ยุทธเวหาที่บริเตน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ยุทธเวหาที่บริเตน (อังกฤษ: Battle of Britain) คือการรบทางอากาศที่กองทัพอากาศเยอรมันหรือลุฟท์วัฟเฟอ (Luftwaffe) เปิดการโจมตีทางอากาศเพื่อชิงความได้เปรียบกับกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร ก่อนที่จะดำเนินการบุกทางทะเลและการทิ้งทหารพลร่มจากอากาศในปฏิบัติการสิงโตทะเล (Unternehmen Seelöwe) ที่ทางเยอรมันได้วางแผนไว้ก่อนหน้า ต้นเหตุของการรบครั้งนี้มาจากความคิดของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และนายทหารในกองทัพบกเยอรมันที่เชื่อว่าการบุกหมู่เกาะบริเตนข้ามทะเลจะไม่สามารถทำได้โดยง่ายถ้ากองทัพอากาศหลวงไม่ถูกทำลายเสียก่อน เป้าหมายหลักของลุฟวาฟเฟิลในการเปิดศึกทางอากาศคือเพื่อบั่นทอนหรือทำลายกองกำลังทางอากาศของอังกฤษจนอ่อนแอกว่าที่จะยับยั้งการบุกได้ ส่วนเป้าหมายรองก็คือทำลายโรงงานผลิตเครื่องบินและสาธารณูปโภคต่างๆ รวมทั้งทิ้งระเบิดใส่พื้นที่ที่มีความสำคัญทางการเมือง เพื่อข่มขู่ชาวบริเตนให้ยอมแพ้หรือยอมสงบศึกด้วย กระนั้น แม้เยอรมนีจะมีเครื่องบินรบที่ดีกว่าและนักบินที่มีประสบการณ์มากกว่า (สืบเนื่องจากการบุกครองโปแลนด์ก่อนหน้านี้) แต่ความเด็ดขาดของกองทัพอากาศหลวงและจำนวนเครื่องบินที่มากกว่า ทำให้ฝ่ายเยอรมันประสบกับความล้มเหลวในการทำลาย หรือแม้แต่จะบั่นทอนกำลังของกองทัพอากาศหลวงของอังกฤษ (หรือแม้แต่จะทำลายขวัญกำลังใจของชาวบริเตน)และพ่ายแพ้ไปในที่สุดซึ่งความพ่ายแพ้ครั้งนี้ของเยอรมันถือเป็นหนึ่งในความพ่ายแพ่ครั้งสำคัญของเยอรมันที่จะนำไปสู่ชัยชนะเหนือฝ่ายอักษะของฝ่ายสัมพันธมิตรในที่สุดเพราะเวลาต่อมานาซีเยอรมันได้หันเหไปโจมตีสหภาพโซเวียตแทนทำให้อังกฤษสามารถตั้งตัวได้และได้พันธมิตรใหม่เข้าร่วมต่อสู้กับนาซีเยอรมันคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต
ยุทธเวหาบริเตน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
พนักงานสำรวจน่านฟ้าลอนดอน | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหราชอาณาจักร แคนาดา จักรวรรดิบริติช (กองทัพอากาศทัพนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยชาติพันธมิตร) |
เยอรมนี อิตาลี | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
ฮิวจ์ ดาวดิงก์ คีท พาร์ก แทรฟเฟิร์ด ลี-แมลเลอรี ควินติน แบรนด์ ริชาร์ด ซอล ลอยด์ ซามูเอล บรีดเนอร์ |
เฮอร์มัน เกอริง อัลแบร์ท เค็สเซิลริง ฮูโก ชแปร์เลอ ฮันส์-เยือร์เกิน ชตุมพฟ์ โรแบร์ท ริทเทอร์ ฟ็อน ไกรม์ Rino Corso Fougier[1] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เครื่องบินขับไล่ 1,023 ลำ เครื่องบินทิ้งระเบิด 524 ลำ |
เครื่องบินขับไล่ 873 ลำ เครื่องบินทิ้งระเบิด 1,014 ลำ เสียเครื่องบินไปทั้งหมด 1,887 ลำ |
ยุทธเวหาบริเตนถือเป็นการรบครั้งแรกที่สู้กันทางอากาศตลอดทั้งศึก รวมถึงเป็นศึกที่มีปฏิบัติการณ์ทิ้งระเบิดที่ยาวนานและสูญเสียมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นศึกที่มีการทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ (ที่มีจุดประสงค์เพื่อทำลายเศรษฐกิจ หรือการผลิตของศัตรู ไม่ใช่การทำลายข้าศึกโดยตรง) ที่ถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้จริง
อ้างอิง
แก้- ↑ Haining 2005, p. 68