ประชากรศาสตร์อิรัก

ชาวอิรัก (อาหรับ: العراقيون, เคิร์ด: گه‌لی عیراق, ซีรีแอก: ܥܡܐ ܥܝܪܩܝܐ, ตุรกี: Iraklılar) เป็นประชาชนที่ระบุตนเองกับประเทศอิรัก[1]

พีระมิดประชากรอิรักใน ค.ศ. 2020

ชาวอิรักเชื้อสายอาหรับเป็นชนเซมิติกที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศอิรัก ในขณะที่ชาวอิรักเชื้อสายเคิร์ดเป็นทั้งชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธ์ุอินโด-ยูโรเปียนที่มีจำนวนมากที่สุด ส่วนชาวอิรักเชื้อสายเติร์กเมนเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ[2][3] งานวิจัยบันทึกว่ากลุ่มชาติพันธุ์-ศาสนาที่แตกต่างกันในอิรักและเมโสโปเตเมียมีกรรมพันธุ์เฉพาะที่คล้ายกัน และชาวอิรักเชื้อสายอาหรับ ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ โดยทั่วไปมีความแตกต่างจากประชากรอาหรับอื่น ๆ ในคาบสมุทรอาหรับ[4][5]

ประชากรใน ค.ศ. 2021 มีประชาณ 39,650,145 คน (ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิรัก) [6] เรียงได้เป็น อาหรับนิกายชีอะฮ์ (15 ล้าน), อาหรับนิกายซุนนี (9 ล้าน), ชาวเคิร์ด (8.4 ล้าน)[7], เติร์กเมน (3 ล้าน), อัสซีเรียกับอาร์มีเนีย (0.5 ล้าน), ชาวอิรักแอฟริกา (1 ล้าน), ยาซิดี (500,000) และชะบัก (250,000) ชนกลุ่มน้อย ได้แก่ มันดาอี (3,000), ดูม (50,000) และซีร์แคสเซีย (2,000).[8] ภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาอาหรับอิรัก, ภาษาเคิร์ด, ซีรีแอก และอิรักสำเนียงเติร์กเมน ข้อมูลจำนวนร้อยละของกลุ่มชาติพันธุ์-ศาสนาที่อาศัยอยู่ในอิรักมีความหลากหลาย เพราะการตรวจสำมะโนครั้งสุดท้ายจัดเมื่อมมากกว่า 30 ปีที่แล้ว และจะมีการวางแผนจัดสำมะโนประชากรใน ค.ศ. 2020[9] แต่ถูกเลื่อนไปเนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19[10]

อ้างอิง แก้

  1. "Iraqi – a native or inhabitant of Iraq". Reference.com. สืบค้นเมื่อ 2010-12-10.
  2. "Minorities in Iraq: EU Research Service" (PDF).
  3. Mitchell, T. F. (1990–1993). Pronouncing Arabic. Oxford [England]: Clarendon Press. p. 37. ISBN 0198151519. OCLC 18020063.
  4. Nadia Al-Zahery; Maria Pala; Vincenza Battaglia; Viola Grugni; Mohammed A. Hamod; Baharak Hooshiar Kashani; Anna Olivieri; Antonio Torroni; Augusta S. Santachiara-Benerecetti; Ornella Semino (2011). "In search of the genetic footprints of Sumerians: a survey of genetic variation in the Arabs of Iraq". BMC Evolutionary Biology. 11: 288. doi:10.1186/1471-2148-11-288. PMC 3215667. PMID 21970613.
  5. Cavalli-Sforza, L. Luca; Menozzi, Paolo; Piazza, Alberto (2018-06-05). The History and Geography of Human Genes. Princeton University Press. doi:10.2307/j.ctv301gjp. ISBN 9780691187266.
  6. "Middle East :: Iraq — The World Factbook - Central Intelligence Agency". cia.gov. สืบค้นเมื่อ 15 May 2021.
  7. Iraq – People Groups". Joshua Project. Archived from the original on 2013-12-11. Retrieved 2016-08-13.
  8. "Minorities in Iraq - European Research Service" (PDF).
  9. "Iraq prepping to conduct a census in 2020". rudaw.net. สืบค้นเมื่อ 2019-05-01.
  10. "COVID-19 postpones Iraq's Census for the current year". shafaq.com. สืบค้นเมื่อ 2021-08-21.

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้