อเทวนิยม
อเทวนิยม (อังกฤษ: atheism) คือ ทรรศนะที่ไม่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้า[2] และเชื่อในกฎธรรมชาติ ตรงกันข้ามกับเทวนิยม[3][4] อเทวนิยมแตกต่างจากอไญยนิยม (agnosticism) ซึ่งเป็นมุมมองที่ว่ามนุษย์ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่ รวมถึงปรากฏการณ์ที่ไม่อาจรับรู้ได้ด้วยประสบการณ์ทางผัสสะ[3]
คำว่า atheism ในภาษาอังกฤษ มาจากภาษากรีก ἄθεος (atheos) อันมีความหมายว่า "ปราศจากเทพ" ถือเป็นคำหยาบที่ใช้เรียกผู้ปฏิเสธเทพที่สังคมบูชากัน หลังจากที่มีความคิดอย่างอิสระ (freethought) ความสงสัยทางวิทยาศาสตร์ (skeptical inquiry) และการวิจารณ์ศาสนา (criticism of religion) เพิ่มขึ้นแล้ว การใช้คำนี้ก็มีความหมายอย่างแคบลง บุคคลกลุ่มแรกที่เริ่มถือว่าตนเป็นผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องพระผู้สร้าง โดยเรียกตนเองว่า "ผู้ถืออเทวนิยม" (atheist) นั้น ใช้ชีวิตอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18[5]
เนื่องจากเหตุที่ว่า ความหมายและความเข้าใจของอเทวนิยมนั้น มีความแตกต่างกัน ในปัจจุบันจึงทราบได้ยากว่าในโลกมีผู้ถืออเทวนิยมกี่คน[6] อิงตามการคาดคะเนในปี พ.ศ. 2553 แล้ว มีผู้ถืออเทวนิยมอยู่ราว 2.3% ในโลก ในขณะที่อีก 11.9% เป็นผู้ที่ไม่เคร่งศาสนา[7] อิงตามการสำรวจความคิดเห็นจากคนระดับโลกในปี พ.ศ. 2555 โดย WIN/GIA แล้ว 13% ของผู้ที่เข้าร่วมบอกว่าตนมิเชื่อพระเจ้า[8] อิงตามอีกวิเคราะห์หนึ่ง จำนวนผู้ที่บอกว่าตนเองไม่เชื่อเรื่องพระเจ้าส่วนมากอยู่ในประเทศพัฒนาแล้ว ตัวอย่างร้อยละของประชากรที่บอกว่าตนเองไม่เชื่อในพระเจ้าหรือไม่นับถือศาสนาใดๆ เช่น สวีเดน 73%, สหราชอาณาจักร 69%, ออสเตรเลีย 63%, เยอรมนี 60%, เกาหลีใต้ 60%, ญี่ปุ่น 60%, จีน 90%, สหรัฐ 39%, ฟินแลนด์ 55%[9]
มโนคติ
แก้การอธิบายศาสนาอย่างย่อ
แก้นักปรัชญา ลุดวิก ฟอยเออร์บาค[10] และนักจิตวิเคราะห์ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ กล่าวว่า พระเจ้าและความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อทดแทนความต้องการทางจิตใจและอารมณ์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่พุทธศาสนิกชนหลายกลุ่มเชื่อถือ[11] คาร์ล มาร์กซ์ และฟรีดริช เองเงิลส์ ผู้ได้รับอิทธิพลทางแนวคิดจากลุดวิก ฟอยเออร์บาค กล่าวว่า การเชื่อถือในพระเจ้าและศาสนาคือการปฏิบัติทางสังคมหนึ่งซึ่งผู้ที่มีอำนาจนำไปใช้กดขี่ข่มเหงคะเนงร้ายพวกชนชั้นกรรมกร มีฮาอิล บาคูนิน กล่าวว่า "ความคิดที่ว่าพระเจ้ามีจริงบอกเป็นนัยถึงการปฏิเสธทางเหตุผลและทางความยุติธรรมของมนุษย์ เป็นการปฏิเสธอิสรภาพของมนุษย์อย่างเด็ดเดี่ยวที่สุด และต้องทำให้มนุษย์ตกเป็นทาส ทั้งในทฤษฎีและปฏิบัติ" มีฮาอิลย้อนคำคติพจน์ของวอลแตร์ อันว่าครั้นพระเจ้าไม่มีจริง ผู้คนก็จำต้องสร้างพระเจ้าขึ้นมาเอง มีฮาอิลจึงกลับเขียนว่า "ถ้าพระเจ้ามีจริง คนต้องปฏิเสธพระองค์"[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ https://web.archive.org/web/20171114113506/http://www.wingia.com/web/files/news/370/file/370.pdf
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 10
- ↑ 3.0 3.1 Encyclopædia Britannica 2009
- ↑ "The Columbia Encyclopedia, Sixth Edition". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-04. สืบค้นเมื่อ 2009-06-02.
- ↑ Armstrong 1999.
- ↑ Zuckerman, Phil (2007). Martin, Michael T (บ.ก.). The Cambridge Companion to Atheism. Cambridge, England: Cambridge University Press. p. 56. ISBN 978-0-521-60367-6. OL 22379448M. สืบค้นเมื่อ 2011-04-09.
- ↑ "Worldwide Adherents of All Religions by Six Continental Areas, Mid-2007". Encyclopædia Britannica. 2007. สืบค้นเมื่อ 2013-11-21.
- 2.3% Atheists: Persons professing atheism, skepticism, disbelief, or irreligion, including the militantly antireligious (opposed to all religion).
- 11.9% Nonreligious: Persons professing no religion, nonbelievers, agnostics, freethinkers, uninterested, or dereligionized secularists indifferent to all religion but not militantly so.
- ↑ <!-none specified--> (27 July 2012). "Religiosity and Atheism Index" (PDF). Zurich: WIN/GIA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-21. สืบค้นเมื่อ 2013-10-01.
- ↑ https://web.archive.org/web/20171114113506/http://www.wingia.com/web/files/news/370/file/370.pdf
- ↑ Feuerbach, Ludwig (1841) The Essence of Christianity
- ↑ Walpola Rahula, What the Buddha Taught. Grove Press, 1974. Pages 51–52.
- ↑ Bakunin, Michael (1916). "God and the State". New York: Mother Earth Publishing Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-21. สืบค้นเมื่อ 2011-04-09.