กองทัพสาธารณรัฐจีน

กองทัพสาธารณรัฐจีน ประกอบด้วยกองทัพบก กองทัพอากาศ กองทัพเรือ (รวมเหล่านาวิกโยธิน, กำลังทหารสารวัตรและกองทัพกำลังสำรองแห่งสาธารณรัฐจีน) เป็นสถาบันทหาร มีงบประมาณคิดเป็น 16.8% ของงบประมาณกลางในปีงบประมาณ 2546 เดิมเป็นกองทัพปฏิวัติแห่งชาติก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพสาธารณรัฐจีนในปี 2490 เนื่องจากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ

กองทัพสาธารณรัฐจีน
中華民國國軍
ตราประจำกระทรวงกลาโหมแห่งสาธารณรัฐจีน
ก่อตั้ง16 มิถุนายน ค.ศ. 1924
รูปแบบปัจจุบัน25 ธันวาคม ค.ศ. 1947
เหล่า กองทัพบกสาธารณรัฐจีน
 เหล่านาวิกโยธินสาธารณรัฐจีน
Naval flag of สาธารณรัฐจีน กองทัพเรือสาธารณรัฐจีน
Flag of the กองทัพอากาศสาธารณรัฐจีน กองทัพอากาศสาธารณรัฐจีน
กองทหารสารวัตร
กองบัญชาการส่งกำลังบำรุงร่วม
กองบัญชาการสาธารณรัฐจีน ไทเป, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการทหารประธานาธิบดี ไช่ อิงเหวิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพลเอก เยียน เต๋อ-ฟา
เสนาธิการพลเรือเอก หวง ชู-กวง
กำลังพล
อายุเริ่มบรรจุ19 - 40 ปี
การเกณฑ์ราชการทหารภาคบังคับ 1 ปี สำหรับพลเมืองชายอายุระหว่าง 19 ถึง 40 ปี
ประชากร
วัยบรรจุ
5,883,828, อายุ 18-40 (2548)
ประชากร
ฉกรรจ์
4,749,537, อายุ 18-40 (2548)
ประชากรวัยถึงขั้น
ประจำการทุกปี
174,173 (2548)
ยอดประจำการ290,000 (อันดับที่ 16)
ยอดสำรอง1,675,000
รายจ่าย
งบประมาณ$10,500 ล้าน (2551) (อันดับที่ 20)
ร้อยละต่อจีดีพี2.5 (2551)
อุตสาหกรรม
แหล่งผลิตในประเทศAerospace Industrial Development Corporation, Chungshan Institute of Science and Technology, CSBC Corporation, 205th Armory
แหล่งผลิตนอกประเทศ สหรัฐ
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์[1]
ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล
ธงของประเทศแอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้
ธงของประเทศสเปน สเปน
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
 เกาหลีใต้
บทความที่เกี่ยวข้อง
ประวัติกองทัพเป่ย์หยาง
กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน
ยศยศทหาร
เครื่องอิสริยาภรณ์

ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1970 ภารกิจหลักของกองทัพ คือ การยึดจีนแผ่นดินใหญ่คืนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เป็นคอมมิวนิสต์ผ่านโครงการความรุ่งโรจน์ของชาติ (Project National Glory)[2] แต่ภารกิจสำคัญที่สุดของกองทัพปัจจุบัน คือ การป้องกันเกาะไต้หวัน เผิงหู จินเหมินและหมาจู่จากการบุกครองทางทหารที่เป็นไปได้ของกองทัพปลดปล่อยประชาชน ซึ่งถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามที่เด่นสุดของสาธารณรัฐจีน[3][4] ขณะที่ข้อพิพาทว่าด้วยสถานะทางการเมืองของไต้หวันยังดำเนินต่อไป

ประวัติ

แก้

ในอดีตเมื่อตั้งสาธารณรัฐจีนกองทัพนั้นค่อนข้างแตกกระจายมีขุนศึกมากมายและรัฐบาลสาธารณรัฐจีนควบคุมโดยรัฐบาลเป่ยหยางในปักกิ่งและมีสงครามระหว่างขุนศึกตลอดเวลาประธานาธิบดีเปลี่ยนแปลงบ่อยมีความขัดแย้งในกองทัพหลังหยวนซื่อไข่ตาย ประเทศจีนแบ่งเป็นแคว้นเป็นก๊ก ไม่ได้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวเมื่อ ซุนยัดเซนและเจียงไคเชคเมื่อเห็นว่าตราบใดที่ยังไม่มีกองทัพของพรรคก๊กมินตั๋งเองจีงไม่อาจทำให้จีนรวมกันได้ ในตอนนั้น รัฐบาลรัสเซียนำโดยเลนินยอมรับพรรคก๊กมินตั๋งเป็นผู้ปกครองจีนโดยชอบธรรม เลนินเสนอให้อาวุธและการฝึกการเงินให้และความช่วยเหลือแต่ต้องแลกมาซึ่งให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนร่วม รัฐบาลกับพรรคก๊กมินตั๋งโรงเรียนทหารและการปกครองหวางผู่ ซึ่งนับเป็นผลิตผลแรกของความร่วมมือระหว่างซุนยัตเซ็นกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน โรงเรียนทหารและการปกครองที่จัดตั้งขึ้น มีซุนยัตเซ็นเป็นผู้อำนวยการ และเจี่ยงจงเจิ้ง (蔣中正) หรือเจียงไคเช็ค เป็นครูใหญ่ ดร.ซุนได้วางจุดประสงค์ไว้ที่การ “สร้างกองกำลังปฏิวัติ เพื่อช่วยจีนให้พ้นวิกฤต” มีการจัดสอนการใช้อาวุธ สอนแนวความคิดลัทธิไตรราษฎร์ และแนวความคิดของลัทธิมาร์กซ์ โดยให้ความสำคัญทั้งหลักสูตรทางด้านการทหารและการปกครอง จนสามารถสร้างบุคลากรชั้นนำในประเทศในภายหลังได้เป็นจำนวนมาก โดยระหว่างปีค.ศ. 1924-1949 มีนักเรียนที่จบทั้งสิ้น 23 รุ่น เมื่อรวมนักเรียนที่จบออกมาจากโรงเรียน และสาขาแล้วมีมากถึง 230,000 คน

การจัดระเบียบเหล่าทัพ

แก้

กองกำลังของสาธารณรัฐจีนถูกจัดระเบียบดังนี้ดังนี้

  • กองทัพบกสาธารณรัฐจีน (ROCA, Republic of China Army)
  • กองทัพอากาศสาธารณรัฐจีน ( ROCAF , Republic of China Air Force)
  • กองทัพเรือสาธารณรัฐจีน (ROCN, Republic of China Navy)
  • กองทหารสารวัตรสาธารณรัฐจีน (ROCMP, Republic of China Military Police)
  • กองบัญชาการส่งกำลังบำรุงร่วม (Republic of China Joint Logistics Command)
  • กองกำลังสำรองสาธารณรัฐจีน (Republic of China Armed Forces Reserve Command)

โครงสร้าง

แก้

บุคลากร

แก้

งบประมาณ

แก้

การศึกษา

แก้

ยุทธภัณฑ์

แก้

อาวุธประจำกาย

แก้

อาวุธประจำหน่วย

แก้

ศาลทหาร

แก้

ความสัมพันธ์ทางทหาร

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

แก้

เชิงอรรถ

แก้
  1. Look at Dutch-built Zwaardvis class submarine
  2. "Overview - Taiwan Military Agencies". globalsecurity.org. สืบค้นเมื่อ 2006-03-05.
  3. "2004 National Defense White Paper" (PDF). ROC Ministry of National Defense. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-09-01. สืบค้นเมื่อ 2006-03-05.
  4. "2004 National Defense Report" (PDF). ROC Ministry of National Defense. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-03-11. สืบค้นเมื่อ 2006-03-05.

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้