ปิยะนุช แป้นน้อย
นักกีฬาวอลเลย์บอลชาวไทย
ปิยะนุช แป้นน้อย (เกิด 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532; ชื่อเล่น: เอื้อย) หรือที่เพื่อน ๆ เรียกกันว่า แป้น เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลชาวไทย ซึ่งเธอได้รับเลือกเข้าร่วมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย โดยได้รับเลือกเข้าเล่นในตำแหน่งลิเบอโร ซึ่งปิยะนุช เป็นลิเบอโรที่มีความโดดเด่น และได้รับการทาบทามให้เข้าร่วมเล่นในลีกของอาเซอร์ไบจานในเวลาต่อมา[2]
ปิยะนุช แป้นน้อย | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||||||||
ชื่อเต็ม | ปิยะนุช แป้นน้อย | ||||||||||||||||
ชื่อเล่น | แป้น, เอื้อย | ||||||||||||||||
เกิด | 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 นครศรีธรรมราช ประเทศไทย | ||||||||||||||||
ส่วนสูง | 171 cm (5 ft 7 in) | ||||||||||||||||
น้ำหนัก | 54 กก. (120 lb) | ||||||||||||||||
กระโดดตบ | 280 ซม.[1] | ||||||||||||||||
บล็อก | 275 ซม.[1] | ||||||||||||||||
ข้อมูล | |||||||||||||||||
ตำแหน่ง | เซ็ตเตอร์ | ||||||||||||||||
สโมสรปัจจุบัน | สุพรีม ชลบุรี | ||||||||||||||||
หมายเลข | 2 | ||||||||||||||||
ทีมชาติ | |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
เกียรติยศ
|
ปิยะนุช แป้นน้อย สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมจากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต[2]
ผลงานที่ผ่านมา
แก้ผลงานระดับสโมสร
แก้- อันดับ 1 วอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก ครั้งที่ 4 สังกัดสโมสรกรุงเทพมหานคร[2]
- อันดับ 8 วอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก ครั้งที่ 5 สังกัดสโมสรชัยภูมิ[2]
- วอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก ครั้งที่ 6 สังกัดสโมสรนครศรีธรรมราช[2]
ผลงานระดับทีมชาติ
แก้- แชมป์วอลเลย์บอลมหาวิทยาลัยแห่งเอเชีย ที่กรุงเทพมหานคร[2]
- เหรียญทอง ซีเกมส์ 2011 ที่ประเทศอินโดนีเซีย[2]
- อันดับ 4 วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2012 [2]
- อันดับ 1 วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2013 [3]
- พ.ศ. 2556 วอลเลย์บอลเวิลด์แกรนด์แชมป์เปี้ยนคัพ (อันดับ 5) ประเทศไทยในฐานะแชมป์ทวีปเอเชีย
- พ.ศ. 2557 เหรียญทองแดง เอเชียนเกมส์ 2014 ที่ประเทศเกาหลีใต้
โฆษณา
แก้- พ.ศ. 2556 - ดังกิ๊น โดนัท ดีดี ป๊อปปิ้งที ร่วมกับพรพรรณ เกิดปราชญ์ อัจฉราพร คงยศ และทัดดาว นึกแจ้ง[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[5]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Player's biography". Fédération Internationale de Volleyball. 5 August 2011. สืบค้นเมื่อ 23 November 2011.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 "แป้น-ปิยะนุช" ขอคิดบวกเกมนัดตัดเชือกโยนความกดดันให้จ้าภาพ
- ↑ สุพรีมฯตัดสินใจปล่อย"ปิยะนุช"เล่นวอลเลย์บอลลีกยุโรป
- ↑ ผ่านศึกโหดมา! " อัจฉราพร - ปิยะนุช" รับ วอลเลย์หญิงไทยต้องเร่งฟื้นฟูร่างกาย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ให้แก่นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยและเจ้าหน้าที่[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๖๔, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ปิยะนุช แป้นน้อย
- ปิยะนุช แป้นน้อย ที่อินสตาแกรม
- ปิยะนุช แป้นน้อย ที่เฟซบุ๊ก