ภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย

ภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย (อังกฤษ: Bosnian-Croatian-Montenegrin-Serbian, BCMS),[7] ภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-เซอร์เบีย (อังกฤษ: Bosnian-Croatian-Serbian, BCS),[8] ภาษาเซิร์บ-โครแอต-บอสเนีย (อังกฤษ: Serbo-Croat-Bosnian, SCB),[9] ภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชีย (อังกฤษ: Serbo-Croatian),[10] ภาษาโครเอเชีย-เซอร์เบีย (อังกฤษ: Croato-Serbian), ภาษาเซิร์บ-โครแอต (อังกฤษ: Serbo-Croat; บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: srpskohrvatski, српскохрватски) หรือ ภาษาโครแอต-เซิร์บ (อังกฤษ: Croato-Serb; บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: hrvatskosrpski, хрватскoсрпски) เป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มสลาฟใต้และภาษาหลักของประเทศเซอร์เบีย, โครเอเชีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และมอนเตเนโกร เป็นภาษาพหุศูนย์ซึ่งมีวิธภาษามาตรฐานที่สามารถเข้าใจกันได้[11] สี่วิธภาษา[12]

ภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-
มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย
  • srpskohrvatski / hrvatskosrpski
  • српскохрватски / хрватскосрпски
ประเทศที่มีการพูดคอซอวอ,[a] โครเอเชีย, เซอร์เบีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, มอนเตเนโกร
ชาติพันธุ์ชาวโครแอต, ชาวเซิร์บ, ชาวบอสนีแอก, ชาวมอนเตเนโกร
จำนวนผู้พูด21 ล้านคน  (2011)[1]
ตระกูลภาษา
อินโด-ยูโรเปียน
รูปแบบมาตรฐาน
ภาษาถิ่น
ภาษาย่อยชาคาเวียน (อาจเป็นภาษาต่างหาก)
ภาษาย่อยไคคาเวียน (ใกล้เคียงกับภาษาสโลวีเนียมากกว่า)
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน
ผู้วางระเบียบ
รหัสภาษา
ISO 639-1sh
ISO 639-2scr, scc
ISO 639-3hbsรหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
bos – ภาษาบอสเนีย
cnr – ภาษามอนเตเนโกร
hrv – ภาษาโครเอเชีย
kjv – ภาษาย่อยไคคาเวียน
srp – ภาษาเซอร์เบีย
svm – ภาษาย่อยสลาฟโมลีเซ
Linguasphere53-AAA-g
  พื้นที่ที่มีการพูดภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบียเป็นภาษาหลัก (ข้อมูลใน ค.ศ. 2005)[ต้องการการอัปเดต]

หมายเหตุ: aเอกราชของคอซอวอยังเป็นที่โต้แย้ง

บรรดาภาษาย่อยในกลุ่มสลาฟใต้ในอดีตได้ก่อตัวเป็นแนวต่อเนื่องของภาษา ประวัติศาสตร์ที่ปั่นป่วนของภูมิภาคบอลข่าน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากการขยายตัวของจักรวรรดิออตโตมัน) ก่อให้เกิดความแตกต่างทางภาษาและศาสนา เนื่องจากการอพยพของประชากร ชทอคาเวียนจึงกลายเป็นภาษาย่อยที่แพร่หลายมากที่สุดในภาคตะวันตกของคาบสมุทรบอลข่าน โดยรุกเข้าไปทางทิศตะวันตกในพื้นที่ที่ก่อนหน้านี้ใช้ภาษาย่อยชาคาเวียนและไคคาเวียน (ซึ่งจะผสมกลมกลืนต่อไปเป็นภาษาสโลวีเนียในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ) แม้ว่าชาวบอสนีแอก ชาวโครแอต และชาวเซิร์บจะมีความแตกต่างกันในด้านศาสนาและในอดีตมักเป็นส่วนหนึ่งของวงวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่ชนชาติเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็อาศัยอยู่เคียงข้างกันภายใต้การปกครองจากมหาอำนาจภายนอก ในช่วงเวลานั้น ภาษาที่พวกเขาพูดได้รับการอ้างถึงด้วยชื่อที่หลากหลาย เช่น "ภาษาสลาฟ" ในภาพรวม หรือ "ภาษาเซอร์เบีย" "ภาษาโครเอเชีย" หรือ "ภาษาบอสเนีย" โดยเฉพาะเจาะจง และบางครั้งก็ถูกเรียกว่า "ภาษาอิลลิเรีย" ในเชิงคลาสสิก

กระบวนการสร้างมาตรฐานทางภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชียเริ่มขึ้นตามข้อตกลงวรรณกรรมเวียนนาช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยนักเขียนและนักปรัชญาชาวโครเอเชียและชาวเซอร์เบีย นับเป็นเวลาหลายทศวรรษก่อนที่รัฐยูโกสลาเวียจะได้รับการสถาปนา[13] จากจุดเริ่มต้นแรกสุด มาตรฐานวรรณกรรมเซอร์เบียและวรรณกรรมโครเอเชียมีความแตกต่างกันเล็กน้อย แม้ว่ามาตรฐานทั้งสองจะมีพื้นฐานร่วมกันจากสำเนียงเฮอร์เซโกวีนาตะวันออกซึ่งเป็นสำเนียงย่อยของชทอคาเวียนก็ตาม ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชียเป็นภาษาราชการของราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย (ในช่วงนั้นมีชื่อเรียกว่า "ภาษาเซิร์บ-โครแอต-สโลวีน")[14] และต่อมาเป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย การล่มสลายของยูโกสลาเวียส่งผลกระทบไปยังเจตคติต่อภาษา ดังนั้นแนวคิดของสังคมที่มีต่อภาษานี้จึงแบ่งแยกออกตามพรมแดนของกลุ่มชาติพันธุ์และทางการเมือง ในทำนองเดียวกัน นับตั้งแต่การล่มสลายของยูโกสลาเวีย "ภาษาบอสเนีย" ก็ได้รับการกำหนดเป็นมาตรฐานทางการในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และยังมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างมาตรฐานของ "ภาษามอนเตเนโกร" แยกต่างหาก ดังนั้น โดยทั่วไปแล้ว ภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชียหรือภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบียจึงมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ตั้งแต่ภาษาเซอร์เบีย ภาษาโครเอเชีย ภาษาบอสเนีย ไปจนถึงภาษามอนเตเนโกรและภาษาบูเญฟซีในบางครั้ง[15]

เช่นเดียวกับภาษาสลาฟใต้อื่น ๆ ภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบียมีระบบเสียงที่เรียบง่าย โดยมีเสียงสระห้าเสียงและเสียงพยัญชนะยี่สิบห้าเสียง ไวยากรณ์ของภาษามีวิวัฒนาการมาจากภาษาสลาฟร่วม โดยมีระบบการผันคำที่ซับซ้อนซึ่งยังคงรักษาการกทั้งเจ็ดในคำนาม คำสรรพนาม และคำคุณศัพท์ คำกริยาแสดงการณ์ไม่สมบูรณ์ (imperfective aspect) หรือการณ์สมบูรณ์ (perfective aspect) โดยมีระบบกาล (tense) ที่ซับซ้อนปานกลาง ภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบียยังเป็นภาษาละสรรพนามที่มีลำดับคำยืดหยุ่น แต่ใช้การเรียงลำดับประธาน–กริยา–กรรมเป็นค่าเริ่มต้น ภาษานี้สามารถเขียนด้วยอักษรซีริลลิกเซอร์เบียหรืออักษรละตินของกาย ทั้งสองระบบมีตัวอักษรสามสิบตัวที่เทียบกันได้แบบหนึ่งต่อหนึ่งและยังสอดคล้องกับหน่วยเสียงอย่างมากในทุกมาตรฐาน

หมายเหตุ

แก้
  1. 1.0 1.1 คอซอวอเป็นดินแดนข้อพิพาทระหว่างสาธารณรัฐคอซอวอกับสาธารณรัฐเซอร์เบีย สาธารณรัฐคอซอวอประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 แต่เซอร์เบียยังคงอ้างว่าคอซอวอเป็นดินแดนอธิปไตยของตน ใน พ.ศ. 2556 ทั้งสองรัฐบาลเริ่มกระชับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติในฐานะส่วนหนึ่งของข้อตกลงบรัสเซลส์ ปัจจุบันคอซอวอได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐเอกราชจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติ 98 ชาติจาก 193 ชาติ

อ้างอิง

แก้
  1. "The Slavic Languages" (PDF). Cambridge Language Surveys. p. 7. สืบค้นเมื่อ 19 June 2017.
  2. "Constitution of the Republic of Kosovo" (PDF). p. 2. สืบค้นเมื่อ 2012-08-17.
  3. "Minority Rights Group International : Czech Republic : Czech Republic Overview". Minorityrights.org. สืบค้นเมื่อ 2012-10-24.
  4. "Minority Rights Group International : Macedonia : Macedonia Overview". Minorityrights.org. สืบค้นเมื่อ 2012-10-24.
  5. "B92.net". B92.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-10. สืบค้นเมื่อ 2013-09-01.
  6. "Legge Regionale n.15 del 14 maggio 1997 - Tutela e valorizzazione del patrimonio culturale delle minoranze linguistiche nel Molise - Bollettino Ufficiale n. 10 del 16.5.1997" (PDF). Sardegna Cultura. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-15. สืบค้นเมื่อ 2018-07-15.
  7. Thomas, Paul-Louis; Osipov, Vladimir (2012). Grammaire du bosniaque, croate, monténégrin, serbe [Grammar of Bosnian, Croatian, Montenegrin, and Serbian]. Collection de grammaires de l'Institut d'études slaves ; vol. 8 (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Institut d'études slaves. p. 624. ISBN 9782720404900. OCLC 805026664.
  8. Alexander 2006, p. XVII.
  9. Čamdžić, Amela; Hudson, Richard (2007). "Serbo-Croat-Bosnian clitics and Word Grammar" (PDF). Research in Language. UCL Psychology and Language Sciences. doi:10.2478/v10015-007-0001-7. hdl:11089/9540. S2CID 54645947. สืบค้นเมื่อ 11 September 2013.
  10. "Is Serbo-Croatian a language?". The Economist. 10 April 2017.
  11. Šipka, Danko (2019). Lexical layers of identity: words, meaning, and culture in the Slavic languages. New York: Cambridge University Press. pp. 206, 166. doi:10.1017/9781108685795. ISBN 978-953-313-086-6. LCCN 2018048005. OCLC 1061308790. Serbo-Croatian, which features four ethnic variants: Serbian, Croatian, Bosnian, and Montenegrin
  12. Mørk, Henning (2002). Serbokroatisk grammatik: substantivets morfologi [Serbo-Croatian Grammar: Noun Morphology]. Arbejdspapirer ; vol. 1 (ภาษาเดนมาร์ก). Århus: Slavisk Institut, Århus Universitet. p. unpaginated (Preface). OCLC 471591123.
  13. Blum 2002, pp. 130–132.
  14. Busch, Birgitta; Kelly-Holmes, Helen (2004). Language, Discourse and Borders in the Yugoslav Successor States. Multilingual Matters. p. 26. ISBN 978-1-85359-732-9.
  15. "The same language [Croatian] is referred to by different names, Serbian (srpski), Serbo-Croat (in Croatia: hrvatsko-srpski), Bosnian (bosanski), based on political and ethnic grounds. […] the names Serbian, Croatian, and Bosnian are politically determined and refer to the same language with possible slight variations." (Brown & Anderson 2006, p. 294)