แผนมาดากัสการ์ (เยอรมัน: Madagaskarplan) เป็นข้อเสนอจากรัฐบาลนาซีเยอรมันเพื่อโยกย้ายชาวยิวจากทวีปยุโรปไปยังเกาะมาดากัสการ์ ฟรันซ์ ราเดมาแคร์ หัวหน้าแผนกยิวของสำนักงานต่างประเทศเยอรมันได้เสนอความคิดนี้ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 ไม่นานก่อนที่ฝรั่งเศสถูกยึดครอง ข้อเสนอนี้ได้เรียกว่าสำหรับการมอบอำนาจในการควบคุมมาดากัสการ์ อาณานิคมของฝรั่งเศสแก่เยอรมนีในฐานะส่วนหนึ่งของข้อตกลงการยอมจำนวนของฝรั่งเศส

มาดากัสการ์ตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา

ความคิดของการจัดการชาวยิวเชื้อสายโปลใหม่ในมาดากัสการ์โดยรัฐบาลโปแลนด์ในปี ค.ศ. 1937[1][2] แต่กองกำลังเฉพาะกิจที่ได้ส่งไปเพื่อประเมินศักยภาพของเกาะซึ่งได้สรุปผลออกมาแล้วว่ามีเพียง 5,000 ถึง 7,000 ครอบครัวเท่านั้นที่จะสามารถอาศัยอยู่ได้หรือแม้แต่ประมาณไม่กี่ 500 ครอบครัวโดยการประเมินบางส่วน[a] เพราะความพยายามของนาซีเพื่อส่งเสริมการอพยพประชากรชาวยิวของเยอรมนีในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเป็นเพียงบางส่วนที่ประสบความสำเร็จ ความคิดที่จะเนรเทศชาวยิวให้ไปยังเกาะมาดากัสการ์ได้ถูกรื้อฟื้นโดยรัฐบาลนาซีในปี ค.ศ. 1940

ราเดมาแคร์ได้แนะนำเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1940 มาดากัสการ์ควรจะจัดให้เป็นจุดหมายปลายทางสำหรับชาวยิวในยุโรป ด้วยการอนุมัติของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ อาด็อล์ฟ ไอช์มัน ได้เผยแพร่บันทึกข้อตกลงในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1940 ได้เรียกร้องสำหรับให้มีการตั้งถิ่นฐานใหม่ของชาวยิวนับล้านคนต่อปีจากสี่ปี ด้วยเกาะที่ถูกควบคุมให้เป็นรัฐตำรวจภายใต้เอ็สเอ็ส พวกเขาได้สันนิษฐานว่าชาวยิวจำนวนมากจะต้องยอมรับเงื่อนไขที่รุนแรงที่ควรดำเนินตามแผนต่อไป[4] แผนนั้นกลับไร้ผลเนื่องจากการปิดล้อมทางทะเลของอังกฤษ ดังนั้นจึงถูกเลื่อนออกไปหลังจากนาซีได้พ่ายแพ้ในยุทธการที่บริเตนในเดือนกันยายน ค.ศ. 1940 และได้ถูกเก็บไว้อย่างถาวรในปี ค.ศ. 1942 ด้วยการเริ่มต้นของมาตรการสุดท้าย ซึ่งทำหน้าที่เป็นขั้นตอนทางจิตวิทยาที่สำคัญ[5]

หมายเหตุ แก้

  1. the World Factbook estimates Madagascar's population as 23,812,681 ข้อมูลเมื่อ กรกฎาคม 2015.[3]

อ้างอิง แก้

  1. Browning 2004, p. 82.
  2. Nicosia 2008, p. 280.
  3. World Factbook 2015.
  4. Longerich 2010, p. 162.
  5. Browning 1995, pp. 18–19, 127–128.