ผู้นำสูงสุดของจีน
ผู้นำสูงสุด (จีน: 最高领导人; พินอิน: Zuìgāo Lǐngdǎorén) เป็นคำเรียกอย่างไม่เป็นทางการสำหรับบุคคลสำคัญทางการเมืองที่สำคัญที่สุดในสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยทั่วไปแล้วผู้นำสูงสุดจะควบคุมพรรคคอมมิวนิสต์จีน และกองทัพปลดปล่อยประชาชน ซึ่งมักจะดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน และประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง [1][2] ภายใต้ระบบรัฐพรรคการเมืองเดียวของจีน ประมุขแห่งรัฐ (ประธานาธิบดี) ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำสูงสุดเสมอไป เนืองจากบทบาทของพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีความสำคัญทางการเมืองมากกว่าตำแหน่งของรัฐ[3]
ผู้นำสูงสุด แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน | |
---|---|
中华人民共和国最高领导人 | |
ตราพรรคคอมมิวนิสต์จีน และตราแผ่นดินจีน | |
การเรียกขาน | สหาย (同志) |
สมาชิกของ | |
ผู้แต่งตั้ง | คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน |
ตำแหน่งก่อนหน้า | ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน (แผ่นดินใหญ่) |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | เหมา เจ๋อตง |
สถาปนา | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492; 75 ปีก่อน |
อักษรจีนตัวย่อ | 最高领导人 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 最高領導人 | ||||||
|
คำนี้มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคของเติ้ง เสี่ยวผิง (2521–2532) เมื่อเขาสามารถใช้อำนาจทางการเมืองได้โดยไม่ต้องดำรงตำแหน่งในรัฐบาลหรือพรรคอย่างเป็นทางการ (เติ้งไม่ได้ดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ หัวหน้ารัฐบาล หรือเลขาธิการพรรคฯ)[4]
อย่างไรก็ตาม คำนี้ถูกใช้ไม่บ่อยนักในการกล่าวถึงผู้ที่สืบทอดตำแหน่งต่อจากเติ้ง ได้แก่ เจียง เจ๋อหมิน, หู จิ่นเทา และสี จิ้นผิง ซึ่งล้วนดำรงตำแหน่งในพรรคอย่างเป็นทางการ คือ เลขาธิการพรรคฯ (ผู้นำพรรค) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (ประมุขแห่งรัฐ) และประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง (ผู้บัญชาการทหารสูงสุด) ดังนั้นในเวทีระหว่างประเทศ เจียง หู และสี จึงมักถูกเรียกว่าประธานาธิบดี ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ประมุขแห่งรัฐส่วนใหญ่ใช้[3]
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่สืบทอดตำแหน่งต่อจากเติ้งได้รับอำนาจที่แท้จริงจากตำแหน่งเลขาธิการทั่วไป ซึ่งเป็นตำแหน่งหลักในโครงสร้างอำนาจของจีน[5] และโดยทั่วไปนักวิชาการมองว่าเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนี้ถือได้ว่าเป็นผู้นำสูงสุด[6] ตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นเพียงตำแหน่งทางพิธีการตามรัฐธรรมนูญ[หมายเหตุ 1] ส่วนตำแหน่งที่ทรงอำนาจที่สุดในระบบการเมืองจีนคือ เลขาธิการพรรคฯ[8]
ผู้นำสูงสุดคนปัจจุบันของจีน คือ สี จิ้นผิง[9] ได้รับการพิจารณาให้เข้ารับตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555[10]
หมายเหตุ
แก้- ↑ The prestigious office of president, first held by Mao Zedong and then officially translated into English as "chairman", was abolished during the Cultural Revolution. The Constitution of 1982 restored powers and functions of the President of the People's Republic of China as head of state, and specified that the official translation was "president", even though the Chinese name for the office, 主席; Zhǔxí, is unchanged and means "chairman" in other contexts, contrasted with 总统; 總統; Zǒngtǒng for the presidents of republics and other countries. This office does not have executive authority comparable to the President of the United States since most of its powers are ceremonial. The President of China can therefore be compared with the President of Germany and contrasted with the President of India, who theoretically possesses great executive power exercised in practice by the Union Council of Ministers.[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ "China's Communist Party Congress: A really simple guide". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-10-17. สืบค้นเมื่อ 2022-10-27.
- ↑ Shepherd, Christian (October 24, 2022). "From Mao to Xi: Power plays in the succession of Chinese leadership". Washington Post.
- ↑ 3.0 3.1 Ferek, Kate O’Keeffe and Katy Stech. "Stop Calling China's Xi Jinping 'President,' U.S. Panel Says". The Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-10-27.
- ↑ Zhiyue Bo, บ.ก. (2007). China's Elite Politics: Political Transition And Power Balancing. World Scientific Publishing Company. p. 7. ISBN 9789814476966.
- ↑ Chris Buckley and Adam Wu (10 March 2018). "Ending Term Limits for China's Xi Is a Big Deal. Here's Why". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2018. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
Is the presidency powerful in China? In China, the political job that matters most is the general secretary of the Communist Party. The party controls the military and domestic security forces, and sets the policies that the government carries out. China's presidency lacks the authority of the American and French presidencies
. - ↑ "Xi's here to stay: China leader tipped to outstay term". Business Insider. 9 August 2016. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017.
'A lot of analysts now see it as a given that Xi will seek to stay party general secretary, the country's most powerful post,' said Christopher K. Johnson, a former CIA analyst and now China specialist at the Washington-based Center for Strategic and International Studies.
- ↑ "Krishna Kanta Handique State Open University" เก็บถาวร 2 พฤษภาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. "Executive: The President of the Chinese Republic".
- ↑ O'Keeffe and, Kate; Ferek, Katy Stech (14 November 2019). "Stop Calling China's Xi Jinping 'President,' U.S. Panel Says". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2019. สืบค้นเมื่อ 16 November 2019..
- ↑ "View China's Xi as Party Leader, Not President, Scholars Say". Voice of America. 2022-10-07.
But Clarke and other scholars make the point that Xi’s real power lies not in his post as president but in his position as general secretary of the Chinese Communist Party.
- ↑ "A simple guide to the Chinese government". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2018. สืบค้นเมื่อ 12 May 2018.
Xi Jinping is the most powerful figure in the Chinese political system. He is the President of China, but his real influence comes from his position as the General Secretary of the Chinese Communist Party.