เฉิน ยฺหวิน

ผู้อาวุโสของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (ค.ศ. 1905–1995)

เฉิน ยฺหวิน (จีนตัวย่อ: 陈云; จีนตัวเต็ม: 陳雲; พินอิน: Chén Yún; 13 มิถุนายน พ.ศ. 2448 – 10 เมษายน พ.ศ. 2538)[1] เป็นหนึ่งในผู้นำที่มีอิทธิพลมากที่สุดของจีนในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 และเป็นหนึ่งในผู้กำหนดนโยบายสำคัญสำหรับการปฏิรูปและการเปิดประเทศร่วมกับเติ้ง เสี่ยวผิง เขายังเป็นที่รู้จักในชื่อ เลี่ยว เฉินยฺหวิน (廖陈云) เนื่องจากลุงของเขา เลี่ยว เหวินกวาง (廖文光) ได้รับเขาเป็นบุตรบุญธรรมหลังจากบิดามารดาเสียชีวิต

เฉิน ยฺหวิน
陈云
เฉิน ยฺหวิน ในปี พ.ศ. 2502
ประธานคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาส่วนกลาง
พรรคคอมมิวนิสต์จีน คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 – 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535
(4 ปี 345 วัน)
เลขาธิการใหญ่จ้าว จื่อหยาง
เจียง เจ๋อหมิน
ก่อนหน้าเติ้ง เสี่ยวผิง
ถัดไปยุบเลิกตำแหน่ง
เลขาธิการลำดับที่ 1
ของคณะกรรมาธิการกลางตรวจสอบวินัย คนที่ 6
ดำรงตำแหน่ง
22 ธันวาคม พ.ศ. 2521 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2530
(8 ปี 313 วัน)
เลขาธิการใหญ่หู เย่าปัง
จ้าว จื่อหยาง
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
(ต่ง ปี้อู่ ในปี 2511)
ถัดไปเฉียว ฉือ (เลขาธิการ)
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ดำรงตำแหน่ง
28 กันยายน พ.ศ. 2499 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2509
(9 ปี 307 วัน)
ประธานเหมา เจ๋อตง
ดำรงตำแหน่ง
18 ธันวาคม พ.ศ. 2521 – 12 กันยายน พ.ศ. 2525
(3 ปี 268 วัน)
ประธานฮั่ว กั๋วเฟิง
หู เย่าปัง
รองนายกรัฐมนตรีลำดับที่ 1
แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
15 กันยายน พ.ศ. 2497 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2507
(10 ปี 97 วัน)
หัวหน้ารัฐบาลโจว เอินไหล
ถัดไปหลิน เปียว
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 มิถุนายน พ.ศ. 2448
ชิงผู่, จักรวรรดิชิง
(ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเซี่ยงไฮ้, สาธารณรัฐประชาชนจีน)
เสียชีวิต10 เมษายน พ.ศ. 2538 (89 ปี)
ปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน (2467–2535)
คู่สมรสหยู รั่วมู่ (2481–2538)

เฉินเป็นบุคคลสําคัญทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนก่อนการก่อตั้งประเทศ เขาเข้าร่วมคณะกรรมการกลางพรรคในปี 2474 และเข้าร่วมคณะกรมการเมืองในปี 2477 ต่อมาในปี 2480 เขาได้รับตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายองค์การพรรคคอมมิวนิสต์จีน และกลายเป็นหนึ่งในที่ปรึกษาใกล้ชิดของเหมา เจ๋อตง ผู้นําพรรคคอมมิวนิสต์จีน เขามีบทบาทสำคัญในขบวนการแก้ไขเหยียนอันในปี 2485 และเริ่มรับผิดชอบด้านเศรษฐกิจในปีเดียวกัน และท้ายที่สุดก็ได้เป็นหัวหน้าคณะกรรมาธิการการเงินและเศรษฐกิจกลางตั้งแต่ปี 2492

หลังจากการก่อตั้งประเทศ เฉินเป็นบุคคลสําคัญในการบรรเทาความคิดทางเศรษฐกิจที่รุนแรงของเหมา และมีส่วนสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจจีนหลังจากหายนะของนโยบายก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า (2501–03) ร่วมกับเติ้ง เสี่ยวผิง และโจว เอินไหล และหันไปสนับสนุนเศรษฐกิจแบบ "กรงนก" (อนุญาตให้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมีบทบาท แต่ยังต้องถูกควบคุมเหมือน "นกในกรง") เฉินถูกลดทอนตำแหน่งในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม แม้ว่าเขาจะกลับมามีอำนาจอีกครั้งหลังจากเหมาถึงแก่อสัญกรรมในปี 2519

หลังจากการฟื้นอำนาจของเติ้ง เสี่ยวผิง เฉินได้ออกคําวิจารณ์นโยบายลัทธิเหมา ประณามการขาดนโยบายเศรษฐกิจของจีน และต่อมาได้กลายเป็นหนึ่งในผู้ออกแบบนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจจีนของเติ้ง ในช่วงทศวรรษที่ 1980 และ 1990 เฉินได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีอํานาจมากเป็นอันดับสองของจีนรองจากเติ้ง และต่อมาได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในแปดผู้อาวุโสของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

ในตอนแรก เฉินเป็นผู้สนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างแข็งขัน แต่ต่อมาเขาเริ่มมีแนวคิดอนุรักษ์นิยมต่อการปฏิรูปมากขึ้นในขณะที่นโยบายกำลังคืบหน้า เขากลายเป็นบุคคลสำคัญในการชะลอการปฏิรูปต่าง ๆ และกลายเป็นผู้นำของฝ่ายอนุรักษ์นิยมในพรรค เฉินลาออกจากคณะกรรมการกลางในปี 2530 แต่ยังคงอิทธิพลของเขาในฐานะประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากลาง และถอนตัวจากเวทีการเมืองโดยสมบูรณ์ในปี 2535[2]

ช่วงต้น

แก้

เฉินเกิดในปี พ.ศ. 2448 ที่อำเภอชิงผู่ มณฑลเจียงซู (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเซี่ยงไฮ้) ทำงานเป็นผู้พิมพ์ดีดให้กับสำนักพิมพ์ชื่อดังของเซี่ยงไฮ้ ซึ่งพิมพ์หนังสือปฏิวัติและแม้แต่คัมภีร์ไบเบิลโปรเตสแตนต์[3][4] เฉินเริ่มมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้เลื่อนไหวในขบวนการแรงงานรุ่นเยาว์ในช่วงต้นและกลางคริสต์ทศวรรษ 1920 โดยเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี 2467 หลังขบวนการวันที่ 30 พฤษภาคม 2468 เฉินได้ทำงานร่วมกับโจว เอินไหล และหลิว เช่าฉีในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การประท้วง การตั้งสหภาพแรงงาน และการเผยแพร่แนวคิดคอมมิวนิสต์ และช่วงหนึ่งโจวและเฉินอาศัยอยู่ที่โบสถ์คริสเตียนในจางติง ซึ่งเป็นที่ตั้งของคณะกรรมการปฏิวัติ[5] หลังจากเจียง ไคเชกหันมาต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี 2470 เฉินก็หลบหนีไปยังบ้านเกิด แต่ในไม่ช้าเขากลับมายังเซี่ยงไฮ้และทำงานอย่างลับ ๆ ต่อไปในฐานะสมาชิกสหภาพแรงงาน

เฉินเป็นหนึ่งในผู้นำคนสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเพียงไม่กี่คนที่มาจากชนชั้นแรงงานในเมือง เขาทำงานอย่างลับ ๆ ในฐานะผู้นำสหภาพแรงงานในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1920 เข้าร่วมการเดินทัพทางไกล และดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการกลางพรรคตั้งแต่ปี 2474 ถึง 2530[6] ถึงแม้จะไม่ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการหลังจากจบชั้นประถมศึกษาเท่านั้น แต่เฉินก็ยังคงทำผลงานโดดเด่นในด้านเศรษฐศาสตร์มาตลอดชีวิตการงานของเขา

อาชีพคอมมิวนิสต์

แก้

ยุคเหมา

แก้

ปฏิรูปประเทศ

แก้

ชีวิตบั้นปลาย

แก้

มรดก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Patrick E. Tyler (April 12, 1995). "Chen Yun, Who Slowed China's Shift to Market, Dies at 89". The New York Times.
  2. Stefan Landsberger. "Chen Yun". chineseposters.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-02. สืบค้นเมื่อ 2014-08-13.
  3. Lin, Pei-yin; Tsai, Weipin (6 February 2014). Print, Profit, and Perception: Ideas, Information and Knowledge in Chinese Societies, 1895-1949. BRILL. ISBN 9789004259119.
  4. Leung, Edwin Pak-Wah; Leung, Pak-Wah (2002). Political Leaders of Modern China: A Biographical Dictionary. Greenwood Publishing. ISBN 9780313302169.
  5. [1][ลิงก์เสีย]
  6. *Free searchable biography of Chen Yun at China Vitae เก็บถาวร 2018-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน