เผิง เต๋อหวย
เผิง เต๋อหวย (จีน: 彭德怀; พินอิน: Péng Déhuái; 24 ตุลาคม ค.ศ. 1898 – 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1974) เป็นผู้นำทหารฝ่ายคอมมิวนิสต์จีนคนสำคัญ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของจีน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954 ถึง ค.ศ. 1959 เผิงเกิดในครอบครัวชาวนาที่ยากจนและได้รับการศึกษาระดับประถมเป็นเวลาหลายปีก่อนที่ความยากจนของครอบครัวของเขาจะบังคับให้เขาต้องพักการศึกษาตั้งแต่อายุสิบขวบและต้องทำงานเป็นกรรมกรแรงงานเป็นเวลาหลายปี เมื่อเขาอายุสิบหก เผิงก็กลายเป็นทหารมืออาชีพ ในช่วงสิบปีข้างหน้า เผิงได้เข้าร่วมในกองทัพขุนศึกหลายแห่งที่ตั้งอยู่ในมณฑลหูหนาน ได้ยกระดับตัวเองจากยศตำแหน่งพลทหารระดับชั้นสองไปเป็นพันตรี ในปี ค.ศ. 1926 กองทัพของเผิงได้เข้าร่วมกับพรรคก๊กมินตั๋งและเผิงได้รับการแนะนำให้รู้จักกับลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นครั้งแรก เผิงได้เข้าร่วมในการกรีฑาทัพขึ้นเหนือและสนับสนุนความพยายามของวาง จิงเว่ยในการจัดตั้งรัฐบาลก๊กมินตั๋งที่เอนเอียงไปฝ่ายซ้ายซึ่งตั้งที่มั่นในอู่ฮั่น ภายหลังจากที่วางพ่ายแพ้ เผิงได้กลับเข้าร่วมกับกองทัพของเจียง ไคเชกในช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยที่ตัวเขาเองเป็นพันธมิตรกับเหมา เจ๋อตงกับจูเต๋อ
เผิง เต๋อหวย | |
---|---|
เผิง เต๋อหวยในชุดเครื่องแบบจอมพล | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 1954–1959 | |
ก่อนหน้า | ไม่มี |
ถัดไป | หลิน เปียว |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 ตุลาคม ค.ศ. 1898 Shixiang, มนฑเซียงถาน, หูหนาน, ราชวงศ์ชิง |
เสียชีวิต | 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1974 ปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน | (76 ปี)
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์จีน |
อาชีพ | General, politician, writer |
รางวัล | Order of Victory of Resistance against Aggression Order of Bayi (First Class Medal) เครื่องอิสริยาภรณ์เอกราชและเสรีภาพ (First Class Medal) เครื่องอิสริยาภรณ์การปลดปล่อย (First Class Medal) "National Flag" Order of Merit (awarded twice) (North Korea) |
ชื่อเล่น | Péng lǎozǒng, "หัวหน้าเฒ่า เผิง" "นายพลใหญ่ เผิง", ได้ถูกกล่าวโดยเหมา เจ๋อตงในบทกวีที่มีชื่อเสียงของเขา |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | สาธารณรัฐจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน |
สังกัด | กองทัพบกกองทัพปลดปล่อยประชาชน กองทัพทหารอาสาสมัครประชาชน กองทัพเส้นทางที่แปด กองทัพแดงของแรงงานและชาวนาของจีน กองทัพที่ 8 แห่งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน ก๊กหูหนาน |
ประจำการ | 1916–1959 |
ยศ | จอมพลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน พลโทแห่งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน, สาธารณรัฐจีน |
บังคับบัญชา | Commander, Third Corps, Chinese Red Army Deputy Commander in Chief, Eighth Route Army Deputy Commander in Chief, People's Liberation Army Commander-in-Chief and Political Commissar, People's Volunteer Army |
ผ่านศึก | การกรีฑาทัพขึ้นเหนือ การเดินทัพทางไกล การรุกร้อยกรมทหาร สงครามกลางเมืองจีน สงครามเกาหลี |
เผิง เต๋อหวย | |||||||||||||||||
"Peng Dehuai" in Simplified (top) and Traditional (bottom) Chinese characters | |||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 彭德怀 | ||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 彭德懷 | ||||||||||||||||
|
เผิงเป็นหนึ่งในนายพลระดับชั้นอาวุโสที่สุดที่คอยปกป้องเจียงซี โซเวียตจากความพยายามของเจียงที่จะยึดครองที่แห่งนั้น และความสำเร็จของเขาได้ถูกตีเสมอกันโดยหลิน เปียวเท่านั้น เผิงได้เข้าร่วมในการเดินทัพทางไกลและให้การสนับสนุนต่อเหมา เจ๋อตงในการประชุมที่จุนอี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการเถลิงอำนาจของเหมา ในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1937-1945 เผิงเป็นหนึ่งในการสนับสนุนที่แข็งแกร่งที่สุดในความต้องการที่จะยุติการสู้รบกับพรรคก๊กมินตั๋งในคำสั่งเพื่อรวบรวมทรัพยากรร่วมของจีนในการต่อต้านจักรวรรดิญี่ปุ่น เผิงเป็นผู้บัญชาการระดับชั้นอาวุโสในความพยายามร่วมมือกันของก๊กมินตั๋ง-คอมมิวนิวสต์เพื่อต่อต้านการยึดครองชานซีของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1937 และในปี ค.ศ. 1938 อยู่ในการบังคับบัญชาของ 2/3 ของกองทัพเส้นทางที่แปด ในปี ค.ศ. 1940 เผิงได้ดำเนินการรุกร้อยกรมทหาร ซึ่งเป็นความพยายามครั้งใหญ่ของคอมมิวนิสต์ในการทำลายเครือข่ายลอจิสติกส์ของญี่ปุ่นทั่วภูมิภาคเหนือของจีน การรุกร้อยกรมทหารได้ประสบผลสำเร็จพอสมควร แต่เกิดความขัดแย้งภายในพรรคคอมมิวนิสต์ทำให้เผิงถูกเรียกตัวกลับยานาน และเขาใช้เวลาที่เหลือของสงครามโดยไม่ได้รับคำสั่งอีกเลย ภายหลังจากญี่ปุ่นยอมจำนน ในปี ค.ศ. 1945 เผิงก็ได้รับคำสั่งให้บัญชาการกองทัพคอมมิวนิสต์ในทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เขาเป็นผู้บัญชาการระดับชั้นอาวุโสที่สุดคนหนึ่งที่รับผิดชอบในการปกป้องผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ในมณฑลส่านซีจากกองทัพก๊กมินตั๋ง ปกป้องเหมาจากการถูกจับกุมอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ในที่สุดเผิงก็ได้เอาชนะก๊กมินตั๋งในทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ได้เข้ายึดเสบียงทางทหารจำนวนมหาศาลและรวมพื้นที่ขนาดใหญ่ รวมทั้งซินเจียง เข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน
เผิงเป็นหนึ่งในผู้นำทางทหารระดับชั้นอาวุโสเพียงไม่กี่คนที่สนับสนุนข้อเสนอแนะของเหมาในการมีส่วนร่วมโดยตรงของจีนในสงครามเกาหลี ปี ค.ศ. 1950-1953 และเขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการโดยตรงของกองทัพทหารอาสาสมัครประชาชนชาวจีนในช่วงครึ่งแรกของสงคราม(แม้ว่าเหมาและโจว เอินไหลจะเป็นผู้นำทางด้านกลยุทธ์มากกว่า) ด้วยประสบการณ์ของเผิงในสงครามเกาหลีทำให้เขามีความเชื่อว่ากองทัพจีนต้องมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น มีระเบียบวินัย และมีอุปกรณ์ติดตั้งที่ดีในการเตรียมความพร้อมสำหรับเงื่อนไขของการสงครามเทคนิคสมัยใหม่ เนื่องจากสหภาพโซเวียตเป็นประเทศคอมมิวนิสต์เพียงประเทศเดียวที่มีกองทัพที่ทันสมัยและมีความเป็นมืออาชีพ เผิงจึงพยายามทำการปฏิรูปกองทัพจีนตามแบบของโซเวียตในอีกหลายปีข้างหน้า ทำให้กองทัพมีความคิดเห็นทางการเมืองที่น้อยลงและมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น(ซึ่งขัดกับเป้าหมายทางการเมืองของเหมา) เผิงต่อต้านความพยายามของเหมาที่จะพัฒนาลัทธิบูชาบุคคลตลอดในช่วงปี ค.ศ. 1950 และเมื่อนโยบายเศรษฐกิจของเหมาที่เกี่ยวข้องอย่างการก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้าเป็นสาเหตุทำให้เกิดทุกขพิกภัยทั่วประเทศ เผิงก็ได้วิพากษ์วิจารณ์ความเป็นผู้นำของเหมา การแข่งขันระหว่างเผิงและเหมาสิ้นสุดลงด้วยการเผชิญหน้ากันอย่างเปิดเผยระหว่างทั้งสองคนใการประชุมที่หลูฮัน เหมาได้เอาชนะในการเผชิญหน้าครั้งนี้ โดยระบุว่า เผิงเป็นผู้นำของ"กลุ่มต่อต้านพรรค" และการกำจัดเผิงจากตำแหน่งที่มีอิทธิพลทั้่งหมดสำหรับชีวิตที่เหลือของเขา
เผิงได้อาศัยอยู่อย่างคนไร้ชื่อเสียงตามความเป็นจริงจนถึงปี ค.ศ. 1965 เมื่อนักปฏิรูปอย่างหลิว เช่าฉีและเติ้ง เสี่ยวผิงได้สนับสนุนการกลับเข้าสู่รัฐบาลแบบจำกัดของนายเผิง ซึ่งกำลังพัฒนาอุตสาหกรรมทางทหารในทางด้านตะวันเฉียงใต้ของจีน ในปี ค.ศ. 1966 ตามมาด้วยเกิดการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เผิงถูกจับกุมโดยยุวชนแดง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1966-1970 กลุ่มหัวรุนแรงภายในพรรคคอมมิวนิสต์นำโดยหลิน เปียวและเจียง ชิง ภรรยาของเหมา ได้เลือกตัวเผิงแบบเจาะจงเพื่อทำการประหัตรประหารระดับชาติและเผิงก็ถูกประจานต่อหน้าสาธารณชนทำให้ได้รับความอับอายในการต่อสู้ครั้งใหญ่หลายครั้งและถูกทรมานทั้งทางร่ายกายและจิตใจในความพยายามที่จะบังคับให้เผิงยอมรับสารภาพว่า "ทำการก่ออาชญากรรม"ต่อเหมา เจ๋อตงและพรรคคอมมิวนิสต์ ในปี ค.ศ. 1970 เผิงได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นทางการและถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต และเขาเสียชีวิตภายในคุกในปี ค.ศ. 1974 ภายหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของเหมาในปี ค.ศ. 1976 เติ้ง เสี่ยวผิงซึ่งเป็นพันธมิตรเก่าแก่ของเผิงได้กลายเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีน เติงได้นำความพยายามอย่างเป็นทางการในการฟื้นฟูผู้คนที่ถูกข่มเหงอย่างไม่เป็นธรรมในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม และเผิงเป็นหนึ่งในผู้นำคนแรกที่ได้รับการกอบกู้ชื่อเสียงภายหลังการตายในปี ค.ศ. 1978 ในประเทศจีนยุคใหม่ เผิงได้รับการนับถือว่าเป็นนายพลคนหนึ่งที่ประสบความเร็จและได้รับการยอมรับสูงสุดในประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน