ลำน้ำสาขา
ลำน้ำสาขา หรือ แคว (อังกฤษ: tributary) คือแม่น้ำหรือลำธารที่ไหลเข้าลำน้ำหลักหรือทะเลสาบ[1] ลำน้ำสาขาจะไม่ไหลลงทะเลหรือมหาสมุทรโดยตรง ลำน้ำสาขาและลำน้ำสายหลักจะรวบรวมน้ำจากที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้งน้ำบนดินและน้ำบาดาลให้ไหลไปสู่มหาสมุทร
ตัวอย่างของลำน้ำสาขาคือแม่น้ำแควน้อยและแควใหญ่ที่ไหลมาบรรจบกันที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยน้ำจากลำน้ำสาขาทั้งสองไหลรวมเป็นแม่น้ำแม่กลองที่ไหลลงไปสู่อ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรสงคราม
แม่น้ำอีร์ติชที่เป็นลำน้ำสาขาหลักของแม่น้ำอ็อบเป็นลำน้ำสาขาที่ยาวที่สุดในโลกด้วยความยาว 4,248 กิโลเมตร (2,640 ไมล์) ในขณะที่แม่น้ำมาเดราที่ไหลไปสู่แม่น้ำแอมะซอนเป็นลำน้ำสาขาที่ใหญ่ที่สุดนับจากปริมาณด้วยปริมาณไหลเฉลี่ย 31,200 m3/s (1,100,000 cu ft/s)
สิ่งที่ตรงกันข้ามกับลำน้ำสาขาคือลำน้ำแตกสาขาซึ่งน้ำจะไหลออกจากแม่น้ำสายหลักแทนที่จะไหลเข้า[2] ซึ่งมักพบในดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
ทิศทาง การเรียงอันดับ และการแจกแจง
แก้"ลำน้ำสาขาฝั่งซ้าย" และ "ลำน้ำสาขาฝั่งขวา" ใช้บ่งบอกทิศทางของลำน้ำสาขากับการไหลของแม่น้ำสายหลัก ซึ่งมาจากมุมมองตามกระแสน้ำ[3]
ลำน้ำสาขาบางครั้งขึ้นเรียงจากสาขาที่ใกล้ต้นน้ำที่สุดไปยังสาขาที่ใกล้ปากแม่น้ำที่สุด การเรียงอันดับลำน้ำสตราห์เลอร์แบ่งลำดับชั้นที่หนึ่ง สอง สาม และลำดับที่สูงกว่านั้น ซึ่งลำดับที่หนึ่งมักมีขนาดเล็กที่สุด ตัวอย่างเช่นลำน้ำสาขาลำดับที่สองเกิดจากลำน้ำสาขาลำดับที่หนึ่งไหลรวมกันเป็นลำน้ำสาขาลำดับที่สอง[3]
อีกหนึ่งวิธีในการเรียงคือการลำดับลำน้ำสาขาจากปากแม่น้ำไปยังต้นน้ำโดยเก็บในโครงสร้างข้อมูลแบบต้นไม้
แกลเลอรี่
แก้-
ที่ราบลุ่มแม่น้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา แสดงลำน้ำสาขาเช่น แม่น้ำปิง และแม่น้ำยม ที่ไหลบรรจบกันที่ปากน้ำโพ
-
ที่ราบลุ่มแม่น้ำของแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งเป็นระบบที่ประกอบไปด้วยลำน้ำสาขาจำนวนมาก แม่น้ำอื่นที่แสดงนอกจากแม่น้ำแอมะซอนเป็นลำน้ำสาขา
-
ที่ราบลุ่มแม่น้ำของแม่น้ำอ็อบ แสดงแม่น้ำอีร์ติชที่เป็นลำน้ำสาขาที่ยาวที่สุดในโลก และลำน้ำสาขาย่อยอื่น ๆ
-
แม่น้ำแม่โขงมีต้นกำเนิดจากที่ราบสูงทิเบต ลำน้ำสาขาส่วนต้นน้ำถูกจำกัดด้วยช่องเขาทำให้คลุมพื้นที่น้อยกว่าลำน้ำสาขาแถบปลายน้ำ (เช่น แม่น้ำมูล)
อ้างอิง
แก้- ↑ "Definition of TRIBUTARY". Merriam-Webster.
- ↑ "opposite to a tributary". PhysicalGeography.net, Michael Pidwirny & Scott Jones, 2009. Viewed 17 September 2012.
- ↑ 3.0 3.1 Bisson, Peter and Wondzell, Steven. "Olympic Experimental State Forest Synthesis of Riparian Research and Monitoring", United States Forest Service, p. 15 (1 December 2009).