เฉียว ฉือ (จีนตัวย่อ: 乔石; จีนตัวเต็ม: 喬石; พินอิน: Qiáo Shí; 24 ธันวาคม พ.ศ. 2467 – 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558) ชื่อเดิม เจี่ยง จื้อถง (蒋志彤) เป็นนักการเมืองชาวจีนและเป็นหนึ่งในผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เขาเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดของประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2530–2540 เขาเป็นคู่แข่งกับเจียง เจ๋อหมินในการชิงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของจีน แต่ประสบความพ่ายแพ้ เขาจึงได้รับตำแหน่งประธานสภาประชาชนแห่งชาติแทน และถูกนับเป็นผู้ที่มีอำนาจมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จนกระทั่งเกษียณอายุในปี 2541[1]

เฉียว ฉือ
เจี่ยง จื้อถง
乔石
ประธานสภาประชาชนแห่งชาติ คนที่ 6
ดำรงตำแหน่ง
27 มีนาคม พ.ศ. 2536 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2541
ก่อนหน้าว่าน หลี่
ถัดไปหลี่ เผิง
เลขาธิการคณะกรรมาธิการสอบวินัยส่วนกลาง
ดำรงตำแหน่ง
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2535
ก่อนหน้าเฉิน ยฺหวิน
ถัดไปเว่ย์ เจี้ยนสิง
ผู้อำนวยการสำนักงานทั่วไปพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ดำรงตำแหน่ง
มืถุนายน พ.ศ. 2526 – เมษายน พ.ศ. 2527
เลขาธิการใหญ่หู เย่าปัง
ก่อนหน้าหู ฉี่ลี่
ถัดไปหวัง จ้าวกั๋ว
เลขาธิการคณะกรรมาธิการกิจการการเมืองและกฎหมายส่วนกลาง
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2528 – พ.ศ. 2535
ก่อนหน้าเฉิน พีเสี่ยน
ถัดไปเหริน เจี้ยนซิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 ธันวาคม พ.ศ. 2467
จีน เซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐจีน
เสียชีวิต14 มิถุนายน พ.ศ. 2558 (90 ปี)
จีน ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
พรรคการเมือง พรรคคอมมิวนิสต์จีน (2483–2541)
คู่สมรสยฺวี่ เหวิน (สมรส 2495; เสียชีวิต 2556)
บุตรเจี๋ยง เสี่ยวหมิน (ชาย)
เฉียว เสี่ยวซี (หญิง)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอีสต์ไชนายูไนเต็ด
มหาวิทยาลัยริไจนา นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (แคนาดา; 2539)
อาชีพนักการเมือง
วิชาชีพวรรณกรรม
เฉียว ฉือ
อักษรจีนตัวเต็ม喬石
อักษรจีนตัวย่อ乔石

เมื่อเปรียบเทียบกับกับเจียง เฉียวมีจุดยืนในนโยบายการเมืองและเศรษฐกิจที่เสรีมากกว่า ส่งเสริมหลักนิติธรรมและการปฏิรูปที่มุ่งเน้นตลาดของรัฐวิสาหกิจ[2]

ชีวิตช่วงต้น

แก้

เฉียว ฉือ เกิดเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2467 ชื่อเดิมของเขาคือ เจี่ยง จื้อถง (蔣志彤; Jiǎng Zhìtóng) ที่เซี่ยงไฮ้ บิดาของเขาเป็นชาวติงไห่ มณฑลเจ้อเจียง ทำงานเป็นนักบัญชีในเซี่ยงไฮ้ ส่วนมารดาเป็นกรรมกรที่โรงงานทอผ้าหมายเลข 1 ของเซี่ยงไฮ้[3] เขาศึกษาเอกวรรณคดีที่มหาวิทยาลัยอีสต์ไชน่า แต่ไม่ได้จบการศึกษา เขาใช้ชื่อในการทำกิจกรรมปฏิวัติใต้ดินว่า เจี่ยง เฉียวฉือ ตั้งแต่ตอนอายุเพียง 16 ปี ตามธรรมเนียมในยุคนั้นสำหรับเยาวชนที่ใฝ่ฝันจะเป็นคอมมิวนิสต์ ต่อมาเขาได้ละทิ้งนามสกุลเจี่ยงไปโดยสิ้นเชิงและเรียกตนเองว่า "เฉียว ฉือ"[4][5]

ยุคเหมา

แก้

หลังการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2492 เฉียวได้ดำรงตำแหน่งผู้นำสันนิบาติเยาวชนคอมมิวนิสต์ประจำเมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง จนถึงปี 2497 ระหว่างปี 2497–2505 เขาทำงานที่บริษัทเหล็กกล้าอันชาน ในมณฑลเหลียวหนิง จากนั้นจึงย้ายไปทำงานที่บริษัทเหล็กกล้าจิ่วชวน ในมณฑลกานซู่[6]

ในปี พ.ศ. 2506 เฉียวได้รับการโยกย้ายไปทำงานที่กองการต่างประเทศของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาระหว่างประเทศ และได้เดินทางไปเยือนประเทศคอมมิวนิสต์อื่น ๆ อย่างกว้างขวาง[4] ถึงกระนั้น ชีวิตของเฉียวก็พลิกผันอย่างเลวร้าย เมื่อการปฏิวัติทางวัฒนธรรมปะทุขึ้นในปี 2509 เนื่องจากภรรยาของเขา ยฺหวี เหวิน (于文) เป็นหลานสาวของเฉิน ปู้เหลย์ (陈布雷) ที่ปรึกษาคนสำคัญของเจียง ไคเชก หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง เฉียวต้องเผชิญกับการประณามซ้ำแล้วซ้ำเล่าในช่วงการต่อสู้กับพวกหัวเก่า (struggle sessions) ส่งผลให้เขาต้องเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการแผลกะเทาะที่ลำไส้เล็กส่วนต้นและเลือดออก ในปี 2512 ทั้งเฉียวและภรรยาถูกส่งไปทำงานในฟาร์มแรงงานชนบท ก่อนแรกในมณฑลเฮย์หลงเจียง และต่อมาในมณฑลเหอหนาน เขาสามารถกลับมาทำงานที่กองการต่างประเทศได้อีกครั้งในปี 2514 เมื่อเกิ่ง เปียว เข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองการ[3]

ขึ้นสู่อำนาจ

แก้

หลังสิ้นสุดการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เฉียวได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้อำนวยการกรมการต่างประเทศในปี 2521 และเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการในปี 2525 โดยรับผิดชอบการบริหารความสัมพันธ์กับพรรคคอมมิวนิสต์ต่างประเทศ นอกจากนี้ เขายังได้รับเลือกเป็นสมาชิกสำรองของคณะเลขาธิการกลาง ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารประจำวันของพรรค ต่อมาเขายังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานทั่วไปของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งดูแลการบริหารงานประจำวันของพรรค และผู้อำนวยการกรมองค์การพรรค ซึ่งดูแลทรัพยากรบุคคล[4] ในช่วงที่เฉียวดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานทั่วไปของพรรค ได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำงานจากเดิมที่มุ่งเน้นการต่อสู้ทางชนชั้น มาเป็นการมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปและเปิดประเทศ

ในปี 2528 หัวหน้าสายลับจีน ยฺหวี เฉียงเชิง ได้แปรพักตร์ไปยังสหรัฐ ส่งผลให้ เฉิน พีเสี่ยน สมาชิกคณะกรมการเมืองและเลขาธิการคณะกรรมาธิการกิจการการเมืองและกฎหมายส่วนกลาง ถูกปลดจากตำแหน่ง เฉียวจึงได้รับเลือกให้เข้ามาแทนที่ อีกเหตุผลหนึ่งคือเขามีความใกล้ชิดกับเลขาธิการใหญ่ หู เย่าปัง และได้รับความไว้วางใจจากจากเติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นำสูงสุดของจีน[7] ด้วยผลงานและความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย ในปีเดียวกัน เฉียวก็ได้รับเลือกเป็นสมาชิกกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งถือเป็นอันดับสองของอำนาจในพรรค และในปี 2529 เขาก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี[2][5]

ระหว่างปี 2530–2540 เฉียวได้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญยิ่ง นั่นคือ สมาชิกคณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งเป็นคณะกรรมาธิการตัดสินใจสูงสุดของจีน โดยเขารับผิดชอบงานด้านต่าง ๆ ที่หลากหลาย ได้แก่ ความมั่นคงภายใน หน่วยสืบราชการลับ กระบวนการยุติธรรม และวินัยของพรรค[7]

ระหว่างปี 2530–2535 นอกจากการเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมืองแล้ว เฉียวยังดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมาธิการสอบวินัยส่วนกลาง (Central Commission for Discipline Inspection) ซึ่งเป็นหน่วยงานปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันภายในพรรค[5]

จัตุรัสเทียนอันเหมินและผลพวง

แก้

เฉียวถูกมองว่ามีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 2532 แต่ยังไม่แน่ชัดว่าเขาสนับสนุนหรือต่อต้านการปราบปรามนักศึกษาผู้ประท้วง[1] แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่รวมถึงอัตชีวประวัติของอดีตเลขาธิการพรรค จ้าว จื่อหยาง ระบุว่า เฉียวมีจุดยืนที่คลุมเครือเกี่ยวกับวิธีจัดการกับผู้ประท้วง เขาถูกกล่าวว่ามีความอดทนต่อขบวนการนักศึกษา และงดออกเสียงในการลงคะแนนของคณะกรมการเมืองเกี่ยวกับเรื่องการส่งกองทัพไปยังจัตุรัสเทียนอันเหมิน[2]

เฉียวสามารถรักษาตำแหน่งผู้นำของเขาไว้ได้ ในขณะที่เพื่อนร่วมคณะกรมการเมืองอย่าง จ้าว จื่อหยาง และหู ฉี่ลี่ ซึ่งคัดค้านการปราบปรามผู้ประท้วง ถูกปลดจากตำแหน่งและถูกขับออกจากพรรค อย่างไรก็ตาม การที่เฉียวสามารถรักษาตำแหน่งไว้ได้นั้นก็มีข้อวิพากษ์วิจารณ์อยู่เช่นกัน บางคนมองว่าเขาเป็นนักการเมืองที่เห็นแก่ตัวและไร้หลักการ เนื่องจากไม่กล้าแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในช่วงเวลาสำคัญ[2]

ภายหลังเหตุการณ์ทางการเมืองที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เฉียว และนายกรัฐมนตรี หลี่ เผิง ได้ถูกยกขึ้นมาเป็นสองตัวเต็งที่จะชิงตำแหน่งผู้นำพรรค แต่เติ้ง เสี่ยวผิง และเหล่าผู้อาวุโสหลายคนในพรรค รู้สึกว่าหลี่ เผิง มีแนวคิดแบบซ้ายเกินไป และไม่เต็มใจที่จะเปลี่ยนผ่านจีนออกจากระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน ดังนั้นเฉียวจึงกลายเป็นตัวเลือก 'จำยอม' เนื่องจากประสบการณ์และความอาวุโสของเขาในเวลานั้น[4]

แม้เติ้ง เสี่ยวผิง จะจัดการประชุมกับเฉียวเป็นการส่วนตัว เพื่อพูดคุยถึงเรื่องการสืบทอดอำนาจ[7] แต่สุดท้าย เฉียวก็พ่ายแพ้ให้กับคู่แข่งของเขา เจียง เจ๋อหมิน เลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำนครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำพรรคในปี 2532 และประธานาธิบดีในปี 2536[4]

ไม่เคยมีคำอธิบายอย่างชัดเจนว่าเหตุใดเฉียวถึงไม่ได้รับเลือกเป็นผู้นำพรรค นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าเนื่องจากเขามีประสบการณ์ด้านการบังคับใช้กฎหมายมากเกินไป จึงมีแนวโน้มที่จะใช้กลยุทธ์ที่แข็งกร้าวและรุนแรงในการแก้ไขปัญหา หรืออาจจะสูญเสียความนิยมจาก "ผู้อาวุโสในพรรค" คนสำคัญ ซึ่งเป็นผู้นำที่เกษียณอายุแล้วแต่ยังคงมีอิทธิพลอย่างมากในกระบวนการสืบทอดอำนาจ[1][5]

ในเดือนมีนาคม 2536 เฉียวได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ ซึ่งโดยทางการถือว่าเป็นตำแหน่งทางการเมืองที่สูงเป็นอันดับ 3 ในประเทศ รองจากเลขาธิการพรรคและนายกรัฐมนตรี ในฐานะประมุขฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศ เขาพยายามที่จะเสริมสร้างระบบกฎหมายของจีนและปฏิรูปสภาประชาชนแห่งชาติ จากองค์กรที่ทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบตามคำสั่ง (rubber-stamp body) ให้กลายเป็นสถาบันที่มีอำนาจแท้จริงในการกำหนดและส่งเสริมนิติธรรม[1] ผู้นำที่ไม่เห็นด้วยและผู้นำนักศึกษาที่เทียนอันเหมิน หวัง ตัน เคยแสดงความคิดเห็นว่า "แม้ว่าเฉียว ฉือ จะขึ้นชื่อเรื่องกลวิธีการสร้างภาพลักษณ์ แต่ก็เป็นไปได้ว่าเขาจะสามารถนำพาจีนไปสู่การปกครองที่เปิดกว้างและโปร่งใสมากขึ้น"[4]

เกษียณ

แก้

ความเสื่อมอำนาจและการเสียชีวิต

แก้

ครอบครัว

แก้

เกียรติยศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Gan, Nectar (14 มิถุนายน 2015). "Former China Communist Party senior official Qiao Shi dies at 91". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2023.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Mackerras, Colin; McMillen, Donald H.; Watson, Andrew (2003). Dictionary of the Politics of the People's Republic of China. Routledge. p. 185. ISBN 978-1-134-53175-2.
  3. 3.0 3.1 Lu Mengjun (14 มิถุนายน 2015). 乔石往事: 妻子是陈布雷外甥女, "文革"期间被贴了大字报 [Qiao Shi's past: wife was a niece of Chen Bulei]. Eastday (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2015.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Song, Yuwu (2013). Biographical Dictionary of the People's Republic of China. McFarland. p. 258. ISBN 978-0-7864-3582-1.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "Qiao Shi". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2010.
  6. 乔石同志简历. Eastday (ภาษาจีน). 14 มิถุนายน 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2020.
  7. 7.0 7.1 7.2 Niu Lei (14 มิถุนายน 2015). 牛泪:乔石与江泽民交往秘史. Duowei (History Channel). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2024.