แม่น้ำไนล์

แม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลก

แม่น้ำไนล์ (อังกฤษ: Nile)[b] เป็นแม่น้ำสายหลักที่ไหลไปทางเหนือลงไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา แม่น้ำไนล์เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในแอฟริกาและเคยเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลก[3][4] แม้ว่ามีงานวิจัยโต้แย้ง ซึ่งแนะนำว่าแม่น้ำแอมะซอนมีความยาวมากกว่านิดหนึ่ง[5][6] ในบรรดาแม่น้ำสายหลักของโลก แม่น้ำไนล์เป็นหนึ่งในแม่น้ำที่เล็กที่สุด เมื่อวัดจากการไหลในของปริมาณน้ำต่อปีเป็นลูกบาศก์เมตร[7] ด้วยความยาว 6,650 กิโลเมตร (4,130 ไมล์)[a] แม่น้ำไนล์มีที่ราบลุ่มแม่น้ำครอบคลุม 11 ประเทศ ได้แก่: สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, แทนซาเนีย, บุรุนดี, รวันดา, ยูกันดา, เคนยา, เอธิโอเปีย, เอริเทรีย, ซูดานใต้, ซูดาน และอียิปต์[9] แม่น้ำนี้ยังเป็นแหล่งน้ำหลักของประเทศอียิปต์ ซูดาน และซูดานใต้[10] และเป็นแม่น้ำสำคัญที่สนับสนุนการเกษตรและการประมง

แม่น้ำไนล์
แม่น้ำไนล์ที่ไคโร ประเทศอียิปต์
ที่ตั้ง
ประเทศอียิปต์, ซูดาน, ซูดานใต้, เอธิโอเปีย, ยูกันดา, สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, เคนยา, แทนซาเนีย, รวันดา, บุรุนดี
เมืองใหญ่จินจา, จูบา, คาร์ทูม, ไคโร
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำแม่น้ำไวท์ไนล์
 • พิกัดภูมิศาสตร์02°16′56″S 29°19′53″E / 2.28222°S 29.33139°E / -2.28222; 29.33139
 • ระดับความสูง2,400 เมตร (7,900 ฟุต)
แหล่งที่ 2แม่น้ำบลูไนล์
 • ตำแหน่งทะเลสาบตานา ประเทศเอธิโอเปีย
 • พิกัดภูมิศาสตร์12°02′09″N 037°15′53″E / 12.03583°N 37.26472°E / 12.03583; 37.26472
ปากน้ำทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
 • ตำแหน่ง
ดินดอนสามเหลี่ยมไนล์ ประเทศอียิปต์
 • พิกัด
30°10′N 31°09′E / 30.167°N 31.150°E / 30.167; 31.150
 • ระดับความสูง
ระดับน้ำทะเล
ความยาว6,650 กิโลเมตร (4,130 ไมล์)[a]
พื้นที่ลุ่มน้ำ3,349,000 ตารางกิโลเมตร (1,293,000 ตารางไมล์)
ความกว้าง 
 • สูงสุด2.8 กิโลเมตร (1.7 ไมล์)
ความลึก 
 • เฉลี่ย8–11 เมตร (26–36 ฟุต)
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งอัสวาน ประเทศอียิปต์
 • เฉลี่ย2,633 cubic metre per second (93,000 cubic foot per second)
 • ต่ำสุด530 cubic metre per second (19,000 cubic foot per second)
 • สูงสุด7,620 cubic metre per second (269,000 cubic foot per second)
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งไคโร ประเทศอียิปต์
 • เฉลี่ย2,000 cubic metre per second (71,000 cubic foot per second)
 • ต่ำสุด500 cubic metre per second (18,000 cubic foot per second)
 • สูงสุด7,000 cubic metre per second (250,000 cubic foot per second)
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งดินดอนสามเหลี่ยมไนล์ ประเทศอียิปต์ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
 • เฉลี่ย1,584 cubic metre per second (55,900 cubic foot per second)
ลุ่มน้ำ
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้ายไวท์ไนล์
 • ขวาบลูไนล์, อัฏบะเราะฮ์

ที่มาของชื่อ แก้

คำว่า "Nile" ('nIl) มาจากคำว่า "เนย์ลอส" (ละติน : Neilos ; กรีก : Νειλος) ชื่อในภาษากรีกที่มีความหมายว่า "หุบเขาที่มีแม่น้ำ" อีกชื่อหนึ่งของแม่น้ำไนล์ในภาษากรีกคือ "ไอกึปตอส" (ละติน : Aigyptos ; กรีก : Αιγυπτος) ซึ่งแปลว่าแผ่นดิน "อียิปต์" นั่นเอง เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดและมีคนยกย่องว่าแม่น้ำนี้มีปลาในส่วนใหญ่

แม่น้ำสาขา แก้

แม่น้ำไนล์เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายใหญ่ 2 สายคือ แม่น้ำบลูไนล์ (Blue Nile) จากประเทศเอธิโอเปีย และแม่น้ำไวท์ไนล์ (White Nile) จากบริเวณแอฟริกาตะวันออก มารวมตัวกันในประเทศซูดาน จากนั้นไหลผ่านประเทศอียิปต์ และไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

แม่น้ำไวท์ไนล์ แก้

แม่น้ำไวท์ไนล์ กำเนิดจากทะเลสาบวิกตอเรีย ซึ่งอยู่ระหว่างประเทศยูกันดา ประเทศเคนยา และประเทศแทนซาเนีย แม่น้ำไนล์ช่วงที่ไหลออกจากทะเลสาบวิกทอเรีย จะเรียกแม่น้ำวิกตอเรียไนล์ ซึ่งไหลไปยังทะเลสาบแอลเบิร์ท ในช่วงนี้จะเรียก แม่น้ำแอลเบิร์ทไนล์ ไหลไปที่ประเทศเซาท์ซูดานและประเทศซูดาน รวมกับแม่น้ำหลายสาย และเรียกว่าไวท์ไนล์ตอนกลางประเทศก่อนจะไปรวมกับบลูไนล์

แม่น้ำบลูไนล์ แก้

แม่น้ำบลูไนล์ (*อ่านได้ว่า บลูไนเอวล์ เพื่อป้องกันการสับสนชื่อกับประเทศบรูไน) กำเนิดในประเทศเอธิโอเปีย และไหลผ่านเข้าซูดานไปรวมกับไวท์ไนล์เลย

ประวัติศาสตร์ แก้

แม่น้ำไนล์เป็นแม่น้ำสายที่หล่อเลี้ยงทวีปแอฟริกาที่แห้งแล้ง จนทำให้เกิดอารยธรรมโบราณขึ้นมากมาย โดยที่รู้จักกันดีคืออารยธรรมอียิปต์ เมื่อสมัยมากกว่ากว่าห้าพันปีที่แล้ว และยังสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่แถบนั้นด้วย

หมายเหตุ แก้

  1. 1.0 1.1 ความยาวของแม่น้ำไนล์มักอยู่ที่ประมาณ 6,650 กิโลเมตร (4,130 ไมล์),[3] แต่รายงานความยาวมักอยู่ที่ระหว่าง 5,499 กิโลเมตร (3,417 ไมล์) ถึง 7,088 กิโลเมตร (4,404 ไมล์)[4] การวัดความยาวของแม่น้ำหลายสายเป็นเพียงการประมาณค่าโดยประมาณเท่านั้น และอาจมีความแตกต่างกัน เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่กำหนดความยาวของแม่น้ำที่สามารถคำนวณได้ เช่น ตำแหน่งของแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์และปากแม่น้ำ มาตราส่วนการวัด และเทคนิคที่ใช้วัดความยาว[4][8]
  2. อาหรับ: النيل, อักษรโรมัน: an-Nīl, เสียงอ่านภาษาอาหรับ: [an'niːl]; คอปติก: ⲫⲓⲁⲣⲟ;[1] Luganda: Kiira; Nobiin: Áman Dawū[2]

อ้างอิง แก้

  1. "ⲓⲁⲣⲟ - Wiktionary". en.wiktionary.org. สืบค้นเมื่อ 2020-06-13.
  2. Reinisch, Leo (1879). Die Nuba-Sprache. Grammatik und Texte. Nubisch-Deutsches und Deutsch-Nubisches Wörterbuch Erster Theil. Zweiter Theil. p. 220.
  3. 3.0 3.1 "Nile River". Encyclopædia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2015.
  4. 4.0 4.1 4.2 Liu, Shaochuang; Lu, P; Liu, D; Jin, P; Wang, W (1 March 2009). "Pinpointing the sources and measuring the lengths of the principal rivers of the world". Int. J. Digital Earth. 2 (1): 80–87. Bibcode:2009IJDE....2...80L. doi:10.1080/17538940902746082. S2CID 27548511.
  5. Amazon Longer Than Nile River, Scientists Say เก็บถาวร 15 สิงหาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. "How Long Is the Amazon River?". Encyclopedia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2018. สืบค้นเมื่อ 24 December 2018.
  7. Said, R (6 December 2012). The Geological Evolution of the River Nile. New York: Springer (ตีพิมพ์ 2012). p. 4. ISBN 9781461258414. สืบค้นเมื่อ May 23, 2021 – โดยทาง Google.
  8. "Where Does the Amazon River Begin?". National Geographic News. 15 February 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2019. สืบค้นเมื่อ 25 December 2018.
  9. Oloo, Adams (2007). "The Quest for Cooperation in the Nile Water Conflicts: A Case for Eritrea" (PDF). African Sociological Review. 11 (1). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2011. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
  10. Elsanabary, Mohamed Helmy Mahmoud Moustafa (2012). Teleconnection, Modeling, Climate Anomalies Impact and Forecasting of Rainfall and Streamflow of the Upper Blue Nile River Basin (วิทยานิพนธ์ PhD). Canada: University of Alberta. doi:10.7939/R3377641M. hdl:10402/era.28151.
ข้อมูล

  Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Nile" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 19 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 692–699.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้