จ๊กก๊ก
ฮั่น (漢; ค.ศ. 221–263) รู้จักกันในประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่า จ๊กก๊ก หรือ รัฐฉู่ (蜀漢 [ʂù xân] ( ฟังเสียง); มักเขียนสั้น ๆ ว่า ฉู่ 蜀; พินอิน: shŭ < จีนสมัยกลาง: *źjowk < จีนฮั่นตะวันออก: *dźok;[2]) หรือ จี้ฮั่น (季漢 "ฮั่นน้อย")[3] เพื่อแก้ความกำกวมจากราชวงศ์ฮั่นก่อนหน้า เป็นหนึ่งในสามรัฐหลักที่ต่อสู้รบแย่งชิงกันเพื่อครองอำนาจสูงสุดเหนือแผ่นดินจีนในยุคสมัยสามก๊ก (ค.ศ. 220 - ค.ศ. 280) รัฐแห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณรอบ ๆ ของฮั่นจง ซื่อชวน(เสฉวน) จุงกิง(ฉงชิ่ง) ยูนนาน กุ้ยโจว และทางตอนเหนือของกวางสี ซึ่งเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่เรียกกันว่า "ฉู่" ตามชื่อของรัฐฉู่ซึ่งเป็นรัฐอันเก่าแก่ในครั้งอดีตกาล ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์โดยประมาณนี้ด้วย อาณาเขตหลักยังใกล้เคียงกับอาณาจักรฮั่นของหลิวปัง ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของราชวงศ์ฮั่น
รัฐฉู่ 漢 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 221–ค.ศ. 263 | |||||||||
![]() ดินแดนจ๊กก๊ก (ชมพูอ่อน) ใน ค.ศ. 262 | |||||||||
เมืองหลวง | เฉิงตู | ||||||||
ภาษาทั่วไป | จีนเก่า จีนปา-ฉู่ | ||||||||
ศาสนา | ลัทธิเต๋า, ลัทธิขงจื๊อ, ศาสนาพื้นเมืองจีน | ||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||
จักรพรรดิ | |||||||||
• 221–223 | เล่าปี่ | ||||||||
• 223–263 | เล่าเสี้ยน | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคสามก๊ก | ||||||||
• ก่อตั้ง | ค.ศ. 221 | ||||||||
ค.ศ. 263 | |||||||||
ประชากร | |||||||||
• ค.ศ. 221[1] | 900,000 | ||||||||
• ค.ศ. 263[1] | 1,082,000 | ||||||||
สกุลเงิน | เหรียญจีน | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ประเทศจีน ประเทศพม่า |
จ๊กก๊ก | |||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 蜀漢 | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 蜀汉 | ||||||||||||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Shǔ Hàn | ||||||||||||||||||||||||
|
รัฐฉู่หรือจ๊กก๊กถูกก่อตั้งขึ้นโดยหลิว เป้ย์(เล่าปี่) จึงได้ตั้งชื่อรัฐมาจากเขาว่า "ฮั่น" ในขณะที่เขาได้ถือว่าตนเป็นผู้สืบทอดที่มีความชอบธรรมของราชวงศ์ฮั่น ในขณะที่คำนำหน้าว่า "ฉู่" ถูกใช้เป็นครั้งแรกโดยรัฐเฉาเว่ย์ที่เป็นคู่แข่งเพื่อทำลายความชอบธรรมในอำนาจอธิปไตยของรัฐฉู่ฮั่น ต่อมาเมื่อถูกเขียนไว้ในจดหมายเหตุสามก๊ก นักประวัติศาสตร์ Chen Shou ยังใช้คำนำหน้าว่า "ฉู่" เพื่ออธิบายถึงรัฐฮั่นของหลิว เป้ย์ เป็นคำนำหน้าทางภูมิศาสตร์เพื่อแบ่งแยกความแตกต่างจากรัฐอืน ๆ ที่มีชื่อ "ฮั่น" ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ของจีน
ประวัติ แก้ไข
จุดเริ่มต้นและสถาปนา แก้ไข
ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก หลิว เป้ย์(เล่าปี่) ขุนศึกและเป็นเชื้อพระวงศ์ที่เป็นพระญาติห่าง ๆ ของราชวงศ์ฮั่น ได้รวบรวมการสนับสนุนจากผู้ติดตามที่มีความสามารถจำนวนมากมาย ตามคำแนะนำของที่ปรึกษาของเขาอย่างจูเก่อ เลี่ยง(จูกัดเหลียง) และแผนหลงจงของจูเก่อ หลิว เป้ย์ได้พิชิตบางส่วนของจิงโจว (เกงจิ๋ว)(ครอบคลุมมณฑลหูเป่ยและหูหนานในยุคปัจจุบัน) ใน ค.ศ. 208 และ 209 ได้เข้ายึดครองอี้โจว(เอ๊กจิ๋ว) (ครอบคลุมมณฑลเสฉวนและฉงชิ่งในยุคปัจจุบัน) จากขุนศึกนามว่า หลิว จาง(เล่าเจี้ยง) ระหว่างปี ค.ศ. 212 และ ค.ศ. 214 และแย่งชิงการควบคุมพื้นที่ฮั่นจง(ฮันต๋ง) จากคู่ปรับของเขาอย่างเฉาเชา(โจโฉ) ใน ค.ศ. 219 ภายหลังจากนั้น หลิว เป้ยได้สถาปนาตนเองเป็น ฮันต๋งอ๋อง
จากดินแดนที่เขาได้รับมา หลิว เป้ย์ได้สร้างฐานะให้กับตัวเองในจีนในช่วงปีสุดท้ายของราชวงศ์ฮั่น อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 219 การเป็นพันธมิตรกันระหว่างหลิว เป้ย์และซุนเฉวียน(ซุนกวน) ได้พังทลายลง เมื่อซุนได้ส่งแม่ทัพของเขานามว่า หลู่ เหมิง(ลิบอง) เพื่อบุกครองจิงโจว หลิว เป้ย์ได้สูญเสียดินแดนของเขาในจิงโจวให้กับซุน เฉวียน กวน ยฺหวี่(กวนอู) ผู้คอยดูแลรักษาทรัพย์สินของหลิว เป้ย์ในจิงโจว ถูกจับกุมและประหารชีวิตโดยกองทัพซุนเฉวียนในเวลาต่อมา
เฉาเชาได้ถึงแก่กรรมใน ค.ศ. 220 และถูกสืบทอดโดยเฉา ผี บุตรชายคนโตของเขา ซึ่งได้บีบบังคีบให้จักรพรรดิเซี่ยนตี้ ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ฮั่น สละราชบัลลังก์ตามความพอใจของเขา เฉา ผีสถาปนารัฐเฉา เว่ย์ และประกาศแต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิ หลิว เป้ย์โต้แย้งการอ้างสิทธิ์ราชบัลลังก์ของเฉา ผีและประกาศสถาปนาตนเองเป็น "จักรพรรดิแห่งฮั่น"ใน ค.ศ. 221 แม้ว่าหลิว เป้ย์จะถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น แต่พระองค์ไม่ได้กล่าวอ้างว่าเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ มากกว่านั้น เขาได้มองว่า ฉู่ฮั่นเป็นความต่อเนื่องของราชวงศ์ฮั่น
เพื่อแบ่งแยกความแตกต่างจากรัฐออกจากรัฐอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเดียวกัน นักประวัติศาสตร์ๆได้เพิ่มตัวอักษรที่มีความเกี่ยวข้องกับชื่อเดิมของรัฐ: รัฐที่เรียกตัวเองว่า ฮั่น(漢) ยังคงเป็นที่รู้จักกันคือ "ฉู่ฮั่น"(蜀漢) หรือเพียงแค่ "ฉู่"(蜀)
รัชสมัยของหลิว เป้ย์ แก้ไข
หลิว เป้ย์ปกครองในฐานะจักรพรรดิเป็นเวลาน้อยกว่าสามปี ใน ค.ศ. 222 พระองค์ริเริ่มการทัพปะทะกับซุนเฉวียนเพื่อยึดจิงโจวกลับคืนและล้างแค้นให้กับกวน ยฺหวี่ จนมาถึงจุดสุดยอดในยุทธการที่เสี่ยวถิง(อิเหลง) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากดำเนินทางยุทธวิธีที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง หลิว เป้ย์ต้องประสบความปราชัยอย่างย่อยยับด้วยน้ำมือของแม่ทัพของซุนเฉวียนนามว่า หลู่ ซฺวิ่น(ลกซุน) และสูญเสียกองทัพส่วนใหญ่ไป พระองค์ทรงรอดชีวิตจากการสู้รบและล่าถอยไปยังไป๋ตี้เฉิง(เป๊กเต้เสีย) ที่ซึ่งพระองค์ทรงสวรรคตด้วยอาการประชวรในอีกหนึ่งปีต่อมา
รัชสมัยของหลิว ส้าน แก้ไข
ก่อนที่หลิว เป้ย์จะทรงสวรรคต พระองค์ได้แต่งตั้งให้อัครมหาเสนาบดี จูเก่อ เลี่ยงและแม่ทัพทหารนามว่า ลิหยัน(ลิเงียม) ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้กับจักรพรรดิหลิว ส้าน(เล่าเสี้ยน) ราชโอรสองค์โตของพระองค์ หลิว ส้านซึ่งอยู่ในวัยพระเยาว์ด้วยพระชนมายุเพียง 16 พรรษา ทำให้พระองค์กลายเป็นผู้ปกครองที่มีอายุน้อยที่สุดในอาณาจักรสามก๊ก และหลิว เป้ย์ทรงคาดหวังกับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทั้งสองคนคอยช่วยเหลือหลิว ส้านในการบริหารดูแลกิจการของรัฐ จูเก่อ เลี่ยงเป็นหัวหน้าของรัฐบาลฉู่โดยพฤกตินัยในช่วงตลอดรัชสมัยของหลิว ส้าน และเป็นผู้รับผิดชอบในนโยบายส่วนใหญ่ของฉู่ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่ง
เมื่อหลิว ส้านได้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระบิดาของพระองค์ ฉู่เป็นรัฐที่อ่อนแอมากที่สุดในสามก๊ก ภายหลังจากพระบิดาได้พบความปราชัยใน ค.ศ. 221 ส่วนหนึ่งของจิงโจวที่ฉู่ได้ครอบครองไว้ก่อนหน้านี้ซึ่งได้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐอู๋(ง่อก๊ก) อย่างมั่นคง ฉู่ได้รวบรวมเพียงแค่ดินแดนทางตะวันตกของอี้โจว ในขณะที่เว่ย์ได้ครอบครองดินแดนทางเหนือไว้ทั้งหมด และอู๋ได้ควบคุมดินแดนทั้งหมดจากตะวันออกของอี้โจวไปจนถึงแนวชายฝั่งทางใต้และตะวันออก ในขณะเดียวกัน ประชากรของรัฐฉู่ก็มีไม่มากพอที่จะยืนหยัดต้านทานรัฐเว่ย์ที่เป็นศัตรู ด้วยการที่รัฐฉู่มีจำกัดในด้านทรัพยากรและกำลังคน แม้ว่ารัฐนั้นจะสามารถป้องกันตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ฉู่ก็ไม่สามารถเปิดฉากการทัพที่ประสบความสำเร็จได้อย่างง่ายดาย ด้วยเหตุนี้ จูเก่อ เลี่ยงได้ตกลงเจราจาเพื่อสันติภาพกับรัฐอู๋แและรื้อฟื้นความเป็นพันธมิตรกันระหว่างซุนเฉวียนและฉู่ โดยในอดีตยังได้รับรู้ถึงความชอบธรรมของซุนเฉวียน เมื่อตอนหลังได้แตกหักกับเว่ย์ และประกาศตั้งตนเป็น "จักรพรรดิแห่งอู๋" ใน ค.ศ. 229 เพื่อเสริมสร้างอำนาจของรัฐฉู่ฮั่นในพื้นที่ทางใต้อันห่างไกลของลำเจี๋ยง(Nan Zhang) จูเก่อ เลี่ยงยังได้เปิดฉากด้วยกองทัพรบนอกประเทศใน ค.ศ. 225 เพื่อปราบปรามการก่อกบฎในท้องถิ่นและอิทธิพลที่เพิ่มมากขึ้นของชนเผ่าม่านใต้(Nanman) ในภูมิภาค
จูเก่อ เลี่ยงได้สนับสนุนนโยบายการต่างประเทศอย่างก้าวร้าวต่อรัฐเว่ย์ เพราะเขามีความเชื่ออย่างยิ่งว่ามีความสำคัญต่อความอยู่รอดของรัฐฉู่และอำนาจอธิปไตย ระหว่างปี ค.ศ. 228 และ ค.ศ. 234 เขาได้เปิดฉากชุดของการทัพทางทหารห้าครั้งปะทะกับเว่ย์ โดยมีเป้าหมายเพื่อพิชิตเมืองฉางอาน เมืองทางยุทธศาสตร์ซึ่งตั้งอยู่บนถนนสู่เมืองหลวงของเว่ย์คือ ลั่วหยาง การสู้รบส่วนใหญ่เกิดขึ้นในมณฑลกานซู่และส่านซีในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ยังได้เจียงเหวย(เกียงอุย) มาเป็นขุนพลฝ่ายตนใน ค.ศ. 228 รัฐฉู่ได้ล้มเหลวในการได้รับชัยชนะที่สำคัญหรือผลประโยชน์ที่ยั่งยืนในการทัพห้าครั้ง ในช่วงการทัพครั้งสุดท้ายของเขาซึ่งได้ต่อสู้รบกับแม่ทัพฝ่ายเว่ย์นามว่า ซือหม่าอี้(สุมาอี้) ซึ่งมีความเก่งกาจเทียบเท่าและเป็นคู่ปรับตัวฉกาจ และจูเก่อ เลี่ยงต้องเสียชีวิตลงจากการล้มป่วยซึ่งเกิดขึ้นมาจากความตึงเครียดด้วยหนทางตันที่ยาวนานกับกองทัพเว่ย์ในยุทธการที่ทุ่งราบอู่จั้ง
ภายหลังการเสียชีวิตของจูเก่อ เลี่ยง รัฐบาลฉู่ได้อยู่ภายใต้การนำโดยเจียง ว่าน(เจียวอ้วน) เฟย ยี่(บิฮุย) และคนอื่น ๆ และรัฐฉู่ได้ยุติความก้าวร้าวต่อเว่ย์เป็นการชั่วคราว ใน ค.ศ. 244 ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของเว่ย์ เฉา ซวง(โจซอง) ได้เปิดฉากการบุกครองฮั่นจง แม้ว่าจะมีจำนวนมากกว่า 2 ต่อ 1 แต่กองกำลังของฉู่สามารถเอาชนะผู้รุกรานในยุทธการที่เซียงชิ โดยกองทัพเว่ย์ต้องล่าถอยกลับไปอย่างอับอายขายหน้า ระหว่าง ค.ศ. 247 และ ค.ศ. 262 เจียงเหวย ขุนพลฝ่ายฉู่ได้กลับมาสืบทอดมรดกตกทอดของจูเก่อ เลี่ยง โดยนำชุดของการทัพทางทหารปะทะกับเว่ย์ แต่ก็ยังล้มเหลวในการได้รับอาณาเขตอย่างมีนัยสำคัญ
การล่มสลายของจ๊กก๊ก แก้ไข
ใน ค.ศ. 263 กองทัพที่นำโดยขุนพลฝ่ายเว่ย์นามว่า เติ้งอ้าย(เตงงาย) และจงหุ้ย(จงโฮย) ได้เข้าโจมตีรัฐฉู่ และพิชิตเฉิงตูที่เป็นเมืองหลวง โดยปราศจากขัดขืนต่อต้านที่มีไม่มากนัก - รัฐได้ประสบความอ่อนล้าในการทัพที่โชคร้ายของเจียงเหวย ในปีเดียวกัน หลิว ส้านก็ได้ยอมจำนนต่อเติ้งอ้ายที่นอกเมืองเฉิงตู ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของรัฐฉู่ แต่เจียงเหวยได้พยายามยุยงปลุกปั่นความขัดแย้งระหว่างเติ้งอ้ายและจงหุ้ย โดยคาดหวังว่าจะใช้ประโยชน์จากสถานการณ์นี้เพื่อฟื้นฟูรัฐฉู่ขึ้นมาใหม่ จงหุ้ยได้จับกุมเติ้งอ้ายและก่อกบฏต่อผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของเว่ย์คือ ซือหม่าเจา(สุมาเจียว) อย่างเปิดเผย แต่การก่อกบฏได้ถูกปราบปรามโดยกองกำลังทหารเว่ย์ เจียงเหวย จงหุ้ย และเติ้งอ้ายได้ถูกสังหารในการสู้รบ
ส่วนหลิว ส้านได้ถูกนำพาตัวไปยังลั่วหยาง ซึ่งที่นั่นได้พบกับซือหม่าเจา และได้รับตำแหน่งเป็น "อันเล่อซือกง" พระองค์ได้ใช้ชีวิตอย่างสุขสบายและสงบสุขในลั่วหยางจวบจนถึงวาระสุดท้ายพระชนม์ชีพของพระองค์
เศรษฐกิจ แก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รายพระนามกษัตริย์ แก้ไข
ชื่อวัด | พระราชสมัญญานาม | แซ่ (ตัวหนา) และชื่อตัว | ครองราชย์ (ค.ศ.) | ชื่อรัชศกและช่วงเวลา (ค.ศ.) | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
(-) | จักรพรรดิจ้าวลี่
昭烈皇帝 |
เล่าปี่(หลิว เป้ย์)
劉備 |
ค.ศ. 221 - ค.ศ. 223 | Zhangwu
章武 (221–223) |
หลิว เป้ย์ยังถูกเรียกว่า "จักรพรรดิองค์สุดท้าย"(先帝)ในตำราประวัติศาสตร์บางเล่ม |
(-) | จักรพรรดิเซี่ยวหวย
太皇帝 |
เล่าเสี้ยน(หลิว ส้าน)
曹嵩 |
ค.ศ. 223 - ค.ศ. 263 | (-) | หลิว ส้านได้รับตำแหน่งเป็น อันเล่อซือกง (安樂思公) ภายหลังสิ้นพระชนม์โดยราชวงศ์จิ้น ต่อมาพระองค์ได้รับการเคารพนับถือหลังสิ้นพระชนม์ในฐานะ "จักรพรรดิเซี่ยวหวย"(孝懷皇帝) โดยหลิว หยวน ผู้ก่อตั้งรัฐฮั่นจ้าวแห่งยุคสิบหกรัฐ พระองค์ยังถูกเรียกว่า "ขุนนางคนสุดท้าย" (後主) ในตำราประวัติศาสตร์บางเล่ม |
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 Zou Jiwan (จีน: 鄒紀萬), Zhongguo Tongshi – Weijin Nanbeichao Shi 中國通史·魏晉南北朝史, (1992).
- ↑ Schuessler, Axel. (2009) Minimal Old Chinese and Later Han Chinese. Honolulu: University of Hawai'i. 157
- ↑ Chen Shou, Records of the Three Kingdoms, "Book of Shu: Accounts of Deng, Zhang, Zong, & Yang", section Yang Xi: quote: "戲以延熙四年著《季漢輔臣贊》"; translation: "[Yang] Xi, in the fourth year of Yanxi era [241 CE], composed 'Praises for the Supportive Ministers of Ji Han.'"