วิกฤตการณ์เบอร์ลิน ค.ศ. 1961

วิกฤตการณ์เบอร์ลิน (เยอรมัน: Berlin-Krise) เกิดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 4 มิถุนายน - 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1961 และเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งใหญ่ทางการเมือง-การทหารในยุโรปในช่วงสงครามเย็นเกี่ยวกับสถานะการยึดครองเมืองหลวงของเยอรมันคือกรุงเบอร์ลินและเยอรมนีในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง วิกฤตการณ์เบอร์ลินได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อสหภาพโซเวียตได้เปิดฉากในการยื่นคำขาดให้ถอนกองกำลังทั้งหมดออกไปจากกรุงเบอร์ลิน รวมทั้งกองทัพฝั่งตะวันตกในเบอร์ลินตะวันตก วิกฤตการณ์ครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดการแบ่งแยกเมืองโดยพฤตินัยพร้อมกับเยอรมนีตะวันออกได้ก่อสร้างกำแพงเบอร์ลิน

วิกฤตการณ์เบอร์ลิน ค.ศ. 1961
ส่วนหนึ่งของ สงครามเย็น

รถถังสหรัฐเอ็ม48 เผชิญหน้ากับรถถังโซเวียตที-55 ที่ด่านชาร์ลี, ตุลาคม ค.ศ. 1961
วันที่4 มิถุนายน – 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1961
สถานที่
ผล การก่อสร้าง กำแพงเบอร์ลินเมื่อวันที่ 12–13 สิงหาคม ค.ศ. 1961
คู่สงคราม
 สหภาพโซเวียต
 เยอรมนีตะวันออก
สนับสนุนโดย:
กติกาสัญญาวอร์ซอ (ยกเว้นแอลเบเนีย)
 สหรัฐ
 เยอรมนีตะวันตก
สนับสนุนโดย:
 เนโท
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหภาพโซเวียต นีกีตา ครุชชอฟ
เยอรมนีตะวันออก วัลเทอร์ อุลบริชท์
สหรัฐ จอห์น เอฟ. เคนเนดี
เยอรมนีตะวันตก ค็อนราท อาเดอเนาเออร์

การประชุมสภาคองเกรสของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตครั้งที่ 22 — เป็นครั้งสุดท้ายที่จะได้เข้าร่วมโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน-ได้ถูกจัดขึ้นในกรุงมอสโกในช่วงวิกฤตการณ์