ชาวคีร์กีซ
ชาวคีร์กีซ (Kyrgyz Kyrghyz หรือ Kirghiz) เป็นคนชาติพันธุ์เติร์กกลุ่มหนึ่ง เป็นคนพื้นเมืองของเอเชียกลาง โดยมากอยู่ในคีร์กีซสถาน
Кыргыздар Qırğızdar قىرغىزدار | |
---|---|
ประชากรทั้งหมด | |
ป. 5 ล้าน | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
คีร์กีซสถาน | 4,587,430[a][1][2] |
อุซเบกิสถาน | 250,000[3] |
จีน | 202,500[4] |
รัสเซีย | 103,422[5] |
ทาจิกิสถาน | 62,000[ต้องการอ้างอิง] |
คาซัคสถาน | 23,274[6] |
ตุรกี | 1,600[ต้องการอ้างอิง] |
อัฟกานิสถาน | 1,130[7] |
ยูเครน | 1,128[8] |
แคนาดา | 1,055 |
ภาษา | |
คีร์กีซ (ภาษาแม่) รัสเซียและจีน (ภาษาที่สอง) | |
ศาสนา | |
อิสลามแบบซุนนีเป็นส่วนใหญ่[9][10]
| |
^a การสำรวจสำมะโนปี ค.ศ. 2009 พบว่าประมาณร้อยละ 71 ของประชากรคีร์กีซสถานเป็นคนจากกลุ่มชาติพันธุ์คีร์กีซ (5.36 ล้านคน) |
นิรุกติศาสตร์
แก้มีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับที่มาของการใช้คำว่า "คีร์กีซ" เป็นชาติพันธุนาม เอกสารหลายชิ้นระบุว่า คำนี้เกิดจากคำว่า "กีร์ก" (kyrk) ซึ่งในภาษาเติร์กต่าง ๆ แปลว่า "สี่สิบ" ส่วน -อีซ (iz) เป็นคำปัจจัยโบราณที่แสดงพหูพจน์ ฉะนั้น "กีร์ก-อีซ" หรือ "กีร์กีซ" (Kyrgyz) มีความหมายตามตัวอักษรว่า "กลุ่มชนเผ่าทั้ง 40"[15] แต่อาจมีความหมายอื่นว่า "ไม่มีวันตาย" "ดับไม่ได้" "อมตะ" "พิชิตไม่ได้" หรือ "ปราบไม่ได้" นอกจากนี้ ยังมีความเกี่ยวข้องกับวีรบุรุษในมหากาพย์ชื่อ มนัส ซึ่งตามเรื่องปรัมปราเกี่ยวกับต้นกำเนิด มนัสเป็นผู้สร้างเอกภาพให้แก่ทั้ง 40 เผ่าเพื่อต่อต้านชาวคีตัน แต่เรื่องปรัมปราคู่แข่งบันทึกเมื่อ ค.ศ. 1370 ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ของราชวงศ์หมิงชื่อ หยวนสื่อ (元史) หรือ ประวัติศาสตร์หยวน กลับได้เล่าถึงผู้หญิง 40 คนที่มีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่เป็นมาตุภูมิ[16]
การบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดของชื่อชาติพันธุ์คีร์กีซปรากฏอยู่ในการถอดเสียงในเอกสารจีนโบราณ ได้แก่ "เก๋อคุน" (鬲昆, ภาษาจีนเก่า: *k.reg-ku:n, เกรกกูน) และ "เจียนคุน" (堅昆, จีนเก่า: *ki:n-ku:n, กีนกูน) ทั้งสองนี้ชี้ให้เห็นว่า ชื่อชาติพันธุ์เดิมคือ "กิรกุร" และ/หรือ "กิรกฺวิน" (*kirkur ~ kirgur และ/หรือ *kirkün) ซึ่งอาจมีความหมายว่า "ชาวทุ่งหญ้า" หรือ "ชาวหุนจากทุ่งหญ้า" (渾)[17] การถอดเสียงอีกแบบหนึ่งได้แก่ "เจี๋ยกู่" (結骨, ภาษาจีนยุคกลาง: *kέt-kwət, แกดเกวิด) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเสียงเดิมคือ "กิรกุต" (*kirkut / kirgut) แต่พอถึงสมัยจักรวรรดิมองโกล ความหมายของคำว่า "กิรกุน" (*kirkun) ก็ถูกลืมเลือนไป ซึ่งเห็นได้จากความแตกต่างในการอ่านคำนี้ในฉบับย่อต่าง ๆ ของ ประวัติศาสตร์หยวน นอกจากนี้ นักวิชาการชาวจีนภายหลังได้ถอดเสียงชื่อชาติพันธุ์คีร์กีซต่างกัน ได้แก่ "เหอกู่" (紇骨) "เหอกู่ซือ" (紇扢斯) และ "จฺวีอู้" (居勿) จากนั้นในสมัยจักรพรรดิถังอู่จงแห่งราชวงศ์ถัง คำว่า "เสียเจี๋ยซือ" หรือ "สฺยาจฺย๋าซือ" (黠戛斯) ได้กลายเป็นคำเรียกชาวคีร์กีซ โดยเชื่อกันว่าคำว่า "เสียเจี๋ยซือ" แปลว่า "หัวเหลืองและหน้าแดง"[18]
ในศตวรรษที่ 18 และ 19 นักเขียนชาวยุโรปได้ใช้ "Kirghiz" เป็นการสะกดชื่อเรียกทั้งชาวคีร์กีซและชาวเติร์กจากทิศเหนืออื่น ๆ อีกหลายกลุ่ม เช่น ชาวคาซัค การสะกดแบบนี้เป็นการถอดอักษรจากคำว่า "киргизы" (กีรกีซี) ในภาษารัสเซียเป็นอักษรละติน เมื่อมีความจำเป็นในการแยกแยะกลุ่มชาติพันธุ์อย่างชัดเจน ก็มีชื่อเรียกชาติพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น ชาวคีร์กีสจึงมีชื่อใหม่ว่า "การา-คีร์กีซ" (Kara-Kirghiz อันแปลตามตัวอักษรว่า "คีร์กีซดำ" ซึ่งมาจากสีดำของเต็นท์ของชาวคีร์กีซ)[19] ส่วนชาวคาซัคมีชื่อใหม่ว่า "ไกซัก" (Kaisak) [20][21] หรือ "กีร์กีซ-กาซัก" (Kirghiz-Kazak)[19]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 2009 Census preliminary results เก็บถาวร 2011-07-24 ที่ archive.today (ในภาษารัสเซีย)
- ↑ "Ethnic composition of the population in Kyrgyzstan 1999–2014" (PDF) (ภาษารัสเซีย). National Statistical Committee of the Kyrgyz Republic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 July 2014. สืบค้นเมื่อ 14 April 2014.
- ↑ 5.01.00.03 Национальный состав населения. [5.01.00.03 Total population by nationality] (XLS). Bureau of Statistics of Kyrgyzstan (in Russian, Kyrgyz, and English). 2019.
- ↑ 新疆维吾尔自治区统计局 (ภาษาจีนตัวย่อ). Xinjiang Bureau of Statistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-01. สืบค้นเมื่อ 2020-07-27.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-07. สืบค้นเมื่อ 2009-12-24.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ http://92.46.60.130/open.php?exten=pdf&nn=760179[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Wak.p65" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-16. สืบค้นเมื่อ 2013-02-28.
- ↑ Ukrainian population census 2001 [ลิงก์เสีย]: Distribution of population by nationality. Retrieved on 23 April 2009
- ↑ West, Barbara A., p. 440
- ↑ Mitchell, Laurence, pp. 23–24
- ↑ Mitchell, Laurence, p. 25
- ↑ West, Barbara A., p. 441
- ↑ Mitchell, Laurence, p. 24
- ↑ "Kyrgyz Religious Hatred Trial Throws Spotlight On Ancient Creed". RadioFreeEurope/RadioLiberty (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-12-18.
- ↑ Pulleyblank 1990, p.108.
- ↑ Zuev, Yu.A., Horse Tamgas from Vassal Princedoms (Translation of Chinese composition "Tanghuyao" of 8–10th centuries), Kazakh SSR Academy of Sciences, Alma-Ata, 1960, p. 103 (ในภาษารัสเซีย)
- ↑ Zuev Yu.A., Horse Tamgas from Vassal Princedoms (translation of 8-10th century Chinese Tanghuiyao), Kazakh SSR Academy of Sciences, Alma-Ata, 1960, p. 103 (in Russian)
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อlung
- ↑ 19.0 19.1 The 1911 Encyclopædia Britannica: "Kirghiz" (scanned version)
- ↑ Michell, John; Valikhanov, Chokan Chingisovich; Venyukov, Mikhail Ivanovich (1865). The Russians in Central Asia: their occupation of the Kirghiz steppe and the line of the Syr-Daria : their political relations with Khiva, Bokhara, and Kokan : also descriptions of Chinese Turkestan and Dzungaria. Translated by John Michell, Robert Michell. E. Stanford. pp. 271–273.
- ↑ Vasily Bartold, Тянь-Шаньские киргизы в XVIII и XIX веках เก็บถาวร 2016-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (The Tian Shan Kirghiz in the 18th and 19th centuries), Chapter VII in: Киргизы. Исторический очерк. (The Kyrgyz: an historical outline), in Collected Works of V, Bartold, Moscow, 1963, vol II, part 1, pp. 65–80 (ในภาษารัสเซีย)