ประเทศเซอร์เบียและมอนเตเนโกร

เซอร์เบียและมอนเตเนโกร (อังกฤษ: Serbia and Montenegro, SCG) เป็นชื่อของอดีตสหพันธรัฐซึ่งเป็นการรวมอย่างหลวม ๆ ของเซอร์เบียและมอนเตเนโกร อดีตสาธารณรัฐของยูโกสลาเวีย ตั้งแต่ ค.ศ. 2003 จนถึง ค.ศ. 2006 ตั้งอยู่บนคาบสมุทรบอลข่านตอนตะวันตกกลาง ซึ่งแต่เดิมมีชื่อประเทศว่า สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย ต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อประเทศในปี ค.ศ. 2003 ในชื่อ สหภาพรัฐเซอร์เบียและมอนเตเนโกร

สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย
(1992–2003)
Савезна Република Југославија
Savezna Republika Jugoslavija

สหภาพรัฐแห่งเซอร์เบียและมอนเตเนโกร
(2003–2006)
Државна Заједница Србија и Црна Гора
Državna Zajednica Srbija i Crna Gora

1992–2006
เพลงชาติ"Хеј, Словени" / "Hej, Sloveni"
"เฮ สลาฟ"

สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย (สีเขียว) ในปี ค.ศ. 2003
สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย (สีเขียว) ในปี ค.ศ. 2003
สถานะรัฐตกค้างของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย
เมืองหลวงเบลเกรดa
เมืองใหญ่สุดเบลเกรด
ภาษาราชการเซอร์เบีย-โครเอเชีย (1992–1997) · เซอร์เบีย (1997–2006)
ภาษาที่รับรองแอลเบเนีย · ฮังการี
เดมะนิมยูโกสลาฟ (จนถึงปี ค.ศ. 2003)
เซิร์บ · มอนเตเนกริน (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003)
การปกครองสหพันธ์สาธารณรัฐ (1992–2003)
สมาพันธรัฐ สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ (2003–2006)
ประธานาธิบดี​ 
• 1992–1993 (คนแรก)
โดรบิชา โชชิช[a]
• 1997–2000
สโลโบดัน มิโลเชวิช[a]
• 2003–2006 (คนสุดท้าย)
สเวทอซาร์ มารอวิช[b]
หัวหน้ารัฐบาล 
• 1992–1993 (คนแรก)
มิลาน ปานิช[c]
• 2003–2006 (คนสุดท้าย)
สเวทอซาร์ มารอวิช[d]
สภานิติบัญญัติสมัชชาสหพันธรัฐ (รัฐสภา)
สภาสาธารณรัฐ
สภาประชาชน
ประวัติศาสตร์ 
• ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
27 เมษายน 1992
1992–1995
1998–1999
5 ตุลาคม 2000
1 พฤศจิกายน 2000
4 กุมภาพันธ์ 2003
3 มิถุนายน 2006
• จุดจบสหภาพ
5 มิถุนายน 2006
พื้นที่
• รวม
102,173 ตารางกิโลเมตร (39,449 ตารางไมล์)
ประชากร
• 2006 ประมาณ
10,832,545
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 1995 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น $11.6 พันล้าน[1]
เพิ่มขึ้น $2,650[1]
เอชดีไอ (1996)Steady 0.725[1]
สูง · 87th
สกุลเงินเซอร์เบีย:

มอนเตเนโกร:b

เขตเวลาUTC+1 (CET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (CEST)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+381
โดเมนบนสุด.yu
ก่อนหน้า
ถัดไป
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมเซอร์เบีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมมอนเตเนโกร
เซอร์เบีย
มอนเตเนโกร
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ เซอร์เบีย
 มอนเตเนโกร
 คอซอวอc
  1. ^ หลังจากปี ค.ศ. 2003 ไม่มีเมืองใดเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตามสภานิติบัญญัติและทำเนียบรัฐบาลยังคงตั้งอยู่ที่เบลเกรด แต่ศาลฎีกาตั้งอยู่ที่พอดกอรีตซา
  2. ^ สกุลเงินโดย พฤตินัย ที่ใช้ในมอนเตเนโกรและคอซอวอ
  3. ^ คอซอวอเป็นดินแดนข้อพิพาทระหว่างสาธารณรัฐคอซอวอกับสาธารณรัฐเซอร์เบีย สาธารณรัฐคอซอวอประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 แต่เซอร์เบียยังคงอ้างว่าคอซอวอเป็นดินแดนอธิปไตยของตน ใน พ.ศ. 2556 ทั้งสองรัฐบาลเริ่มกระชับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติในฐานะส่วนหนึ่งของข้อตกลงบรัสเซลส์ ปัจจุบันคอซอวอได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐเอกราชจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติ 98 ชาติจาก 193 ชาติ

เซอร์เบียและมอนเตเนโกรมีความร่วมมือกันเฉพาะบางด้านในการเมือง (เช่น ผ่านสหพันธ์การป้องกันประเทศ) ทั้ง 2 รัฐมีนโยบายเศรษฐกิจและหน่วยเงินของตนเอง และประเทศไม่มีเมืองหลวงรวมอีกต่อไป โดยที่แบ่งแยกสถาบันที่ใช้ร่วมกันระหว่างเมืองเบลเกรดในเซอร์เบียและเมืองพอดกอรีตซาในมอนเตเนโกร ทั้งสองรัฐแยกออกจากกันหลังจากมอนเตเนโกรจัดให้มีการลงประชามติเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 และประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ปีเดียวกัน ทำให้เกิดประเทศใหม่คือประเทศมอนเตเนโกร ส่วนประเทศเซอร์เบียก็กลายเป็นผู้สืบสิทธิ์ต่าง ๆ ของประเทศเซอร์เบียและมอนเตเนโกร

ภูมิศาสตร์แก้ไข

ประวัติศาสตร์แก้ไข

ศตวรรษที่ 19แก้ไข

  • ก่อนปี ค.ศ. 1903 - ชนชาติต่าง ๆ ที่จะรวมเป็นยูโกสลาเวียได้มีการรวมตัวเป็นอาณาจักรปกครองตนเองโดยมีเชื้อชาติต่าง ๆ ดังนี้
    • สโลวีเนีย - ชาวสโลวีนตั้งถิ่นฐานเมื่อศตวรรษที่ 6 และได้ยึดถือศาสนาคริสต์ในช่วงศตวรรษที่ 8 โดยพยายามที่จะกำหนดและป้องกันวัฒนธรรมของตนเอง 100 ปีต่อมา ชาวสโลวีนตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรแฟรงกิสเยอรมันและชาวเยอรมันก็ได้เดินทางมาตั้งรกรากร่วมกับชาวสโลวีน และต่อมาเจ้าแห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์กก็เข้ายึดสโลวีเนีย
    • โครเอเชีย - ชาวโครแอตแห่งโครเอเชียและสโลวีเนียปกครองตนเองระยะหนึ่ง แต่ในที่สุดก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของฮังการีและออสเตรีย ชาวโครแอตแห่งดัลเมเชียอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์ จักรวรรดิฮังการี สาธารณรัฐเวนิส จักรวรรดิฝรั่งเศส และจักรวรรดิออสเตรีย ตามลำดับ
    • เซอร์เบีย - อาณาจักรเซอร์เบียมีความรุ่งเรืองเกือบเที่ยบเท่ากับจักรวรรดิไบแซนไทน์ระยะหนึ่งในยุคกลาง แต่ก็ตกไปอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมานกว่า 500 ปี ก่อนที่จะได้รับเอกราชในศตวรรษที่ 19
    • มอนเตเนโกร - ชาวมอนเตเนโกรอยู่ภายใต้การปกครองของนักบวชเป็นศตวรรษ ๆ และปกป้องประเทศภูเขาของตนให้ปราศจากผู้รุกรานได้อย่างดี
    • บอสเนีย - บอสเนียเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลามภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน และได้ถูกจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีกลืนกินในช่วงต่อมา
    • มาซิโดเนีย - ชาวมาซิโดเนียประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยจากหลายเผ่าพันธุ์ อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน

สงครามโลกครั้งที่หนึ่งแก้ไข

  • ค.ศ. 1921 ถึง ค.ศ. 1928 - ราชอาณาจักรยูโกสลาเวียปกครองโดยสมาชิกรัฐสภา (Parliamentarian kingdom)
  • ค.ศ. 1931 - สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 ยุติการปกครองประเทศแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเริ่มการปกครองแบบรัฐธรรมนูญที่มีระบอบประชาธิปไตยแบบจำกัด และวิกฤติเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อยูโกสลาเวีย
  • 26 สิงหาคม ค.ศ. 1939 - คณะผู้สำเร็จราชการฯ ลงนามในความตกลงให้โครเอเชียมีสิทธิปกครองตนเอง โดยยูโกสลาเวียยังคงดูแลด้านการทหาร การต่างประเทศ การค้า และการคมนาคมให้กับโครเอเซีย

สงครามโลกครั้งที่สองแก้ไข

สงครามเย็นแก้ไข

  • 14 มกราคม ค.ศ. 1953 - จอมพลตีโตก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีแห่งยูโกสลาเวีย
  • ค.ศ. 1963 - เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย
  • 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1974 - ยูโกสลาเวียออกพระราชบัญญัติระบุให้จอมพลตีโตเป็นประธานาธิบดีตลอดกาลแห่งยูโกสลาเวีย
  • 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 - จอมพลตีโตถึงแก่อสัญกรรม ความแตกแยกระหว่างรัฐต่างๆ ที่ประกอบเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียเริ่มปรากฏ

การล่มสลายของยูโกสลาเวียแก้ไข

 
เขตแดนของสาธารณรัฐต่างๆของยูโกสลาเวียที่แยกตัวออกเป็นประเทศเอกราช ในระหว่าง และ ภายหลังสงคราม.
ดูบทความหลักที่: สงครามยูโกสลาเวีย
  • 6 เมษายน ค.ศ. 1991 - เกิดสงครามระหว่างรัฐบาลบอสเนียกับชาวพื้นเมืองเชื้อสายเซิร์บเนื่องจากพยายามแยกตัวเป็นอิสระ
  • 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 นายมิโลเชวิชได้ร่วมกับประธานาธิบดีโครเอเชียและบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา ลงนามในข้อตกลงสันติภาพ ภายหลังจากการโจมตีทางอากาศของนาโต
  • 7 ตุลาคม ค.ศ. 2000 - นายวอยีสลาฟ คอชตูนีตซา สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี
  • 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002 - เปลี่ยนชื่อประเทศจากสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียเป็นเซอร์เบียและมอนเตเนโกร
  • 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 - ประชาชนมอนเตเนโกรได้ลงประชามติให้มอนเตเนโกรเป็นอิสระจากเซอร์เบีย
  • 5 มิถุนายน ค.ศ. 2006 - เซอร์เบียได้ประกาศการแยกตัวอย่างเป็นทางการระหว่างเซอร์เบียและมอนเตเนโกร โดยเซอร์เบียจะเป็นผู้สืบสิทธิ์ของยูโกสลาเวีย

วิกฤตการณ์ยูโกสลาเวียแก้ไข

ดูบทความหลักที่: วิกฤตการณ์ยูโกสลาเวีย

ความแตกแยกของยูโกสลาเวียในปัจจุบันมีที่มาเป็นปัจจัยพื้นฐานหลายประการ ที่สำคัญประการหนึ่งคือปัจจัยทางประวัติศาสตร์ ซึ่งสั่งสมมานานกว่าพันปีจากการที่สาธารณรัฐต่าง ๆ ซึ่งมาร่วมกันเป็นสหพันธ์ฯ มีเชื้อชาติ ศาสนา ความเป็นมาทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์แตกต่างกัน ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติจึงเป็นปัญหาที่คุกรุ่นมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างชาวโครแอต ชาวเซิร์บ และชาวมุสลิม ในอดีตสโลวีเนียและโครเอเชียเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมันและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี แห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์ก (Hapsburg Empire) มาเป็นเวลาหลายศตวรรษ จึงมีความเกี่ยวพันทางสังคม วัฒนธรรม ภาษา ศาสนา และจิตใจกับยุโรปตะวันตก ในขณะที่รัฐทั้งหลายทางตอนใต้ คือ เซอร์เบีย มอนเตเนโกร บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และมาซิโดเนีย เคยอยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine) และจักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman) มานับพันปี จึงได้รับการหล่อหลอมวัฒนธรรมแบบบอลข่าน คือ แบบมุสลิมหรือคริสเตียนตะวันออก (Orthodox) ถึงแม้ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงด้วยการล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และมีการก่อตั้ง "ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน" (Kingdom of Serbs, Croates and Slovenes) เป็นประเทศเอกราช โดยมีกษัตริย์ปกครอง แต่เสถียรภาพทางการเมืองภายในยังคงคลอนแคลน เพราะรัฐต่าง ๆ ซึ่งมีความแตกต่างด้านเชื้อชาติและศาสนา ยังคงมีความขัดแย้งกันลึก ๆ ในปี 1929 กษัตริย์อาเลกซานดาร์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย" (Kingdom of Yugoslavia) และปกครองประเทศด้วยนโยบายเด็ดขาดโดยความร่วมมือของทหารตลอดมา จนได้รับขนานนามว่าเป็น “Royal Dictatorship” เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง ประธานาธิบดียอซีป ตีโต สามารถยึดเหนี่ยวรัฐต่าง ๆ ของยูโกสลาเวียให้รวมกันอยู่ต่อไป ทั้งนี้ โดยใช้นโยบายอันเด็ดขาดกอปรกับอัจฉริยภาพของประธานาธิบดีตีโตเอง จนกระทั่งเมื่อประธานาธิบดีตีโตถึงแก่กรรมเมื่อปี 1980 ความแตกแยกระหว่างรัฐทั้งหลายที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธรัฐยูโกสลาเวียก็เริ่มปรากฏขึ้น และเมื่อนายสโลโบดัน มิโลเชวิช ผู้นำเชื้อสายเซิร์บ ซึ่งมีแนวคิดชาตินิยม ก้าวขึ้นสู่อำนาจในปี 1989 ความขัดแย้งภายในจึงได้ทวีความรุนแรงจนเกิดวิกฤตการณ์ยูโกสลาเวียเดิมประกอบด้วย 6 สาธารณรัฐ กล่าวคือ สาธารณรัฐสโลวีเนีย โครเอเชีย เซอร์เบีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกร และมาซิโดเนีย รวมทั้งจังหวัดปกครองตนเองคอซอวอและวอยวอดีนา ซึ่งเป็นมณฑลปกครองตนเอง เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1991 สาธารณรัฐสโลวีเนียและโครเอเชียได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราช ไม่อยู่ภายใต้การปกครองของยูโกสลาเวียอีกต่อไป ภายหลังจากการออกเสียงประชามติทั่วประเทศในสาธารณรัฐทั้งสอง การประกาศเป็นเอกราชดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติการณ์ยูโกสลาเวีย ซึ่งได้ขยายตัวเป็นสงครามกลางเมืองในเวลาต่อมา เมื่อสาธารณรัฐมาซิโดเนียและบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ได้ประกาศยกตัวออกเป็นรัฐเอกราชเช่นเดียวกัน เมื่อเดือนกันยายนและตุลาคม 1991 ตามลำดับ

สถานการณ์ในคอซอวอแก้ไข

 
อนุสาวรีย์"ทำไม?" (Zašto?), เพื่อรำลึกถึงพนักงานของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติเซอร์เบีย (Radio Television of Serbia:RTS) ในระหว่างกองกำลังนาโตทิ้งระเบิดใส่อาคารสถานีโทรทัศน์เมื่อ ค.ศ. 1999.
ดูบทความหลักที่: สงครามคอซอวอ

คอซอวอเป็นจังหวัดปกครองตนเองแห่งหนึ่งทางภาคใต้ของสาธารณรัฐเซอร์เบีย ประกอบด้วยชาวแอลเบเนียร้อยละ 90 จากประชากรจำนวน 2 ล้านคน ในปี 1998 เคยเกิดการสู้รบอย่างรุนแรงระหว่างกองกำลังชาวคอซอวอเชื้อสายแอลเบเนียกับกองทัพของเซอร์เบียเมื่อเซอร์เบียประกาศยกเลิกสถานะการปกครองตนเองของคอซอวอ การสู้รบขยายตัวไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวแอลเบเนียอย่างโหดเหี้ยม ส่งผลให้เกิดผู้ลี้ภัยชาวแอลเบเนียในประเทศเพื่อนบ้านจำนวนมาก

การสู้รบดังกล่าว ยุติลงเมื่อ NATO ใช้ปฏิบัติการทางทหารกับเซอร์เบีย ในปี 1999 ซึ่งต่อมา NATO ได้ส่งกองกำลังคอซอวอ (Kosovo Force, KFOR) เข้าไปปฏิบัติการรักษาสันติภาพในคอซอวอ และสหประชาชาติได้จัดตั้งองค์กรบริหารชั่วคราวขึ้นในคอซอวอ (UNMIK) อย่างไรก็ดี กล่าวได้ว่า สถานการณ์ในคอซอวอหลังปี 1999 ยังไม่สงบนัก เนื่องจากมีการปะทะกันระหว่างชาวคอซอวอเชื้อสายแอลเบเนียกับเชื้อสายเซิร์บอยู่เป็นประจำ ก่อให้เกิดความตึงเครียดเป็นระยะ ๆ

 
นาโตทิ้งระเบิดใส่นคร Novi Sad

การเจรจาระหว่างชาวคอซอวอเชื้อสายแอลเบเนียกับเชื้อสายเซิร์บแก้ไข

เมื่อวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2006 ได้มีการเจรจาแบบเผชิญหน้าครั้งแรกระหว่างฝ่ายเซิร์บกับฝ่ายแอลเบเนียในคอซอวอที่กรุงเวียนนา เพื่อกำหนดสถานะในอนาคตของคอซอวอ โดยเป็นการเจรจาระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับกลางของทั้งสองฝ่าย และมีเจ้าหน้าที่ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเป็นผู้ประสานการเจรจา โดยเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2006 ได้มีการเจรจาระดับสูงระหว่างประธานาธิบดีเซอร์เบียและนายกรัฐมนตรีคอซอวอขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1999 แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องสถานะทางการเมืองที่ถาวรของคอซอวอ ฝ่ายเซิร์บยืนกรานให้คอซอวอเป็นส่วนหนึ่งของเซอร์เบีย โดยยินยอมให้อิสระในระดับหนึ่ง ขณะที่ฝ่ายแอลเบเนียต้องการอิสรภาพ สำหรับการเจรจาในระดับเจ้าหน้าที่ครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อวันที่ 7-8 สิงหาคม ที่ผ่านมายังไม่สามารถหาข้อยุติได้ โดยฝ่ายเซิร์บได้คว่ำบาตรการเจรจาในหัวข้อที่เกี่ยวกับอนาคตของคอซอวอ

การล่มสลายของสหภาพรัฐแก้ไข

มอนเตเนโกรลงประชามติแยกตัวออกจากประเทศเซอร์เบียและมอนเตเนโกรเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2006 มอนเตเนโกรได้จัดการลงประชามติเพื่อแยกตัวออกจากประเทศเซอร์เบียและมอนเตเนโกร โดยมีผู้ลงคะแนนเสียงสนับสนุนให้รัฐมอนเตเนโกรแยกตัวออกจากประเทศเซอร์เบียและมอนเตเนโกร ร้อยละ 55.4 ซึ่งเกินเกณฑ์ขั้นต่ำ (ร้อยละ 55) ที่สหภาพยุโรปกำหนดที่จะให้การรับรอง โดยมีจำนวนผู้ที่มาใช้สิทธิมากถึง ร้อยละ 86.3 จากจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนทั้งหมด 485,000 คน ซึ่งผลการลงประชามติในครั้งนี้ จะทำให้มอนเตเนโกรกลายเป็นประเทศเกิดใหม่ล่าสุดของโลก และมีแนวโน้มที่มอนเตเนโกรจะได้รับโอกาสในการพัฒนาประเทศและเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปได้ในที่สุด อย่างไรก็ตาม เซอร์เบียจะเป็นรัฐสืบสิทธิเพียงผู้เดียว สำหรับมอนเตเนโกรนั้น เมื่อแยกตัวออกมาเป็นประเทศเอกราชจะต้องขอรับการรับรองจากนานาประเทศ และสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ และองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ อีกครั้งหนึ่ง

การเมืองการปกครองแก้ไข

บริหารแก้ไข

 
สเวทอซาร์ มารอวิช ประธานาธิบดีเซอร์เบียและมอนเตรเนโกร

ประเทศเซอร์เบียและมอนเตเนโกรปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยประธานาธิบดีเป็นประมุขมาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ได้รับเลือกตั้งจากสภาสำหรับจังหวัดปกครองตนเองคอซอวออยู่ภายใต้การบริหารของสหประชาชาติ

นิติบัญญัติแก้ไข

ตุลาการแก้ไข

การแบ่งเขตการปกครองแก้ไข

เขตแดนของเซอร์เบียและมอนเตเนโกร (ค.ศ. 1992-2006)
เขตแดนของเซอร์เบียและมอนเตเนโกร (มณฑลปกครองตนเอง)

ประเทศเซอร์เบียและมอนเตเนโกรประกอบด้วย 2 สาธารณรัฐ (republics) คือ

ภายในสาธารณรัฐเซอร์เบียมี 2 มณฑลปกครองตนเอง (autonomous provinces) คือ

  • จังหวัดปกครองตนเองวอยวอดีนา (เมืองหลวง-นอวีซาด)
  • จังหวัดปกครองตนเองคอซอวอและเมโตฮียา (เมืองหลวง-พรีชตีนา)
  • ส่วนของเซอร์เบียที่ไม่ได้อยู่ในเขตของ 2 มณฑลดังกล่าว (มักเรียกว่า เซนทรัลเซอร์เบีย) ไม่ได้เป็นจังหวัดและไม่มีสถานะพิเศษ รวมทั้งไม่มีเมืองหลวงและรัฐบาล

ในพื้นที่ดินแดนทั้ง 3 แห่งข้างต้น จะแบ่งออกเป็น เขต (districts) รวม 29 เขต และแต่ละเขตแบ่งย่อยลงไปอีกเป็น เทศบาล (municipalities)

ส่วนในสาธารณรัฐมอนเตเนโกรนั้นจะแบ่งออกเป็น 21 เทศบาล

กองทัพแก้ไข

กำลังกึ่งทหารแก้ไข

เศรษฐกิจแก้ไข

กีฬาแก้ไข

ฟุตบอลแก้ไข

บาสเก็ตบอลแก้ไข

วอลเลย์บอลแก้ไข

วัฒนธรรมแก้ไข

วันหยุดแก้ไข

Holidays
วัน ชื่อ หมายเหตุ
1 มกราคม วันปีใหม่ (วันหยุดราชการ)
7 มกราคม วันคริสต์มาส ตามนิกายออร์ทอดอกซ์ (วันหยุด)
27 มกราคม Saint Sava's feast Day — Day of Spirituality
27 เมษายน วันรัฐธรรมนูญ
29 เมษายน วันศุกร์ประเสริฐ (ตามนิกายออร์ทอดอกซ์) จนถึง ค.ศ. 2005
1 พฤษภาคม วันอีสเตอร์ ค.ศ. 2005
วันแรงงานสากล (วันหยุด)
2 พฤษภาคม Easter Monday (ตามนิกายออร์ทอดอกซ์) ค.ศ. 2005
9 พฤษภาคม วันแห่งชัยชนะ
28 มิถุนายน Vidovdan (Martyr's Day) วันรำลึกผู้เสียชีวิตจาก สงครามคอซอวอ
วันหยุดที่มีการเฉลิมฉลองในเซอร์เบีย
วันหยุดที่มีการเฉลิมฉลองในมอนเตเนโกร
  • 13 กรกฎาคม – Statehood Day (วันหยุด)

ดูเพิ่มแก้ไข

บันทึกแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. 1.0 1.1 1.2 "Human Development Report Yugoslavia 1996" (PDF). undp.org. สืบค้นเมื่อ 22 June 2021.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

พิกัดภูมิศาสตร์: 44°49′N 20°28′E / 44.817°N 20.467°E / 44.817; 20.467