ง่อก๊ก
อู๋ (จีน: 吳; พินอิน: Wú; จีนสมัยกลาง *ŋuo < จีนฮั่นตะวันออก: *ŋuɑ[5]) รู้จักกันโดยทั่วไปว่า ตงอู๋ (อู๋ตะวันออก) หรือ ง่อก๊ก เป็นรัฐหนึ่งในยุคสามก๊ก ซุนกวนเป็นผู้ปกครองในระหว่างปี พ.ศ. 765 — พ.ศ. 823 (ปี ค.ศ. 222 — 280) ครอบคลุมพื้นที่ทางด้านตะวันออกของประเทศจีน ทางบริเวณตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี ซึ่งคือพื้นที่บริเวณรอบ ๆ เมืองหนานจิงในปัจจุบัน มีพระมหากษัตริย์สืบต่อกันมาทั้งหมด 4 พระองค์ ได้แก่[6]
- ซุนกวน ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 765 - 795
- ซุนเหลียง ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 795 - 801
- ซุนฮิว ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 801 - 807
- ซุนโฮ ปกครองง่อก๊กในระหว่างปี พ.ศ. 807 - 823
รัฐอู๋ 吳 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 222–ค.ศ. 280[1] | |||||||||
ดินแดนของง่อก๊ก (ในสีเขียวอมเทาอ่อน) ใน ค.ศ. 262 | |||||||||
เมืองหลวง | เอ่โจว (222–229, 265–266) เจี้ยนเย่ (229–265, 266–280) | ||||||||
ภาษาทั่วไป | จีน | ||||||||
ศาสนา | ลัทธิเต๋า, ลัทธิขงจื๊อ, ศาสนาพื้นเมืองจีน | ||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||
กษัตริย์ (ค.ศ. 222–229) จักรพรรดิ (ค.ศ. 229–280) | |||||||||
• 222–252 | ซุนกวน | ||||||||
• 252–258 | ซุนเหลียง | ||||||||
• 258–264 | ซุนฮิว | ||||||||
• 264–280 | ซุนโฮ | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคสามก๊ก | ||||||||
• เป็นเอกราชจากวุยก๊ก | ค.ศ. 222 | ||||||||
• ซุนกวนประกาศตนเองเป็นจักรพรรดิ | ค.ศ. 229 | ||||||||
31 พฤษภาคม ค.ศ. 280[1] | |||||||||
ประชากร | |||||||||
• 238[2] | 2,567,000 (กำกวม) | ||||||||
• 280[2] | 2,535,000 (กำกวม) | ||||||||
สกุลเงิน | เหรียญจีน | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | จีน ฮ่องกง มาเก๊า เวียดนาม | ||||||||
ง่อก๊ก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 東吳 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 东吴 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Dōng Wú | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ซุนอู๋ | |||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 孫吳 | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 孙吴 | ||||||||||||||||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Sūn Wú | ||||||||||||||||||||||||||||
|
ง่อก๊กเป็นอาณาจักรสุดท้ายในบรรดาอาณาจักรสามก๊กที่ล่มสลายโดยกองทัพของพระเจ้าสุมาเอี๋ยนแห่งราชวงศ์จิ้น ง่อก๊กเป็นก๊กที่อยู่ได้นานที่สุดในยุคสามก๊ก
ประวัติ
แก้จุดเริ่มต้นและสถาปนา
แก้ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซุนเซอะ(ซุนเซ็ก) บุตรชายคนโตของขุนศึกนามว่า ซุนเจียน(ซุนเกี๋ยน) และขุนพลผู้ติดตามของเขาได้ยืมทหารจากขุนศึกนามว่า หยวนซู่(อ้วนสุด) และเริ่มดำเนินการในชุดของการพิชิตทางทหารในเจียงต๋งและภูมิภาคอู๋ ระหว่างปี ค.ศ. 194 และ ค.ศ. 199 ได้เข้ายึดครองดินแดนหลายแห่งที่เคยถูกครอบครองโดยขุนศึกอื่น ๆ เช่น หลิวอิ๋ว(เล่าอิ้ว) หยัน ไป๋หู่(เงียมแปะฮอ) และหวัง หลาง(อองลอง) ซุนเซอะได้ตัดขาดความสัมพันธ์กับหยวนซู่ราวปี ค.ศ. 196-197 ภายหลังจากอีกฝ่ายได้ประกาศตั้งตนเป็นจักรพรรดิ ซึ่งเป็นการกระทำที่ถือว่าเป็นกบฎต่อจักรพรรดิเซี่ยน ประมุขเพียงแต่ในนามของราชวงศ์ฮั่น ขุนศึกนามว่า เฉาเชา(โจโฉ) ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลโดยพฤตินัยในราชสำนักฮั่น ได้ร้องขอให้จักรพรรดิเซี่ยนพระราชทานตำแหน่งยศศักดิ์ "อู๋โหว"(吳侯) แก่ซุนเซอะ
ซุนเซอะได้ถูกลอบสังหารในช่วงฤดูร้อน ปี ค.ศ. 200 และสืบทอดต่อโดยน้องชายคนเล็กของเขาอย่างซุนเฉวียน(ซุนกวน) ซุนเฉวียนได้ปฏิบัติตามพี่ชายคนโต ด้วยการแสดงความจงรักภักดีต่อจักรพรรดิเซี่ยน ในขณะที่ตัวเขาเองยังคงปกครองด้วยตนเองเหนือดินแดนอู๋ ใน ค.ศ. 208 ซุนเฉวียนได้เป็นพันธมิตรกับขุนศึกนามว่า หลิว เป้ย์(เล่าปี่) และพวกเขารวมผนึกกำลังกันเพื่อเอาชนะเฉาเชาในยุทธการที่ผาแดง ซุนเฉวียนและหลิว เป้ย์ยังคงเป็นพันธมิตรกันในการต่อต้านเฉาเชา ภายหลังการสู้รบในอีกสิบปีต่อมา แม้ว่าจะมีข้อพิพาทดินแดนในจิงโจว(เกงจิ๋ว) ใน ค.ศ. 219 ซุนเฉวียนได้ตัดความสัมพันธ์กับหลิว เป้ย์ เมื่อเขาได้ส่งขุนพลของตนนามว่า หลู่ เหมิง(ลิบอง) เข้าบุกครองดินแดนของหลิวในจิงโจว กวน ยฺหวี่(กวนอู) ผู้คอยดูแลรักษาทรัพย์สมบัติของหลิว เป้ย์ในจิงโจว ถูกจับกุมและประหารชีวิตโดยกองทัพซุนเฉวียนในเวลาต่อมา ภายหลังจากนั้น อาณาเขตของแว่นแคว้นของซุนเฉวียนได้ขยายออกไปจากภูมิภาคเจียงตงไปจนถึงทางตอนใต้ของจิงโจว ซึ่งครอบคลุมทั่วบริเวณมณฑลหูหนานในยุคปัจจุบันและบางส่วนของมณฑลหูเป่ย์
ในปี ค.ศ. 220 บุตรชายคนโตและทายาทผู้สืบทอดของเฉาเชาอย่างเฉา ผี(โจผี) ได้โค่นล้มราชวงศ์ฮั่นโดยบีบบังคับให้จักรพรรดิเซี่ยนสละราชบัลลังก์ตามอำเภอใจของตนและสถาปนารัฐเฉาเว่ย์(วุยก๊ก) ซุนเฉวียนตกลงที่จะยอมสวามิภักดิ์ต่อเว่ย์และได้รับตำแหน่งยศศักดิ์เป็น "อู๋อ๋อง"(吳王) โดยเฉา ผี อีกปีต่อมา หลิว เป้ย์ได้ประกาศตั้งตนเองเป็นจักรพรรดิและสถาปนารัฐฉู่ฮั่น(จ๊กก๊ก) ใน ค.ศ. 222 หลิว เป้ย์ได้เปิดฉากการทัพเข้าโจมตีซุนเฉวียนเพื่อยึดครองจิงโจวกลับคืนและล้างแค้นให้กับกวน ยฺหวี่ ซึ่งนำไปสู่ยุทธการที่เสี่ยวถิง(อิเหลง) อย่างไรก็ตาม หลิว เป้ย์ได้พบกับความปราชัยอย่างย่อยยับด้วยน้ำมือของขุนพลของซุนเฉวียนนามว่า หลู่ ซฺวิ่น(ลกซุน) และถูกบีบบังคับให้ล่าถอยไปยังไป๋ตี้เฉิง(เป๊กเต้เสีย) ที่ซึ่งพระองค์ทรงสวรรคตในปีต่อมา
หลิว ส้าน(เล่าเสี้ยน) ทายาทของหลิว เป้ย์ และผู้สำเร็จราชการ จูเก่อ เลี่ยง(จูกัดเหลียง) ได้เจรจาทำข้อตกลงสันติภาพกับซุนเฉวียนในเวลาต่อมา และรื้อฟื้นความสัมพันธ์การเป็นพันธมิตรของพวกเขาก่อนหน้านี้ ซุนเฉวียนได้ประกาศอิสรภาพจากรัฐเว่ย์ใน ค.ศ. 222 แต่ยังครองตำแหน่งยศศักดิ์เป็น "อู๋อ๋อง" จนกระทั่งปี ค.ศ. 229 เมื่อเขาได้ได้ประกาศตั้งตนเองเป็น "จักรพรรดิแห่งอู๋" ด้วยความชอบธรรมของเขาซึ่งได้รับการยอมรับจากรัฐฉู่
เพื่อแบ่งแยกความแตกต่างของรัฐอื่น ๆ ในประวัติศาสร์ของจีนที่มีชื่อเดียวกัน นักประวัติศาสตร์ได้เพิ่มตัวอักษรที่เกี่ยวข้องกับชื่อเดิมของรัฐ: รัฐที่เรียกตัวเองว่า "อู๋"(吳) ยังเป็นที่รู้จักกันคือ "อู๋ตะวันออก"(東吳; Dōng Wú) หรือ "ซุนอู๋"(孫吳)
รัชสมัยของซุนเฉวียน
แก้ซุนเฉวียนปกครองเป็นเวลากว่าสามสิบปีและรัชสมัยทีมีมายาวนานของพระองค์ส่งผลทำให้เกิดความมั่นคงในทางตอนใต้ของจีน ในช่วงรัชสมัยของพระองค์ อู๋ได้ทำสงครามกับเว่ย์ในสงครามมากมาย รวมทั้งในยุทธการที่หรู่ซู (ค.ศ. 222-223) ชิถิง (ค.ศ. 228) และเหอเฟย (ค.ศ. 234) อย่างไรก็ตาม อู๋ไม่เคยได้รับดินแดนใด ๆ เพิ่มเติมจากทางเหนือของแม่น้ำแยงซี ในขณะที่เว่ย์ยังไม่ประสบความสำเร็จในการพิชิตดินแดนทางใต้ของแม่น้ำแยงซี
การต่อสู้แย่งชิงราชสมบัติได้เกิดขึ้นระหว่างเหล่าบรรดาราชโอรสของซุนเฉวียนในช่วงหลังของรัชสมัยของพระองค์—ซุนเฉวียนได้แต่งตั้งให้ซุนเหอ(ซุนโห) เป็นองค์รัชทายาทใน ค.ศ. 242 ภายหลังจากที่องค์รัชทายาทคนก่อนคือ ซุนเต๋ง ได้สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 214 แต่ในไม่ช้าซุนเหอก็ต้องเข้าไปพัวพันกับการแย่งชิงราชสมบัติกับซุนบา(ซุนป๋า) ผู้เป็นพระอนุชาของพระองค์ ด้วยความขัดแย้งครั้งนี้ได้ส่งผลทำให้เกิดการแบ่งแยกออกมาเป็นสองฝ่ายที่เป็นคู่แข่งกัน โดยแต่ละฝ่ายจะให้การสนับสนุนแก่ซุนเหอหรือซุนบาภายในราชสำนักของซุนเฉวียน จนในที่สุด ซุนเฉวียนได้สั่งปลดซุนเหอออกจากตำแหน่งและบีบบังคับให้ซุนบาฆ่าตัวตาย ในขณะที่หลู่ ซฺวิ่นและรัฐมนตรีคนอื่น ๆ อีกหลายคนซึ่งได้เข้าข้างให้กับซุนเหอหรือซุนบาในการต่อสู้แย่งชิงราชสมบัติก็ต้องพบกับจุดจบที่ไม่ดีนัก ซุนเฉวียนได้แต่งตั้งให้ซุนเหลียง โอรสคนเล็กของพระองค์เป็นองค์รัชทายาท ภายหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว
รัชสมัยของซุนเหลียงและซุนฮิว
แก้ซุนเฉวียนทรงสวรรคตใน ค.ศ. 252 และสืบราชสมบัติโดยซุนเหลียง พร้อมจูเก๋อเค๋อ(จูกัดเก๊ก)และซุนจวิ้น(ซุนจุ๋น) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ใน ค.ศ. 253 จูเก๋อเค๋อได้ถูกสังหารในการก่อรัฐประหารโดยซุนจวิ้น และอำนาจรัฐของอู๋ได้ตกอยู่เงื้อมมือของซุนจวิ้นและถูกส่งต่อไปให้กับซุนเฉิน(ซุนหลิม) ลูกพี่ลูกน้องของเขา หลังจากที่เขาเสียชีวิต ในช่วงรัชสมัยของซุนเหลียง มีการก่อกบฏสองครั้งที่เกิดขึ้นในกองทหารรักษาการณ์เว่ย์ในโชชุน(บริเวณรอบเทศมณฑลโชว มณฑลอานฮุย) ใน ค.ศ. 255 และ ค.ศ. 257-258 ซุนจวิ้นและซุนเฉินได้นำกำลังทหารอู๋เพื่อให้การสนับสนุนแก่การก่อกบฏครั้งแรกและครั้งที่สองตามลำดับ โดยคาดหวังว่าจะได้รับดินแดนเพิ่มเติมในรัฐเว่ย์ แต่การก่อจลาจลสองครั้งได้ถูกปราบปรามและกองกำลังทหารอู๋ได้ล่าถอยภายหลังจากได้ประสบความสูญเสียหลายครั้ง
ซุนเหลียงได้ถูกปลดออกจากราชบัลลังก์ใน ค.ศ. 258 โดยซุนเฉิน ต่อมาได้สถาปนาซุนซิ่ว(ซุนฮิว) ราชโอรสอีกองค์ของซุนเฉวียนในการสืบราชบัลลังก์ แต่ซุนเฉินกลับถูกโค่นล้มอำนาจจากการก่อรัฐประหารของซุนซิ่วโดยมีจางปู้(เตียวเป๋า)และติงเฟง(เตงฮอง) คอยช่วยเหลือและถูกประหารชีวิตในเวลาต่อมา
การล่มสลายของง่อก๊ก
แก้ซุนซิ่วทรงสวรรคตจากการประชวรใน ค.ศ. 264 หนึ่งปีหลังรัฐเว่ย์พิชิตรัฐฉู่ ในช่วงเวลานั้น อู๋ได้ประสบกับความยุ่งเหยิงจากภายในเพราะเกิดการก่อกบฏขึ้นในเจียวจี(交趾) ในตอนใต้ รัฐมนตรี ผู่หยังซิ่ง Wan Yu(บั้นเฮ็ก) และ Zhang Bu(เตียวเป๋า) ได้ตัดสินใจสถาปนาโอรสของซุนเหอคือ ซุนเฮ้า(ซุนโฮ) ขึ้นครองราชบัลลังก์
ในช่วงตอนต้นของรัชสมัยซุนเฮ้า จักรพรรดิได้ลดภาษี บรรเทาทุกข์แก่คนยากจน และให้เสรีภาพแก่สตรีนางกำนัลในวังจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ซุนเฮ้าได้ประพฤติความโหดเหี้ยมและเชื่อเรื่องไสยศาสตร์มากขึ้นและมัวเมาในสุรานารี แทนที่จะหาทางฟื้นฟูรัฐที่เสื่อมโทรม การปกครองแบบทรราชย์ของซุนเฮ้าทำให้ประชาชนเกิดความโกรธแค้นและชิงชังต่อพระองค์อย่างกว้างขวางในอู๋ แต่เนื่องจากความพยายามของเจ้าหน้าที่ เช่น Lu Kai(ลิคิ) และ Lu Kang(ลกข้อง) ซึ่งอู๋สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและสงบสุข
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 226 ซื่อหม่า หย่าน(สุมาเอี๋ยน)ได้โค่นล้มราชวงศ์เว่ย์โดยบีบบังคับเฉา ฮวั่น(โจฮวน) จักรพรรดิองค์สุดท้ายให้สละราชบัลลังก์ตามอำเภอใจของตน และจากนั้นก็สถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นมา ในปี ค.ศ. 279 กองทัพจิ้นที่นำโดย Du Yu(เตาอี้) Wang Jun(องโยย) และคนอื่น ๆ ได้เข้าโจมตีอู๋จากหกทิศทาง ซุนเฮ้าได้พยายามต้านทานโดยส่งกองทัพของพระองค์เข้าต่อสู้รบกับจิ้นผู้รุกราน แต่กองทัพอู๋ก็ต้องพบความปราชัยหลายครัั้งติดต่อกัน และแม้แต่อัครมหาเสนาบีแห่งอู๋ Zhang Ti(เตียวเต๊ก) ก็เสียชีวิตในการรบ เมื่อเห็นว่ารัฐอู๋ถึงคราวล่มสลายแล้ว ซุนเฮ้าได้ยอมจำนนต่อราชวงศ์จิ้น เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 280 เป็นจุดสิ้นสุดของรัฐอู๋และจุดสิ้นสุดของยุคสมัยสามก๊ก
รัฐบาลและการทหาร
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พงศาวลีง่อก๊ก
แก้ง่อก๊ก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Dardess, John W (10 September 2010). "The Three Kingdoms, 221-264". Governing China, 150-1850. Indianapolis: Hackett Pub. Co. p. 7. ISBN 978-1603844475.
Weakened by internal strife, horrific palace murders, and major defections to the enemy, the last Wu emperor surrendered on 31 May 280, and his realm was annexed to the Jin.
- ↑ 2.0 2.1 Zou Jiwan (จีน: 鄒紀萬), Zhongguo Tongshi - Weijin Nanbeichao Shi 中國通史·魏晉南北朝史, (1992).
- ↑ Tanner, Harold M. (13 March 2009). "Chapter 5: The Age of Warriors and Buddhists". China: A History. Hackett Publishing. p. 142.
When it was established, Wu had only one-sixth of the population of the Eastern Han Empire (Cao Wei held over two-thirds of the Han population).
- ↑ Bertrand Russell (1922). Problem of China. London: George Allen & Unwin.
- ↑ Schuessler, Axel. (2009) Minimal Old Chinese and Later Han Chinese. Honolulu: University of Hawai'i. p. 52
- ↑ ราชวงศ์ซุน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550, หน้า 58
บรรณานุกรม
แก้- de Crespigny, Rafe (2004) [1990]. "Empire in the South". Generals of the South: The Foundation and Early History of the Three Kingdoms State of Wu. Internet. Canberra, ACT: Faculty of Asian Studies, The Australian National University. ISBN 0731509013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2016.
- Taylor, Jay (1983), The Birth of the Vietnamese, University of California Press