แผ่นแอนตาร์กติก
แผ่นแอนตาร์กติกา (อังกฤษ: Antarctic Plate) เป็นแผ่นธรณีแปรสัณฐานขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยทวีปแอนตาร์กติก และหมู่เกาะห่างไกลในมหาสมุทรใต้และมหาสมุทรอื่นโดยรอบ หลังจากการแตกออกของมหาทวีปกอนด์วานา (ส่วนใต้ของมหาทวีปแพนเจีย) แผ่นแอนตาร์กติกาเริ่มเคลื่อนทวีปแอนตาร์กติกาไปทางใต้จนถึงตำแหน่งปัจจุบันที่อยู่ห่างไกล เป็นผลให้เกิดการพัฒนาภูมิอากาศแบบหนาวเย็นมากขึ้นบนทวีป[2] ตัวแผ่นนั้นถูกล้อมรอบด้วยระบบเทือกเขากลางมหาสมุทรเกือบทั้งหมด โดยมีแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ติดกัน ได้แก่ แผ่นนัซกา แผ่นอเมริกาใต้ แผ่นแอฟริกา แผ่นโซมาเลีย แผ่นอินโด-ออสเตรเลีย แผ่นแปซิฟิก และส่วนที่มีขอบเขตเป็นรอยเลื่อนผ่านกันนั่นคิอแผ่นสโกเชีย
แผ่นแอนตาร์กติก | |
---|---|
ประเภท | แผ่นหลัก |
พื้นที่โดยประมาณ | 60,900,000 กม.2[1] |
การเคลื่อนตัว1 | ใต้-ตะวันตก |
อัตราเร็ว1 | 12–14 มม./ปี |
ลักษณะภูมิศาสตร์ | ทวีปแอนตาร์กติกา, ที่ราบสูงเกร์กือเลน, มหาสมุทรใต้ |
1โดยเทียบกับแผ่นแอฟริกา |
แผ่นแอนตาร์กติกามีพื้นที่ประมาณ 60,900,000 ตารางกิโลเมตร[3] นับเป็นแผ่นเปลือกโลกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ห้าของโลก
มีการประมาณกันว่าแผ่นแอนตาร์กติกามีการเคลื่อนตัวไปเข้าหามหาสมุทรแอตแลนติกอย่างน้อย 1 เซนติเมตรต่อปี[4]
การมุดตัวลงใต้แผ่นอเมริกาใต้
แก้แผ่นแอนตาร์กติกาเริ่มมุดตัวลงใต้แผ่นอเมริกาใต้เมื่อ 14 ล้านปีก่อนในสมัยไมโอซีน ในตอนแรกการมุดตัวนั้นเกิดขึ้นที่ปลายทางใต้สุดของปาตาโกเนียเท่านั้น ซึ่งหมายถึงว่าสามแยกชิลีนั้นอยู่ใกล้กับช่องแคบมาเจลลัน จากการที่ส่วนใต้ของแผ่นนัซกาและเทือกเขากลางมหาสมุทรชิลีถูกกลืนไปโดยการมุดตัวและพื้นที่ตอนเหนือของแผ่นแอนตาร์กติกายิ่งมุดตัวลงไปใต้ปาตาโกเนียมากขึ้น ทำให้สามแยกชิลีปัจจุบันนั้นขยับไปอยู่ทางด้านหน้าของคาบสมุทรไตเตาที่ตำแหน่ง 46°15' S[5][6] การมุดตัวนี้ถือเป็นการยกปาตาโกเนียให้สูงขึ้น เนื่องจากการมุดตัวนั้นได้ลดการไหลกดลงอย่างรุนแรง (vigorous down-dragging flow) ก่อนหน้านี้ในเนื้อโลกที่เกิดจากการมุดตัวลงของแผ่นนัซกาใต้ปาตาโกเนีย ภูมิลักษณ์พลวัตที่เกิดจากการยกตัวสูงขึ้นของแผ่นเปลือกโลกนี้คือการยกตัวขึ้นของตะพักทะเลอายุยุคควอเทอร์นารี และชายหาดทั่วชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของปาตาโกเนีย[6]
แผ่นดิน
แก้- เกาะอัมสเตอร์ดัม (ประเทศฝรั่งเศส)
- ทวีปแอนตาร์กติกา (ระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติก)
- หมู่เกาะโครเซต (ประเทศฝรั่งเศส)
- เกาะเฮิร์ดและหมู่เกาะแม็กโดนัล (ประเทศออสเตรเลีย)
- หมู่เกาะเกร์กือเลน (ประเทศฝรั่งเศส)
- เกาะปีเตอร์ที่ 1 (ระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติก)
- หมู่เกาะพรินซ์เอดเวิร์ด (ประเทศแอฟริกาใต้)
- เกาะแซ็งปอล (ประเทศฝรั่งเศส)
- หมู่เกาะเซาท์ออร์กนีย์ (ระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติก)
- หมู่เกาะเซาท์เชตแลนด์ (ระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติก)
อ้างอิง
แก้- ↑ "Sizes of Tectonic or Lithospheric Plates". Geology.about.com. March 5, 2014. สืบค้นเมื่อ January 22, 2016.
- ↑ Fitzgerald, Paul (2002). "Tectonics and landscape evolution of the Antarctic plate since the breakup of Gondwana, with an emphasis on the West Antarctic Rift System and the Transantarctic Mountains" (PDF). Royal Society of New Zealand Bulletin (35): 453–469. สืบค้นเมื่อ February 1, 2015.
- ↑ Wohletz, K.H.; Brown, W.K. "SFT and the Earth's Tectonic Plates". Los Alamos National Laboratory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 17, 2013.
- ↑ Jiang, Wei-Ping; E, Dong-Chen; Zhan, Bi-Wei; Liu, You-Wen (2009). "New Model of Antarctic Plate Motion and Its Analysis". Chinese Journal of Geophysics (ภาษาอังกฤษ). 52 (1): 23–32. doi:10.1002/cjg2.1323. ISSN 2326-0440.
- ↑ Cande, S.C.; Leslie, R.B. (1986). "Late Cenozoic Tectonics of the Southern Chile Trench". Journal of Geophysical Research: Solid Earth. 91 (B1): 471–496. Bibcode:1986JGR....91..471C. doi:10.1029/JB091iB01p00471.
- ↑ 6.0 6.1 Pedoja, Kevin; Regard, Vincent; Husson, Laurent; Martinod, Joseph; Guillaume, Benjamin; Fucks, Enrique; Iglesias, Maximiliano; Weill, Pierre (2011). "Uplift of quaternary shorelines in eastern Patagonia: Darwin revisited" (PDF). Geomorphology. 127 (3–4): 121–142. Bibcode:2011Geomo.127..121P. doi:10.1016/j.geomorph.2010.08.003.