ดาวเนปจูน (อังกฤษ: Neptune) มีชื่อไทยว่า ดาวเกตุ เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับสุดท้ายมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ คำว่า "เนปจูน" นั้นตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของโรมันเหนือ (กรีก : โปเซดอน) มีสัญลักษณ์เป็น (♆).

ดาวเนปจูน  ♆

ภาพดาวเนปจูนสีจริงจากยานวอยเอเจอร์ 2
ถ่ายเมื่อ 16-17 สิงหาคม พ.ศ. 2532[a]
การค้นพบ
ค้นพบโดย:อูแบง เลอเวรีเย
จอห์น คูช แอดัมส์
โยฮันน์ กอทท์ฟรีด กัลเลอ
ค้นพบเมื่อ:23 กันยายน พ.ศ. 2389
ลักษณะของวงโคจร
ต้นยุคอ้างอิง J2000
ระยะจุดไกล
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
4,536,874,325 กม.
(30.32713169 หน่วยดาราศาสตร์)
ระยะจุดใกล้
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
4,459,631,496 กม.
(29.81079527 หน่วยดาราศาสตร์)
กึ่งแกนเอก:4,498,252,900 กม.
(30.06896348 หน่วยดาราศาสตร์)
เส้นรอบวง
ของวงโคจร:
28.263 เทระเมตร
(188.925 หน่วยดาราศาสตร์)
ความเยื้องศูนย์กลาง:0.00858587
คาบดาราคติ:60,224.9036 วัน
(164.89 ปีจูเลียน)
คาบซินอดิก:367.49 วัน
อัตราเร็วเฉลี่ย
ในวงโคจร
:
5.432 กม./วินาที
อัตราเร็วสูงสุด
ในวงโคจร:
5.479 กม./วินาที
อัตราเร็วต่ำสุด
ในวงโคจร:
5.385 กม./วินาที
ความเอียง:1.76917°
(6.43° กับศูนย์สูตรดวงอาทิตย์)
ลองจิจูด
ของจุดโหนดขึ้น
:
131.72169°
มุมของจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
273.24966°
จำนวนดาวบริวาร:8 หรือ 14
ลักษณะทางกายภาพ
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวศูนย์สูตร:
49,528 กม.
(3.883×โลก)
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวขั้ว:
48,681 กม.
(3.829×โลก)
ความแป้น:0.0171
พื้นที่ผิว:7.619×109 กม.²
(14.937×โลก)
ปริมาตร:6.2526×1013 กม.³
(57.723×โลก)
มวล:1.0243×1026กก.
(17.147×โลก)
ความหนาแน่นเฉลี่ย:1.638 กรัม/ซม.³
ความโน้มถ่วง
ที่ศูนย์สูตร:
11.00 เมตร/วินาที²
(1.122 จี)
ความเร็วหลุดพ้น:23.5 กม./วินาที
คาบการหมุน
รอบตัวเอง
:
0.67125000 วัน
(16 ชม. 6 นาที 36.00000 วินาที)
ความเร็วการหมุน
รอบตัวเอง:
2.68 กม./วินาที
(9,660 กม./ชม.)
ความเอียงของแกน:28.32°
ไรต์แอสเซนชัน
ของขั้วเหนือ:
299.33°
(19 ชม. 57 นาที 20 วินาที)
เดคลิเนชัน
ของขั้วเหนือ:
42.95°
อัตราส่วนสะท้อน:0.41
อุณหภูมิพื้นผิว:
   อุณหภูมิเฉลี่ยที่ยอดเมฆ
ต่ำสุดเฉลี่ยสูงสุด
50 K53 K
ลักษณะของบรรยากาศ
ความดันบรรยากาศ
ที่พื้นผิว:
100-300 กิโลปาสกาล
องค์ประกอบ:>84% ไฮโดรเจน
>12% ฮีเลียม
2% มีเทน
0.01% แอมโมเนีย
0.00025% อีเทน
0.00001% อะเซทิลีน

ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของบรรยากาศผิวนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500 กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220℃ (-364 °F) ซึ่งหนาวเย็นมาก เนื่องจาก ดาวเนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000℃ (12,632 °F) ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์

ยานวอยเอเจอร์ 2 เป็นยานอวกาศจากโลกเพียงลำเดียวเท่านั้น ที่เคยเดินทางไปถึงดาวเนปจูนเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ภาพของดาวเนปจูนซึ่งได้ถ่ายลักษณะของดาวมาแสดงให้เราเห็นจุดดำใหญ่ (คล้ายจุดแดงใหญ่ ของดาวพฤหัสบดี) อยู่ค่อนมาทางซีกใต้ของดาว มีวงแหวนบางๆสีเข้มอยู่โดยรอบ (วงแหวนของดาวเนปจูน ค้นพบก่อนหน้านั้น โดย เอ็ดเวิร์ด กิแนน (Edward Guinan)

ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์บริวาร 8 ถึง 14 ดวง และดวงใหญ่มากที่สุดมีชื่อว่า ไทรทัน ส่วนดวงเล็กมากที่สุดมีชื่อว่า S/2004 N 1[1]

ภาพจาก ยานวอยเอเจอร์ 2 แสดง ดาวเนปจูนและดวงจันทร์บริวาร ชื่อ ไทรทัน

ประวัติการค้นพบ แก้

ในปี พ.ศ. 2389 เออร์เบียง เลอ เวอร์ริเยร์ (Urbain Le Verrier) คำนวณว่า ต้องมีดาวเคราะห์ดวงหนึ่งรบกวนการโคจรของดาวยูเรนัส จนเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2389 โจฮันน์ จี. กาลเล (Johann G. Galle) นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันใต้แห่งหอดูดาวเบอร์ลิน ได้ค้นพบดาวเนปจูน ในตำแหน่งใกล้เคียงกับผลการคำนวณดังกล่าว

 
อูร์แบ็ง เลอ แวรีเย

หมายเหตุ แก้

  1. Based on Irwin, Patrick G J; Dobinson, Jack; James, Arjuna; Teanby, Nicholas A; Simon, Amy A; Fletcher, Leigh N; Roman, Michael T; Orton, Glenn S; Wong, Michael H; Toledo, Daniel; Pérez-Hoyos, Santiago; Beck, Julie (2023-12-23). "Modelling the seasonal cycle of Uranus's colour and magnitude, and comparison with Neptune". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society (ภาษาอังกฤษ). 527 (4): 11521–11538. doi:10.1093/mnras/stad3761. ISSN 0035-8711.

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-07-16.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้