การปฏิรูปที่ดิน

การปฏิรูปที่ดิน เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ระเบียบหรือขนบธรรมเนียมเกี่ยวข้องกับการถือครองที่ดิน[1] การปฏิรูปที่ดินอาจประกอบด้วยการจัดสรรทรัพย์สินใหม่ที่รัฐบาลเป็นผู้ริเริ่มหรือผู้สนับสนุนซึ่งโดยทั่วไปทรัพย์สินดังกล่าวคือที่ดินเพื่อการเกษตร ฉะนั้นการปฏิรูปที่ดินจึงอาจหมายถึงการโอนการถือครองที่ดินจากผู้มีอำนาจมากไปสู่ผู้ด้อยอำนาจ เช่น จากเจ้าของที่ดินกว้างขวางร่ำรวยจำนวนน้อยไปเป็นของปัจเจกที่ทำงานในที่ดินนั้นจริง ๆ[2] การโอนกรรมสิทธิ์ดังกล่าวเกิดมีค่าชดเชยหรือไม่ก็ได้[3]

การบริหารจัดการที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในประเทศไทย

การปฏิรูปที่ดินยังอาจหมายถึงการโอนที่ดินของเอกชนมาเป็นของรัฐบาลด้วย[4] แต่ลักษณะร่วมของการปฏิรูปที่ดินได้แก่การแก้ไขหรือทดแทนข้อตกลงเชิงสถาบันที่มีอยู่เดิมที่เกี่ยวข้องกับการครอบครองและการใช้ที่ดิน ดังนั้นการปฏิรูปที่ดินจึงไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องมูลวิวัติเสมอไป โดยบางครัง้อาจเป็นเรื่องเล็กน้อย เช่น การปฏิรูปข้อบังคับที่มุ่งปรับปรุงการบริหารจัดการที่ดินก็ได้[5]

กระนั้นการทบทวนหรือปฏิรูปกฎหมายที่ดินของประเทศหนึ่ง ๆ อาจเป็นกระบวนการทางการเมืองที่เข้มข้นได้ เพราะการปฏิรูปนโยบายที่ดินทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทั้งในชุมชนเดียวกันและระหว่างชุมชน ตลอดจนระหว่างชุมชนกับรัฐ ฉะนั้นแม้แต่การปฏิรูปที่ดินและการแก้ไขกฎหมายขนาดเล็กก็อาจเป็นหัวข้อถกเถียงหรือความขัดแย้งมากได้[6]

การปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย

แก้

การปฏิรูปที่ดินในประเทศไทยถูกพูดถึงครั้งแรกหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 โดยนายปรีดี พนมยงค์ ในเค้าโครงการเศรษฐกิจ พ.ศ. 2475 (สมุดปกเหลือง) ที่เสนอขึ้นมาในปี พ.ศ. 2476 เพื่อกระจายการถือครองที่ดินให้กับราษฎร[7] ก่อนจะถูกวิพากษ์ว่าไม่เหมาะสมกับประเทศไทย และมีความเป็นคอมมิวนิสต์ ทำให้เค้าโครงดังกล่าวไม่ได้นำมาใช้จริง[8]

 
การปรับพื้นที่เพื่อดำเนินการการปฏิรูปที่ดิน โครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่ได้จากการยึดคืน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

กระทั่งในปี พ.ศ. 2518 จึงได้มีการจัดตั้งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมขึ้นมา เพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 เพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินมาจนถึงปัจจุบัน

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

แก้

ปัจจุบันการปฏิรูปที่ดินมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน อาทิ

อ้างอิง

แก้
  1. Batty, Fodei Joseph. "Pressures from Above, Below and Both Directions: The Politics of Land Reform in South Africa, Brazil and Zimbabwe." Western Michigan University. Presented at the Annual Meeting of the Midwest Political Science Association. Chicago, Illinois. April 7–10, 2005. p. 3. [1]
  2. Borras, Saturnino M. Jr. "The Philippine Land form in Comparative Perspective: Some conceptual and Methodological Implications." Journal of Agrarian Change. 6,1 (January 2006): 69–101.
  3. Adams, Martin and J. Howell. "Redistributive Land Reform in Southern Africa." Overseas Development Institute. DFID. Natural Resources Perspectives No. 64. January 2001. [2] เก็บถาวร 2009-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. Adams, Martin and J. Howell. "Redistributive Land Reform in Southern Africa." เก็บถาวร 2009-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Overseas Development Institute. DFID. Natural Resources Perspectives No. 64. January 2001.
  5. Ghana's Land Administration Project เก็บถาวร 2011-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. Lund, Christian. Local Politics and the Dynamics of Property in Africa. Cambridge University Press: New York. 2008.
  7. "8 ทศวรรษ การกระจายการถือครองที่ดิน จากสมุดปกเหลือง (เค้าโครงการเศรษฐกิจ) ถึงการปฏิรูปที่ดินโดยภาคประชาชน". prachatai.com.
  8. ใจจริง, ณัฐพล (2021-04-14). "สมุดปกเหลือง : คนหนุ่มกับความพยายามเปลี่ยนแปลง รากเหง้าของสยาม / My Country Thailand ณัฐพล ใจจริง". มติชนสุดสัปดาห์.