ฮัมซะฮ์
ฮัมซะฮ์ (อาหรับ: الهَمْزة, (al-)hamzah, ء) เป็นอักษรอาหรับใช้แทนเสียง /อ/ แต่ไม่ถือว่าเป็นตัวอักษรเท่ากับอักษรอื่นอีก 28 ตัว ใช้แสดงการออกเสียงในยุคต้นๆของศาสนาอิสลาม ใช้เติมบนอะลิฟเพื่อบอกว่าอะลิฟตัวนี้ใช้แทนเสียง /อ/ อาจเขียนได้ในรูป:
- เดี่ยว: ء ;
- รวมกับ:
- أ และ إ (ข้างบนและข้างล่างอะลิฟ)
- ؤ (เหนือ วาว)
- ئ (เหนือยาอุไม่มีจุดข้างล่าง)
ฮัมซะฮ์ | ||||||||||||
ء | ||||||||||||
อักษรต่างรูป | ||||||||||||
| ||||||||||||
อักษรอาหรับ | ||||||||||||
ﺍ | ﺏ | ﺕ | ﺙ | ﺝ | ﺡ | ﺥ | ||||||
ﺩ | ﺫ | ﺭ | ﺯ | ﺱ | ﺵ | ﺹ | ||||||
ﺽ | ﻁ | ﻅ | ﻉ | ﻍ | ﻑ | ﻕ | ||||||
ﻙ | ﻝ | ﻡ | ﻥ | ه | ﻭ | ﻱ | ||||||
ประวัติอักษรอาหรับ เครื่องหมายการออกเสียง ฟัตฮะฮ์ · กัสเราะฮ์ · ء ·ฎ็อมมะฮ์ เลขอาหรับ |
กฎของฮัมซะฮ์
แก้โดยย่อ
แก้- ฮัมซะฮ์เมื่อเป็นตัวแรกต้องอยู่บนหรือล่างอะลิฟ ขึ้นกับเสียงสระของฮัมซะฮ์แต่ถ้าเป็นสระเสียงยาวหรือสระประสมจะละฮัมซะฮ์ไว้
- /i/ สำคัญกว่า /u/ สำคัญกว่า /a/ ถ้าต้องนับความสำคัญของเสียงสระ
- สำหรับเสียง /อาอะ/ /อูอะ/ และ/เอาอะ/ ต้องเขียนฮัมซะฮ์บนเส้นแทนการเขียนบนอะลิฟ
- ถ้ามีอะลิฟ 2 ตัวเขียนติดกัน ใช้อะลิฟ มัดดะแทน
รายละเอียด
แก้ฮัมซะฮ์ถือเป็นอักษรที่เขียนได้หลายวิธีและไม่มีผลต่ออักษรที่อยู่รอบข้างแม้แต่อักษรที่แทนสระเสียงยาว เขียนได้ 4 ลักษณะคือ เขียนบนเส้นโดยตรง เขียนบนอะลิฟ วาว หรือยาอุที่ตัดจุดข้างล่างออกไป อะลิฟที่มีฮัมซะฮ์อาจเขียนก่อนหน้าอะลิฟอีกตัวโดยไม่ต้องใช้อะลิฟ มัดดะ กฎของฮัมซะฮ์ขึ้นกับว่าฮัมซะฮ์อยู่ตำแหน่งต้น กลาง หรือท้ายคำ (ไม่ออกเสียง) สระเสียงสั้นที่เกิดจากการผันคำจะไม่นับ และเขียนในรูปอะลิฟ-ตันวิน จะใช้ฮัมซะฮ์เมื่ออยู่กลางคำเท่านั้น
- ถ้าอยู่ต้นคำ:
- เขียนบนอะลิฟเสมอ เขียนข้างบนถ้าเป็น /อะ/หรือ /อุ/ เขียนข้างล่างถ้าเป็น/อิ/
- ถ้าตามด้วยเสียง /อา/ ใช้อะลิฟ มัดดะ
- ถ้าอยู่ท้ายคำ:
- ถ้าเป็นสระเสียงสั้นเขียนบนตัวพาขึ้นว่าเป็นเสียงใด (อะใช้อะลิฟ อิใช้ยาอุ อุใช้วาว) ถ้าเป็นสระเสียงยาว เขียนฮัมซะฮ์บนเส้น
- ในกรณีอื่นๆ เขียนฮัมซะฮ์บนเส้น
- ถ้าอยู่กลางคำ:
- ถ้าเป็นสระเสียงยาวหรือสระประสม ตัวพาของฮัมซะฮ์ขึ้นกับกรณีต่อไปนี้:
- ถ้าเป็นสระอิหรืออุ เขียนบนยาอุหรือวาว
- ในกรณีอื่น เขียนบนเส้น เว้นแต่อักษรตัวต่อไปเป็นยาอุอาจเขียนฮัมซะฮ์บนยาอุเพื่อป้องกันความสับสน
- ในกรณีอื่น ทั้งสระที่นำหน้าและตามหลังมีผลต่อฮัมซะฮ์
- ถ้ามีตัวเดียวหรือ 2 ตัวแต่เป็นชนิดเดียวกัน เสียงสระนั้นจะเป็นตักำหนดตัวพา
- ถ้ามีสระ 2 ตัวต่างกัน อิสำคัญกว่าอุ อุสำคัญกว่าอะ
- ใช้อะลิฟ มัดดะ ถ้าจำเป็น
ในบางกรณี มีกฎที่ต่างไปคือ
- "201 Arabic Verbs" ของ Barron ใช้ตามกฎข้างต้น
- "Teach Yourself Arabic Verbs and Essential Grammar" ของ John Mace เมื่อเป็นเสียงอูจะไม่ใช้วาว 2 ตัว ในกรณีของ/อิอู/ ใช้ฮัมซะฮ์บนยาอุ ถ้าเป็น/อะอู/ เขียนอัมซะหฺบนอะลิฟ
- "A new Arabic grammar" ของ Haywood and Nahmad เสียง /อู/ เขียนฮัมซะฮ์บนวาวตัวเดียว ไม่ใช้วาว 2 ตัว
- "Al-Kitaab fii Ta:allum ..." /อะอู/ ใช้ฮัมซะฮ์บนยาอุ /อะอิ/ ใช้ฮัมซะฮ์บนอะลิฟ