวัดพระนคร
เงื่อนไขทั้งสองประเทศให้สัตยาบัน
ภาคีออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
ไทย ไทย

การเจรจา

แก้

ในเดือนตุลาคม 2488 รัฐบาลชีฟลีย์ส่งพลโท อัลเลน เจ. อีสต์แมนแห่งกองทัพบกสหรัฐเป็นผู้แทนไปยังจังหวัดพระนครซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครองอยู่ในเวลานั้น เจ. ซี. อาร์. พราวด์ ผู้แทนการเมืองออสเตรเลียในสิงคโปร์ สรุปจุดยืนของรัฐบาลในเรื่องสันติภาพกับประเทศไทยเมื่อเขาแนะนำอีสต์แมนว่า "การเสียชีวิตของเชลยศึกชาวออสเตรเลียจำนวนมากในสยามเป็นข้อเท็จจริงที่เราไม่อาจเพิกเฉยได้" บริเตนเสนอให้ออสเตรเลียเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพของตนเองกับประเทศไทย และยกฐานะอีสต์แมนเป็นอัครราชทูตประจำประเทศไทยชั่วคราว แต่ตัดสินใจยังไม่สถาปนาความสัมพันธ์ทางทูตอย่างเป็นทางการกับรัฐที่ออสเตรเลียถือว่ายังทำสงครามกันอยู่ อีสแมนได้รับแต่งตั้งเป็นกงสุลและเข้าร่วมการเจรจาระหว่างบริเตนกับไทย ณ สิงคโปร์ แม้ก่อนได้รับพระบรมราชานุญาตแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกงสุล ทั้งนี้ด้วยเหตุว่าไทยไม่เคยยอมรับสถานะสงครามกับออสเตรเลียอย่างเป็นทางการ จึงถือว่าสนธิสัญญากับออสเตรเลียเป็นประเด็นเทคนิคเท่านั้น ออสเตรเลียตั้งเงื่อนไขว่าไทยยุติสถานะสงครามกับบริเตนและยอมรับเงื่อนไขสันติภาพของบริเตน และยืนกรานให้มีการพิจารณาคดีผู้สนับสนุนญี่ปุ่น และค่าปฏิกรรมในเรื่องเหมืองดีบุก[2]

หลังความตกลงสมบูรณ์แบบ อีสต์แมนแลกเปลี่ยนบันทึกกับผู้เจรจาฝ่ายไทย คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย โดยยืนยันว่าสนธิสัญญาอีกฉบับกับออสเตรเลียจะมีการลงนามภายในวันที่ 3 เมษายน รัฐบาลออสเตรเลียในกรุงแคนเบอร์พิจารณาถอนตัวเขากลับ ณ จุดนั้น แต่เขากระตุ้นให้รั้งตำแหน่งจนกว่ากระบวนการตัดสินค่าสินไหมทดแทนแล้วเสร็จ เขายังไม่ถอนตัวจนมีการแลกเปลี่ยนให้สัตยาบันสนธิสัญญาฯ ในเดือนพฤษภาคม[3] ต่อมาในปี 2493 ไทยตกลงจ่ายค่าชดเชย 6 ล้านปอนด์แก่รัฐบาลบริเตนและออสเตรเลียสำหรับความเสียหายยามสงครามต่อการทำธุรกิจเหมืองดีบุกของทั้งสองประมาณ ส่วนออสเตรเลียได้ส่วนแบ่งเกิน 1 ล้านปอนด์เล็กน้อย[4]

อ้างอิง

แก้
  1. Battersby 2000, p. 15.
  2. Battersby 2000, p. 21.
  3. Battersby 2000, p. 22.
  4. Thīrawit 1979, pp. 2–3.

บรรณานุกรม

แก้
  • Thīrawit, Khīan [Khien Theeravit] (1979). Australian–Thai Relations: A Thai Perspective. Occasional Paper No. 58. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies. OCLC 22409046.
  • Battersby, Paul (2000). "An Uneasy Peace: Britain, the United States and Australia's Pursuit of War Reparations from Thailand, 1945–1952". Australian Journal of International Affairs. 54 (1): 15–31. doi:10.1080/00049910050007014. ISSN 1035-7718. S2CID 153688878.