นอร์แมน ล็อกเยอร์

เซอร์ โจเซฟ นอร์แมน ล็อกเยอร์ (อังกฤษ: Joseph Norman Lockyer; 17 พฤษภาคม ค.ศ. 183616 สิงหาคม ค.ศ. 1920) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ เกิดที่เมืองรักบี้ หลังเรียนจบจากสวิตเซอร์แลนด์และฝรั่งเศส ล็อกเยอร์รับราชการที่สำนักการสงคราม[1] และย้ายไปที่เมืองวิมเบิลดันหลังแต่งงานกับวินิเฟรด เจมส์[2] ล็อกเยอร์เป็นนักดาราศาสตร์สมัครเล่นที่สนใจในดวงอาทิตย์ ในปี ค.ศ. 1868 เขาพบแถบสีเหลืองในสเปกตรัมใกล้ขอบดวงอาทิตย์ ซึ่งมีความยาวคลื่นประมาณ 588 นาโนเมตร ล็อกเยอร์สันนิษฐานว่าแถบสีเหลืองเกิดจากธาตุชนิดหนึ่ง เขาจึงร่วมกับนักเคมีชาวอังกฤษ เอ็ดเวิร์ด แฟรงค์แลนด์ ตั้งชื่อธาตุนี้ว่า "ฮีเลียม" โดยมาจากคำในภาษากรีกโบราณ hḗlios ที่แปลว่า "ดวงอาทิตย์" เมื่อเกิดสุริยุปราคาในปีเดียวกัน ปิแอร์ จองส์ชอง นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ศึกษาแถบสีเหลืองดังกล่าวและค้นพบธาตุฮีเลียมเช่นกัน ล็อกเยอร์และจองส์ชองจึงถือว่าเป็นผู้ค้นพบธาตุฮีเลียมร่วมกัน

โจเซฟ นอร์แมน ล็อกเยอร์
เกิด17 พฤษภาคม ค.ศ. 1836(1836-05-17)
รักบี้ วอริกเชียร์ อังกฤษ
เสียชีวิต16 สิงหาคม ค.ศ. 1920(1920-08-16) (84 ปี)
ซัลคัมบ์รีจิส เดวอน อังกฤษ
สัญชาติอังกฤษ
มีชื่อเสียงจากค้นพบธาตุฮีเลียม
ผู้ก่อตั้งนิตยสาร เนเจอร์
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาดาราศาสตร์
สถาบันที่ทำงานราชวิทยาลัยลอนดอน

ปีต่อมา ล็อกเยอร์ก่อตั้งนิตยสาร เนเจอร์ เพื่อใช้เผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์[3] เขาเป็นบรรณาธิการของนิตยสารจนกระทั่งเสียชีวิต

ต่อมาในปี ค.ศ. 1885 ล็อกเยอร์ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ในเซาท์เคนซิงตัน (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของราชวิทยาลัยลอนดอน) และดูแลหอดูดาวจนเกษียณในปี ค.ศ. 1913 เขาเสียชีวิตที่บ้านในเมืองซัลคัมบ์รีจิสในปี ค.ศ. 1920 ชื่อของล็อกเยอร์ได้รับการนำไปตั้งเป็นชื่อเกาะนอกชายฝั่งตะวันออกของเกาะเอลสเมียร์ ประเทศแคนาดา, แอ่งดวงจันทร์และแอ่งดาวอังคาร

อ้างอิง แก้

  1. Frost, Michael A. (2005). "J. Norman Lockyer: The Early Years". The Antiquarian Astronomer. Society for the History of Astronomy. 2: 21–26. Bibcode:2005AntAs...2...21F. สืบค้นเมื่อ 4 November 2015.
  2. Wilkins, George A. (2006). "The Lockyer Ladies". The Antiquarian Astronomer. Society for the History of Astronomy. 3: 101–106. Bibcode:2006AntAs...3..101W. สืบค้นเมื่อ 4 November 2015.
  3. Sir Norman Lockyer, บ.ก. (1880). Nature, Volume 21. Macmillan Journals Limited. p. 99. สืบค้นเมื่อ May 17, 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้