โจว เอินไหล
โจว เอินไหล (จีนตัวย่อ: 周恩来; จีนตัวเต็ม: 周恩來; พินอิน: Zhōu Ēnlái; 5 มีนาคม ค.ศ. 1898 – 8 มกราคม ค.ศ. 1976) เป็นนายกรัฐมนตรีจีน คนที่ 1 โจวเป็นหัวหน้ารัฐบาลประชาชนจีน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1949 จนกระทั่งเสียชีวิตในเดือนมกราคม ค.ศ. 1976 โจวทำหน้าที่อยู่ภายใต้ประธานเหมาเจ๋อตง และมีส่วนสำคัญในการเถลิงอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์ และต่อมาในการรวบรวมการควบคุม จัดตั้งนโยบายการต่างประเทศและพัฒนาเศรษฐกิจของจีน
โจว เอินไหล | |
---|---|
周恩来 | |
![]() | |
นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 – 8 มกราคม ค.ศ. 1976 | |
ประธานาธิบดี | เหมา เจ๋อตง |
รอง | ต้ง ปีวู่ เฉิน หยุน หลิน เปียว เติ้ง เสี่ยวผิง |
ก่อนหน้า | ไม่มี |
ถัดไป | ฮั่ว กั๋วเฟิง |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 – 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1958 | |
หัวหน้ารัฐบาล | ตัวเอง |
ก่อนหน้า | ไม่มี |
ถัดไป | เฉิน อี้ |
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์ ลำดับที่หนึ่ง | |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม ค.ศ. 1973 – 8 มกราคม ค.ศ. 1976 | |
ประธาน | เหมา เจ๋อตง |
ก่อนหน้า | หลิน เปียว (ในปี 1971) |
ถัดไป | ฮั่ว กั๋วเฟิง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 มีนาคม ค.ศ. 1898 เมืองหวยอัน มณฑลเจียงซู จักรวรรดิชิง |
เสียชีวิต | 8 มกราคม ค.ศ. 1976 (77 ปี) กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน |
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน |
คู่สมรส | เติ้ง อิ่งเชา |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ด้วยการที่เป็นนักการทูตที่มีทักษะและความสามารถ โจวดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 ถึง ค.ศ. 1958 ได้ให้การสนับสนุนในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับชาติตะวันตกในภายหลังสงครามเกาหลี เขาได้เข้าร่วมในการประชุมที่เจนีวา ปี ค.ศ. 1954 และการประชุมบันดุง ปี ค.ศ. 1955 และได้ให้การช่วยเหลือในการประพันธ์โน้ตดนตรีเพื่อต้อนรับการมาเยือนจีนของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ปี ค.ศ. 1972 เขาได้ช่วยกำหนดนโยบายเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ดุเดือดกับสหรัฐอเมริกา ไต้หวัน สหภาพโซเวียต(ภายหลังปี ค.ศ. 1960) อินเดีย และเวียดนาม
โจวได้เอาชีวิตรอดจากการกำจัดแก่เหล่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ในขณะที่เหมาได้ทุ่มเทให้กับเวลาส่วนใหญ่ในการต่อสู้ทางการเมืองและงานทางด้านอุดมกาณ์ โจวเป็นแรงผลักดักหลักที่อยู่เบื้องหลังของสถานการณ์ภายในประเทศในช่วงส่วนใหญ่ของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ความพยายามของเขาในการบรรเทาความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของพวกยุวชนแดงและความพยายามของเขาในการปกป้องคนอื่นจากความโกรธเกรี้ยวของพวกเขา ทำให้เขาได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงระยะหลังของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม
เมื่อสุขภาพของเหมาเริ่มย่ำแย่ลงในปี ค.ศ. 1971 และ ค.ศ. 1972 และภายหลังจากการเสียชีวิตของหลิน เปียวที่ถูกตราหน้าว่าเป็นคนทรยศจนเป็นที่น่าอับอายของจีน โจวได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานที่หนึ่งแห่งพรรคคอมมิวนิสต์ที่เว้นว่างไว้โดยคณะกรรมการส่วนกลางที่ 10 ในปี ค.ศ. 1973 และถูกกำหนดให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากเหมา (บุคคลที่สามที่ถูกกำหนดเอาไว้รองลงจากหลิว เช่าฉี และหลิน) แต่ยังคงต้องต่อสู้กับแก๊งออฟโฟร์ในการช่วงชิงการเป็นผู้นำของจีน การปรากฏตัวต่อสาธารณะครั้งสำคัญและครั้งสุดท้ายของเขาคือ การประชุมครั้งแรกของสภาประชาชนแห่งชาติครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1975 ซึ่งเขาได้นำเสนอรายงานการทำงานของรัฐบาล จากนั้นเขาได้หลุดพ้นจากสายตาของสาธารณชนเพื่อไปรักษาพยาบาลและเสียชีวิตในอีกหนึ่งปีต่อมา ความโศกเศร้าเสียใจของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมากมายมหาศาลซึ่งการเสียชีวิตของเขาได้ปลุกปั่นให้ประชาชนชาวปักกิ่งหันไปโกรธแค้นต่อแก๊งออฟโฟร์ จนนำไปสู่กรณีเทียนอันเหมิน ปี ค.ศ. 1976 แม้ว่าโจวจะได้รับการสืบทอดตำแหน่งโดยฮั่ว กั๋วเฟิง ในฐานะรองประธานคนที่หนึ่งและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งเป็นผู้นำของจีน แต่เติ้ง เสี่ยวผิง พันธมิตรของโจวก็สามารถเอาชนะแก๊งออฟโฟร์ทางการเมืองลงได้และเข้ามาแทนที่ฮั่วจนกลายเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ ในปี ค.ศ. 1978
ประวัติ แก้ไข
โจวเอินไหลมีภูมิลำเนาเป็นชาวเมืองเส้าซิง มณฑลเจ้อเจียง ในขณะที่ความจริงแล้ว เขาเกิดที่เมืองหวยอัน(淮安) มณฑลเจียงซู ในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ.1898 ซึ่งเป็นรกรากของฝ่ายมารดา บรรพบุรุษหลายชั่วอายุคนของตระกูลโจวที่เมืองเส้าซิงนี้ ล้วนเป็นที่ปรึกษาให้กับข้าราชการในเมือง ซึ่งอาชีพดังกล่าวได้รับความนิยมสูงสุดจน รับรู้กันว่ามีชาวเส้าซิงมากมายที่ประจำอยู่ตามหน่วยงานราชการทั่วประเทศของจีน นอกเหนือไปจากการเป็นพ่อค้า
โจวรำลึกถึงผู้ให้กำเนิดของตนว่า ยายของเขาเป็นหญิงชาวนาในชนบทของหวยอิน(淮阴) ดังนั้น ในร่างกายเขาก็มีเลือดของชาวนาไหลเวียนอยู่ด้วย ส่วนมารดานั้นเป็นผู้หญิงที่มีหน้าตางดงาม และจิตใจอ่อนโยน แต่น่าเสียดายที่ต้องเสียชีวิตตั้งแต่ยังสาวเมื่อมีอายุได้เพียง 35 ปี
เนื่องจากป่วยเป็นวัณโรค อันมีสาเหตุมาจากการทำงานหนักเกินไปหลังจากที่ปู่เสียชีวิตลงโดยไม่เหลือมรดกไว้ให้ครอบครัวเลย ปู่ของโจวเสียชีวิตลงเมื่ออายุได้ 50 ปี ในช่วงที่มีชีวิตอยู่ก็ไม่ได้สร้างทรัพย์สมบัติใด ๆ ไว้
มีเพียงบ้านที่อาศัยเท่านั้น เมื่อมาถึงรุ่นพ่อ ครอบครัวก็ถึงคราวลำบาก ซึ่งทั้งบิดาและอาของเขาต่างรับราชการ โดยบิดาของโจวมีตำแหน่งเป็นผู้ดูแลด้านเอกสาร ส่วนอาดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษา ซึ่งรวมกันแล้วรายได้ก็ยังไม่เพียงพอ
อ้างอิง แก้ไข
ก่อนหน้า | โจว เอินไหล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ไม่มี | นายกรัฐมนตรีจีน (ค.ศ. 1949 – 1976) |
ฮั่ว กั๋วเฟิง |