ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน

ประมุขแห่งรัฐของสาธารณรัฐจีน

ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน (จีน: 中華民國總統; พินอิน: Zhōnghuá Mínguó Zǒngtǒng; อังกฤษ: President of the Republic of China) โดยทั่วไปเรียก ประธานาธิบดีไต้หวัน (จีน: 台灣總統; พินอิน: Táiwān Zǒngtǒng; อังกฤษ: President of Taiwan) เป็นประมุขแห่งรัฐประจำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และเป็นจอมทัพสาธารณรัฐจีน

ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน
จีน: 中華民國總統
พินอิน: Zhōnghuá Mínguó Zǒngtǒng
ตราประจำตำแหน่ง
ธงประจำตำแหน่ง
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
ไล่ ชิงเต๋อ
ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 (2024-05-20)
การเรียกขาน
จวนสำนักประธานาธิบดี
ที่ว่าการ
ผู้แต่งตั้งประชาชนเลือกตั้งโดยตรง
วาระ4 ปี ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน
(มาตรา 2 วรรค 6 ของบทเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ)
ตราสารจัดตั้งรัฐธรรมนูญ
สถาปนา
  • ประธานาธิบดีชั่วคราว:
    1 มกราคม ค.ศ. 1912 (1912-01-01)
  • ตรารัฐธรรมนูญ:
    5 สิงหาคม ค.ศ. 1948 (1948-20-05)
คนแรก
  • ประธานาธิบดีชั่วคราว:
    ซุน ยัตเซ็น หรือ ซุน อี้เซียน (孫逸仙)
  • ประธานาธิบดีตามรัฐธรรมนูญ:
    เจียง ไคเชก หรือ เจี่ยง เจี้ยฉือ (蔣介石)
รอง
เงินตอบแทน6,428,282 ดอลลาร์ไต้หวันใหม่ ต่อปี[1]
เว็บไซต์english.president.gov.tw
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน
อักษรจีนตัวเต็ม中華民國總統
อักษรจีนตัวย่อ中华民国总统

พรรคชาตินิยม (國民黨) ก่อตั้ง "สาธารณรัฐจีน" (中華民國) ขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1912 เพื่อปกครองประเทศจีนทั้งหมด ภายหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่สองและสงครามกลางเมืองจีน พรรคชาตินิยมสูญเสียอำนาจในจีนแผ่นดินใหญ่ให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมล่าถอยมายังเกาะไต้หวันและสถาปนาการปกครองขึ้นเป็น "สาธารณรัฐจีน" อ้างว่า บังคับบัญชาเกาะไต้หวันและเกาะปริมณฑลในฐานะรัฐเอกราช ส่วนพรรคสังคมนิยมจัดตั้ง "สาธารณรัฐประชาชนจีน" (中华人民共和国) ขึ้นบนแผ่นดินใหญ่ และถือเอาเกาะไต้หวันกับทั้งเกาะปริมณฑลเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินใหญ่ต่อไป ขณะที่สถานะของสาธารณรัฐจีนเองก็ไม่เป็นที่รับรองของประชาคมโลกมาจนบัดนี้

ตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีนนั้นสถาปนาขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1948 ตามรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1947 ผู้ประเดิมตำแหน่ง คือ เจียง ไคเช็ก หรือ เจี่ยง เจี้ยฉือ (蔣介石) ส่วนผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน คือ นายแพทย์ ไล่ ชิงเต๋อ (賴清德)

อ้างอิง

แก้
  1. Yi, Wang (12 March 2015). "13 國元首薪水大車拚". 中時電子報 (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). สืบค้นเมื่อ 18 January 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้