หลิว เช่าฉี

นักการเมืองชาวจีน (ค.ศ. 1898–1969)

หลิว เช่าฉี (จีน: 刘少奇; พินอิน: Liú Shàoqí; 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1898 – 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969) เป็นนักปฏิวัติและนักการเมืองชาวจีน ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติตั้งแต่ ค.ศ. 1954 ถึง 1959 รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนคนที่ 1 ตั้งแต่ ค.ศ. 1957 ถึง 1966 และประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน (ประมุขแห่งรัฐ) ตั้งแต่ ค.ศ. 1959 ถึง 1968 เขาเคยได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากเหมา เจ๋อตง แต่ต่อมาถูกปลดจากตำแหน่งและถูกกวาดล้างในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม

หลิว เช่าฉี
刘少奇
ประธานสาธารณรัฐประชาชนจีน คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
27 เมษายน ค.ศ. 1959 – 31 ตุลาคม ค.ศ. 1968
(9 ปี 187 วัน)
หัวหน้ารัฐบาลโจว เอินไหล
รองประธานาธิบดีต่ง ปี้อู่ และซ่ง ชิ่งหลิง
ผู้นำเหมา เจ๋อตง (ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน)
ก่อนหน้าเหมา เจ๋อตง
ถัดไปต่ง ปี้อู่ และซ่ง ชิ่งหลิง (รักษาการ)
ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
27 กันยายน ค.ศ. 1954 – 27 เมษายน ค.ศ. 1959
(4 ปี 212 วัน)
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปจู เต๋อ
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ดำรงตำแหน่ง
28 กันยายน ค.ศ. 1956 – 1 สิงหาคม ค.ศ. 1966
(9 ปี 307 วัน)
ประธานเหมา เจ๋อตง
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปหลิน เปียว
สมาชิกสภาประชาชนแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
15 กันยายน ค.ศ. 1954 – 21 ตุลาคม ค.ศ. 1968
(14 ปี 36 วัน)
เขตเลือกตั้งปักกิ่ง ทั้งเขต
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1898(1898-11-24)
หนิงเซียง มณฑลหูหนาน จักรวรรดิชิง
เสียชีวิต12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969(1969-11-12) (70 ปี)
ไคเฟิง เหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน (1921–1968)
คู่สมรส
บุตร9 (รวมถึงหลิว หยุ่นปิน และหลิว ยฺเหวียน)
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ
อักษรจีนตัวเต็ม劉少奇

ในช่วงวัยรุ่น หลิวมีส่วนร่วมในขบวนการแรงงานในการนัดหยุดงานหลายครั้ง รวมถึงขบวนการ 30 พฤษภาคม หลังการปะทุของสงครามกลางเมืองจีนใน ค.ศ. 1927 พรรคคอมมิวนิสต์จีนมอบหมายให้เขาทำงานในพื้นที่เซี่ยงไฮ้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และเดินทางไปยังโซเวียตเจียงซีใน ค.ศ. 1932 เขาเข้าร่วมการเดินทัพทางไกล และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคในภาคเหนือของจีนใน ค.ศ. 1936 เพื่อนำการต่อต้านญี่ปุ่นในภูมิภาคดังกล่าว ในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง หลิวเป็นผู้นำสำนักงานที่ราบภาคกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ภายหลังเหตุการณ์กองทัพใหม่ที่สี่ใน ค.ศ. 1941 หลิวได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการการเมืองของกองทัพใหม่ที่สี่ หลังเดินทางกลับมายังเหยียนอานใน ค.ศ. 1943 เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนและรองประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง

หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนใน ค.ศ. 1949 หลิวได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองประธานรัฐบาลประชาชนส่วนกลาง หลังการก่อตั้งสภาประชาชนแห่งชาติใน ค.ศ. 1954 หลิวได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา ใน ค.ศ. 1959 เขาสืบทอดตำแหน่งประธานสาธารณรัฐประชาชนจีนจากเหมา เจ๋อตง ในช่วงดำรงตำแหน่งประธาน เขาดำเนินนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการประชุมแกนนำ 7,000 คนใน ค.ศ. 1962 หลิวได้รับการประกาศต่อสาธารณะว่าเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งของเหมาใน ค.ศ. 1961 อย่างไรก็ตาม เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงและถูกขับออกจากพรรคโดยเหมาหลังการปฏิวัติวัฒนธรรมเริ่มต้นขึ้นใน ค.ศ. 1966 และท้ายที่สุดก็ถูกกักบริเวณในบ้านใน ค.ศ. 1967 เขาถูกบีบให้ออกจากวงการเมือง และถูกตราหน้าว่าเป็น "ผู้นำกองบัญชาการของชนชั้นกระฎุมพีของจีน" "ผู้เดินตามเส้นทางทุนนิยม" คนสำคัญที่สุดของจีน และผู้ทรยศต่อการปฏิวัติ เขาเสียชีวิตในคุกใน ค.ศ. 1969 ด้วยภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน หลิวถูกประณามอย่างกว้างขวางในช่วงหลายปีหลังเสียชีวิตกระทั่งได้รับการกู้ชื่อเสียงหลังเสียชีวิตโดยรัฐบาลเติ้ง เสี่ยวผิงใน ค.ศ. 1980 ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการปัวล่วนฝ่านเจิ้ง รัฐบาลเติ้งยังอนุมัติให้มีการจัดรัฐพิธีศพอย่างเป็นทางการเพื่อไว้อาลัยแก่เขา

วัยเยาว์

แก้
 
หลิว เช่าฉี ใน ค.ศ. 1927

หลิวเกิดในครอบครัวชาวนะฐานะปานกลางในหมู่บ้านหฺวาหมิงโหลว[1] อำเภอหนิงเซียง มณฑลหูหนาน[2] บรรพบุรุษมีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่อำเภอจี๋ฉุ่ย มณฑลเจียงซี เขาได้รับการศึกษาแบบสมัยใหม่[3]: 142  โดยศึกษาที่โรงเรียนมัธยมประจำอำเภอหนิงเซียงและได้รับการแนะนำให้เข้าเรียนในชั้นเรียนที่เซี่ยงไฮ้เพื่อเตรียมตัวไปศึกษาต่อที่ประเทศรัสเซีย ใน ค.ศ. 1920 เขาและเหริน ปี้ฉือเข้าร่วมสันนิบาตเยาวชนสังคมนิยม ในปีถัดมา หลิวได้รับการคัดเลือกให้ไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยผู้ใช้แรงงานแห่งตะวันออกขององค์การคอมมิวนิสต์สากลในมอสโก[1] หลิวศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งนั้นตั้งแต่ ค.ศ. 1921 ถึง 1922 และประสบการณ์ของเขาที่นั่นมีส่วนช่วยให้เขาประสบความสำเร็จในการจัดตั้งสหภาพแรงงานจีน การนัดหยุดงาน และคณะกรรมาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ใต้ดินในภายหลัง[4]: 96 

เขาเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1921 ปีถัดมาเขาเดินทางกลับประเทศจีน และในฐานะเลขาธิการสมาคมแรงงานแห่งประเทศจีนทั้งหมด เขาได้นำการนัดหยุดงานของคนงานรถไฟหลายครั้งในหุบเขาแยงซีและที่อันหยวนบริเวณชายแดนเจียงซี-หูหนาน[1]

กิจกรรมการปฏิวัติ

แก้

ใน ค.ศ. 1925 หลิวกลายเป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการบริหารสมาคมแรงงานทั่วประเทศซึ่งมีฐานอยู่ในกว่างโจว ในช่วงสองปีถัดมา เขานำการรณรงค์ทางการเมืองและการนัดหยุดงานมากมายในหูเป่ย์และเซี่ยงไฮ้ เขาทำงานร่วมกับหลี่ ลี่ซานในเซี่ยงไฮ้ใน ค.ศ. 1925 โดยจัดกิจกรรมของพรรคคอมมิวนิสต์หลังขบวนการ 30 พฤษภาคม หลังทำงานที่เซี่ยงไฮ้ หลิวเดินทางไปที่อู่ฮั่น เขาถูกจับกุมตัวสั้น ๆ ในฉางชาและจากนั้นกลับไปกว่างโจวเพื่อช่วยจัดการนัดหยุดงานกวางตุ้ง–ฮ่องกงที่ยาวนาน 16 เดือน[5]

เขาได้รับเลือกเข้าสู่คณะกรรมาธิการกลางของพรรคใน ค.ศ. 1927 และได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้ากรมแรงงานของพรรค[6] หลิวกลับไปทำงานที่สำนักงานใหญ่พรรคในเซี่ยงไฮ้ใน ค.ศ. 1929 และได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคแมนจูเรียในเฟิ่งเทียน[7] ใน ค.ศ. 1930 และ 1931 เขาเข้าร่วมการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 และ 4 ของคณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 6 และได้รับเลือกเข้าสู่คณะกรรมาธิการบริหารกลาง (หรือก็คือกรมการเมือง) ของสาธารณรัฐโซเวียตจีนใน ค.ศ. 1931 หรือ 1932 ต่อมาใน ค.ศ. 1932 เขาออกจากเซี่ยงไฮ้และเดินทางไปยังเจียงซีโซเวียต[8]

 
หลิว เช่าฉี และโจว เอินไหล (ค.ศ. 1939)

หลิวได้รับตำแหน่งเลขาธิการพรรคประจำมณฑลฝูเจี้ยนใน ค.ศ. 1932 เขาเข้าร่วมการเดินทัพทางไกลใน ค.ศ. 1934 อย่างน้อยก็จนถึงการประชุมจุนอี้ที่สำคัญ แต่หลังจากนั้นก็ถูกส่งไปยัง "พื้นที่สีขาว" (พื้นที่ภายใต้การควบคุมของก๊กมินตั๋ง) เพื่อจัดกิจกรรมใต้ดินในภาคเหนือของจีน โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ปักกิ่งและเทียนจิน เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคในจีนตอนเหนือใน ค.ศ. 1936 โดยนำขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นในพื้นที่นั้นด้วยความช่วยเหลือจากเผิง เจิ้น, อัน จื่อเหวิน, ปั๋ว อีปัว, เคอ ชิ่งชือ, หลิว หลานเทา และเหยา อี้หลิน ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1937 เขาก่อตั้ง ร่วมกับส่วนที่เหลือของสำนักจีนภาคเหนือ ในปักกิ่ง[9]: 104  ในปีเดียวกัน เขาท้าทายจาง เหวินเทียนเกี่ยวกับปัญหาทางประวัติศาสตร์ของพรรค โดยวิพากษ์วิจารณ์ข้อผิดพลาดของฝ่ายซ้ายหลัง ค.ศ. 1927 ซึ่งถือเป็นการละเมิดฉันทามติที่บรรลุในการประชุมจุนอี้ที่ว่าแนวทางของพรรคถูกต้องโดยพื้นฐาน[9]: 103  หลิวดำรงตำแหน่งผู้บริหารสำนักที่ราบภาคกลางใน ค.ศ. 1939 และผู้บริหารสำนักจีนตอนกลางใน ค.ศ. 1941

ใน ค.ศ. 1937 หลิวเดินทางไปยังฐานที่มั่นของพรรคคอมมิวนิสต์ที่เหยียนอาน และใน ค.ศ. 1941 เขากลายเป็นกรรมาธิการการเมืองของกองทัพใหม่ที่สี่[10] เขาได้รับเลือกเป็นหนึ่งในห้าเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการประชุมสภาแห่งชาติของพรรคครั้งที่ 7 ใน ค.ศ. 1945 ในรายงานหลังการประชุม หลิวได้แสดง "จุดมวลชน" สี่ประการที่ต้องปลูกฝังในสมาชิกพรรคทุกคน: "ทุกสิ่งเพื่อมวลชน; ความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อมวลชน; ศรัทธาในการปลดปล่อยตนเองของมวลชน; และการเรียนรู้จากมวลชน[11]

หลังจากการประชุมครั้งนั้น เขากลายเป็นผู้นำสูงสุดของกองกำลังคอมมิวนิสต์ทั้งหมดในแมนจูเรียและจีนตอนเหนือ[10] ซึ่งเป็นบทบาทที่นักประวัติศาสตร์มักมองข้าม

สาธารณรัฐประชาชนจีน

แก้

หลิวได้รับตำแหน่งรองประธานรัฐบาลประชาชนส่วนกลางใน ค.ศ. 1949 ใน ค.ศ. 1954 ประเทศจีนประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติครั้งแรก ที่การประชุมครั้งแรกของสภานี้ เขาได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำของสภา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เขาดำรงอยู่จนกระทั่งสภาประชาชนแห่งชาติชุดที่สองใน ค.ศ. 1959 ตั้งแต่ ค.ศ. 1956 กระทั่งถึงวาระสุดท้ายใน ค.ศ. 1966 เขาดำรงตำแหน่งรองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนคนที่ 1[10]

งานของหลิวเน้นไปที่กิจการด้านการจัดองค์กรและทฤษฎีของพรรค[12] เขาเป็นผู้ร่างข้อบังคับของพรรคและควบคุมดูแลการพัฒนาองค์กรของพรรคให้เป็นไปตามหลักการลัทธิมากซ์–เลนิน[13]: 18–19  เขาเป็นคอมมิวนิสต์แบบโซเวียตดั้งเดิมและสนับสนุนการวางแผนโดยรัฐและการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก เขาขยายความเชื่อทางการเมืองและเศรษฐกิจของตนในงานเขียนของเขา ผลงานที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของเขา ได้แก่ How to be a Good Communist (1939), On the Party (1945) และ Internationalism and Nationalism (1952)

ประธานประเทศ

แก้

หลิวพูดสนับสนุนนโยบายก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้าอย่างแข็งขันในการประชุมสภาแห่งชาติพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 8 ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1958 อย่างไรก็ตาม ต่อมาเขาแสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบด้านลบของการรณรงค์ โดยเฉพาะภาวะอดอยากที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ในระหว่างการประชุมหลูชานใน ค.ศ. 1959 หลิวเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการแก้ไขมาตรการและสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจที่สายกลางมากขึ้น[14] ในการประชุมนี้ หลิวยืนหยัดร่วมกับเติ้ง เสี่ยวผิงและเผิง เจิ้นเพื่อสนับสนุนนโยบายของเหมาต่อผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์มากกว่า เช่น เฉิน ยฺหวินและโจว เอินไหล

ด้วยเหตุนี้ หลิวจึงมีอิทธิพลเพิ่มขึ้นภายในพรรค ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1959 เขาสืบทอดตำแหน่งประธานสาธารณรัฐประชาชนจีน (ประธานาธิบดีจีน) ต่อจากเหมา อย่างไรก็ตาม หลิวเริ่มแสดงความกังวลเกี่ยวกับผลลัพธ์ของนโยบายก้าวกระโดดไกลในการประชุมหลูชานเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1959[14] เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของการก้าวกระโดดไกล หลิวและเติ้ง เสี่ยวผิงได้นำการปฏิรูปเศรษฐกิจที่ส่งเสริมความนิยมของพวกเขาในหมู่กลไกของพรรคและประชาชนทั่วประเทศ นโยบายเศรษฐกิจของเติ้งและหลิวโดดเด่นในด้านความเป็นสายกลางมากกว่าแนวคิดหัวรุนแรงของเหมา ตัวอย่างเช่น ความวุ่นวายทางเศรษฐกิจจากการก้าวกระโดดไกลทำให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องเลื่อนแผนห้าปีฉบับที่สาม หลิวเป็นผู้นำกลุ่มเจ้าหน้าที่ระดับสูงในการฟื้นฟูเศรษฐกิจผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น เพิ่มบทบาทของตลาด สร้างแรงจูงใจด้านวัตถุแก่แรงงาน ลดอัตราการลงทุนของภาครัฐ กำหนดเป้าหมายพัฒนาที่สมเหตุสมผล เพิ่มงบประมาณสำหรับอุตสาหกรรมผู้บริโภค[15]: 40  ระหว่างการทำงานเบื้องต้นของแผนห้าปีฉบับที่สาม หลิวกล่าวว่า:[15]: 51 

ในอดีต แนวรบด้านโครงสร้างพื้นฐานนั้นยาวเกินไป มีโครงการมากเกินไป ความต้องการสูงเกินไปและเร่งรีบ การออกแบบทำได้ไม่ดี และโครงการต่าง ๆ เริ่มต้นอย่างเร่งรีบ ... เราให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลผลิตเพียงอย่างเดียวและละเลยคุณภาพ เราตั้งเป้าหมายไว้สูงเกินไป เราต้องจดจำประสบการณ์การเรียนรู้ที่เจ็บปวดเหล่านี้เสมอ

แตกแยกกับเหมา

แก้
 
หลิว เช่าฉี และอินทิรา คานธี (ค.ศ. 1954)

หลิวได้รับการยอมรับอย่างเปิดเผยว่าเป็นผู้สืบทอดที่เหมาเลือกใน ค.ศ. 1961 อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 1962 การที่เขาคัดค้านนโยบายของเหมาทำให้เหมาไม่ไว้วางใจเขา การสนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจเชิงปฏิบัติของหลิวและการวิพากษ์วิจารณ์ความล้มเหลวของการก้าวกระโดดไกลทำให้เห็นถึงความแตกแยกทางอุดมการณ์ระหว่างเขากับเหมา[16] หลังจากที่เหมาประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูเกียรติภูมิของตนในคริสต์ทศวรรษ 1960[17] การล่มสลายของหลิวก็ "หลีกเลี่ยงไม่ได้" ในที่สุด ตำแหน่งของหลิวในฐานะผู้นำอันดับสองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีส่วนสำคัญในการทำให้เหมาเกิดความขัดแย้งกับเขา ความขัดแย้งนี้มีน้ำหนักมากกว่าความเชื่อทางการเมืองหรือความจงรักภักดีต่อกลุ่มของหลิวในคริสต์ทศวรรษ 1960[16] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงและหลังการประชุมเจ็ดพันแกนนำ ซึ่งบ่งชี้ว่าการข่มเหงหลิวในเวลาต่อมาเป็นผลจากการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจที่เกินเลยเป้าหมายและความเป็นอยู่ที่ดีของจีนหรือพรรค

หลิวเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ใน ค.ศ. 1964 ที่ไม่เต็มใจจะสนับสนุนการรณรงค์แนวรบที่สามที่เสนอโดยเหมาเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐานและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในพื้นที่ภายในของจีน เพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากการรุกรานโดยสหรัฐหรือสหภาพโซเวียต[15]: 41  เพื่อพยายามประวิงเวลา หลิวเสนอให้มีการสำรวจและวางแผนเพิ่มเติม[15]: 40  โคเวลล์ เอฟ. เมย์สเกนส์ นักวิชาการ เขียนว่า หลิวและเพื่อนร่วมงานระดับสูงที่เห็นด้วยกับเขาไม่ต้องการที่จะเข้าร่วมในการรณรงค์อุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้หลังจากความล้มเหลวของก้าวกระโดดไกลและพวกเขาต้องการที่จะสานต่อแนวทางแบบค่อยเป็นค่อยไปในการพัฒนาพื้นที่และเพิ่มการบริโภค[15]: 41  เมื่อความกลัวการรุกรานของอเมริกาเพิ่มขึ้นหลังอุบัติการณ์อ่าวตังเกี๋ย หลิวและเพื่อนร่วมงานของเขาก็เปลี่ยนมุมมองและเริ่มสนับสนุนการสร้างแนวรบที่สามอย่างเต็มที่[15]: 7 

 
หลิวในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1966 ปีแรกของการปฏิวัติวัฒนธรรม

ภายใน ค.ศ. 1966 ผู้นำระดับสูงของจีนไม่กี่คนตั้งคำถามถึงความจำเป็นในการปฏิรูปครั้งใหญ่เพื่อต่อสู้กับปัญหาที่กำลังเติบโตของการทุจริตและระบบราชการที่มากเกินไปภายในพรรคและรัฐบาล ด้วยเป้าหมายที่จะปฏิรูปการปกครองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นไปตามอุดมการณ์คอมมิวนิสต์อย่างแท้จริง หลิวเองจึงเป็นประธานในการประชุมกรมการเมืองที่ขยายใหญ่ที่เป็นการเริ่มต้นการปฏิวัติวัฒนธรรมอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม หลิวและพันธมิตรทางการเมืองของเขาสูญเสียการควบคุมการปฏิวัติวัฒนธรรมอย่างรวดเร็วหลังจากที่มันถูกประกาศ เมื่อเหมาใช้ขบวนการนี้เพื่อค่อย ๆ ผูกขาดอำนาจทางการเมืองและกำจัดผู้ที่เขาเห็นว่าเป็นศัตรู[18]

ไม่ว่าจะมีสาเหตุอื่นใด การปฏิวัติวัฒนธรรมที่ประกาศใน ค.ศ. 1966 เป็นการสนับสนุนลัทธิเหมาอย่างเปิดเผย และทำให้เหมามีอำนาจและอิทธิพลในการกำจัดศัตรูทางการเมืองของเขาในระดับสูงสุดของรัฐบาลออกจากพรรค นอกจากการปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในจีน และการยุยงของเหมาให้เยาวชนจีนทำลายอาคารเก่า วัด และงานศิลปะอย่างไม่เลือกหน้า รวมถึงการโจมตีครู ผู้บริหารโรงเรียน ผู้นำพรรค และพ่อแม่ของตนเองแล้ว[19] การปฏิวัติวัฒนธรรมยังทำให้ชื่อเสียงของเหมาเพิ่มขึ้นอย่างมากจนหมู่บ้านทั้งหมดนำเอาธรรมเนียมการสวดภาวนาต่อเหมาก่อนอาหารทุกมื้อมาใช้[20]

ทั้งในการเมืองระดับชาติและวัฒนธรรมสมัยนิยมของจีน เหมาสถาปนาตนเองเป็นกึ่งเทพที่ไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใด โดยกำจัดผู้ใดก็ตามที่สงสัยว่าต่อต้านเขา[21] และสั่งการมวลชนและยุวชนแดง "ให้ทำลายสถาบันของรัฐและพรรคเกือบทั้งหมด[18] หลังจากที่มีการประกาศการปฏิวัติวัฒนธรรม สมาชิกอาวุโสส่วนใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่แสดงความลังเลในการปฏิบัติตามทิศทางของเหมา รวมถึงหลิว เช่าฉีและเติ้ง เสี่ยวผิง ถูกปลดจากตำแหน่งเกือบจะทันที และถูกวิพากษ์วิจารณ์และทำให้เสียชื่อเสียงอย่างรุนแรงพร้อมกับครอบครัวของพวกเขา[19] หลิวและเติ้ง พร้อมด้วยคนอื่น ๆ อีกมากมาย ถูกประณามว่าเป็น "พวกเดินตามเส้นทางทุนนิยม"[22] หลิวถูกตราหน้าว่าเป็น "ผู้บัญชาการกองบัญชาการกระฎุมพีของจีน" "ผู้เดินตามเส้นทางทุนนิยม" คนสำคัญของจีน "ผู้เดินตามเส้นทางทุนนิยมที่ใหญ่ที่สุดในพรรค" และเป็นผู้ทรยศต่อการปฏิวัติ[23] เขาถูกปลดจากตำแหน่งรองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนโดยหลิน เปียวในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1966

ใน ค.ศ. 1967 หลิวและหวัง กวงเหม่ย์ ภรรยาของเขาถูกกักบริเวณในบ้านในปักกิ่ง[24] จุดยืนทางเศรษฐกิจหลักของหลิวถูกโจมตี รวมถึง "สามเสรีภาพและหนึ่งหลักประกัน" ของเขา (ซึ่งส่งเสริมที่ดินส่วนตัว ตลาดเสรี การบัญชีอิสระสำหรับวิสาหกิจขนาดเล็ก และโควตาผลผลิตครัวเรือน) และ "สี่เสรีภาพ" (ซึ่งอนุญาตให้บุคคลในชนบทเช่าที่ดิน ให้กู้ยืมเงิน จ้างแรงงาน และทำการค้า)[25] หลิวถูกปลดจากตำแหน่งทั้งหมดและถูกขับออกจากพรรคในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1968 หลังถูกจับกุม หลิวก็หายตัวไปจากสายตาสาธารณชน

การถูกโจมตี เสียชีวิต และการฟื้นฟู

แก้
 
หลิว เช่าฉี ถูกทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงต่อหน้าสาธารณชนในการชุมนุมระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรม

ในที่ประชุมสภาแห่งชาติพรรคครั้งที่ 9 หลิวถูกประณามว่าเป็นผู้ทรยศและสายลับของศัตรู โจวเอินไหลอ่านคำตัดสินของพรรคว่าหลิวเป็น "ทรราชอาชญากร สายลับศัตรู และคนขายชาติที่รับใช้พวกจักรวรรดินิยม พวกแก้ลัทธิสมัยใหม่ และพวกปฏิกิริยาก๊กมินตั๋ง" อาการของหลิวไม่ดีขึ้นหลังจากที่เขาถูกประณามในสภา และเสียชีวิตในเวลาต่อมาไม่นาน[26][27]

ในบันทึกความทรงจำที่เขียนโดยแพทย์ประจำตัวหลักของหลิว เขาโต้แย้งข้อกล่าวหาเรื่องการรักษาทางการแพทย์ที่ไม่เหมาะสมต่อหลิวในช่วงวันสุดท้ายของเขา ตามที่ ดร. กู่ ฉีหฺวา กล่าวไว้ มีคณะแพทย์เฉพาะกิจที่รับผิดชอบการรักษาอาการป่วยของหลิว ระหว่างเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1968 ถึงตุลาคม ค.ศ. 1969 หลิวมีอาการปอดบวมทั้งหมดเจ็ดครั้งเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมโทรม และมีการปรึกษาหารือเป็นกลุ่มทั้งหมด 40 ครั้งโดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ชั้นนำเกี่ยวกับการรักษาโรคนี้ หลิวได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดทุกวันโดยคณะแพทย์ และพวกเขาพยายามอย่างสุดความสามารถภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบาก เขาเสียชีวิตในเรือนจำจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานในเวลา 06:45 น. ของวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969 โดยใช้นามแฝงในไคเฟิง และถูกเผาในวันรุ่งขึ้น[28][29][24]

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1980 สองปีหลังเติ้ง เสี่ยวผิงขึ้นสู่อำนาจ การประชุมเต็มคณะครั้งที่ 5 ของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 11 ได้ออก "มติว่าด้วยการฟื้นฟูเกียรติภูมิของสหายหลิว เช่าฉี มติฉบับนั้นได้ฟื้นฟูชื่อเสียงของหลิวอย่างสมบูรณ์ โดยประกาศว่าการขับไล่เขาออกไปนั้นไม่ยุติธรรม และลบคำ "ทรราช คนขายชาติ และคนขี้ขลาด" ที่ถูกตราหน้าเขาในขณะที่เขาเสียชีวิต[22] นอกจากนี้ ยังประกาศให้เขาเป็น "มาร์กซิสต์และนักปฏิวัติชนกรรมาชีพผู้ยิ่งใหญ่" และยอมรับเขาในฐานะผู้นำหลักคนหนึ่งของพรรค หลิน เปียวถูกกล่าวโทษว่า "สร้างหลักฐานเท็จ" เพื่อใส่ร้ายหลิว และร่วมมือกับแก๊งออฟโฟร์เพื่อทำให้เขาตกเป็นเหยื่อ "การใส่ร้ายทางการเมืองและการข่มเหงทางร่างกาย" ใน ค.ศ. 1980 หลิวได้รับการฟื้นฟูหลังความตายโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้การนำของเติ้ง เสี่ยวผิง การฟื้นฟูชื่อเสียงนี้รวมถึงการขอโทษอย่างเป็นทางการจากรัฐบาล โดยยอมรับว่าหลิวถูกข่มเหงอย่างไม่เป็นธรรมและผลงานของเขาต่อการปฏิวัติจีนและการพัฒนาในช่วงต้นของสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้นมีความสำคัญและเป็นเชิงบวก[30] หลังจากการเสร็จสิ้นพิธีฟื้นฟูชื่อเสียง เถ้ากระดูกของหลิวถูกโปรยลงทะเลนอกชายฝั่งชิงเต่า ตามความปรารถนาที่เขาแสดงไว้ก่อนเสียชีวิต[31]

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 สี จิ้นผิง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้กล่าวสุนทรพจน์ในมหาศาลาประชาชนในกรุงปักกิ่งเพื่อรำลึกถึงวันครบรอบ 120 ปีของการเกิดของหลิว เช่าฉี[32]

มรดกของหลิว เช่าฉียังคงเป็นที่ถกเถียงกันในประเทศจีน แม้บทบาทของเขาในการปฏิวัติจีนและการปฏิรูปเศรษฐกิจในช่วงแรกจะเป็นที่ยอมรับ แต่การที่เขาถูกข่มเหงในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรมและความทุกข์ทรมานที่ตามมานั้นก็แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนของเส้นทางการเมืองของเขา แนวทางปฏิบัติจริงของหลิวต่อเศรษฐกิจถูกมองว่าเป็นรากฐานของการปฏิรูปที่เปลี่ยนแปลงประเทศจีนในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20"[33]

ชีวิตส่วนตัว

แก้
 
หลิวและหวัง กวงเหม่ย์ ภรรยาของเขาในคริสต์ทศวรรษ 1960

หลิวแต่งงานห้าครั้ง รวมถึงกับเหอ เป่าเจิน (何宝珍) และหวัง กวงเหม่ย์ (王光美)[34] เซี่ย เฟย์ (谢飞) ภรรยาคนที่สามของเขา มาจากเหวินชาง ไห่หนาน และเป็นหนึ่งในผู้หญิงไม่กี่คนที่เข้าร่วมการเดินทัพทางไกลใน ค.ศ. 1934[35] หวัง กวงเหม่ย์ ภรรยาของเขาขณะที่เขาเสียชีวิตใน ค.ศ. 1969 ถูกเหมาจับเข้าคุกในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม เธอถูกกระทำอย่างโหดร้ายในห้องขังเดี่ยวเป็นเวลานานกว่าทศวรรษ[36]

หลิว ยฺหวิ่นปิน (จีน: 刘允斌; พินอิน: Liú Yǔnbīn) ลูกชายคนที่สาม เป็นนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงผู้ซึ่งถูกเลือกปฏิบัติอย่างรุนแรงในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม เขาฆ่าตัวตายใน ค.ศ. 1967 ด้วยการนอนบนรางรถไฟ เขาได้รับการฟื้นฟูหลังความตายและชื่อเสียงของเขาได้รับการฟื้นคืนใน ค.ศ. 1978

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Dittmer, Lowell, Liu Shao-ch’i and the Chinese Cultural Revolution: The Politics of Mass Criticism, University of California Press (Berkeley), 1974, p. 27
  2. Snow, Edgar, Red Star Over China, Random House (New York), 1938. Citation is from the Grove Press 1973 edition, pp. 482–484
  3. Hammond, Ken (2023). China's Revolution and the Quest for a Socialist Future. New York, NY: 1804 Books. ISBN 9781736850084.
  4. Li, Xiaobing (2018). The Cold War in East Asia. Abingdon, Oxon: Routledge. ISBN 978-1-138-65179-1.
  5. Dittmer, p. 14
  6. Chen, Jerome. Mao and the Chinese Revolution, (London), 1965, p. 148
  7. Dittmer, p. 15
  8. Snow, pp. 482–484
  9. 9.0 9.1 Gao Hua, How the Red Sun Rose: The Origins and Development of the Yan'an Rectification Movement, 1930–1945, Chinese University of Hong Kong Press. 2018
  10. 10.0 10.1 10.2 Dittmer 1974, p. 17 citing Tetsuya Kataoka, Resistance and Revolution in China: The Communists and the Second United Front, 1974 pre-publication.
  11. MacFarquhar, Roderick (1973). "Problems of Liberalization and the Succession at the Eighth Party Congress". The China Quarterly (56): 617–646. doi:10.1017/S0305741000019524. ISSN 0305-7410. JSTOR 652160.
  12. Dittmer 1974, p. 206
  13. Tsang, Steve; Cheung, Olivia (2024). The Political Thought of Xi Jinping. Oxford University Press. ISBN 9780197689363.
  14. 14.0 14.1 Dikötter, Frank. Mao's Great Famine: The History of China's Most Devastating Catastrophe, 1958-62. Walker & Company, 2010.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 15.5 Meyskens, Covell F. (2020). Mao's Third Front: The Militarization of Cold War China. Cambridge, United Kingdom: Cambridge University Press. ISBN 978-1-108-78478-8. OCLC 1145096137.
  16. 16.0 16.1 Teiwes, Frederick C., and Warren Sun. The Tragedy of Lin Biao: Riding the Tiger during the Cultural Revolution, 1966-1971. University of Hawaii Press, 1996.
  17. Spence, Jonathan D. The Search for Modern China, New York: W.W. Norton and Company. 1999. ISBN 0-393-97351-4 p. 566.
  18. 18.0 18.1 Qiu Jin, The Culture of Power: the Lin Biao Incident in the Cultural Revolution, Stanford University Press: Stanford, California. 1999, p. 45
  19. 19.0 19.1 Spence, Jonathan D. The Search for Modern China, New York: W.W. Norton and Company. 1999. ISBN 0-393-97351-4 p. 575.
  20. Spence, Jonathan D. The Search for Modern China, New York: W.W. Norton and Company. 1999. ISBN 0-393-97351-4 p. 584
  21. Barnouin, Barbara and Yu Changgen. Zhou Enlai: A Political Life. Hong Kong: Chinese University of Hong Kong, 2006. ISBN 962-996-280-2 p. 4
  22. 22.0 22.1 Dittmer, Lowell (1981). "Death and Transfiguration: Liu Shaoqi's Rehabilitation and Contemporary Chinese Politics". The Journal of Asian Studies. 40 (3): 455–479. doi:10.2307/2054551. ISSN 0021-9118. JSTOR 2054551.
  23. "Liu Shaoqi (1898-1969)". Chinese University of Hong Kong. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2018.
  24. 24.0 24.1 Mathews, Jay (4 March 1980). "5 Children of Liu Shaoqi Detail Years in Disfavor". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 25 September 2022.
  25. Coderre, Laurence (2021). Newborn socialist things : materiality in Maoist China. Durham [N.C.]: Duke University Press. p. 68. ISBN 978-1478014300.
  26. Chung, Jang. Wild Swans: Three Daughters of China. Touchstone: New York. 2003. p. 391. ISBN 0-7432-4698-5.
  27. Glover, Jonathan (1999). Humanity : A Moral History of the Twentieth Century. London: J. Cape. p. 289. ISBN 0-300-08700-4.
  28. 回忆抢救刘少奇, 炎黄春秋 [Liu Shaoqi's Emergency Treatment] (ภาษาChinese (China)). Sina.com History. 12 November 2013.
  29. Alexander V. Pantsov . Mao: The Real Story . Simon & Schuster 2013. p. 519. ISBN 1451654480.
  30. Vogel, Ezra F. Deng Xiaoping and the Transformation of China. Harvard University Press, 2011.
  31. "Rehabilitation of Liu Shaoqi (Feb. 1980)". China Internet Information Center. 22 June 2011. สืบค้นเมื่อ 14 July 2024.
  32. "Xi's speech commemorating 120th anniversary of Liu Shaoqi's birth published". People's Daily. 4 December 2018. สืบค้นเมื่อ 4 December 2018.
  33. Lo Porto-Lefébure, Alessia (6 March 2009). "NAUGHTON (Barry) – The Chinese Economy. Transitions and Growth . – Cambridge (Mass.), The MIT Press, 2007. 528 p." Revue française de science politique. 59 (1): IV. doi:10.3917/rfsp.591.0134d. ISSN 0035-2950.
  34. 前国家主席刘少奇夫人王光美访谈录 (ภาษาChinese (China)). Sina.com. สืบค้นเมื่อ 29 January 2011.
  35. 长征时与刘少奇结伉俪,琼籍女红军传奇人生 (ภาษาChinese (China)). สืบค้นเมื่อ 29 January 2011.
  36. Lieberthal, Kenneth. Governing China: From Revolution to Reform. W.W. Norton: New York, 1995.[ไอเอสบีเอ็น ไม่มี]

ข้อมูล

แก้
  • "Fifth Plenary Session of 11th C.C.P. Central Committee", Beijing Review, No. 10 (10 March 1980), pp. 3–10, which describes the official rehabilitation measures.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้