บาตัม (Batam) เป็นเกาะและเป็นเมืองหนึ่งในจังหวัดเกอปูเลาวันรีเยา ของประเทศอินโดนีเซีย เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะพื้นที่เขตการค้าเสรีของสามเหลี่ยมเศรษฐกิจซิโจรี (SIJORI Growth Triangle) อยู่ห่างจากชายฝั่งทางใต้ของสิงคโปร์ 20 กิโลเมตร เกาะนี้มีขนาด 715 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 791,605 คน (พ.ศ. 2551) [1]

บาตัม
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กลุ่มเกาะหมู่เกาะรีเยา
การปกครอง
อินโดนีเซีย
ประชากรศาสตร์
ประชากร915,882 คน
ข้อมูลอื่น ๆ
เว็บไซต์ทางการhttp://www.batamkota.go.id/

ภาษาทางการบนเกาะนี้คือ ภาษาอินโดนีเซีย แต่เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีน จึงมีการใช้ภาษาจีนหลายถิ่น เช่น แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน และภาษาจีนกลางด้วย

ภูมิศาสตร์

แก้

บาตัมอยู่ทางตะวันออกของการีมุน (Karimun) และเกาะบูลัน (Bulan Island) ทางตะวันตกของบินตัน (Bintan) ทางเหนือของเริมปัง (Rempang) และทางใต้ของสิงคโปร์ โดยมีช่องแคบรีเยา (Riau Strait หรือ Selat Riau) แยกระหว่างบาตัม และบินตัน

ชุมชนหลักบนเกาะบาตัมได้แก่ เซกูปัง, โจโดะฮ์, นาโกยา, ซูไงปานัซ, บาตัมเซ็นเตอร์, บาตูอัมปาร์ และเบิงกง

 
เรือปมปงแล่นเป็นระยะทางสั้น ๆ ระหว่างบาตัมและเกาะใกล้เคียง

ภูมิอากาศ

แก้
ข้อมูลภูมิอากาศของบาตัม (1991-2020)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 30.4
(86.7)
30.9
(87.6)
31.4
(88.5)
32.0
(89.6)
32.0
(89.6)
31.5
(88.7)
31.3
(88.3)
31.3
(88.3)
31.3
(88.3)
31.5
(88.7)
30.8
(87.4)
30.4
(86.7)
31.2
(88.2)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 27.4
(81.3)
27.8
(82)
28.0
(82.4)
28.4
(83.1)
28.4
(83.1)
28.1
(82.6)
27.9
(82.2)
27.9
(82.2)
27.7
(81.9)
27.8
(82)
27.5
(81.5)
27.3
(81.1)
27.9
(82.2)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 24.3
(75.7)
24.6
(76.3)
24.6
(76.3)
24.7
(76.5)
24.8
(76.6)
24.6
(76.3)
24.4
(75.9)
24.4
(75.9)
24.1
(75.4)
24.1
(75.4)
24.1
(75.4)
24.2
(75.6)
24.4
(75.9)
แหล่งที่มา: https://cuacalab.id/cuaca_batam/

เศรษฐกิจ

แก้

ในราว พ.ศ. 2510 (ต้นคริสต์ทศวรรษ 1970) เกาะแห่งนี้อยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากพื้นที่ทำป่าไม้ขนาดใหญ่ เป็นเขตอุตสาหกรรมและท่าเรือหลัก ประชากรเพิ่มขึ้นจากไม่กี่พันคนในราว พ.ศ. 2500 จนเป็นแสนคน ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของเกาะนี้มาจากการอยู่ติดกับสิงคโปร์ และต้นทุนแรงงานต่ำ กับได้แรงจูงใจพิเศษจากรัฐบาล จึงเป็นแหล่งโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากที่ดำเนินการโดยบริษัทของสิงคโปร์ การต่อเรือและการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมหลักของเกาะนี้ นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวและรีสอร์ตจำนวนมาก [2]

จากกรอบแนวคิดที่ลงนามไปเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 ทำให้บาตัมพร้อมกับพื้นที่ใกล้เคียง ได้แก่ บินตัน และการีมุน กลายเป็นส่วนหนึ่งของเขตเศรษฐกิจพิเศษกับสิงคโปร์ โดยในเขตนี้จะไม่จัดเก็บภาษีศุลกากรและภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าที่ขนส่งระหว่างบาตัมและสิงคโปร์[3]

การคมนาคม

แก้

การเดินทางระหว่างเกาะนี้กับเมืองอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงได้โดยมีบริการเรือเฟอร์รีจำนวนมาก เช่น เดินทางไปยังบินตัน, การีมุน, สิงคโปร์ และโจโฮร์บะฮ์รู (ประเทศมาเลเซีย) ส่วนการเดินทางไปสิงคโปร์นั้นใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง

สนามบินฮังนาดิม (Hang Nadim Airport) เป็นสนามบินแห่งเดียวของเกาะนี้ โดยมีรันเวย์ยาวที่สุดในอินโดนีเซีย และจาการ์ตาเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุด

 
ท่าเรือกลางของบาตัม มองจากเรือเฟอร์รี

สะพาน "บาเรลัง" เป็นจุดเด่นที่สำคัญอย่างหนึ่งบนเกาะบาตัม ซึ่งเป็นชื่อที่ย่อมาจาก บาตัม-เริมปัง-กาลัง (Batam-Rempang-Galang) อันเป็นชื่อของเกาะใหญ่สามเกาะที่สะพานนี้เชื่อมถึง สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยที่ฮาบิบีเป็นรัฐมนตรีกระทรวงวิจัยและเทคโนโลยี โดยได้ทุนจากรัฐบาลเยอรมัน

อ้างอิง

แก้
  1. "Batam Industrial Development Authority". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-02. สืบค้นเมื่อ 2009-05-13.
  2. "Indonesia President inaugurates Batam free trade zone". Xinhua General News Service. January 19, 2009.
  3. Teo, Laurel (May 19, 2007), "Indon SEZ rules ready by end-May; Setting of a deadline likely to please potential investors", The Business Times Singapore

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

1°04′N 104°01′E / 1.067°N 104.017°E / 1.067; 104.017