ซุนเต๋ง
ซุนเต๋ง (ค.ศ. 209 – พฤษภาคมหรือมิถุนายน ค.ศ. 241)[b] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ซุน เติง (จีน: 孫登; พินอิน: Sūn Dēng) ชื่อรอง จื่อเกา (จีน: 子高; พินอิน: Zǐgāo) เป็นเจ้าชายของรัฐง่อก๊กในยุคสามก๊กของจีน เป็นโอรสองค์โตของซุนกวนจักรพรรดิผู้ก่อตั้งง่อก๊ก ซุนเต๋งดำรงตำแหน่งรัชทายาทแห่งง่อก๊กตั้งแต่ ค.ศ. 229 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 241
ซุนเต๋ง (ซุน เติง) 孫登 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รัชทายาทแห่งง่อก๊ก | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง | 23 พฤษภาคม ค.ศ.229[a] – พฤษภาคมหรือมิถุนายน ค.ศ. 241 | ||||||||
ถัดไป | ซุนโฮ | ||||||||
ประสูติ | ค.ศ. 209 | ||||||||
สวรรคต | พฤษภาคมหรือมิถุนายน ค.ศ. 241 (32 ปี)[b] | ||||||||
คู่อภิเษก | โจวเฟย์ (บุตรสาวของจิวยี่) รุ่ยเฟย์ | ||||||||
พระราชบุตร |
| ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ซุน | ||||||||
พระราชบิดา | ซุนกวน |
วัยเยาว์
แก้ซุนเต๋งเป็นบุตรชายคนโตของซุนกวน[3] จักรพรรดิผู้ก่อตั้งรัฐง่อก๊ก ซุนเต๋งเกิดจากมารดาที่มีสถานะต่ำ และได้รับการเลี้ยงดูตั้งแต่เด็กโดยซีฮูหยิน ภรรยาคนที่ 2 ของซุนกวน
เมื่อโจผีจักรพรรดิแห่งรัฐวุยก๊กแต่งตั้งซุนกวนให้เป็นเงาอ๋อง (吳王 อู๋หวาง) หรืออ๋องแห่งง่อในปี ค.ศ. 221 ซุนกวนตั้งให้ซุนเต๋งมีบรรดาศักดิ์ว่านฮู่โหว (萬戶侯) มีศักดินาหนึ่งหมื่นครัวเรือน และตั้งมีตำแหน่งขุนพลราชองครักษ์ตะวันออก (東中郎將 ตงจงหลางเจี้ยง) แต่ซุนเต๋งปฏิเสธตำแหน่งโดยอ้างว่าป่วย[4] ในปีเดียวกันซุนเต๋งตั้งให้ซุนเต๋งเป็นรัชทายาท[5] เมื่อโจผีมีรับสั่งให้ซุนกวนส่งตัวซุนเต๋งไปยังลกเอี๋ยงนครหลวงของวุยก๊กเพื่อไปเป็นตัวประกันความภักดีของซุนกวน แต่ซุนกวนปฏิเสธและประกาศตนเป็นอิสระ
พระประวัติและสิ้นพระชนม์
แก้มีบันทึกว่าซุนเต๋งเป็นผู้ทั้งฉลาดและมีคุณธรรม มีความสามารถทุกอย่างเช่นบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ซุนกวนทรงมอบหมายให้จูกัดเก๊ก (諸葛恪 จูเก่อ เค่อ), กู้ ถาน (顧譚), เตียวหิว (張休 จาง ซิว), เฉิน เปี่ยว (陳表)[6] และคนอื่น ๆ ให้ทำหน้าที่เป็นข้าราชบริพารขุนนางส่วนพระองค์ของรัชทายาท ซุนเต๋งทรงปฏิบัติต่อขุนนางของตนอย่างเมตตากรุณา ยกตัวอย่างเช่น ซุนเต๋งทรงอนุญาตให้คนอื่น ๆ นั่งบนรถคันเดียวกับพระองค์และนอนใกล้กับพระองค์[7] วังของรัชทายาทถือเป็นสถานที่ที่มีผู้มีความโดดเด่นเป็นจำนวนมากที่สุดแห่งหนึ่งของจีน[8]
ซุนเต๋งแสดงความกตัญญูต่อทั้งบิดาและมารดาบุญธรรม[9] แม้ว่าซีฮูหยินจากหย่าร้างจากซุนกวนในปี ค.ศ. 212 เมื่อซุนเต๋งอายุ 20 ปีได้เรียนตำราประวัติศาสตร์ฮั่นชูตามคำสั่งของบิดา เมื่อซุนกวนสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิในปี ค.ศ. 229 และย้ายนครหลวงจากบู๊เฉียง (武昌 อู่ชาง; อยู่ในนครเอ้อโจว มณฑลหูเป่ย์ในปัจจุบัน) ไปยังเกี๋ยนเงียบ ซุนเต๋งและเหล่าพระอนุชายังคงอยู่ที่บู๊เฉียง ซุนเต๋งทรงรับผิดชอบดูแลภาคตะวันตกของง่อก๊กโดยได้ความช่วยเหลือจากลกซุนและชื่อ อี๋ (是儀) จนกระทั่งซุน ลฺวี่ (孫慮) พระอนุชาสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 232 ซุนเต๋งจึงเสด็จไปหาพระบิดาที่เกี๋ยนเงียบและประทับอยู่ที่นั่นตั้งแต่นั้นมา
ในปี ค.ศ. 234 ซุนกวนทรงนำทัพด้วยพระองค์เองในการโจมตีครั้งใหญ่ที่หับป๋าเมืองชายแดนของวุยก๊ก พระองค์ให้ซุนเต๋งอยู่ที่นครหลวงด้านหลัง ในเวลานั้นซุนเต๋งได้ออกกฎหมายป้องกันอาชญากรรมซึ่งประสบความสำเร็จ แต่ซุนเต๋งไม่ได้สืบราชบัลลังก์ถัดจากพระบิดา เพราะซุนเต๋งทรงพระประชวรสิ้นพระชนม์เสียก่อนขณะพระชนมายุ 33 พรรษา (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[10] ก่อนที่ซุนเต๋งจะเสียพระชนม์ได้ทรงพระอักษรให้กำลังใจพระบิดาและแนะนำผู้มีความสามารถ พระศพของซุนเต๋งได้รับการฝังในบริเวณนครจฺวี้หรง มณฑลเจียงซูในปัจจุบัน ภายหลังย้ายไปยังสุสานเตียวเหลง (蔣陵 เจี่ยงหลิง) ที่ภูเขาม่วงในมณฑลเจียงซู ซุนเต๋งได้รับสมัญญานามว่า " รัชทายาทเซฺวียน" (宣太子 เซฺวียนไท่จื่อ)
ชีวิตส่วนพระองค์
แก้ในปี ค.ศ. 225 ซุนกวนให้ซุนเต๋งสมรสกับโจวเฟย์บุตรสาวของจิวยี่[11] ซุนเต๋งยังมีพระสนมอีกคนที่มีตำแหน่งชูเยฺวี่ยน (淑媛) เป็นบุตรสาวของรุ่ย เสฺวียน (芮玄)[12] ซุนเต๋งมีพระโอรส 3 พระองค์คือ ซุน ฝาน (孫璠), ซุน อิง (孫英) และซุน ซี (孫希) ไม่ทราบแน่ชัดว่ามารดาของพระโอรสเป็นใคร ทั้งซุน ฝานและซุน ซีสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ซุน อิงจึงได้รับบรรดาศักดิ์เป็นอู๋โหว (吳侯) เมื่อทรงเจริญพระชันษาขึ้่น แต่ท้ายที่สุดซุน อิงถูกประหารชีวิตเพราะถูกกล่าวหาว่าทรงพยายามลอบสังหารซุนจุ๋น ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชสมัยของซุนเหลียงจักรพรรดิง่อก๊กลำดับที่ 2
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ วันที่นี้ยังเป็นวันที่ซุนกวนขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิ (วันปิ่งเชิน เดือน 4 ของศักราชหฺวางหลงปีที่ 1) ก่อนหน้านี้ซุนกวนมีฐานะเป็นเงาอ๋องหรืออ๋องแห่งง่อ ซุนเต๋งก็มีตำแหน่งเป็นรัชทายาทของซุนกวน ซุนกวนขึ้นเป็นเงาอ๋องในวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 221 (วันติงซื่อ เดือน 8 ของศักราชอ้วยโช่ปีที่ 2 ในรัชสมัยของโจผีแห่งวุยก๊ก[1]
- ↑ 2.0 2.1 ชีวประวัติของซุนกวนในจดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าซุนเต๋งสิ้นพระชนม์ในเดือน 5 ของศักราชชื่ออูปีที่ 4 ในรัชสมัยของซุนกวน[2] เดือนนี้เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคมถึง 25 มิถุนายน ค.ศ. 241 ในปฏิทินกริโกเรียน
อ้างอิง
แก้- ↑ จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 69).
- ↑ ([赤烏四年]五月,太子登卒。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 47.
- ↑ (孙登字子高,权长子也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 59.
- ↑ (魏黄初二年,以权为吴王,拜登东中郎将,封万户侯,登辞疾不受.) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 59.
- ↑ (是岁,立登为太子...) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 59.
- ↑ (于是诸葛恪、张休、顾谭、陈表等以选入,侍讲诗书,出从骑射。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 59.
- ↑ (与恪、休、谭等或同舆而载,或共帐而寐。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 59.
- ↑ (于是东宫号为多士。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 59.
- ↑ Destenay, Anne L. (1986). China. United States: Nagel Publishers. p. 822. ISBN 2826307649.
- ↑ (年三十三卒。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 59.
- ↑ (黄武四年,权为太子登娉周瑜女...) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 53. บันทึกนี้่ปรากฏในชีวประวัติเทียเป๋ง โดยเทียเป๋งเป็นขุนนาง (เสนาบดีพิธีการ) ผู้ต้อนรับโจวเฟย์มายังเมืองง่อกุ๋น (秉守太常,迎妃于吴...)
- ↑ (权为子登拣择淑媛,群臣咸称玄父祉兄良并以德义文武显名三世,故遂娉玄女为妃焉。) อรรถาธิบายจากอู๋ชูในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 61. บันทึกนี้ปรากฏในชีวประวัติพัวโยย โดยพัวโยยได้บัญชาการกองกำลังของรุ่ย เสฺวียนหลังรุ่ย เสฺวียนเสียชีวิต
บรรณานุกรม
แก้- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้).