การปฏิวัติเงียบสงบ
การปฏิวัติเงียบสงบ (เยอรมัน: Friedliche Revolution) เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่นำไปสู่การเปิดชายแดนของเยอรมนีตะวันออกและตะวันตก จุดสิ้นสุดของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี(SED)ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี(เยอรมนีตะวันออก) และการเปลี่ยนแปลงมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งนำไปสู่การรวมประเทศของเยอรมนีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1990 สิ่งที่เกิดขึ้นนี้มาจากการริเริ่มและการเดินขบวนที่ไม่ใช้ความรุนแรง การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ถูกเรียกในภาษาเยอรมันว่า Die Wende (เสียงอ่านภาษาเยอรมัน: [diː ˈvɛndə], "จุดเปลี่ยน")
เหตุการณ์เหล่านี้เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการตัดสินใจของผู้นำโซเวียต มีฮาอิล กอร์บาชอฟ ที่จะละทิ้งอำนาจโซเวียตในยุโรปตะวันออก รวมทั้งขบวนการปฏิรูปที่แผ่ขยายไปทั่วประเทศกลุ่มตะวันออก นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียต การขาดความาสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี รวมทั้งหนี้สินของชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เกิดความไม่มั่นคงในสถานะรัฐพรรคการเมืองเดียวของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี
การขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูปในสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี ได้รวมถึงกลุ่มปัญญาชนและคริสจักรชนที่อยู่ในการคัดค้านใต้ดินเป็นเวลาหลายปี ผู้คนที่พยายามหลบหนีออกจากประเทศ และผู้ประท้วงอย่างสันติที่ไม่ยอมทนต่อการคุกคามจากความรุนแรงและการกดขี่ข่มเหง
เพราะการไม่เป็นมิตรกับการตอบสนองต่อการปฏิรูปการดำเนินภายใน"ดินแดนภราดรภาพสังคมนิยม" ความเป็นผู้นำของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนั้นโดดเดี่ยวมากขึ้นเรื่อย ๆ ภายในกลุ่มประเทศตะวันออก เมื่อได้รับอนุญาตให้เปิดชายแดนที่กำแพงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 ผ่านการเปลี่ยนแปลงความเป็นผู้นำและความเต็มใจที่จะเจรจา พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีพยายามที่จะเอาชนะความคิดริเริ่มทางการเมือง แต่การควบคุมสถานการณ์ได้ทวีคูณมากขึ้นกับรัฐบาลเยอรมันตะวันตกภายใต้การนำโดยเฮ็ลมูท โคล
ตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1989 รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีของนายกรัฐมนตรี ฮันส์ โมโดร ได้มีอิทธิพลจากการประชุมบนกลางโต๊ะกลม ซึ่งนำไปสู่การดำเนินทำการยุบหน่วยสตาซีและเตรียมการเลือกตั้งแบบเสรี ภายหลังชนะการเลือกตั้งเพื่อพรรคร่วมกันที่สนับสนุนการรวมประเทศเยอรมนี เส้นทางการเมืองภายในสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีได้กระจ่างแจ้งแล้ว
ช่วงเวลา
แก้เหตุการณ์ที่สำคัญ:
- ปลายปี ค.ศ. 1980 - ช่วงเวลาที่กลุ่มประเทศโซเวียตได้ประกาศนโยบายการเปิดเสรี(กลัสนอสต์) และการปฏิรูป(เปเรสตรอยคา).[1]
- 27 มิถุนายน ค.ศ. 1989 - การเปิดรั้วชายแดนติดกับออสเตรียของฮังการี.[2]
- 19 สิงหาคม ค.ศ. 1989 - การปิกนิกรวมกลุ่มชาวยุโรปที่ชายแดนฮังการี-ออสเตรีย, เมื่อชาวเยอรมนีตะวันออกจำนวนร้อยกว่าคน, ที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปยังฮังการี แต่ไม่ใช่ตะวันตก ได้หลบหนีไปยังเยอรมนีตะวันตกผ่านทางออสเตรีย.[3]
- ตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1989 - การเดินขบวนวันจันทร์ในเยอรมนีตะวันออกได้เรียกร้องให้เปิดชายแดนติดกับเยอรมนีตะวันตกและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากขึ้น.[4]
- 18 ตุลาคม ค.ศ. 1989 - เอริช ฮ็อนเน็คเคอร์ ประกาศลาออกจากเลขาธิการแห่งพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี.[5]
- 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 - การล่มสลายกำแพงเบอร์ลิน, ทำให้เยอรมนีตะวันออกสามารถเดินทางไปยังทางตะวันตกได้อย่างเสรี.[1]
- 3 ธันวาคม ค.ศ. 1989 - การก้าวลงจากอำนาจของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี.[6]
- 4 ธันวาคม ค.ศ. 1989 - การเข้ายึดอาคารของหน่วยสตาซีของประชาชนทั่วทั้งประเทศ, เริ่มต้นในแอร์ฟวร์ท. กองบัญชาการของหน่วยสตาซีในเบอร์ลินได้ถูกยึด เมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1990.[6]
- 13 มกราคม ค.ศ. 1990 - การยุบหน่วยสตาซี.[7]
- 18 มีนาคมคม ค.ศ. 1990 - การเลือกตั้งทั่วไปในเยอรมนีตะวันออก ค.ศ. 1990, ซึ่งเป็นการลงประชามติในการรวมประเทศ ซึ่งพันธมิตรเพื่อเยอรมนี ได้สนับสนุนในการรวมประเทศ จึงได้รับผลคะแนนสูงสุด.[8]
- 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 - The Währungs-, Wirtschafts- und Sozialunion (การเงิน, เศรษฐกิจ และสหภาพสังคม) ข้อตกลงระหว่างเยอรมนีตะวันตก-ตะวันออก, ได้มีผลบังคับใช้.[9] เยอรมนีตะวันออกได้นำสกุลเงินเยอรมนีตะวันตกมาใช้ในวันนี้.[9]
- 31 สิงหาคม ค.ศ. 1990 - การลงนามใน Einigungsvertrag (สนธิสัญญาการรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน) ระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1990 และสนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี เมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1990.[9]
- 3 ตุลาคม ค.ศ. 1990 - การรวมประเทศเยอรมนีได้บรรลุผลด้วยรัฐเยอรมนีตะวันออกทั้งห้ารัฐที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาใหม่ ซึ่งรวมเข้ากับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี.[1]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Childs, David (2014) The Fall of the GDR. Abingdon: Routledge.
- ↑ On this day: 27 June - the Iron Curtain was breached. European Parliament, 26 June 2009. Retrieved 8 August 2019
- ↑ Walker, Shaun (18 August 2019) How a pan-European picnic brought down the iron curtain on Guardian Online. Retrieved 20 August 2019
- ↑ "Geschichte der Bundesrepublik". www.hdg.de (ภาษาเยอรมัน). Stiftung Deutsches Historisches Museum. สืบค้นเมื่อ 29 June 2018.
- ↑ Tomforde, Anna (19 Oct 1989) East Germans oust Honecker in The Guardian. Retrieved 4 August 2019
- ↑ 6.0 6.1 How ordinary people smashed the Stasi in The Local.de, 4 December 2014. Retrieved 25 July 2019
- ↑ Vilasi, Antonella Colonna (2015). The History of the Stasi. Bloomington, Indiana: AuthorHouse. ISBN 9781504937054. สืบค้นเมื่อ 2 September 2019.
- ↑ Illmer, Andreas (18 March 2010) [1] on DW.com. Retrieved 8 August 1990
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Bromley, Joyce E. (2017) German Reunification: Unfinished Business. Abingdon-on-Thames:Routledge on Google Books. Retrieved 8 August 2019.