ดาวเสาร์

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่หก

ดาวเสาร์ (อังกฤษ: Saturn) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 จากดวงอาทิตย์ ถัดจากดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของระบบสุริยะ รองจาก ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ ที่มีรัศมีเฉลี่ยมากกว่าโลกประมาณเก้าเท่า[3][4] แม้ว่าจะมีความหนาแน่นเป็นหนึ่งในแปดของโลก แต่มวลของมันมีมากกว่าโลกถึง 95 เท่า[5][6][7] ดาวเสาร์ตั้งชื่อตามเทพโรมันแห่งการเกษตร สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ของดาวเสาร์ (♄) แทนเคียวของเทพเจ้า

ดาวเสาร์  ♄ หรือ

ภาพถ่ายสีธรรมชาติของดาวเสาร์ที่ระยะห่าง 6.3 ล้านกิโลเมตร ถ่ายโดยยานแคสซินี (2004)
ลักษณะของวงโคจร
ต้นยุคอ้างอิง J2000
ระยะจุดไกล
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
1,503,983,449 กม.
(10.05350840 หน่วยดาราศาสตร์)
ระยะจุดใกล้
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
1,349,467,375 กม.
(9.02063224 หน่วยดาราศาสตร์)
กึ่งแกนเอก:1,426,725,413 กม.
(9.53707032 หน่วยดาราศาสตร์)
เส้นรอบวง
ของวงโคจร:
59.879 หน่วยดาราศาสตร์
ความเยื้องศูนย์กลาง:0.05415060
คาบดาราคติ:10,757.7365 วัน
(29.45 ปีจูเลียน)
คาบซินอดิก:378.09 วัน
อัตราเร็วเฉลี่ย
ในวงโคจร
:
9.638 กม./วินาที
อัตราเร็วสูงสุด
ในวงโคจร:
10.182 กม./วินาที
อัตราเร็วต่ำสุด
ในวงโคจร:
9.136 กม./วินาที
ความเอียง:2.48446°
(5.51° กับศูนย์สูตรดวงอาทิตย์)
ลองจิจูด
ของจุดโหนดขึ้น
:
113.71504°
มุมของจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
338.71690°
จำนวนดาวบริวาร:146 [1][2]
ลักษณะทางกายภาพ
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวศูนย์สูตร:
120,536 กม.
(9.449×โลก)
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวขั้ว:
108,728 กม.
(8.552×โลก)
ความแป้น:0.09796
พื้นที่ผิว:4.27×1010 กม.²
(83.703×โลก)
ปริมาตร:7.46×1014 กม.³
(688.79×โลก)
มวล:5.6846×1026 กก.
(95.162×โลก)
ความหนาแน่นเฉลี่ย:0.68730 กรัม/ซม.³ (น้อยกว่าน้ำ)
ความโน้มถ่วง
ที่ศูนย์สูตร:
10.456เมตร/วินาที²
(1.066 จี)
ความเร็วหลุดพ้น:35.49 กม./วินาที
คาบการหมุน
รอบตัวเอง
:
0.4440092592 วัน
(10 ชม. 39 นาที 22.40000 วินาที)
ความเร็วการหมุน
รอบตัวเอง:
9.87 กม./วินาที
(35,500 กม./ชม.)
ความเอียงของแกน:26.73°
ไรต์แอสเซนชัน
ของขั้วเหนือ:
40.59°
(2 ชั่วโมง 42 นาที 21 วินาที)
เดคลิเนชัน
ของขั้วเหนือ:
83.54°
อัตราส่วนสะท้อน:0.47
อุณหภูมิ:93 K (ที่ยอดเมฆ)
อุณหภูมิพื้นผิว:
   เคลวิน
ต่ำสุดเฉลี่ยสูงสุด
82 K143 K
ลักษณะของบรรยากาศ
ความดันบรรยากาศ
ที่พื้นผิว:
140 กิโลปาสกาล
องค์ประกอบ:>93% ไฮโดรเจน
>5% ฮีเลียม
0.2% มีเทน
0.1% ไอน้ำ
0.01% แอมโมเนีย
0.0005% อีเทน
0.0001% ไฮโดรเจนฟอสไฟด์

ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ

แก้

ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลก

วงแหวน

แก้

วงแหวนของดาวเสาร์ ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กจำนวนมากนับไม่ถ้วน ที่มีขนาดตั้งแต่ไม่กี่ไมโครเมตรไปจนถึงหลายเมตร กระจุกตัวรวมกันอยู่และโคจรไปรอบๆ ดาวเสาร์ อนุภาคในวงแหวนส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง มีบางส่วนที่เป็นฝุ่นและสสารอื่น

อ้างอิง

แก้
  1. Saturn Turns 60 เก็บถาวร 2012-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - NASA
  2. Saturn: Moons เก็บถาวร 2011-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - NASA
  3. Brainerd, Jerome James (24 November 2004). "Characteristics of Saturn". The Astrophysics Spectator. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 5 July 2010.
  4. "General Information About Saturn". Scienceray. 28 July 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-06. สืบค้นเมื่อ 17 August 2011.
  5. Brainerd, Jerome James (6 October 2004). "Solar System Planets Compared to Earth". The Astrophysics Spectator. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-06. สืบค้นเมื่อ 5 July 2010.
  6. Dunbar, Brian (29 November 2007). "NASA – Saturn". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-06. สืบค้นเมื่อ 21 July 2011.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Mass ref 3

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้