พระเจ้าซ็อกที่ 1 แห่งแอลเบเนีย

สมเด็จพระราชาธิบดีซ็อกที่ 1 สคันเดอร์เบ็กที่ 3 แห่งแอลเบเนีย (Zog I, Skanderbeg III)[1][2] พระนามเดิม อาเหม็ด มุห์ตา เบย์ โซโกลลี ภายหลังเปลี่ยนเป็น อาเหม็ด โซกู (8 ตุลาคม พ.ศ. 2438 - 9 เมษายน พ.ศ. 2504) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งแอลเบเนียตั้งแต่ พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2482 ก่อนหน้านั้นพระองค์ทรงเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งแอลเบเนีย (พ.ศ. 2465 - 2467) และประธานาธิบดีแห่งแอลเบเนีย (พ.ศ. 2468 - 2471)

สมเด็จพระราชาธิบดีซ็อกที่ 1 แห่งแอลเบเนีย
นายกรัฐมนตรีแห่งแอลเบเนีย
ประธานาธิบดีแห่งแอลเบเนีย
พระมหากษัตริย์แห่งแอลเบเนีย
ประสูติ8 ตุลาคม พ.ศ. 2438
ปราสาทบูร์กาเยท แคว้นมัท ประเทศแอลเบเนีย
สวรรคต9 เมษายน พ.ศ. 2504
เมืองซูว์แรน จังหวัดโอดแซน แคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส
(พระชนมพรรษา 65 พรรษา)
พระอัครมเหสีสมเด็จพระราชินีเจรัลดีนแห่งแอลเบเนีย
พระราชบุตรเจ้าชายเลกาที่ 1 มกุฎราชกุมารแห่งแอลเบเนีย
สมเด็จพระราชาธิบดีซ็อกที่ 1 แห่งแอลเบเนีย
ราชวงศ์โซกู
พระบรมราชชนกจามาล ปาชา โซกู
พระบรมราชชนนีซาดิเย ทอปตานี
ลายพระอภิไธย

พระราชประวัติ แก้

พระเจ้าซ็อกที่ 1 สคันเดอร์เบ็กที่ 3 แห่งแอลเบเนีย ประสูติเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1895 ณ ปราสาทบูร์กาเยท (Castle Burgajet) ใกล้กับเมืองบูรเรล (Burrel) ในประเทศแอลเบเนีย พระองค์มีพระนามาภิไธยเดิมว่า อาเหม็ด มุห์ตา เบย์ โซโกลลี (Ahmet Muhtar Bey Zogolli) เป็นบุตรคนที่สองของจามาล ปาชา โซโกลลี และเป็นบุตรคนแรกของซาดิเย ทอปตานี โดยตระกูลของพระบิดาของพระองค์เป็นตระกูลขุนนางออตโตมันที่ปกครองแคว้นมัท ส่วนตระกูลทอปตานีของพระมารดาสืบเชื้อสายเดียวกันกับสคันเดอร์เบ็ก (Skanderbeg) วีระบุรุษของชาวแอลเบเนีย เนื่องจากสืบเชื้อสายจากน้องสาวของเขา

พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนหลวงกาลาตาซาเรย์ ลิเซซี (อังกฤษ:Galatasaray Lisesi, ฝรั่งเศส:Lycée de Galatasaray ลีเซ่ เดอ กาลาตาซาเครอี, ตุรกี:Galata Sarayı Enderun-u Hümayunu ต่อมาคือ Galatasaray Mekteb-i Sultanisi) ในนครอิสตันบูล[2] ซึ่งช่วงนั้นจักรวรรดิออตโตมันกำลังอ่อนแอลงโดยเฉพาะการปกครองในดินแดนแอลเบเนีย ต่อมาเมื่อบิดาของพระองค์สิ้นพระชนม์ลงพระองค์ก็ขึ้นครองแคว้นมัทขณะที่มีพระชนมายุเพียง 16 พรรษา โดยได้รับแต่งตั้งตำแหน่งที่เหนือกว่าจาลาล เบย์ โซโกลลี พระเชษฐาต่างพระมารดาของพระองค์

ในปี ค.ศ. 1922 พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนนามสกุลจาก โซโกลลี ซึ่งเป็นภาษาตุรกี เปลี่ยนเป็น โซกู ที่เป็นภาษาแอลเบเนียที่มีความหมายว่า นก

ในตำแหน่งประธานาธิบดี แก้

พระองค์ได้รับการเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศแอลเบเนียที่มาจากการเลือกตั้งในแบบประชาธิบไตยเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1925 โดยบริหารประเทศเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ และดำรงตำแหน่งถึง 7 ปี พระองค์ได้ดำเนินนโยบายพัฒนาประเทศไปแบบอย่างของยุโรป อย่างไรก็ตามประชาชนส่วนใหญ่ยังคงรักษาประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมแบบอย่างที่เคยได้รับอิทธิพลจากออตโตมันเมื่อครั้งยังเรืองอำนาจในดินแดนแอลเบเนีย และประชากรของแอลเบเนียในขณะนั้นยังดำรงชีพด้วยเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่

พระองค์ได้ออกกฎหมายเพื่อปฏิรูปสังคมให้ทันสมัยเป็นไปตามแบบอย่างของประเทศอื่นในทวีปยุโรป อย่างเช่นการห้ามใช้ผ้าคลุมศีรษะ (ฮิญาบ) และข้อห้ามเกี่ยวกับการทรมานสัตว์ (รวมไปถึงการเชือดแบบอิสลาม) พระองค์ได้มีสัมพันธไมตรีกับประเทศอิตาลีและได้ทำการกู้หนี้ยืมสินรัฐบาลอิตาลี ระหว่างที่พระองค์บริหารแอลเบเนียประเทศก็เป็นหนี้มากขึ้นทีละน้อย


ในตำแหน่งพระมหากษัตริย์แห่งแอลเบเนีย แก้

พระชนม์ชีพหลังจากพ้นจากราชย์สมบัติ แก้

ภายหลังจากเบนิโต มุสโสลินี นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ทำการบุกยึดประเทศแอลเบเนีย และได้ถวายตำแหน่งพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรแอลเบเนียแด่ พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี พระเจ้าซ็อกที่ 1 แห่งแอลเบเนีย พร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีเจรัลดีน และพระราชโอรสพระองค์น้อยเสด็จฯไปประทับ ณ ประเทศกรีซซึ่งอยู่ทางใต้ของประเทศแอลเบเนีย ตั้งแต่เมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1939 โดยประทับเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาจึงเสด็จฯมาประทับ ณ โรงแรมริตซ์ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ภายหลังได้ทรงประทับในเขตซันนิ่งฮิลล์/เซาท์อัสคอต ใกล้กับโรงเรียนอัสคอต ในมณฑลบาร์คเชอร์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1941 พระองค์ได้ย้ายไปประทับ ณ พระตำหนักปาร์มูน ในมณฑลบัคคิงแฮมเชอร์ โดยที่ประทับนั้นตั้งอยู่สุดซอยที่เป็นซอยขนาดเล็ก[3] โดยระหว่างที่อดีตพระมหากษัตริย์แอลเบเนียพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ก็อยู่กันอย่างยากลำบาก ทรงใช้เงินที่มีเพียงจำกัดที่ได้มาจากการขายพระราชสมบัติส่วนพระองค์ และใช้ชีวิตเยี่ยงสามัญชน แต่กระนั้นพระองค์ก็มุ่งมั่นและตั้งพระทัยอยู่เสมอว่าพระองค์จะกลับไปปกครองประเทศแอลเบเนียในฐานะพระมหากษัตริย์อีกครั้ง

ในปี ค.ศ. 1946 พระองค์พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ส่วนมากเสด็จฯออกจากสหราชอาณาจักร เพื่อประทับในประเทศอียิปต์ในรัชสมัยพระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ แต่เมื่อเกิดการปฏิวัติอียิปต์ในปี ค.ศ. 1952 พระองค์ก็เสด็จฯลี้ภัยไปยังประเทศฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1955 แต่ก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ. 1951 พระองค์ได้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อที่ดินโนลล์วูด (Knollwood Estate) ในหมู่บ้านมันตันทาวน์ รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ 60 ตารางวา โดยพระองค์ไม่เคยยุ่งวุ่นวายกับที่ดินแห่งนี้เลย แต่ภายหลังพระองค์ก็ขายทิ้งในปี ค.ศ. 1955

ที่สุดของชีวิตพระองค์ก็ประทับอยู่ในประเทศฝรั่งเศส จนกระทั่งพระองค์เสด็จสวรรคตในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2504 ณ โรงพยาบาลฟอช (Hôpital Foch) เมืองซูว์แรน จังหวัดโอดแซน[2] แคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส สิริพระชนมายุได้ 65 พรรษา ตำแหน่งผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของประเทศแอลเบเนีย จึงตกเป็นของเจ้าชายเลกาที่ 1 มกุฎราชกุมารแห่งแอลเบเนีย พระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวของพระองค์

 
หลุมฝังพระบรมศพพระเจ้าซ็อกที่ 1 แห่งแอลเบเนีย ในสุสานตีแย (Thiais) ประเทศฝรั่งเศส

อ้างอิง แก้

  1. Pearson, Owen (2006). Albania in the Twentieth Century: a history. I.B. Tauris. p. 568. ISBN 1845110137.
  2. 2.0 2.1 2.2 Royal Ark
  3. Naçi collection เก็บถาวร 2008-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, School of Slavonic and East European Studies, accessed 27 January 2007

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า พระเจ้าซ็อกที่ 1 แห่งแอลเบเนีย ถัดไป
เจ้าชายวิลเลียมแห่งไวลด์
ทรงเป็นเจ้าชายแห่งแอลเบเนีย
   
พระมหากษัตริย์แห่งแอลเบเนีย
(ราชวงศ์โซกู)

(พ.ศ. 2471พ.ศ. 2482)
  สมเด็จพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี
อิตาลีครอบครอง
ซาห์เฟอร์ เบ็จ ยะฟิ    
นายกรัฐมนตรีแห่งแอลเบเนีย
(พ.ศ. 2465พ.ศ. 2467)
  เชฟเก็ท เบ็จ เวอร์ลาชี
อิเลียส เบ็จ วีเรียนี    
นายกรัฐมนตรีแห่งแอลเบเนีย
(พ.ศ. 2468)
  ตำแหน่งว่าง
ต่อไปคือ
โกโค โกตา
ตำแหน่งใหม่    
ประธานาธิบดีแห่งแอลเบเนีย
(พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2471)
  ตำแหน่งว่าง
ต่อไปคือ
โอเมอร์ นีชานิ
เซมาล ปาชา โซกู    
รัชทายาทผู้ว่าราชการแห่งแคว้นแม็ท
(พ.ศ. 2454 - พ.ศ. 2482)
  มกุฎราชกุมารเลก้าแห่งแอลเบเนีย
ตำแหน่งสิ้นสุด
ยุคสมัยคอมมิวนิสต์
   
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์แอลเบเนีย
(ราชวงศ์โซกู)

(พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2504)
  มกุฎราชกุมารเลก้าแห่งแอลเบเนีย