คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (อังกฤษ: Economic and Social Council หรือ ECOSOC)[1] เป็นหนึ่งใน 6 เสาหลักของสหประชาชาติ ประกอบด้วยตัวแทนจาก 54 ประเทศ ในแต่ละปี 18 ประเทศสมาชิกจะได้รับการเลือกตั้งโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ โดยมีวาระ 3 ปี
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม แห่งสหประชาชาติ | |
---|---|
ประวัติ | |
ก่อตั้ง | 26 มิถุนายน 1945 |
ผู้บริหาร | |
ประธาน | |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | ชาติแอฟริกา (14)
ชาติเอเชียแปซิฟิก (11)
ชาติยุโรปตะวันออก (6)
ชาติลาตินอเมริกาและแคริบเบียน (10)
ชาติยุโรปตะวันตกและชาติอื่น ๆ (13) |
ที่ประชุม | |
ห้องประชุมคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ | |
เว็บไซต์ | |
ecosoc |
คณะมนตรีนี้มีภาระหน้าที่ดั้งเดิมคือการช่วยเหลือประเทศที่ต่อต้านสงครามในยุโรปและเอเชีย แต่ปัจจุบัน ปัญหาของประเทศกำลังพัฒนาเป็นปัญหาใหญ่ ดังนั้น จึงหันมาทำหน้าที่ในการศึกษาประเด็นที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สังคม มนุษยธรรม วัฒนธรรม การศึกษา และเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทำงานประสานกับองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเหล่านี้
การตัดสินใจในเรื่องต่างๆจะถูกนำมาถกในที่ประชุมของคณะมนตรี ที่ซึ่งสมาชิกแต่ละประเทศมีอำนาจออกเสียงเพียงหนึ่งเสียงเท่านั้น และจากนั้นก็จะส่งความคิดเห็นไปยังสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่นๆของสหประชาชาติ อาทิ ร่วมในการคัดเลือกคณะกรรมการขององค์การชำนัญพิเศษต่างๆ ของสหประชาชาติ เช่น ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency : IAEA) เป็นต้น
อ้างอิง
แก้- ↑ "Home | Economic and Social Council". ecosoc.un.org.