อาด็อล์ฟ ไอช์มัน

อ็อทโท อาด็อล์ฟ ไอช์มัน (เยอรมัน: Otto Adolf Eichmann) เป็นชาวเยอรมัน-ออสเตรีย[1] ชั้นยศนายกองโท และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งหลักของฮอโลคอสต์ - "มาตรการสุดท้ายของปัญหาชาวยิว"ในศัพท์บัญญัติของนาซี เขาได้รับมอบหมายจากนายกลุ่มเอกไรน์ฮาร์ท ไฮดริช ให้อำนวยความสะดวกและจัดทำระบบการขนส่งที่เกี่ยวข้องกับการเนรเทศชาวยิวจำนวนมากมายไปยังเขตเกตโตและค่ายมรณะในยุโรปตะวันออกที่ถูกนาซียึดครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ไอช์มันถูกจับกุมโดยมอสซาด หน่วยลับของอิสราเอลในประเทศอาร์เจนตินา เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม1960 และต่อมาถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีที่ได้ถูกเปิดเผยอย่างกว้างขวางในกรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งเขาถูกตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในปี 1962

อาด็อล์ฟ ไอช์มัน
Adolf Eichmann
อาด็อล์ฟ ไอช์มัน ในปี 1942
เกิดอ็อทโท อาด็อล์ฟ ไอช์มัน
19 มีนาคม ค.ศ. 1906(1906-03-19)
โซลิงเงิน, จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต1 มิถุนายน ค.ศ. 1962(1962-06-01) (56 ปี)
เรือนจำอายาลอน เมืองรัมลา ประเทศอิสราเอล
สาเหตุเสียชีวิตประหารชีวิตโดยการแขวนคอ
สัญชาติเยอรมัน
ชื่ออื่นริคาร์โด คลีเมนต์
อาชีพนายกองโท (Obersturmbannführer)

หลังจากทำงานอาชีพในโรงเรียนที่แสนจะธรรมดา ไอช์มันทำงานในช่วงสั้น ๆ ให้กับบริษัทเหมืองแร่ของพ่อเขาในออสเตรียซึ่งครอบครัวได้ย้ายออกไปในปี ค.ศ. 1914 เขาทำงานเป็นพนักงานขายน้ำมันให้แก่นักท่องเที่ยวโดยเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1927 และเข้าร่วมทั้งพรรคนาซีและหน่วยเอ็สเอ็สในปี ค.ศ. 1932 เขาได้เดินทางกลับเยอรมนีในปี ค.ศ. 1933 ซึ่งเขาได้เข้าสังกัด​สำนักอำนวยความปลอดภัย (SD) ที่นั้นเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าแผนกที่รับผิดชอบด้านกิจการของชาวยิว - โดยเฉพาะการอพยพย้ายถิ่นฐาน ซึ่งนาซีให้การส่งเสริมผ่านความรุนแรงและแรงกดดันทางเศรษฐกิจ ภายหลังการลุกลามของสงครามโลกครั้งที่สองในเดือนกันยายน 1939 ไอช์มันและลูกน้องของเขาได้จัดให้ชาวยิวรวมตัวกระจุกตัวอยู่ในเขตเกตโตในเมืองใหญ่ ๆ โดยคาดหวังว่าพวกเขาจะถูกขนส่งไปยังทางตะวันออกที่ไกลออกไปหรือโพ้นทะเล เขายังได้ร่างแผนสำหรับการสงวนชาวยิวครั้งแรกที่นิสโก ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศโปแลนด์และต่อมาในเกาะมาดากัสการ์ แต่แผนเหล่านี้ไม่เคยถูกดำเนินการใด ๆ

นาซีได้เริ่มการบุกครองสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 และนโยบายชาวยิวของพวกเขาได้ถูกเปลี่ยนจากการอพยพมาเป็นการกำจัดแทน เพื่อร่วมมือวางแผนการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ ไฮดริช ซึ่งเป็นหัวหน้าของไอช์มัน ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมข้าราชการระดับสูงของรัฐบาลในการประชุมที่วันเซ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 1942 ไอช์มันได้รวบรวมข้อมูลให้แก่เขา ได้เข้าร่วมการประชุมและจัดเตรียมทำรายงานในการประชุม ไอช์มันและลูกน้องของเขาต้องทำหน้าที่รับผิดชอบสำหรับการเนรเทศชาวยิวไปยังค่ายมรณะ ซึ่งเหยื่อทั้งหมดถูกรมควันด้วยแก๊สพิษจนตาย เมื่อเยอรมนีบุกครองฮังการีในเดือนมีนาคม 1944 และไอช์มันคอยควบคุมดูแลประชากรชาวยิวส่วนใหญ่ เหยื่อส่วนมากจะถูกส่งไปยังค่ายกักกันเอาช์วิทซ์ ซึ่งราวประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ล้วนถูกสังหารเมื่อเดินทางมาถึง เมื่อถึงเวลาที่การขนส่งได้หยุดลงในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1944 จำนวนชาวยิว 437,000 คน จากจำนวนทั้งหมดในฮังการี 725,000 คน ต่างถูกสังหาร ดีเทอร์ วิสลีเซนีได้เป็นพยานในการพิจารณาคดีที่เนือร์นแบร์กได้กล่าวว่า ไอช์มันได้บอกกับเขาว่า "จะกระโดดโลดเต้นและหัวเราะไปด้วยในหลุมศพ เพราะความรู้สึกที่ว่าเขามีผู้คนจำนวนห้าล้านคน[a] ในจิตสำนึกของเขา น่าจะเป็นที่มาของความพึงพอใจที่ไม่ธรรมดาสำหรับเขา"[3]

ภายหลังจากเยอรมนียอมจำนนในสงครามในปี 1945 ไอช์มันถูกจับกุมโดยทหารสหรัฐ แต่หลบหนีออกจากค่ายกักขังและย้ายไปทั่วเยอรมนีเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุมอีกครั้ง เขาได้ลงเอยอยู่ที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ในโลเออร์ แซคโซนี ซึ่งเขาได้อาศัยอยู่จนถึงปี 1950 เมื่อเขาได้ย้ายไปยังอาร์เจนตินาโดยใช้เอกสารเท็จที่ได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรที่กำกับโดยนักบวชคาทอลิกระดับบิชอปที่ชื่อว่า อาลอย์ส ฮูเดล ข้อมูลที่ถูกรวบรวมโดยมอสซาด หน่วยสืบราชการลับของอิสราเอลได้รับการยืนยันตำแหน่งของเขาในปี 1960 ทีมสายลับของมอสซาดและชิน แบ็ด เข้าจับกุมไอช์มันและนำตัวเขาไปยังอิสราเอลเพื่อรับการพิจารณาคดีในข้อหาทางอาญา 15 ข้อหา รวมทั้งอาชญากรรมสงครามต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมต่อประชากรชาวยิว ในช่วงพิจารณาคดี เขาไม่ได้ปฏิเสธฮอโลคอสต์หรือบทบาทของเขาในการจัดตั้ง แต่กล่าวอ้างว่า เขาทำตามคำสั่งในระบบฟือเรอร์พรินซิพ("หลักการของผู้นำ") ของระบอบเผด็จการ เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดในทุกข้อกล่าวหาและถูกประหารชีวิตโดยการแขวนคอ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1962[b] การพิจาณาคดีได้ถูกติดตามอย่างกว้างขวางในสื่อต่าง ๆ และต่อมาเป็นเรื่องราวในหนังสือหลาย ๆ เล่ม รวมทั้ง เรื่อง ไอช์มันในเยรูซาเล็ม ของฮันนา อาเรินท์ ซึ่งอาเรินท์เป็นผู้บัญญัติศัพท์ว่า "ความธรรมดาสามัญของความชั่วร้าย" (the banality of evil) เพื่ออธิบายถึงไอช์มัน[5]


อ้างอิง

แก้
  1. Geets 2011.
  2. Bauer & Rozett 1990, pp. 1797, 1799.
  3. Stangneth 2014, p. 297.
  4. Hull 1963, p. 160.
  5. Arendt 1994, p. 252.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน