ฮีเลียม
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
ฮีเลียม (อังกฤษ: Helium) เป็นธาตุเคมีที่มีสัญลักษณ์ว่า He และมีเลขอะตอมเท่ากับ 2 ฮีเลียมเป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่เป็นพิษ เฉื่อย มีอะตอมเดี่ยวซึ่งถูกจัดให้อยู่ในหมู่แก๊สมีตระกูลบนตารางธาตุ จุดเดือดและจุดหลอมเหลวของฮีเลียม มีค่าต่ำสุดกว่าบรรดาธาตุทั้งหมดในตารางธาตุ และมันจะปรากฏในอยู่รูปของแก๊สเท่านั้น ยกเว้นในสภาวะที่เย็นยิ่งยวด
ฮีเลียม | |||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||||||||||||||||||||
ฮีเลียมในตารางธาตุ | |||||||||||||||||||||||||
ลักษณะปรากฏ | |||||||||||||||||||||||||
เป็นแก๊สไม่มีสี มันจะเรืองแสงสีส้มแดงขณะที่อยู่ในสนามไฟฟ้าแรงดันสูง![]() ![]() เส้นสเปคตรัมของฮีเลียม | |||||||||||||||||||||||||
คุณสมบัติทั่วไป | |||||||||||||||||||||||||
ชื่อ สัญลักษณ์ และเลขอะตอม | ฮีเลียม, He, 2 | ||||||||||||||||||||||||
การออกเสียง | /ˈhiːliəm/ hee-lee-əm | ||||||||||||||||||||||||
อนุกรมเคมี | แก๊สมีตระกูล | ||||||||||||||||||||||||
หมู่ คาบและบล็อก | 18 (แก๊สมีตระกูล), 1, s | ||||||||||||||||||||||||
มวลอะตอมมาตรฐาน | 4.002602[1](2) | ||||||||||||||||||||||||
การจัดเรียงอิเล็กตรอน | 1s2 2 | ||||||||||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||||||||||
การตั้งชื่อ | ตาม เฮลิออสเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ของชาวกรีก | ||||||||||||||||||||||||
การค้นพบ | ปิแอร์ แจนส์เซน, นอร์แมน ล็อกเยอร์ (1868) | ||||||||||||||||||||||||
การแยกครั้งแรก | วิลเลียม แรมเซย์, เพอร์ ทีโอดอร์ คลีฟ, อับราฮัม แลงเล็ต (1895) | ||||||||||||||||||||||||
คุณสมบัติกายภาพ | |||||||||||||||||||||||||
สถานะ | แก๊ส | ||||||||||||||||||||||||
ความหนาแน่น | (0 °C, 101.325 kPa) 0.1786 g/L | ||||||||||||||||||||||||
ความหนาแน่นของเหลวที่จุดหลอมเหลว | 0.145 g·cm−3 | ||||||||||||||||||||||||
ความหนาแน่นของเหลวที่จุดเดือด | 0.125 g·cm−3 | ||||||||||||||||||||||||
จุดหลอมเหลว | (at 2.5 MPa) 0.95 K, −272.20 °C, −457.96 °F | ||||||||||||||||||||||||
จุดเดือด | 4.222 K, −268.928 °C, −452.070 °F | ||||||||||||||||||||||||
จุดร่วมสาม | 2.177 K, 5.043 kPa | ||||||||||||||||||||||||
จุดวิกฤต | 5.1953 K, 0.22746 MPa | ||||||||||||||||||||||||
ความร้อนของการหลอมเหลว | 0.0138 kJ·mol−1 | ||||||||||||||||||||||||
ความร้อนของการกลายเป็นไอ | 0.0829 kJ·mol−1 | ||||||||||||||||||||||||
ความจุความร้อนโมลาร์ | 5R/2 = 20.78[2] J·mol−1·K−1 | ||||||||||||||||||||||||
ความดันไอ (defined by ITS-90) | |||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||
คุณสมบัติอะตอม | |||||||||||||||||||||||||
สถานะออกซิเดชัน | 0 | ||||||||||||||||||||||||
อิเล็กโตรเนกาติวิตี | ไม่มีข้อมูล (Pauling scale) | ||||||||||||||||||||||||
พลังงานไอออไนเซชัน | ค่าที่ 1: 2372.3 kJ·mol−1 | ||||||||||||||||||||||||
ค่าที่ 2: 5250.5 kJ·mol−1 | |||||||||||||||||||||||||
รัศมีโควาเลนต์ | 28 pm | ||||||||||||||||||||||||
รัศมีวานเดอร์วาลส์ | 140 pm | ||||||||||||||||||||||||
จิปาถะ | |||||||||||||||||||||||||
โครงสร้างผลึก | เฮกซะโกนัลปิดบรรจุ | ||||||||||||||||||||||||
ความเป็นแม่เหล็ก | ไดอะแมกเนติก[3] | ||||||||||||||||||||||||
สภาพนำความร้อน | 0.1513 W·m−1·K−1 | ||||||||||||||||||||||||
ความเร็วเสียง | 972 m·s−1 | ||||||||||||||||||||||||
เลขทะเบียน CAS | 7440-59-7 | ||||||||||||||||||||||||
ไอโซโทปเสถียรที่สุด | |||||||||||||||||||||||||
บทความหลัก: ไอโซโทปของฮีเลียม | |||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||
อ้างอิง |
ประวัติการค้นพบ แก้ไข
มีการค้นพบฮีเลียม เมื่อ ค.ศ. 1868 ในบรรยากาศรอบดวงอาทิตย์ โดย โจเซฟ นอร์มัน ล็อกเยอร์ เขาได้ทำการทดลองโดยการส่องดวงอาทิตย์สังเกตเห็นเส้นสีเหลืองในสเปคตรัมของดวงอาทิตย์ ซึ่งไม่สอดคล้องกับธาตุใด ๆ ที่รู้จักกันบนโลก ล็อกเยอร์ ใช้คำศัพท์ภาษากรีกที่เรียกดวงอาทิตย์ (เฮลิออส : Helios) มาตั้งชื่อธาตุนี้ ว่า ฮีเลียม (Helium) นอกจากนี้ เซอร์ วิลเลียม แรมเซย์ ได้ค้นพบฮีเลียมบนโลก (ค.ศ. 1895) โดยเป็นส่วนประกอบที่อยู่ในแร่ยูเรนิไนท์ ซึ่งมีเส้นสเปกตรัมตรงกับที่สังเกตจากดวงอาทิตย์
ฮีเลียมที่มีอยู่ในเอกภพ มีมากเป็นอันดับสองรองจากไฮโดรเจน และมีปริมาณหนาแน่นในดาวฤกษ์ ซึ่งถูกสังเคราะห์ได้จากไฮโดรเจนนั่นเอง โดยอาศัยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น แม้ว่าฮีเลียมจะปรากฏในบรรยากาศของโลกเพียงหนึ่งส่วนใน 186,000 ส่วน (0.0005%) และมีปริมาณน้อยที่ปรากฏในแร่กัมมันตรังสี โลหะจากอุกกาบาต และน้ำพุแร่ และฮีเลียมปริมาณสูงพบได้ในฐานะส่วนประกอบ (มากถึง 7.6%) ในก๊าซธรรมชาติในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในรัฐเท็กซัส นิวเม็กซิโก แคนซัส โอคลาโฮมา แอริโซนา และยูทาห์ นอกจากนั้นพบใน อัลจีเรีย แคนาดา สหพันธรัฐรัสเซีย โปแลนด์ และกาตาร์
การนำไปใช้ประโยชน์ แก้ไข
- ก๊าซฮีเลียมมีความหนาแน่นที่ต่ำมาก จึงนำไปใช้บรรจุในบอลลูนและเรือเหาะแทนก๊าซไฮโดรเจนซึ่งติดไฟได้ ภายหลังจากการระเบิดของเรือเหาะฮินเดนบวร์กของเยอรมนี และทราบสาเหตุว่ามาจากการระเบิดของก๊าซไฮโดรเจน
- มีการนำก๊าซฮีเลียมไปผสมในอากาศสำหรับนักดำน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบนด์ (Bends)
- ฮีเลียมเหลว (ซึ่งมีอุณหภูมิ -269 องศาเซลเซียส) นำไปใช้เกี่ยวกับตัวนำยิ่งยวด (Superconductor)
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ Standard Atomic Weights 2013. Commission on Isotopic Abundances and Atomic Weights
- ↑ Shuen-Chen Hwang, Robert D. Lein, Daniel A. Morgan (2005). "Noble Gases". Kirk Othmer Encyclopedia of Chemical Technology. Wiley. pp. 343–383. doi:10.1002/0471238961.0701190508230114.a01.
- ↑ Magnetic susceptibility of the elements and inorganic compounds, in Handbook of Chemistry and Physics 81st edition, CRC press.
[[หมวดหมู่:แก๊สมีสกุล]