การปิดกั้นเยอรมนี (ค.ศ. 1939-1945)

การปิดกั้นเยอรมนี (ค.ศ. 1939-1945) เป็นรู้จักกันดีคือสงครามทางเศรษฐกิจ ได้ถูกนำมาใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสในการออกคำสั่งเพื่อยับยั้งการขนส่งทรัพยากรต่าง ๆ อย่างแร่ธาตุ โลหะ อาหาร และสิ่งทอที่จำเป็นโดยนาซีเยอรมนีและต่อมาฟาสซิสต์อิตาลี ในคำสั่งเพื่อสนับสนุนความพยายามการทำสงครามของพวกเขา สงครามทางเศรษฐกิจประกอบด้วยส่วนใหญ่ของการปิดกั้นทางทะเลซึ่งก่อตั้งให้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธการแห่งแอตแลนติกที่กว้างขวาง และรวมทั้งการทำให้หมดโอกาสซื้อทรัพยากรสงครามจากประเทศที่เป็นกลางเพื่อขัดขวางไม่ให้ขายให้กับข้าศึก[1]

การทิ้งระเบิดน้ำลึกจากทางด้านหลังของเรือเฮสเอ็มเอส สตาร์ลิง ในช่วงยุทธการแห่งแอตแลนติก

มีสี่ช่วงเวลาที่ชัดเจนของการปิดกั้น ช่วงแรกเป็นช่วงเริ่มต้นของสงครามในยุโรปในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 ถึงจุดสิ้นสุดของสงครามลวง ในระหว่างที่ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ ทั้งสองฝ่ายต่างได้สกัดกั้นการเดินเรือมหาสมุทรที่เป็นกลางเพื่อยึดการขนส่งที่มีเส้นทางไปยังศัตรู ในขณะที่ท่าเรือในสเปนได้ถูกใช้เพื่อการขนส่งนำเข้าวัสดุสงครามจากเยอรมนี ช่วงที่สองได้เริ่มต้นขึ้นภายหลังฝ่ายอักษะได้ยึดครองดินแดนส่วนใหญ่ในทวีปยุโรปอย่างรวดเร็วซึ่งทำให้พวกเขาสามารถควบคุมศูนย์กลางอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ช่วงที่สามนับตั้งแต่จากปลายปี ค.ศ. 1941 ภายหลังจากได้เริ่มต้นด้วยการทำสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกาและจักรวรรดิญี่ปุ่น ช่วงสุดท้ายได้เข้ามาภายหลังจากกระแสสงครามได้พลิกกลับให้กับฝ่ายอักษะ ภายหลังจากทหารได้พ่ายแพ้และสูญเสียอย่างหนักขึ้นและภายหลังดีเดย์ ซึ่งได้นำไปสู่การถอนตัวอย่างทีละน้อยจากดินแดนยึดครองในการเผชิญหน้าการรุกทางทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างล้มหลาม[1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Massie, Robert K. (2004). Castles of Steel: Britain, Germany, and the Winning of the Great War at Sea. New York: Ballantine Books. ISBN 0-345-40878-0.