อัจฉราพร คงยศ
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
อัจฉราพร คงยศ ชื่อเล่น เพียว (เกิดวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2538) ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย สถิติที่ตบหนักที่สุดของ อัจฉราพร คงยศ คือ 95 km/h[1][2]
อัจฉราพร คงยศ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อเต็ม | อัจฉราพร คงยศ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อเล่น | เพียว,หมี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เกิด | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2538 นครศรีธรรมราช ประเทศไทย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ส่วนสูง | 180 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
น้ำหนัก | 66 kg (146 lb) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กระโดดตบ | 310 ซm (10.2 ft) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บล็อก | 302 ซm (9.91 ft) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตำแหน่ง | ตัวตบหัวเสา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สโมสรปัจจุบัน | เอ็นอีซี เรดรอกเกตส์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หมายเลข | 18 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทีมชาติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เกียรติยศ
|
ประวัติ
แก้อัจฉราพร คงยศได้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนชุมชนวัดวัดปัณณาราม ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต (RBAC) สำหรับการเดินทางสู่เส้นทางนักกีฬาวอลเลย์บอลนั้น ชื่อของอัจฉราพร คงยศ เริ่มได้รับความสนใจตั้งแต่การลงแข่งขันวอลเลย์บอล ในฐานะนักกีฬาวอลเลย์บอลของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และนักกีฬาวอลเลย์บอลของสุพรีม-นครศรีด้วยรูปแบบการเล่นที่ค่อนข้างโดดเด่นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสปีดบอล น้ำหนัก และจังหวะ ทำให้ อัจฉราพร คงยศ มีชื่อติดในหนึ่งนักกีฬาวอลเลย์บอลชุดเยาวชนหญิงทีมชาติไทย และปัจจุบัน อัจฉราพร คงยศ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยชุดปัจจุบัน[2]
สโมสร
แก้- แบงก์ ดีเคไอ (2013)
- สุพรีม ชลบุรี อีเทค (2009–2021)
- จาการ์ตา บีเอ็นไอ 46 (2018–2019)
- ซาริเยร์ เบลิเยดิซี่ (2021–2022)
- เอ็นอีซี เรดรอกเกตส์ (2023–ปัจจุบัน)
เกียรติประวัติ
แก้รางวัลส่วนบุคคล
แก้- 2010 พีอีเอ จูเนียร์แชมป์เปียนชิพ - "ผู้เล่นทรงคุณค่า"
- 2010 พีอีเอ จูเนียร์แชมป์เปียนชิพ - "ตัวตบยอดเยี่ยม"
- 2012 พีอีเอ จูเนียร์แชมป์เปียนชิพ - "ผู้เล่นทรงคุณค่า"
- 2013 กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 29 - "ผู้เล่นทรงคุณค่า"
- 2013 พีอีเอ จูเนียร์แชมป์เปียนชิพ - "ผู้ทำคะแนนสูงสุด"
- 2013 พีอีเอ จูเนียร์แชมป์เปียนชิพ - "เสิร์ฟยอดเยี่ยม"
- 2013-14 ไทยแลนด์ลีก - "ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม"
- 2014 วีทีวีอินเตอร์เนชันแนลคัพ - "ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม"
- 2014–15 ไทยแลนด์ลีก - "ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม"
- 2015 วีทีวีอินเตอร์เนชันแนลคัพ - "ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม"
- 2016 มงเทรอวอลลีย์แมสเตอส์ - "ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม"
- 2016 เอวีซีคัพ - "ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม"
- 2016-17 ไทยแลนด์ลีก - "ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม"
- 2016-17 ไทยแลนด์ลีก - "ผู้เล่นทรงคุณค่า"
- 2018 ไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก - "ผู้เล่นทรงคุณค่า"
- 2018 เอวีซีคัพ - "ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม"
- 2018 สโมสรหญิงชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย - “ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม”
- 2018 สโมสรหญิงชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย - “ผู้เล่นทรงคุณค่า”
- 2019 สโมสรหญิงชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย - “ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม”
ทีมสโมสร
แก้- 2012 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย – อันดับ 3, กับ ช้าง
- 2015-16 ไทยแลนด์ลีก – รองชนะเลิศ, กับ สุพรีม-ชลบุรี
- 2016 ไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก – รองชนะเลิศ, กับ สุพรีม-ชลบุรี
- 2016 วีทีวี อินเตอร์เนชันแนล คัพ – ชนะเลิศ, กับ สุพรีม-ชลบุรี
- 2016-17 ไทยแลนด์ลีก – ชนะเลิศ กับ สุพรีม ชลบุรี อีเทค
- 2017 ไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก – ชนะเลิศ กับ สุพรีม ชลบุรี อีเทค
- 2017 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย – ชนะเลิศ กับ สุพรีม ชลบุรี อีเทค
- 2017-18 ไทยแลนด์ลีก – ชนะเลิศ กับ สุพรีม ชลบุรี อีเทค
- 2018 ไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก – ชนะเลิศ กับ สุพรีม ชลบุรี อีเทค
- 2018 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย – ชนะเลิศ กับ สุพรีม ชลบุรี อีเทค
- 2018-19 โปรลีกา – อันดับ 3 กับ Jakarta BNI 46
- 2018-19 ไทยแลนด์ลีก – รองชนะเลิศ, กับ สุพรีม-ชลบุรี
- 2019 ไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก – ชนะเลิศ กับ สุพรีม ชลบุรี อีเทค
- 2019 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย2019 – รองชนะเลิศ, กับ สุพรีม ชลบุรี อีเทค
- 2019-20 ไทยแลนด์ลีก – ชนะเลิศ กับ สุพรีม ชลบุรี อีเทค
- 2023 วอลเลย์บอลชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระจักรพรรดินี – ชนะเลิศ กับ เอ็นอีซี เรดรอกเกตส์
- 2023-24 วี.ลีก – ชนะเลิศ กับ เอ็นอีซี เรดรอกเกตส์
ทีมชาติ
แก้ชุดใหญ่
แก้- 2012 เอวีซีคัพ – เหรียญทอง
- 2013 ชิงแชมป์เอเชีย – เหรียญทอง
- 2014 ชิงแชมป์โลก – อันดับที่ 17
- 2015 ชิงแชมป์เอเชีย – เหรียญทองแดง
- 2016 มงเทรอมาสเตอร์ – เหรียญเงิน
- 2016 เอวีซีคัพ – เหรียญทองแดง
- 2017 มงเทรอมาสเตอร์ – อันดับที่7
- 2017 ชิงแชมป์เอเชีย – เหรียญเงิน
- 2018 เนชันลีก2018- อันดับที่15
- 2018 วอลเลย์บอลในเอเชียนเกมส์ : เหรียญเงิน
- 2018 เอวีซีคัพ – เหรียญทองแดง
- 2018 ชิงแชมป์โลก – อันดับที่ 13
- 2019 มงเทรอมาสเตอร์ – อันดับที่4
- 2019 เนชันลีก2019- อันดับที่12
- 2022 เนชันส์ลีก2022- อันดับที่8
ชุดอายุไม่เกิน 23 ปี
แก้- 2015 ชิงแชมป์เอเชีย – เหรียญเงิน
- 2015 วีทีวี คัพ อินเตอร์เนชั่นแนล – ชนะเลิศ
- 2015 ชิงแชมป์โลก – อันดับที่ 8
ชุดเยาวชน
แก้- 2010 ชิงแชมป์เอเชีย – อันดับที่ 4
- 2012 ชิงแชมป์เอเชีย – อันดับที่ 4
- 2013 ชิงแชมป์โลก – อันดับที่ 18
ชุดยุวชน
แก้- 2010 ชิงแชมป์เอเชีย – เหรียญทองแดง
โฆษณา
แก้- พ.ศ. 2556 - พรีเซนเตอร์ ดังกิ๊น โดนัท ดีดี ป๊อปปิ้งที ร่วมกับปิยะนุช แป้นน้อย พรพรรณ เกิดปราชญ์ และทัดดาว นึกแจ้ง[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[4]
- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Thailand, China, Kazakhstan and Vietnam progress to Women's AVC Cup semis". Asian Volleyball Confederation. 15 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-21. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 ไฮไลต์กีฬา. เดลินิวส์. ฉบับที่ 23,360. วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556. ISSN 16860004. หน้า 23
- ↑ ผ่านศึกโหดมา! " อัจฉราพร - ปิยะนุช" รับ วอลเลย์หญิงไทยต้องเร่งฟื้นฟูร่างกาย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ให้แก่นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยและเจ้าหน้าที่, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๒๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อัจฉราพร คงยศ
- อัจฉราพร คงยศ ที่เฟซบุ๊ก